Category Archives: wordpress woocommerce

สอนการใช้งาน wordpress ฟรี ตั้งแต่เริ่มต้นจนทำเองได้แบบมืออาชีพที่นี่

บทความเจาะลึกละเอียดสุดๆสำหรับ สอนการใช้งาน wordpress woocommerce สำหรับมือใหม่ ทำได้ด้วยตัวเองคอนเทนต์เดียวจบเริ่มจากศูนย์จนมีหน้าร้านออนไลน์ขายได้จริง

การมีเว็บไซต์ของตัวเองก็เหมือนมี ‘บ้าน’ ในโลกอินเทอร์เน็ต หลายคนอาจจะคิดว่าต้องมีความรู้เฉพาะจึงจะสามารถสร้างเว็บไซต์ได้ แต่จริงๆ แล้วไม่เสมอไป ใครๆ ก็สามารถทำได้เพราะเรามีตัวช่วยที่ดีนั่นเอง เพราะบทความนี้ กำลังจะ สอน WordPress การทำเว็บง่ายๆ ให้คุณ

ทำความรู้จักกับ WordPress

การมีเว็บไซต์ของตัวเองไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะตัวช่วยของเราคือ WordPress เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ใช้งานง่ายแม้ว่าคุณจะไม่มีประสบการณ์ทำเว็บไซต์มาก่อนก็ตาม และถ้าหากคุณทำงานสายดิจิทัล WordPress เป็นเครื่องมือสำคัญที่คุณควรใช้เลยทีเดียว

คุณสามารถใช้งาน WordPress ได้ 2 แบบ คือ

  1. WordPress.com ให้บริการบล็อกฟรีเหมือน Blogger หรือ Tumblr มีพื้นที่โฮสติ้งฟรีแต่จะมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ปรับแต่งหน้าตาเว็บไซต์ได้เพียงเล็กน้อย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเขียนบทความเพียงอย่างเดียว คุณสามารถสมัครเพื่อเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ได้เลย
  2. WordPress.org สามารถดาวน์โหลด Source code และติดตั้งลงในโฮสติ้งส่วนตัว ปรับแต่งและแก้ไขได้อิสระ มีความยืดหยุ่นมากกว่า เหมาะสำหรับทำเว็บไซต์หลากหลายรูปแบบ ดาวน์โหลดเพื่อเริ่มต้นใช้งาน WordPress กับเว็บไซต์คุณ

บทความนี้จะรวมความรู้พื้นฐานในการใช้งานเว็บไซต์สร้างด้วย WordPress โดยโฟกัสที่ WordPress.org แต่คุณสามารถนำเนื้อหาไปประยุกต์ใช้กับ WordPress.com ได้เช่นเดียวกัน จบบทความนี้ทุกคนจะสามารถใช้งาน WordPress เป็นอย่างแน่นอน

วิธีใช้งาน WordPress

  1. หลังจากติดตั้ง WordPress คุณสามารถไปยังหน้า Login ได้โดยพิมพ์ ‘/wp-admin’ หลัง URL เว็บไซต์ของคุณ
  2. หลังจากที่คุณสมัครใช้งาน WordPress เรียบร้อย เมื่อจะใช้งานก็เพียงล็อกอินอีเมลและพาสเวิร์ดลงไป
  3. หน้าตา Dashboard ซึ่งเป็นหน้าแรกหลังจากที่เข้าสู่หลังบ้าน จะมีเมนู 2 ส่วนหลักๆ คือ Admin Menu ด้านซ้ายมือและ Toolbar เป็นแถบด้านบนซึ่งเป็นทางลัดไปยังเครื่องมือต่างๆ ในบล็อก

วิธีตั้งชื่อและตั้งค่าเว็บไซต์เวิร์ดเพลส

เราจะเริ่มต้นใช้งาน WordPress ง่ายๆ ด้วยการตั้งค่าเว็บไซต์ กดเลือกหน้า “Setting” จากเมนูด้านซ้ายมือ ซึ่งคุณควรตั้งค่า 4 ส่วนหลักๆ ดังนี้

ส่วนที่ 1 General Setting กำหนดการแสดงผลทั่วไปบนเว็บไซต์

  • Site title ชื่อเว็บไซต์ที่จะแสดงผล
  • Tagline คำอธิบายเว็บไซต์อย่างย่อ สามารถใส่เป็นสโลแกนหรืออธิบายว่าเว็บไซต์เราเกี่ยวกับอะไร
  • Site Address (URL) ที่อยู่เว็บไซต์ WordPress ของคุณ
  • ตั้งค่าส่วนอื่นๆ ได้แก่ อีเมล, กำหนดโซนเวลา, รูปแบบการแสดงวันที่

ส่วนที่ 2 Reading ตั้งค่าการอ่าน

ส่วนนี้สำหรับตั้งค่าหน้าแรกของเว็บไซต์ ว่าคุณต้องการแสดงบทความล่าสุดหรือหน้าเว็บแบบกำหนดเอง หากเลือกแสดงบทความล่าสุด คุณสามารถใส่จำนวนบทความที่จะแสดงได้ด้วย

ส่วนที่ 3 Writing ตั้งค่าการเขียน

หน้านี้สำหรับตั้งค่าเมื่อคุณต้องการเขียนบทความใหม่

  • Default Post Category คุณสามารถกำหนดหมวดหมู่เริ่มต้นเมื่อคุณเขียนบทความใหม่
  • Default Post Format รูปแบบหน้าตาตั้งต้นของบทความ ซึ่งจะขึ้นกับธีมที่คุณใช้

ส่วนที่ 4 Discussion ตั้งค่าการสนทนา

  • Default article settings กำหนดค่าเริ่มต้นของบทความ
  • Allow link notifications อนุญาตให้มีการแจ้งเตือนว่ามีลิงก์จากเว็บไซต์อื่น
  • Allow people to post comments อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมสามารถแสดงความคิดเห็นบนบทความ (หากคุณกำลังสร้างเว็บไซต์ใหม่และยังไม่เสร็จสมบูรณ์ คุณสามารถปิดการใช้งานส่วนคอมเมนต์ก่อนได้)
  • Before a comment appears คำสั่งก่อนแสดงคอมเมนต์
  • An administrator must always approve the comment ผู้ดูแลเว็บไซต์จะต้องอนุมัติคอมเมนต์ก่อนเสมอ
  • Comment author must have a previously approved comment คนที่เคยคอมเมนต์มาก่อนแล้ว คอมเมนต์ต่อมาจะได้รับการอนุมัติทันที
  • การตั้งค่าอื่นๆ เช่น Avatar Display สามารถกำหนดได้ว่าจะแสดงรูปภาพประจำตัวหรือไม่ และแสดงในรูปแบบใด

วิธีการสร้างเนื้อหาบทความด้วย Page และ Post

ส่วนที่ขาดไม่ได้และเป็นหัวใจสำคัญคือเนื้อหาของเว็บไซต์ คุณสามารถสร้างได้ 2 รูปแบบคือบทความ (Post) และหน้าเว็บ (Page)

วิธีการสร้าง Post ของ เวิร์ดเพลส

เลือก Posts > Add New จากเมนูซ้ายมือเพื่อสร้างบทความใหม่ คุณสามารถดูรายการบทความทั้งหมดโดยการเลือก All Posts

  • Title/Headline ใส่หัวข้อบทความ
  • Visual editor ส่วนเขียนบทความของ WordPress จะแสดงผลเหมือนในหน้าเว็บ เรียกว่า WYSIWYG Editor ซึ่งมีเครื่องมือสำหรับปรับแต่งรูปแบบข้อความ ตัวหน้า ตัวเอียง ย่อหน้า จัดตำแหน่งย่อหน้า เพิ่มลิงก์ แทรกรูปภาพ เป็นต้น
  • Add Media สำหรับแทรกรูปภาพหรือวิดีโอ
  • กล่อง Publish (ภาพด้านล่าง) สำหรับตั้งค่าสถานะบทความ มี 4 แบบ คือ Publish (เผยแพร่แล้ว), Draft (ฉบับร่าง ยังไม่เสร็จสมบูรณ์), Schedule (ตั้งเวลาโพสต์) และ Trash (ย้ายไปที่ถังขยะ)
  • Category และ Tag
  1. Category กำหนดหมวดหมู่บทความ สามารถสร้างหมวดหมู่ซ้อนแยกย่อยได้
  2. Tags สำหรับจัดกลุ่มบทความที่มี Keyword เหมือนกัน

วิธีการสร้าง Page ของ เวิร์ดเพลส

เลือก Pages > Add New จากเมนูซ้ายมือเพื่อสร้างบทความใหม่ คุณสามารถดูรายการบทความทั้งหมดโดยการเลือก All Pages

หน้าเขียนหน้าเว็บใหม่จะมีหน้าตาเหมือนการสร้างบทความใหม่ เพียงแต่ไม่มีส่วนกล่อง Category และ Tags นอกจากนี้ยังมีกล่อง Page Attributes ที่ให้เรากำหนด Template เฉพาะสำหรับหน้าเว็บนั้นๆ

วิธีการเปลี่ยนธีมให้เว็บไซต์

Theme เปรียบเป็นเสื้อผ้าหน้าผมของเว็บไซต์คุณ ซึ่งสามารถสะท้อนตัวตนของเว็บไซต์คุณได้เป็นอย่างดี ธีมมีหลากหลายรูปแบบ เช่น Magazine, Business, Blog, eCommerce เป็นต้น และมีแหล่งธีมให้เลือกดาวน์โหลดฟรีมากมาย คุณสามารถเข้าไปหาธีมถูกใจได้ในคลังของ WordPress

เมื่อเจอธีมถูกใจแล้ว เรามาเข้าไปแต่งตัวให้กับเว็บไซต์โดยเลือก Appearance > Themes คุณจะเห็นว่ามีธีมพื้นฐานให้เลือกอยู่แล้ว หากต้องการเพิ่มธีมใหม่ให้กด “Add New Theme” เลือกธีมที่คุณต้องการใช้จากในคลัง หรืออัปโหลดธีมใหม่ในรูปแบบไฟล์ .zip เข้าระบบ

เรียนรู้การใช้งาน Menu ของ wordpress

วิธีการสร้างเมนูใหม่ ตั้งชื่อเมนูในช่อง Menu Name แล้วเลือกบทความหรือหน้าเว็บที่ต้องการ กดปุ่ม “Add to Menu” คุณสามารถเรียงลำดับเมนูใหม่โดยการลากและวางสลับแต่ละหัวข้อ

ปลั๊กอินของเวิร์ดเพลสมีเพื่ออะไร

ถ้าอยากให้เว็บไซต์มีฟังก์ชันการใช้งานเพิ่มขึ้น คุณจำเป็นต้องใช้ “Plug-in” เนื่องจากเป็นส่วนเสริมที่ช่วยเพิ่มความสามารถให้เว็บไซต์คุณ เข้าไปดูคลังรวมปลั๊กอินของ WordPress ได้ที่นี่ ซึ่งปลั๊กอินเสริมจะมีหลากหลายประเภท เช่น เกี่ยวกับความปลอดภัย การจัดข้อมูล การออกแบบ Social media เป็นต้น

ติดตั้งปลั๊กอินจาก WordPress Repository คลิก Plugins > Add New ค้นหาปลั๊กอินที่ต้องการแล้วจึงกด Install Now

สรุป

สอนการใช้งาน wordpress ฟรี สอนสร้างเว็บสำหรับมือใหม่หัดสร้างหน้าร้านค้าบ้านบนโลกออนไลน์ ทำได้ง่ายๆขอแค่ฝึกฝนให้ชิน พอทำจริงแล้วจะเห็นได้ว่า เวิร์ดเพลส เป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย มีฟังก์ชันหลากหลาย ที่สำคัญมีประสิทธิภาพสูง ปรับแต่งหน้าตา และเพิ่มลูกเล่นต่างๆ ได้ตามต้องการ ด้วยตัวช่วยที่ดีแบบนี้ทำให้การที่จะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองกลายเป็นเรื่องง่ายที่ใครๆ ก็สามารถทำได้เลย

error: Content is protected !!