ปัจจัยสำคัญที่เป็นอีก1ตัวชี้วัดคุณภาพของเว็บไซต์นั่นคือ Bounce rate ควรมีค่าอยู่ที่เท่าไหร่ หาอ่านค่าได้จากที่ใดมีในคอนเทนต์นี้ เรามีเทคนิควิธีลดค่าBRเพื่อให้คะแนนSEOดีขึ้น ส่งผลให้ติดอันดับSERPในGoogleสูงกว่าเดิม และคลายข้อสงสัยถึงความแตกต่างระหว่าง Bounce rate และ Exit rate ในเนื้อหานี้ มาดูกัน
เมื่อพูดถึง Bounce Rate กับ Exit Rate หลายคนมักจะเกิดอาการสับสน ไม่รู้ว่ามันคืออะไร และมันแตกต่างกันอย่างไร และที่ยิ่งกว่านั้นคือไม่รู้ว่าทั้ง 2 มันวัดค่าอย่างไร จริงๆแล้วทั้ง 2 มีประโยชน์และเข้าใจไม่ยากเลย แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังมีจุดสับสนที่แม้แต่คนใช้ Google Analytics มานานยังสับสนกันเป็นประจำ
Bounce Rate กับ Exit Rate มักจะในการวิเคราะห์ว่าหน้าเพจนั้นๆมีประสิทธิภาพหรือไม่ ถ้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาดีและเป็นเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการของผู้อ่าน นั่นย่อมหมายความว่าอัตราการกดปิดเว็บไซต์ควรจะต่ำลงด้วย และที่สำคัญคนส่วนใหญ่มักจะยอมรับโดยร่วมกันว่า Bounce Rate กับ Exit Rate ยิ่งน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น
บทความนี้เรามาทำความรู้จัก Bounce Rate กับ Exit Rate ให้คุณได้เข้าใจละเอียดยิ่งขึ้นกว่าเดิม และทำความเข้าใจถึงความแตกต่างของทั้ง 2 ค่านี้ด้วยว่ามันแตกต่างกันอย่างไร
Bounce Rate คืออะไร
Bounce Rate หรือภาษาไทยใช้คำว่า อัตราการตีกลับ คือ อัตราส่วนของการออกจากเว็บไซต์หลังจากผู้ชมเข้าเปิดเพียงแค่หน้าเพจเดียวและไม่ได้ทำ event ใดๆในหน้าเว็บเพจนั้นเลย (Session ของผู้ชมมีเพียงแค่ interaction เดียวคือ Pageview) หรือที่คนไทยเราชอบนิยามกันสั้นๆว่า “เข้าแล้วออกเลย”
ฟังนิยามอาจจะดูสับสน เราสรุปให้ฟังเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายๆ Bounce Rate ก็คือการเปิดเข้าเว็บไซต์แค่หน้าเดียวแล้วกดออกจากเว็บไซต์เลย โดยไม่ได้เปิดเข้าไปอ่านหน้าเพจอื่นๆต่อ โดยส่วนใหญ่แล้วถ้า Bounce Rate สูงๆมักจะหมายถึงผู้เข้าชม (Visitor) อาจจะไม่ชอบเนื้อหาในเว็บไซต์หรือเว็บไซต์ไม่ตรงกับความต้องการจึงกดปิดไม่เปิดไปดูหน้าเพจอื่นๆต่อ (สนใจกด >> รับทำ SEO)
สูตรการคำนวณ BOUNCE RATE
ปกติแล้ว ในส่วนของการ Analytics เว็บไซต์นั้น คุณจะสามารถตรวจดูยอด Bounce Rate ที่เกิดขึ้นได้อยู่แล้ว ซึ่งระบบจะทำการคำนวณเอาไว้ให้ ซึ่งสูตรการคำนวณ Bounce Rate คือ
(ยอดเข้าชมเว็บไซต์ที่มีการดูเพียงหน้าเดียว ÷ ยอดการเข้าชมเว็บไซต์ทั้งหมด)*100 = ยอด Bounce Rate
ตัวอย่าง การคำนวน Bounce Rate ง่ายๆ สมมุติว่าเราไปโพสต์ลิงค์บทความใน Facebook หลังจากนั้นก็มีคนคลิกที่ลิงค์นั้นเข้ามาอ่านบทความในเว็บไซต์ของเราทั้งหมด 100 คน หลังจากนั้นมีจำนวน 60 คนที่กดออกจากเว็บไซต์ของเราโดยที่ไม่ได้เข้าไปยังหน้าเพจอื่นๆในเว็บไซต์เลย จะสามารถคำนวน Bounce Rate ได้เท่ากับ 60%
BOUNCE RATE ที่ดีควรอยู่ที่เท่าไหร่?
ไม่ว่าค่า Bounce Rate (อัตราการตีกลับ) ของคุณจะออกมาต่ำหรือสูงก็อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะประเภทของธุรกิจที่ต่างกันก็มีค่ากลางของ Bounce Rate ที่ต่างกันเช่นกัน โดยปกติแล้วค่า Bounce Rate ที่จำแนกตามประเภทธุรกิจหรือประเภทของเว็บไซต์ต่าง ๆ มีดังนี้
- สำหรับเว็บไซต์ E-commerce หรือเว็บไซต์ขายปลีก ค่า Bounce Rate ที่เหมาะสมคือ 20%-45%
- Bounce Rate ของเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ Business to Business (B2B) คือ 25%-55%
- เว็บไซต์ทั่วไปหรือ Lead Generation Websites มีค่า Bounce Rate อยู่ที่ 30%-55% ซึ่งถือว่าเป็นค่ากลางสำหรับยอด Bounce Rate
- เว็บไซต์ที่มีการนำเสนอเนื้อหาต่าง ๆ และไม่ได้เป็น E-commerce ควรมีค่า Bounce Rate ที่ 35%-60%
- เว็บไซต์ที่มีจุดประสงค์แบบเจาะจงอย่าง Landing Pages หรือเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูล ข่าวสาร บทความต่าง ๆ นั้นมีค่า Bounce Rate มาตราฐานสูงกว่าเว็บไซต์อื่น ๆ ซึ่งก็คือ 60%-90%
จาก report ของ GoRocketFuel.com แสดงถึง average Bounce Rate อยู่ในช่วงระหว่าง 41 และ 51 % นั้น เรียกว่า “ปกติ”
BOUNCE RATE สำคัญอย่างไร?
ยอด Bounce Rate เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพของเว็บไซต์ได้ โดยเทียบง่าย ๆ คือ ถ้าหากคุณมียอด Bounce Rate ที่สูงเกินกว่าค่ามาตราฐาน นั่นอาจหมายถึงโอกาสที่คุณจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้งานได้น้อยลง
รวมถึงอาจจะลดยอด Traffic ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อีกทั้งการจะได้ขึ้นแรงก์อันดับสูง ๆ ก็จะยากขึ้นไปด้วย เพราะระบบของ Google Analytics นั้นจะมองว่าคุณภาพของเว็บไซต์นั้น ๆ ไม่ได้สูงตามเกณฑ์มาตราฐาน
ดังนั้นคุณควรที่จะเช็กยอด Bounce Rate (อัตราการตีกลับ) อย่างสม่ำเสมอและหาทางแก้ปัญหา เพื่อโอกาสที่เว็บไซต์ของคุณจะได้ขึ้นแรงก์ได้ง่ายขึ้น
การกระทำหรือเหตุการณ์แบบไหนถึงนับเป็น BOUNCE RATE
เราจะสามารถระบุ Bounce Rate จากอะไรได้บ้าง (สนใจกด >> รับสอน SEO)
- เมื่อผู้เข้าชมกดปุ่มย้อนกลับ
- เมื่อผู้เข้าชม enter url บน address bar เพื่อไปยัง website อื่น
- เมื่อผู้เข้าชมกดปิดแท็บหรือwindow
- เมื่อผู้เข้าชมไม่ได้ take action อะไรบนเว็บไซต์เลยเป็นเวลามากกว่า 30 นาที หรือ เซสชั่นหมดอายุ
สาเหตุอะไรทำให้ Bounce Rate สูงขึ้นหรือต่ำลง
สำหรับ Factor ที่ทำให้ค่า Bounce Rate สูงขึ้นหรือต่ำลง จะขึ้นอยู่ที่ปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งมักสัมพันธ์กับ SEO Performance ของเว็บไซต์ด้วย เช่น
- ความเร็ว-ช้าของ Page Speed ถ้าเว็บไซต์โหลดช้ามากๆ ก็คงไม่มีใครอยากใช้งาน แน่นอนว่า เข้ามาแล้วก็จะกดออกไปเลยทันที
- การออกแบบเว็บไซต์ยังไม่มีประสิทธิภาพก็จะทำให้ยอด Bounce Rate สูงขึ้น เช่น ออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ซับซ้อน, คลิกอะไรก็หาไม่เจอ, ไม่มี Mobile Friendly Version เป็นต้น
- คอนเทนต์และ Keyword ที่ทำไม่สัมพันธ์กัน เช่น Keyword มี Search Intent เรื่องหนึ่งแต่เขียนคอนเทนต์ออกมาไม่ตอบคำถามกับสิ่งที่คนค้นหาก็จะทำให้คนคลิกเข้ามาแล้วกดออกไป
- ทำเว็บไซต์โดยไม่ได้คำนึงถึง Mobile Friendly ทำให้ไม่สามารถใช้งานในมือถือได้ดีเท่าที่ควร
- ประเภทของเว็บไซต์แต่ละแบบจะมี Bounce Rate ที่สูง-ต่ำไม่เท่ากัน เช่น หน้าเว็บไซต์ที่มีการแสดงผลข้อมูลเรียงลำดับหลายหน้า เช่น บทความ โพสต์บล็อก ฯลฯ จะมี Bounce Rate ที่สูงกว่าหน้าเว็บไซต์ที่มีการแสดงผลข้อมูลเพียงหน้าเดียว เช่น หน้าสินค้าหรือบริการ
- ปริมาณของเนื้อหา โดยเว็บไซต์ที่มีเนื้อหามากๆ บนหน้าเว็บไซต์เดียวกันจะมีโอกาส Bounce Rate ที่สูงกว่า
- ผู้ใช้งานเว็บไซต์อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่สนใจจะอ่านเนื้อหา บางคนอาจจะมีวัตถุประสงค์เข้ามาแค่หาเบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลบางอย่างแล้วออกไป
- การทำโฆษณาที่เรียก Traffic เข้ามาจำนวนมากแต่หน้านั้นๆ ไม่ได้ช่วยทำให้เกิด Conversion ได้ก็อาจจะทำให้เกิด Bounce Rate สูงขึ้นด้วย
Exit Rate คืออะไร
Exit Rate หรือภาษาไทยใช้คำว่า อัตราการออก เป็น Metric ที่มักจะถูกกล่าวถึงควบคู่ไปกับ Bounce Rate อยู่เสมอๆ และมันมักจะนำพามาซึ่งความสับสนไม่น้อย เพราะเจ้า Exit Rate มันคือ “เปอร์เซ็นต์ที่หน้าเพจนั้นเป็นหน้าสุดท้ายของ Session ก่อนที่ Session นั้นจะกดปิดออกจากเว็บไซต์” หรือที่เราเข้าใจกันดีว่ามันคือ หน้าสุดท้ายก่อนออกจากเว็บไซต์
โดยจะวิธีการคิด Exit Rate จะคิดจากจำนวนครั้งที่หน้าเพจนั้นเป็นหน้าสุดท้าย (ผู้ชมกดปิดเว็บไซต์ที่หน้าเพจนั้น) เทียบกับจำนวน Pageview ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในหน้าเพจนั้น
สูตรการคำนวณ EXIT RATE
โดยจะวิธีการคิด Exit Rate จะคิดจากจำนวนครั้งที่หน้าเพจนั้นเป็นหน้าสุดท้าย (ผู้ชมกดปิดเว็บไซต์ที่หน้าเพจนั้น) เทียบกับจำนวน Pageview ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในหน้าเพจนั้น สูตรการคำนวณ Bounce Rate คือ
(ยอดการปิดหน้าเพจสุดท้ายของการเข้าชม ÷ จำนวน Pageview ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในการชมเพจหน้าเว็บไซต์นั้นๆครั้งนึง)*100 = ยอด Exit Rate
ตัวอย่าง การคำนวน Exit Rate ง่ายๆ สมมุติว่าหน้าเพจ A มีการเปิดเข้าชมทั้งหมด 50 ครั้ง (Pageview = 50) และมีการออกจากเว็บไซต์ที่หน้าเพจ A ทั้งหมด 25 ครั้ง (Exit = 25) จะสามารถคิดหา Exit Rate ได้เท่ากับ 50% ซึ่งหมายความว่าอัตราการปิดเว็บไซต์ในหน้าเพจ A มีจำนวนครึ่งนึงเลยทีเดียว
ความเข้าใจผิดๆของ Bounce Rate กับ Exit Rate
หลังจากที่ได้อ่านคำนิยามของทั้ง 2 Metric กันไปแล้ว เราจะพาไปดูความเข้าใจผิดๆที่หลายๆคนมักจะไม่รู้ว่าตัวเองเข้าใจตัว 2 ตัวนี้ผิดไปก็ได้
หลายๆคนมักจะเข้าใจผิดว่า Bounce Rate คือกดเข้าเว็บไซต์แล้วปิดในทันที (ปิดอย่างรวดเร็ว) แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ได้เกี่ยวกับระยะเวลา แม้ว่าใช้เวลาอ่านเว็บเพจหน้าหน้านั้น 5 นาที หรือ 5 วินาที ก็ถือเป็นการ Bounce เหมือนกันถ้าไม่ได้เปิดไปหน้าเพจอื่นๆต่อ
แม้ผู้ใช้จะเปิดอ่านเว็บไซต์แค่หน้าเพจเดียวแล้วกดปิดเว็บไซต์ในทันทีโดยไม่ได้เปิดไปอ่านหน้าเพจอื่นๆต่อ นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการ Bounce เสมอไป เพราะผู้ใช้อาจจะทำ Event บางอย่างในเว็บไซต์ก็เป็นได้ ถ้ามี Event เกิดขึ้น Google Analytics จะไม่นับเป็น Bounce (ถ้าสงสัยข้อนี้ให้ย้อนกลับไปอ่านคำนิยามของ Bounce Rate ด้านบนอีกรอบ)
หลายๆคนมักจะเข้าใจผิดว่า Bounce Rate ยิ่งเยอะยิ่งไม่ดี ซึ่งนั่นไม่เป็นความจริงเพราะบางครั้งผู้ใช้อาจจะปิดเว็บไซต์เพียงเพราะเขาได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แล้ว (ไม่ได้หมายความว่าเนื้อหาในเว็บไซต์ไม่ดีหรือไม่ตรงความต้องการเสมอไป) แต่ถึงอย่างไรการ Optimize Landing Page ให้มี Bounce Rate ต่ำๆก็ยังเป็นแนวทางที่ดีในการทำการตลาดออนไลน์เช่นเดิม
Exit Rate คืออัตราการปิด และเมื่อมีคำว่าปิดนั่นแสดงว่าหน้าเพจนั้นๆจะต้องมี Pageview เข้ามาเกี่ยวข้องเพราะฉะนั้นจำเอาไว้ว่า Exit Rate จะเกี่ยวข้องกับ Pageview เสมอ
ทั้ง Bounce Rate และ Exit Rate สามารถเกิดขึ้นได้แม้ว่าผู้ใช้จะไม่ได้ทำการกดปิดเว็บไซต์ แต่มันเกิดขึ้นด้วยการที่ผู้ใช้ปล่อยหน้าจอทิ้งเอาไว้จน Session หมดอายุ
ตัวอย่างการนับ Bounce Rate และ Exit Rate
สมมุติว่าเว็บไซต์แห่งหนึ่งมีการเข้าชมดังต่อไปนี้
การเข้าชมเว็บไซต์คนที่ 1: Page A > Page B > Page C > ออก
การเข้าชมเว็บไซต์คนที่ 2: Page B > Page A > ออก
การเข้าชมเว็บไซต์คนที่ 3: Page C > Page B > Page A > ออก
การเข้าชมเว็บไซต์คนที่ 4: Page C > Page B > ออก
การเข้าชมเว็บไซต์คนที่ 6: Page B > ออก
**การเข้าชมแต่ละครั้งมาจาก Device และ Browser ที่ต่างกัน
- จากตัวอย่างการใช้งานเว็บไซต์ด้านบนนี้ถามง่ายๆว่าหน้าเพจ A มี Bounce Rate และ Exit Rate เท่าไหร่
ฺBounce Rate (Page A) = 0% เพราะมีการเริ่มต้น Session ด้วยหน้าเพจ A แค่ครั้งเดียวและครั้งนั้นได้ทำการเปิดไปต่อยังหน้าเพจ B ด้วยจึงไม่นับเป็นการ Bounce
Exit Rate (Page A) = 66% เนื่องจากหน้าเพจ A มี 3 Pageviews และมีการปิดเว็บไซต์จากนี้ 2 ครั้ง
- จากตัวอย่างการใช้งานเว็บไซต์ด้านบนนี้ถามง่ายๆว่าหน้าเพจ B มี Bounce Rate และ Exit Rate เท่าไหร่
Bounce Rate (Page B) = 50% เพราะมีการเริ่มต้น Session ด้วยหน้าเพจ B ทั้งหมด 2 ครั้งและมี 1 ครั้งที่กดปิดในทันทีโดยไม่ได้เปิดเข้าไปยังหน้าอื่นๆต่อ
Exit Rate (Page B) = 40% เนื่องจากหน้าเพจ B มี 5 Pageviews และมีการปิดเว็บไซต์จากนี้ 2 ครั้ง (สนใจกด >> รับทำ Google Ads)
Bounce Rate เช็คได้ที่ไหน?
เราสามารถตรวจสอบค่า Bounce Rate (อัตราการตีกลับ)ของเว็บไซต์ได้ง่าย ๆ แถมยังฟรีโดยใช้เครื่องมือ Google Analytics ซึ่งเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ทำให้เรารู้ข้อมูลต่าง ๆ ของเว็บไซต์ไม่เพียงแค่ค่า Bounce Rate เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงข้อมูลคนที่ใช้งานเว็บไซต์ของเรา จำนวนคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ การกระทำ การมีปฏิสัมพันธ์กับเว็บ เช่น การคลิกลิ้งค์
นอกจากนี้ Google Analytics ยังบอกละเอียดถึงอุปกรณ์ที่ผู้เข้าเว็บใช้ เช่น เข้าชมผ่านคอมพิวเตอร์หรือมือถือ ไปจนถึงข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ อย่าง ประเทศ เพศ หรืออายุ ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้คือเครื่องมือชั้นดีเพื่อให้เรานำไปปรับปรุงเว็บและลดอัตรา Bounce Rate ได้
แก้ปัญหาอัตราการตีกลับอย่างตรงจุด
การเกิด Bounce Rate สูงอาจมีได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเว็บที่ไม่น่าสนใจ หน้าเว็บโหลดช้า เว็บไซต์ไม่รองรับอุปกรณ์ที่ User ใช้ เจตนาและประเภทของผู้ใช้งาน หรือการคลิกเข้ามาแล้วเจอแต่โฆษณาก็ทำให้เกิดความรู้สึกไม่น่าคลิกอ่านเนื้อหาอื่นในเว็บได้เช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตามเราก็ต้องทำความเข้าใจด้วยว่าหน้าเว็บบางประเภทอาจมีค่า Bounce Rate สูงเป็นปกติอยู่แล้ว เช่น Landing page ที่เป็นเว็บหน้าเดียว อาจสร้างขึ้นเพื่อการขาย หรือหน้าเว็บประเภท Sale page ทั้งหลาย หน้าเว็บเหล่านี้คนส่วนใหญ่คลิกเข้ามาเพื่อซื้อสินค้า บริการ หรือหาข้อมูลบางอย่างเพียงอย่างเดียวและเฉพาะเจาะจง เมื่อผู้ใช้งานได้รับสิ่งที่พวกเขามองหาก็กดปิดเว็บไซต์ไป จึงเป็นเรื่องปกติที่จะมีค่า Bounce สูงกว่าเว็บไซต์องค์กรหรือเว็บไซต์ประเภท Blog ที่มีเนื้อหาหลาย ๆ หน้าให้เราคลิก
การแก้ไขปัญหา Bounce rate ค่อนข้างจะคล้ายกับงานศิลปะ ที่ไม่ตายตัว อย่างไรก็ดี จุดประสงค์คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้คนไม่คลิ๊ก Back กลับไป เมื่อเข้ามาเจอเว็บไซต์เรา
ทำไมต้องลด Bounce Rate (อัตราการตีกลับ)
Bounce Rate เป็นเครื่องมือที่วัดคุณภาพของเว็ปไซต์ว่ามีคุณภาพเพียงพอไหม ผู้อ่านชอบหรือเปล่า ถ้ายิ่งน้อย หมายถึงคนเข้ามาเว็ปเราแล้วเขากดเข้าไปดูหน้าอื่นๆต่อ แสดงว่าเว็ปไซต์เราน่าติดตาม มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันทุกๆหน้า
ถ้า Bounce Rate ยิ่งสูงแสดงว่าเว็ปไซต์ต้องพัฒนา เพราะฉะนั้นเราต้องลด Bounce Rate เพื่อคนที่เข้าเว็ปเราจะมีประสบการณ์ที่ดีขึ้น และชอบเว็ปไซต์เรามากขึ้น ส่วนทางเทคนิคSEOแล้ว google ก็จะมองว่าเว็ปไซต์ที่มี Bounce Rate สูงยังไม่ควรอยู่อันดับแรกๆ นั่นก็เลยเป็นเหตุที่ว่า เราควรจะลด Bounce Rate เพื่อที่จะจัดอันดับ SEO ได้แรกๆ ด้วย
เทคนิคการลดอัตรา Bounce Rate (อัตราการตีกลับ)
1. หน้าเว็บไซต์ต้องโหลดเร็ว
หากเว็บไซต์ของคุณโหลดช้า ผู้ใช้งานอาจไม่สนใจที่จะรอเว็บไซต์โหลดจนเสร็จ ดังนั้น การลดเวลาโหลดหน้าเว็บไซต์จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์อื่นๆ ได้มากขึ้น ซึ่งวิธีการปรับให้เว็บไซต์โหลดไวขึ้นจะมีอยู่ด้วยกันหลายส่วน เช่น
- บีบอัดขนาดรูปภาพด้วยการเปลี่ยนสกุลของไฟล์ภาพจาก Jpeg หรือ Png เป็น Webp หรือ AVIF ที่เบากว่า
- ใช้ไฟล์ภาพที่ใหญ่ไม่เกิน 300 KB ในส่วนรูปที่ไม่สำคัญ
- ใช้รูปภาพขนาดจริงเท่ากับที่แสดงบนหน้าเว็บไซต์ ไม่ทำไฟล์ที่ใหญ่กว่าเพราะจะทำให้โหลดรูปช้า
- ฝังฟอนต์ลงบนเว็บตรงๆ หรือใช้ Google Fonts
- ติดตั้ง Lazy Load ให้กับเว็บไซต์
- ทำ Caching เพื่อลดภาระของเซิร์ฟเวอร์
จำไว้ว่า “ยิ่งโหลดช้า คนก็ยิ่งหงุดหงิด และปิดเว็บของเราง่ายขึ้น” แต่ถึงแม้หน้าเว็บจะยังโหลดไม่ขึ้นหรือเนื้อหายังขึ้นมาไม่ครบ ค่า Bounce Rate ก็ถูกนำไปคำนวณเรียบร้อยแล้ว!
เพราะคนรุ่นใหม่เคยชินกับความเร็ว ความสะดวกทันใจ การเข้าชมเนื้อหาในหน้าเว็บใดจึงต้องเร็วและตอบสนองสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ทันที ดังนั้นพยายามปรับแต่งเว็บให้เบาและโหลดได้เร็วที่สุดจึงจะเหมาะกับผู้ใช้งานยุคปัจจุบันมากกว่า
2. เนื้อหาต้องดี มีคุณภาพ และน่าติดตาม
อันดับแรกเลยคือ การปรับปรุงการทำ On-Page ของเว็บไซต์ให้ดีขึ้น โดยอาจจะเริ่มจากการจัดการเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้าให้มีคุณภาพตามที่ Search Engine กำหนด เช่น
- ปรับ Title Tag, Meta Description, Heading Tag ให้ดีต่อการทำ SEO
- ออกแบบเนื้อหาในเว็บไซต์ให้มีคุณภาพและตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย
- ทำ Internal Link และ External Link ทั้งภายในและภายนอกเว็บไซต์
- ใส่ ALT ให้กับรูปภาพ
- ทำ URL Friendly โดยเขียนให้สั้นกระชับ และมีความหมายชัดเจน
เนื้อหาในหน้าเว็บต้องดีและมีคุณภาพ หากเป็นเว็บไซต์หน้าแรกก็ต้องรวมเอาเนื้อหาสำคัญๆเอาไว้ครบ มีลิ้งค์หรือปุ่มสำหรับชี้ทางให้ผู้เข้าใช้งานไปชมหน้าเว็บอื่นต่อที่ชัดเจน
หากเป็นเนื้อหาในหน้า Blog หรือบทความ ต้องมีหัวเรื่องน่าสนใจ รูปภาพประกอบที่เหมาะสมกับเนื้อหา การวางโครงเรื่องชวนติดตามให้อ่านจนจบ อาจมีการแปะคลิปจาก Youtube เพื่อให้ผู้เข้าชมอยู่บนหน้าเว็บของเรานานขึ้น และที่สำคัญการใส่ Internal Link ไปยังเนื้อหาหน้าอื่น ๆ ก็เป็นตัวช่วยลดค่า Bounce Rate ได้เป็นอย่างดี
ส่วนนี้สำคัญสุด เพราะคนที่เข้ามาอ่านเว็บไซต์เราต้องการอะไรบางอย่าง ถ้าเราสามารถมอบอะไรบางอย่างนั้นได้กับเค้า เค้าก็จะอยู่บนเว็บไซต์เรา
3. ออกแบบและดีไซน์หน้าเว็บให้เรียบ สะอาดตา ใช้งานง่าย
เว็บไซต์ที่ใช้งานยากก็อาจทำให้ผู้ใช้งานไม่สนใจที่จะทำการคลิกไปต่อยังหน้าเว็บไซต์อื่นๆ ได้ ดังนั้น คุณควรพิจารณาการปรับปรุงการออกแบบเว็บไซต์ เพื่อให้มีการใช้งานและการเข้าถึงข้อมูลที่สะดวกสบาย โดยสิ่งที่คุณต้องทำเลยก็คือ การวางโครงสร้างเว็บไซต์ หรือ Site Structure ให้ใช้งานได้ง่ายและไม่ซับซ้อน ดังนี้
- จัด Category Page ให้เป็นระเบียบ
- เชื่อมต่อหน้าเพจที่เกี่ยวข้องกันด้วย Internal link
- จัดเลเวลของหน้าต่างๆ ไม่ให้เกิน 3-5 Level คือ คลิกไม่เกิน 3-5 ชั้นในการเข้าไปยังหน้าด้านในสุด
- ทำให้เว็บไซต์รองรับการใช้งานได้ครบทุกอุปกรณ์
เทรนด์การสร้างเว็บเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา ส่วนปัจจุบันเราเน้นการทำเว็บที่มีดีไซน์เรียบง่าย สะอาดตา ไม่หวือหวามากนัก และต้องเน้นที่ความ “ง่าย” ด้วย ไม่ว่าจะเปนส่วนของเมนูต่าง ๆ ที่มีปุ่มคลิกชัดเจน การวางโครงสร้างเว็บไซต์ที่เป็นระบบระเบียบเพื่อพาผู้เข้าใช้งานไปยังส่วนต่าง ๆ ได้สะดวก ไม่ซับซ้อน
หากเราสร้างเว็บซับซ้อนและยุ่งยากเกินไป อาจทำให้คนที่เข้ามากดปุ่มปิด (X) เพราะเป็นปุ่มที่กดง่ายที่สุดก็ได้!
4. วางโฆษณาได้แต่ต้องคำนึงถึงผู้ชมเป็นหลัก
หน้าเว็บของหลายๆคน โดยเฉพาะเว็บประเภท Blog อาจมีการแปะโฆษณาบ้างเพื่อเป็นการสร้างรายได้ ซึ่งการแปะแบนเนอร์ต่างๆนั้นไม่ใช่เรื่องผิด แต่เราต้องคำนึงถึงคนที่เข้ามาดูเว็บของเราเป็นอันดับแรก หากเข้ามาและเจอแบนเนอร์ 4-5 ป้ายในหน้าเดียวแถมยังจัดวางบังเนื้อหา คลิกปิดยาก ปิดแล้วยังมีโฆษณาซ้อนอยู่เหมือนหลอกให้คลิก แบบนี้ก็เตรียมรับ Bounce Rate ที่มากมายได้เลย
5. Backlink ที่มีคุณภาพและมีความเชื่อมโยงกับสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการ
หากเราสร้าง Backlink ให้กับเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นลิ้งค์ตามธรรมชาติที่เรานำไปแปะไว้ผ่านเว็บบอร์ด เพจเฟซบุ๊ก หรือช่องทางโซเชียลอื่น ๆ รวมถึงลิ้งค์จากการซื้อโฆษณา สิ่งที่นำเสนอและเชิญชวนให้ผู้ชมคลิกลิ้งค์เพื่อมายังเว็บไซต์ของเราต้องมีความเชื่อมโยงกับเนื้อหาจริงในหน้าเว็บ
เพราะการที่มีคนคลิกลิ้งค์เหล่านั้นก็เท่ากับวาพวกเขาเชื่อและต้องการมาหาอะไรบางอย่างตามที่เราได้โฆษณาไว้ หากคลิกเข้ามาแล้วไม่เจอสิ่งที่ต้องการ แน่นอนว่าย่อมเกิด Bounce Rate ตามมา
6. ปรับหน้าเว็บให้เป็น Mobile Friendly เพื่อรองรับการใช้งานผ่านมือถือ
ทุกวันนี้มือถือกลายเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน หลายคนใช้งานมือถือเพื่อรับชมความบันเทิงต่าง ๆ ผ่านแอปและเว็บไซต์มากกว่าใช้คอมเสียอีก เพราะฉะนั้นอย่าลืมปรับแต่งเว็บให้รองรับการใช้งานผ่านมือถือหรือเว็บที่มีความเป็น Responsive จึงจะดีที่สุด
หมายเหตุ : ทำไมถึงต้องสร้างเว็บไซต์ที่เหมาะกับอุปกรณ์เคลื่อนที่
คำแนะนำจาก Google : https://developers.google.com/search/mobile-sites
7. วางแผนและทำคอนเทนต์รวมถึงทำ SEO
เขียนบทความ หรือทำวีดีโอให้เนื้อหาตรงกับหัวเรื่อง แนะนำว่า ก่อนเขียนควรค้นคว้าว่าคีย์เวิร์ดไหนที่กลุ่มเป้าหมายคนดูเว็บไซต์ค้นหาอยู่เป็นประจำและไม่ค่อยมีคู่แข่งเล่นคีย์เวิร์ดตัวนั้น (ลองใช้ Google Keyword Planner ช่วย) จะได้เอาคีย์เวิร์ดตัวนั้นใส่ในบทความ คำอธิบายบทความ Tag ลิงค์ และหัวเรื่อง
เวลาคนเข้ามาอ่านหรือดูแล้วอยากตามอยากอ่านต่อ พยายามเขียนให้อ่านง่าย มีหัวเรื่องย่อยให้คนดู สะกดคำให้ถูก หากมีคลิปวีดีโอสักตัวให้ดูก็ยิ่งดีเพราะจะช่วยให้คนอยู่ก็บเว็บเพจนั้นนานขึ้น ส่วนการใส่ภาพ ก็สามารถใส่ในปริมาณที่พอดี อย่าใส่น้อยเกินไปจนคนไม่เข้าใจบทความได้ง่าย หรืออย่าใส่เยอะจนคนอ่านไม่รู้ว่าต้องทำอะไรต่อไป
8. ปรับปรุง UX/UI ของเว็บไซต์
การปรับปรุง UX/UI ของเว็บไซต์จะช่วยให้ผู้ใช้งานมีประสบการณ์ที่ดีกับเว็บไซต์ ดังนี้
- ออกแบบการใช้สีบนเว็บไซต์ให้เหมาะสม โดยอาจจะยึดตาม CI หรือ Corporate Identity ของแบรนด์
- มีลำดับเนื้อหาควรง่าย น่าสนใจ เป็นขั้นตอนโดยที่ไม่ต้องเลื่อนหาไปมา
- เป็นเนื้อหาที่มีความเฉพาะตัว (Unique Content) ไม่ได้ทำการคัดลอกจากคนอื่นมา
- Menu Bar และ Navigator ต้องเรียบง่าย เข้าใจง่าย ไม่ทำให้สับสน โดยการใช้ไอคอนอย่างถูกต้อง
- Block Card และ Section ต่างๆ ควรดีไซน์มาให้เหมาะสมกับการใช้งานในทุกอุปกรณ์
- ทำปุ่มต่างๆ ให้กดง่าย มีขนาดพอดีไม่ทำให้เกิดการกดพลาด
- ขนาดตัวอักษรต้องทำมาให้พอดีไม่เล็กจนเกินไป หรือถ้ากลุ่มเป้าหมายอายุเยอะควรออกแบบมาให้มีขนาดที่ผู้สูงอายุอ่านได้แบบสบายตา
9. Embed Youtube Videos
การที่เราแปะวิดีโอลงใน pages นั้นช่วยเพิ่มระยะเวลาที่อยู่บนหน้าเพจมากกว่า 2 เท่า ของหน้าเว็บเพจที่ไม่มีวิดีโอ เรายังสังเกตเห็นว่าการมีวิดีโออยู่นั้น ลด bounce rate ลง และ เพิ่มเวลาที่อยู่บนหน้าเว็บมากขึ้น
ซึ่งหลังจากวิเคราะห์มาแล้วจะเห็นได้ว่า หน้าเว็บเพจที่มีวิดีโออยู่ด้วยนั้นลดอัตราการเกิด bounce rate ลงถึง 11%
นอกจากนี้การมีวิดีโอพนหน้าเว็บเพจของเรานั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นวิดีโอของเราเสมอไป คุณสามารถฝังได้ทุกๆวิดีโอที่มาจาก youtube โดยเนื้อหาวิดีโอนั้นควรจะ make sense กับเนื้อหาบนเพจของคุณ
ทำไม Bounce Rate ของเว็บไซต์ถึงสูงเกินไป?
Bounce Rate ที่สูงเกินไปเป็นสัญญาณบอกว่าเว็บเพจนั้นไม่มีปฎิสัมพันธ์ดีพอกับคนที่เข้ามาดูเว็บเพจนั้น ซึ่งก็หนีไม่พ้น 3 สาเหตุใหญ่ๆ (สนใจกด >> รับดูแลเว็บไซต์ wordpress)
1. เขียนเนื้อหาไม่ตรงกับหัวเรื่อง
ส่วนตัวคิดว่าปัญหานี้แรงที่สุด เหมือนกันเราให้สัญญากับคนอ่านแล้วหักหลัง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาแบบล่อให้คลิก เปิดเรื่องขายของ หรือเราเข้าใจ(ของเราเอง)ว่าเราเขียนเนื้อหาเกี่ยวกับหัวเรื่องแล้ว แต่คนอ่านต้องมานั่งงมหาสิ่งที่อยากรู้และตามหาอยู่แต่หาไม่เจอ หรือเจอแต่เนื้อหาอธิบายน้อยไปจนยื้อคนดูไว้ไม่นานพอ
และนี่ยังไม่รวมเรื่องของการสะกดคำผิดทำให้คนอ่านสะดุดบ่อยๆ แบบนี้คนอ่านก็พร้อมที่จะปิดเว็บเพจของเราทันที ผลที่ตามมาอย่างหนึ่งคือ Google ก็จะมองว่าเว็บไซต์ของเราไม่มีคุณภาพและจัดอันดับเว็บไซต์ของเราไว้ท้ายๆคู่แข่ง เว็บไซต์อาจได้ Traffic เยอะก็จริง แต่ไม่รู้ตัวว่าเป็นการดับธุรกิจของเราทางอ้อม
2. เว็บไซต์หรือเว็บเพจนั้นโหลดช้าเกินไป
ซึ่งมันอาจมีหลายสาเหตุเช่น ใส่รูปที่มีขนาดหรือความละเอียดใหญ่เกินไป ไม่ทำให้เว็บไชต์เปิดใช้งานบนมือถือได้ง่าย หรือใส่ฟังก์ชั่นที่ไม่จำเป็น ปุ่มกดบนเว็บไซต์ก็กดบนมือถือยาก ใช้ฟอนต์ใหญ่เกินไป ยัดเนื้อหาทุกอย่างไว้ใน Landing Page ฯลฯ และที่สำคัญชอบใส่ Slider ให้กับรูปภาพ
ซึ่งนอกจากจะไม่จำเป็นแล้ว Javascript ที่ใช้สำหรับ Slider ยังไปกินเวลา เมื่อคนเปิดเว็บไซต์ทนรอไม่ไหว ก็พร้อมที่จะปิดเว็บไซต์ของเราได้ตลอดเวลา ปัญหาคือเราอาจจะทำเว็บไซต์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์จนลืมไปว่ายุคนี้คนส่วนใหญ่เค้าใช้มือถือเปิดเว็บเพจได้ด้วย
3. นำคนมาดูผิดเว็บเพจ
ฟังดูเป็นเรื่องตลก แต่ก็เกิดขึ้นกับหลายเว็บไซต์มาแล้ว อาจเป็นเพราะเรากำหนดกลุ่มเป้าหมายคนดูหรือลูกค้าผิดตั้งแต่เริ่มต้นเลยก็ได้ หรือเราอาจกำหนดกลุ่มเป้าหมายลูกค้าไว้กว้างกว่ากลุ่มลูกค้าตัวจริง
ยิ่งหากเราลงทุนทำโฆษณาในรูปแบบของ Google Ads แล้วหล่ะก็ ได้ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำแบบไม่รู้ตัวด้วย ตัวอย่างง่ายๆเช่น ทำเว็บเพจขายรองเท้าเด็กผู้ชายเล่นกีฬา แต่กลับตั้งกลุ่มเป้าหมายว่าเป็นผู้ชายทุกคน แบบนี้จะไม่ทำให้ Bounce Rate มันสูงได้อย่างไร?
การนับคำนวณ Bounce Rate และ Engagement Rate
ค่า Bounce Rate ใน GA4 จะเป็นค่าที่ตรงกันข้ามกับ Engagement Rate ซึ่งหมายความว่าถ้า website มีค่า Bounce Rate ที่ 20% ค่า Engagement Rate จะอยู่ที่ 80%
โดยวิธีนับ Engage Session มี 3 เงื่อนไขพื้นฐาน ถ้าหากเข้า 1 ใน 3 เงื่อนไข จะถูกนับเป็น Engaged Session ทันที ได้แก่
- Session นั้นใช้เวลาอยู่บนหน้าเว็บไซต์เกิน 10 วินาที (ค่าเริ่มต้น)
- Session นั้นเข้าชม website มากกว่า 1 หน้า
- Session นั้นเกิด Conversion Event แม้จะไม่ได้เข้าหน้าอื่น ๆ
ดังนั้น Session ใดที่ Landing มาแล้วไม่เกิน 10 วินาที และไม่ได้ทำเกิด Conversion จะถือว่าเป็น Session ที่ไม่ Engage
และคำถามที่น่าสนใจต่อมาก็คือ ถ้าบาง website มีเนื้อหาที่ต้องทำความเข้าใจมากกว่า 60 วินาที แล้วบางคนเข้ามา 12 วินาที โดยไม่ได้ทำความเข้าใจเนื้อหา ในส่วนนี้การนับ Engaged Session จะมีความเหมาะสมจริง ๆ ไหม?
คำตอบคือ ก็ดูเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ดังนั้น Google เลยมีฟีเจอร์ให้เราเปลี่ยนค่าจาก 10 วินาที เป็นค่าที่เรากำหนดเองได้เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในแต่ละ website ฟีเจอร์ที่กล่าวมานั้นก็คือ Adjust timer for Engaged Sesions
แต่การดูเพียงค่า Bounce Rate ก็ดูจะไม่มีความเหมาะสม 100% เนื่องจากถ้า website นั้นมีการตั้งค่าการนับ Engaged Session ไว้ที่ 300 วินาที แต่มี Session ที่ใช้งานบน website นั้น 298 วินาที ก็จะไม่ถูกนับเป็น Engaged Session และกลายเป็น Bounce Rate แทน
จะเห็นได้ว่าตัวเลข Bounce Rate ใน GA4 ก็อาจจะไม่สามารถตอบคำถามได้ 100% เพราะเป็นตัวเลขที่คาบเกี่ยวระหว่างความ “มีคุณภาพ” และ “ไม่มีคุณภาพ”
สรุป
Bounce Rate (อัตราการตีกลับ)เป็นตัวชี้วัดคุณภาพของเว็บไซต์ก็จริงอยู่ แต่ก็ไม่ควรใช้ Bounce Rate เพียงค่าเดียวในการประเมินค่าคุณภาพของเว็บไซต์ แนะนำให้พิจารณาจากปัจจัยหลายๆ ปัจจัย และเน้นไปที่การปรับปรุงคุณภาพเนื้อหา การออกแบบเว็บไซต์ การลดเวลาโหลดหน้าเว็บไซต์ ความสะดวกสบายในการใช้งาน และการปรับปรุง UX/UI ให้มากขึ้น
หากคุณทำสิ่งเหล่านี้ได้ดีก็จะช่วยให้ Bounce Rate ของเว็บไซต์ของคุณต่ำลงและดีต่อ SEO ของคุณได้อย่างแน่นอนเลย