SEO keyword คืออะไร วิธีหา keyword พร้อมโปรแกรมหา keyword ฟรี

การกำหนดกลยุทธ์การทำ SEO Keyword หรือ Keyword SEO นั้นมีความสำคัญมากต่อการทำ Search Engine Optimization (SEO) และ Search Engine Marketing (SEM) เพราะช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมการค้นหาของลูกค้า user’s intent เพื่อวางแผนให้เว็บไซต์ของเราเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น และดึง Quality Traffic เข้าสู่เว็บไซต์ในระยะยาว

บริษัทรับทำ SEO Markettium จะพาคุณไปรู้จักกับ Keyword Strategy แบบครบจบในโพสต์เดียว ตั้งแต่การทำพื้นฐานว่า Keyword คืออะไร ขั้นตอน สำหรับการเลือกคำ Keyword ให้เหมาะกับแบรนด์ของคุณ และ Guideline ว่าธุรกิจควรจะเลือกใช้ Keyword กี่คำ เพื่อให้ได้อันดับการแสดงผลติด Rank ดีๆ บนหน้า Search Engine Result Pages (SEPRs) ไปติดตามอ่านรายละเอียดกันได้เลย (เรามีบริการ รับสอน SEO ด้วยนะ)

SEO Keyword คืออะไร ?

SEO Keyword คือ คำหรือวลีที่คนใช้ค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการบน Search Engine (Google) ไม่ว่าจะเป็นสินค้า บริการ ปัญหา หรือความต้องการอื่นๆ เมื่อมีคนเสิร์ชอะไรบางอย่างบน Google แล้วในประโยคนั้นมี Keyword ตรงกับเว็บไซต์ เว็บไซต์ของคุณก็จะแสดงขึ้นบนหน้า Google

ถ้าคุณเข้าใจพฤติกรรมการค้นหาของลูกค้า ก็จะช่วยให้คุณเลือก Keyword ได้ถูกต้อง ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จัก และมีคนคลิกเว็บไซต์ของคุณมากขึ้น (อ่านเพิ่มเติม On Page SEO คืออะไร)

การทำ KEYWORD RESEARCH คืออะไร?

การทำ Keyword Research คือ การวิเคราะห์และการหารายการของคำต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพในการนำไปเขียนบทความสำหรับ SEO ซึ่งคำเหล่านี้จะเป็นแนวทางสำหรับทิศทางของเนื้อหาคอนเทนต์ที่จะนำมาใช้ในการสร้างแผนกลยุทธ์การตลาดของคุณ

ทำไมการค้นหา KEYWORD ถึงสำคัญ

การค้นหาคำที่มีจำนวนการค้นหาปริมาณมากนั้นไม่เพียงพอ คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าคำหลัก SEO ที่ใช้ในคอนเทนต์ของคุณตรงกับแบรนด์ ผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณ รวมไปถึงเป็นคำที่ลูกค้าของคุณใช้ในการค้นหาแบรนด์คุณด้วยทำให้การค้นหาคำที่ใช่จึงมีหลายขั้นตอน และผ่านการวิเคราะห์เป็นจำนวนมาก (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)

เมื่อคุณได้ Keyword แล้ว คุณจะสามารถสร้างกลยุทธ์ SEO เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของคุณ และที่สำคัญคือการเพิ่มอันดับของเว็บไซต์ให้อยู่อันดับต้นๆ ในการค้นหาเป็นการเพิ่มโอกาสและเพิ่มจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราอีกด้วย (อ่านเพิ่มเติม Off-Page SEO คืออะไร)

ประเภทของ SEO Keywords มีอะไรบ้าง?

  • Generic Keyword

Keyword ทั่วไป เป็นคำ หรือวลีกว้างๆ ไม่เฉพาะเจาะจง เป็นคำที่มีปริมาณค้นหาสูงมาก ข้อดีคือ ถ้าคุณทำให้เว็บไซต์ติดอันดับด้วย Keyword ประเภทนี้ได้ ก็จะทำให้เว็บไซต์ และธรุกิจของคุณเป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่การจะทำให้ติดอันดับต้นๆ ก็คงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคำที่มีปริมาณค้นหาสูง คู่แข่งของคุณก็มีมากเช่นกัน

ยกตัวอย่าง Generic Keyword

ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นธุรกิจเกี่ยวกับ อาหารญี่ปุ่น อาจจะใช้ Keyword คำว่า “ร้านอาหารญี่ปุ่น” “บุฟเฟต์ซูชิ”
ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นสินค้าเครื่องสำอาง อาจจะใช้ Keyword “เครื่องสำอางเกาหลี” “ขายเครื่องสำอางออนไลน์” เป็นต้น

  • Niche Keyword

ลองทำให้ Keyword ของคุณแคบลงมาอีกนิด การใช้ Keyword ชนิดนี้มีข้อดีคือ ทำให้กลุ่มเป้าหมายของคุณเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ตรงตามความต้องการของคนเสิร์ชมากขึ้น สร้างโอกาสในการขายได้มากขึ้น และทำให้คู่แข่งลดลงกว่าการใช้แบบ Generic Keyword (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ E-Commerce)

ยกตัวอย่าง Niche Keyword

ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นธุรกิจเกี่ยวกับ อาหารญี่ปุ่น คุณอาจจะใช้คำว่า “ร้านอาหารญี่ปุ่น พญาไท” “บุฟเฟต์ซูชิ พญาไท” “บุฟเฟต์แซลมอน พญาไท”
ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นสินค้าเครื่องสำอาง อาจจะใช้ Keyword คำว่า “เครื่องสำอาง ยี่ห้อ….” “เครื่องสำอาง Sulwhasoo”

  • Longtail Keyword

เป็น Keyword ที่เฉพาะเจาะจง บอกความต้องการของคนที่เสิร์ชชัดเจน แม้ปริมาณการค้นหาอาจจะต่ำ และไม่กว้างเท่ากับ 2 ประเภทที่กล่าวไป แต่ก็เรียกได้ว่าเป็น Keyword ที่ทำเงินให้กับคุณเลย เพราะคนที่เสิร์ช Keyword กลุ่มนี้ คือคนที่มีความต้องการที่จะซื้อสินค้าแบบเฉพาะเจาะจง

ยกตัวอย่าง Longtail Keyword

ถ้าเว็บไซต์เป็นธุรกิจเกี่ยวกับ อาหารญี่ปุ่น Keyword ก็อาจจะเป็น “ร้านอาหารญี่ปุ่น พญาไท มีที่จอดรถ”
“บุฟเฟต์ ซูชิ ไม่จำกัดเวลา”
ถ้าเว็บไซต์เป็นสินค้าเครื่องสำอาง อาจจะใช้ Keyword คำว่า Sulwhasoo Lumitouch Skin Cover SPF 25 / PA++ เป็นการเจาะจงตัวสินค้าไปเลย

เมื่อเราได้ Keyword สำหรับเว็บไซต์ของเราแล้ว ก็อย่าลืมนำไปใส่ในเว็บไซต์ และบทความของคุณด้วย เพราะถ้าคุณลืมใส่เว็บไซต์ของคุณก็อาจจะไม่ติดอัน และไม่ถูกแสดงบน Google ก็เป็นได้

Keyword SEO สำคัญอย่างไร

1. Keyword คือ สะพานเชื่อมระหว่างลูกค้ากับเว็บไซต์

หากเราเลือกคีย์เวิร์ดบนเว็บไซต์ได้ถูกต้อง ก็จะเป็นการคัดกรองผู้เข้าเว็บไซต์ที่เป็นคนที่สนใจเนื้อหาของเว็บไซต์หรือสินค้าของเราจริงๆ จึงมีโอกาสสูงที่พวกเขาจะติดตามแบรนด์หรือกลายเป็นลูกค้าในอนาคต

ในโลกออนไลน์ คุณภาพ สำคัญพอๆ กับปริมาณ จะมีประโยชน์อะไรหากมีปริมาณคนเข้าเว็บไซต์ 1 แสนคนต่อวัน แต่ไม่มีใครซื้อสินค้าของเราเลย การหา Keyword อย่างถูกต้อง จะทำให้เว็บไซต์ได้รับ Traffic คุณภาพ เพราะเขามีความต้องการอยู่แล้วจึงเสิร์ชเข้ามา

2. Keyword คือ ทำเลร้านบนโลกออนไลน์

ลองจินตนาการว่า เราเปิดร้านอาหารที่ราคาไม่แพง รสชาติเป็นเลิศ แต่ที่ตั้งอยู่ห่างไกลและเงียบเหงาราวป่าช้า ไม่มีใครเดินผ่านหน้าร้านเลย ไม่นานธุรกิจย่อมอยู่ในภาวะวิกฤต

Keyword เปรียบเหมือน “ทำเล” ของธุรกิจออนไลน์ หากเรามีการ หา keyword ที่ดี มีปริมาณคนค้นหามาก และเว็บไซต์ถูกจัดอยู่ในอันดับดีๆ ได้ ก็เหมือนเว็บไซต์หรือหน้าร้านของเราอยู่ในทำเลทอง

3. Keyword คือดัชนีชี้วัดโอกาสประสบความสำเร็จ

การหา Keyword แล้ววิเคราะห์ ก็เหมือนการพิจารณาโอกาสแพ้ชนะในสงคราม ทำให้เราทราบความเข้มแข็งของคู่แข่ง ต้นทุนที่ต้องใช้ โอกาสสำเร็จ หากคุณเลือกคำค้นดี คู่แข่งไม่เข้มแข็งมาก ก็มีโอกาสสูงที่การปรับแต่งเว็บไซต์จะให้ผลลัพธ์อย่างที่ตั้งใจไว้ แต่หากเลือก Keyword ผิด โอกาสสำเร็จจะริบหรี่ เสี่ยงสูงที่จะเสียทั้งเงินและเวลาไปฟรีๆ (อ่านเพิ่มเติม Backlinks คืออะไร)

Keyword SEO ที่ดี ควรมีลักษณะ 5 อย่าง

ก่อนจะเลือกใช้คีย์เวิร์ดใดบนเว็บเพจก็ต้องประเมินด้วยว่า ลักษณะของคำหรือวลีนั้นเหมาะใช้หรือเปล่า เผื่อไม่ให้เสียแรงและเวลา (อาจรวมถึงเสียเงินด้วย) กับคีย์เวิร์ดที่ไม่ได้นำมาซึ่งผลลัพธ์จริงๆ

วิธีพิจารณาเลือก Keyword มาใช้ ก็มีอยู่ 5 เกณฑ์ด้วยกัน

1. เกี่ยวข้อง

keyword ต้องเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือเป้าหมายของเว็บไซต์ เช่น ชื่อ รุ่น ยี่ห้อ ของสินค้า หรือ ปัญหาของลูกค้า ผลลัพธ์จากการใช้สินค้า ฯลฯ ยิ่ง keyword เกี่ยวข้องและเฉพาะเจาะจงไปยังสินค้าคุณเท่าไร โอกาสที่ผู้ที่เข้าเว็บไซต์จะกลายเป็นลูกค้า ยิ่งมากเท่านั้น

2. มีคนใช้

หลายคนเข้าใจผิดว่า การหา Keyword ที่ดี คือ หาคำที่บอกชื่อลักษณะสินค้าแบบตรงๆ ถูกหลักภาษา ซึ่งความจริงไม่ใช่แบบนั้น

Keyword คือ คำที่กลุ่มเป้าหมายของคุณใช้ ซึ่งอาจเป็นคำต่างคำที่หมายถึงสิ่งเดียวกัน หรือแม้แต่คำที่สะกดผิด หากมีปริมาณค้นหาสูง ก็เป็น Keyword ที่ดีได้ เช่น

  • คำที่ผิดไวยกรณ์อย่างสิ้นเชิง แต่มีปริมาณค้นหาสูง แถมคู่แข่งต่ำ เช่น มอไซค์ น่ำตาล แทปเลต ฯลฯ
  • คำต่างคำที่หมายถึงสิ่งเดียวกัน เช่น “คอนโด ห้องเช่า ห้องพัก ที่พัก” , “มือถือ smartphoe สมาร์ทโฟน”, “ต่างหู ตุ้มหู เครื่องประดับหู”

สรุปง่ายๆ คือ เราต้องหาให้ได้ว่ากลุ่มเป้าหมายใช้คำอะไรในการค้นหาสินค้าของคุณ และใช้คำนั้นเป็น Keyword (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress)

3. มีปริมาณค้นหาพอสมควร

Keyword ที่ดีต้องมีปริมาณค้นหาพอสมควร เพราะยิ่งมากเท่าไร โอกาสเพิ่มยอดขายยิ่งมากเป็นเงาตามตัว Keyword ที่ไม่มีคนค้นหาหรือมีปริมาณค้นหาน้อยเกินไป ก็เหมือนทำเลขายของที่ร้างผู้คน แม้ร้านมีสินค้าดีแค่ไหน ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ

4. แข่งขันได้

Keyword ที่ดีต้องแข่งขันได้ หมายถึง เมื่อเลือก Keyword นี้ใส่ไปในเว็บเพจ เราสามารถทำให้คอนเทนต์หน้าที่มุ่งหวังปรากฏในหน้า 1–2 ของ Google ได้ คือสามารถแข่งขันกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้ในมุมการทำ SEO ยิ่งอันดับเหนือกว่าคู่แข่งได้ยิ่งดี

แล้วขนาดไหนที่เรียกว่า “แข่งขันได้”

  1. ถ้าเราใช้ Keyword Research Tools (จะแนะนำในหัวข้อถัดไป) ตัวโปรแกรมจะวิเคราะห์ความยาก-ง่ายในการแข่งขัน หรือ Keyword Difficulty ออกมาเป็นตัวเลขหรือสีให้เราดู โดยที่เราจะพิจารณาว่า เว็บไซต์ของเราแข็งแกร่ง (Domain Authority) พอจะสู้ความแข็งแกร่งของเว็บไซต์อื่นได้หรือไม่ (ลองเช็กความแข็งแกร่งของเว็บไซต์คุณได้ที่ ahrefs.com)
  2. พิจารณาจากต้นทุนและผลตอบแทนในการแข่งขัน ยกตัวอย่างเช่น ต้องซื้อ Ad ให้ Keyword เพิ่มเพื่อทำอันดับ หรือต้องซื้อ Backlink เพื่อเพิ่ม Authority ให้เว็บไซต์แข็งแกร่ง หากการลงทุนนั้นอยู่ในงบประมาณที่ตั้งไว้อยู่แล้ว หรือนำมาซึ่งผลลัพธ์ทางการตลาดที่น่าพึงพอใจ ก็ถือว่าแข็งขันได้

5. เป็นคำประเภท “High Commercial Intent”

เราควรให้ความสำคัญกับ Keyword แบบ “High Commercial Intent” เป็นพิเศษ เพราะเป็น keyword ทำเงิน ช่วยเพิ่มยอดขาย โดย High Commercial Intent keyword มี 2 แบบหลัก คือ

1. Buy Now Keyword คือ กลุ่มที่ถูกใช้โดยคนที่มีกำลังซื้อและต้องการสินค้าอย่างเร่งด่วน เช่น

  • “จอง ที่พัก เชียงใหม่ แม่ริม” (เดินทางชัวร์ จึงต้องการจองที่พัก)
  • “ขาย มอไซด์เก่า มีทะเบียน พร้อมส่ง”
  • “ร้านอาหาร xxx จองโต๊ะ” (มากินแน่ กลัวโต๊ะไม่ว่าง)

2. Product Keyword คือ กลุ่มคำที่ระบุ ยี่ห้อ รุ่น ลักษณะ ของสินค้าหรือบริการ แม้เป็นคำที่มีพลังในการซื้อน้อยกว่า “Buy Now keyword” แต่ก็น่าสนใจ เพราะมันถูกใช้โดยคนที่มีใจเอนเอียงสู่สินค้าอยู่แล้ว เช่น

  • “5 กองทุนรวม Ltf ผลตอบแทนสูง” (แน่ละ มีกองทุนรวมที่คุณทำตลาดอยู่ในบทความด้วย)
  • “รีวิว ห้องพัก aaa สวยๆ” (บอกเล่าประสบการณ์ดีๆ กับห้องพักสวยๆ)
  • “10 ที่พักเชียงใหม่ ราคาถูก”

อ่านเพิ่มเติม Website traffic

ขั้นตอนการหา KEYWORD

ขั้นตอนที่ 1 : กำหนดเป้าหมายของคุณ

แผนต้องเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมายเสมอ แต่ก่อนหน้านั้นคุณควรทบทวนคำถามที่สำคัญเหล่านี้ก่อน เช่น

  • คุณคือใคร?
  • แบรนด์ของคุณเกี่ยวกับอะไร?
  • อะไรที่ทำให้คุณพิเศษ?
  • เว็บไซต์ของคุณเกี่ยวกับอะไร?

เมื่อคุณได้ตอบคำถามเหล่านี้ได้แล้ว คุณจะต้องระบุสิ่งที่เป็นภารกิจของแบรนด์ของคุณ ว่าคุณต้องการเพิ่มจำนวนสมาชิกหรือไม่? หรือคุณมีเป้าหมายการขายตามวันที่กำหนดหรือไม่?

สิ่งสำคัญคือการกำหนดเป้าหมายของคุณ เพราะจะเป็นแนวทางสำหรับกลยุทธ์และแผน SEO ของคุณ รวมไปถึง Keyword ค้นหาที่คุณจะใช้ ซึ่งควรสอดคล้องกับเป้าหมายของคุณ โดยแตกต่างกันไปในแต่ละ Content Funnel

ขั้นตอนที่ 2 : ทำรายการหมวดหมู่คำที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ

การทำรายการคำให้แบ่งตามหมวดหมู่หลักของแบรนด์และเป้าหมายที่คุณตั้งเป้าไว้ โดยแบ่งเป็นกลุ่มหัวข้อย่อยๆ และทำรายการลงมาที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ และสิ่งที่คุณต้องการให้ติดอันดับบน Google

ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นแบรนด์ FMCG ที่เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ดูแลผิวสำหรับสาวๆ หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ของคุณอาจเป็น

  • โฟมล้างหน้าผู้หญิง
  • ผิวกระจ่างใส
  • ครีมอาบน้ำ

หัวข้อเหล่านี้จะต้องมีความสำคัญต่อธุรกิจของคุณ และเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ซื้อของคุณ ลองนึกถึงกลุ่มหัวเรื่องที่กลุ่มเป้าหมายของคุณจะทำการค้นหาบน Google ซึ่งหัวข้อเหล่านี้เราสามารถจัดเก็บเอาไว้และนำมาแยกย่อยเป็นคำหลักได้ในภายหลัง

ขั้นตอนที่ 3 : สร้างรายการ Keyword หลักของคุณ

เมื่อคุณแบ่งหมวดหมู่หลักของคุณออกเป็นหัวข้อย่อยต่างๆ แล้วคุณสามารถเริ่มสร้างรายการคำหลักตั้งต้นได้ คำหลักเหล่านี้จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับหัวข้อต่างๆ ของคุณและที่สำคัญกว่านั้นคือ ต้องเป็นคำที่กลุ่มเป้าหมายของคุณอาจค้นหาใน Google

คีย์เวิร์ดตั้งต้นมีความสำคัญเนื่องจากจะกลายเป็นรากฐานของการทำ Keyword Research ของคุณ ซึ่งจะนำมาเป็นหลักหรือคำที่อธิบายถึงแบรนด์ของคุณว่าเกี่ยวกับอะไร และใช้ในการวิเคราะห์คู่แข่งของคุณอีกด้วย

หากคุณสงสัยว่าจะหาคำตั้งต้นของแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ของคุณได้อย่างไร จริงๆ แล้วง่ายกว่าที่คุณคิดมาก สิ่งที่คุณต้องทำคือ อธิบายถึงสินค้าบริการของคุณออกมาให้ง่ายมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และระดมความคิดว่าคนอื่นๆ จะทำการค้นหาถึงแบรนด์ของคุณบน Google ว่าอย่างไร

ขั้นตอนที่ 4 : ศึกษาเจตนาในการค้นหา

Plugin ในการดูคำที่มีการค้นหาสูงเพื่อเพิ่มอันดับในการค้นหาสำหรับหน้าเว็บไซต์ใช้งานได้อย่างดาย แต่มันจะไม่ง่ายอีกต่อไป ซึ่งในวันนี้ AI ของ Google ได้มีการเปรียบเทียบและเรียนรู้คำที่ผู้ใช้งานค้นหากับสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการเห็นว่าตรงใจผู้ใช้งานหรือไม่

การค้นหาถึงเจตนาหรือเหตุผลในการค้นหาว่าคำต่างๆ ว่าทำไมผู้คนถึงค้นหาคำที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งมีปัจจัยขับเคลื่อนมากมายอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมการค้นหาของผู้คน เช่น

  • ทำไมพวกเขาถึงค้นหา?
  • พวกเขากำลังค้นหาเพราะพวกเขามีคำถาม และต้องการคำตอบนั้นหรือไม่?
  • พวกเขากำลังค้นหาเว็บไซต์ที่เฉพาะเจาะจงหรือไม่?
  • พวกเขากำลังค้นหาเพราะต้องการซื้อของบางอย่างหรือไม่?

เมื่อคุณได้ไอเดียที่ดีในการค้นหาสิ่งที่อยู่เบื้องหลังของผู้อ่านหรือกลุ่มเป้าหมาย คุณจะสามารถใช้ในการปรับแต่งการทำ Keyword Research การมีรายการคำที่มีการค้นหาสูงที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์หรือหัวข้อของคุณนั้นเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยม แต่การค้นหาคำที่ตรงกับความตั้งใจในการค้นหาของกลุ่มเป้าหมายโดยตรงนั้นดีกว่า

ขั้นตอนที่ 5 : การกำหนด Long-Tail Keywords

คำหลักที่ตั้งต้นมักจะเป็นข้อความค้นหาที่สั้นกว่า ซึ่งเกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือหมวดหมู่หลักของแบรนด์คุณอย่างใกล้ชิด ในทางกลับกัน Long-Tail Keywords มีความหมายมากกว่าและมักเกี่ยวข้องกับกลุ่มหัวข้อย่อยที่เจาะจงกว่า ทำให้การจับคู่เจตนาของผู้ค้นหาใน Long-Tail Keywords นั้นตรงกับความต้องการได้อย่างเจาะจงกว่า

ขั้นตอนที่ 6 : ค้นหาเกี่ยวกับคู่แข่งของคุณ

การทำ Keyword Research บน Google เกี่ยวกับแบรนด์ของคุณอาจไม่เพียงพอ นอกจากนี้คุณยังจะต้องสำรวจถึงสิ่งที่คู่แข่งของคุณกำลังทำ ยิ่งคุณเข้าใจคอนเทนต์ในอุตสาหกรรมของคุณได้ดีเท่าไร ก็ยิ่งดีสำหรับ SEO ของคุณเท่านั้น

การทำความเข้าใจถึงความสามารถในการแข่งขันของคำหลักต่างๆ จะช่วยให้คุณสามารถระบุข้อความค้นหาที่อาจจัดอันดับได้ยากเกินไป แต่ที่สำคัญที่สุด คุณจะสามารถค้นหาช่องว่างของโอกาสคำหลักได้ โอกาสเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อคุณค้นหาคำที่เกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับคำหลักของแบรนด์หรือสินค้าในอุตสาหกรรม ซึ่งมีการแข่งขันที่ต่ำลงมาหรือระดับปานกลาง

เมื่อเราได้ทำ Keyword Research ตามขั้นตอนเหล่านี้แล้วจะทำให้เรามีข้อมูลเชิงลึกมากพอที่จะนำวางกลยุทธ์ทางเว็บไซต์ คอนเทนต์ และ SEO ได้อย่างแม่นยำและที่สำคัญสามารถเห็นผลลัพธ์ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งการทำค้นคว้าข้อมูลนี้อาจใช้เวลา แต่รับรองว่าจะช่วยให้การทำงานและผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว (อ่านเพิ่มเติม Facebook SEO)

โปรแกรมหา keyword SEO ฟรี (Free Keyword SEO tools)

1. Google Suggestion

วิธีแรกที่ง่ายที่สุดคือการหาไอเดียจาก Google Suggestion หรือก็คือผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องที่โชว์ให้คุณเห็นตอนกำลังเสิร์ชคำใดคำหนึ่งลงไปดังในภาพนี้

หรือสามารถดูที่ Related searches ในตำแหน่งท้ายสุดของหน้าผลลัพธ์การค้นหาก็ได้ 

2. Google Keyword Planner

Google Keyword Planner เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือช่วยค้นหาคีย์เวิร์ดที่เหมาะสมโดยผ่านฐานข้อมูลของ Google โดยตรง วิธีการใช้งาน คือ

  • สมัครและเข้าใช้งานบัญชี Google Ads จากนั้นจึงไปที่ Tools > Planning > Keyword Planner
  • เลือก Discover New Keywords เป็นฟังก์ชันที่ช่วยให้คุณได้ไอเดียคีย์เวิร์ดใหม่ ๆ โดยสามารถป้อนคำค้นหาที่สนใจลงไป พร้อมเลือกโลเคชั่น จากนั้น Google จะแสดงผลลัพธ์เป็น Keyword Ideas พร้อมผลการค้นหาและข้อมูลตัวเลขอื่น ๆ ที่ช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกคีย์เวิร์ดได้ง่ายขึ้น

โดยผลลัพธ์จาก Google Keyword Planner สามารถใช้เป็นไอเดียทำ SEO หรือใช้เป็นข้อมูลประกอบเวลาต้องการวางงบประมาณทำ Google Ads ได้เลย เพราะโปรแกรมนี้จะมีการใช้ธีมคีย์เวิร์ดเพื่อให้คอนเทนต์ของคุณเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นผ่านการจัดกลุ่มของคีย์เวิร์ดในธีมเดียวกัน

แล้วธีมคีย์เวิร์ดคืออะไร? ธีมคีย์เวิร์ดคือคำหรือวลีที่แทนกลุ่มคำที่คล้ายกันอีกหลายรายการ ซึ่งหากคุณเลือกให้โฆษณาของคุณแสดงผลเมื่อลูกค้าค้นหาคำใดคำหนึ่งในธีม เช่น “ร้านอาหาร” โฆษณาของคุณก็สามารถแสดงผลเมื่อลูกค้าค้นหาคำอื่นในธีม “ร้านอาหาร” ได้ด้วยเช่นกัน เช่น “ร้านอาหารใกล้ฉัน” “ร้านอาหาร ราคา”

3. Google Trend

Google Trend ก็ใช้ทำ Keyword Research อย่างง่ายได้เช่นเดียวกัน โดยสามารถเสิร์ชคำที่สนใจ หรือดูผลการค้นหาที่กำลังเป็นเทรนด์ในช่อง Recently trending ได้เลย

4. Ubersuggest

Ubersuggest เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือค้นหาคีย์เวิร์ดจาก Neil Patel ที่คุณสามารถใช้งานได้ฟรี 3 ครั้งต่อวัน หรือใครจะซื้อแพ็กเกจเพื่อปลดล็อกการใช้งานที่มากขึ้นก็ได้ โดยคุณสามารถใส่คีย์เวิร์ดหรือโดเมนที่ต้องการลงในช่องค้นหาเพื่อดู Search Volume, SEO Difficulty, Cost per Click และ Paid Difficulty ได้

อ่านเพิ่มเติม Instagram SEO

วิธีการปรับปรุง Keyword

สำหรับใครที่ทำ SEO มาสักพักแล้ว แต่อันดับก็ยังไม่ดี นี่อาจจะถึงคราวที่คุณจะต้องทำการปรับปรุง Keyword บนหน้าเว็บไซต์ให้ดีขึ้น ซึ่งนี่ถือเป็นการ Optimize ส่วนของ On-Page ที่เป็นส่วนสำคัญของการทำ SEO Audit อีกด้วย โดยมีวิธีการปรับปรุง Keyoword ในส่วนต่างๆ ให้ดีขึ้น ดังนี้

  • ใส่ Meta title และ Meta Description ให้ตรงกับ Keyword
  • แต่ง URL ให้เป็นมิตร และควรใส่ Keyword in URL ที่เกี่ยวข้องกับหน้านั้นๆ ลงไปด้วย
  • ใส่ Keyword ลงไปใน Heading (H1) Subheadings (H2) หรือส่วน Body ของหน้าเว็บไซต์ แต่ไม่ใช่การสแปมคีย์เวิร์ด ควรใส่ลงไปอย่างเป็นธรรมชาติ
  • ใส่ long-tail keywords ลงไปในหน้าเว็บไซต์

แต่ทั้งนี้ก็ต้องอย่าลืมย้อนกลับไปดู Search Intent และผลลัพธ์การค้นหาของ Keyword นั้นๆ ด้วยนะครับว่าเป็นผลลัพธ์ประเภทใด ยกตัวอย่างเช่น คีย์เวิร์ดคำว่า Backlink ผลการค้นหาส่วนใหญ่คือ Blog Post สำหรับให้ความรู้ และตอบคำถามในทำนองเดียวกันว่า Backlink คืออะไร

ถ้าหากคุณต้องการทำอันดับให้ดีขึ้น คุณอาจจะต้องทำคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ข้อสงสัยเกี่ยวกับ Backlink ให้ครอบคลุมกว่าให้หัวข้อย่อยที่คอนเทนต์ติดอันดับทำได้ เช่น

  • Backlink คืออะไร
  • ประเภทของ Backlink
  • วิธีการทำ Backlink

ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการปรับโครงสร้างของคอนเทนต์ให้สมบูรณ์มากขึ้น และช่วยในการเก็บ Keyword ได้ครอบคลุมมากขึ้น แน่นอนว่า หากคุณทำได้ดีกว่า ก็ย่อมทำให้หน้าเว็บไซต์มีโอกาสทำอันดับที่สูงขึ้นได้ในคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ

อ่านเพิ่มเติม Youtube SEO

ธุรกิจควรโฟกัส Keyword มากน้อยเท่าไหร่

การจะตอบได้ว่าควรโฟกัสกี่ Keyword นั้นขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยคือ

1. ปัจจัยแรกคือ ธุรกิจของเรามีหมวดหมู่ของสินค้า (Product Category) มากน้อยแค่ไหน

หากธุรกิจของเรามีหมวกหมู่สินค้าที่หลากหลาย ก็ต้องใช้คำ Keyword ที่มากขึ้นเท่านั้น เพื่อให้สินค้าทั้งหมดนั้นมีคำ Keyword ที่ติดบนหน้า SERP (Search Engine Result Page)

ยกตัวอย่างเช่น ในธุรกิจธนาคาร (Banking) ที่มีกลุ่มสินค้าหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อ, บัตรเครดิต, Refinance, เปิดบัญชีปกติ (ออมทรัพย์), ประกันรถยนต์, ประกันสุขภาพ, ประกันโควิด และอื่นๆ อีกมากมาย ก็ต้องมีการวางแผนคำ Keyword ของแต่ละ Category ที่แตกต่างกัน เพื่อให้เวลาที่มีลูกค้าค้นหาคำว่า “สินเชื่อ” ก็จะเจอหน้า Landing Page ที่เกี่ยวกับ สินเชื่อ

2. ปัจจัยที่สองคือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เป็นกลุ่มทั่วไป (Mass Market) หรือ ลูกค้าในกลุ่มเฉพาะ (Niche Market)

ถ้าธุรกิจของเราเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว เช่น ธนาคารสีต่างๆ ก็สามารถใส่ Branded Keyword ลงไปด้วยได้ เพราะมีแนวโน้มที่คนจะได้ยินแบรนด์ของเราผ่านสื่อต่างๆ แล้วมาค้นหาต่อใน Google ซึ่งสามารถทำควบคู่กับ Non Brand Keyword ที่เกี่ยวข้องกับหน้านั้นๆ ได้

ถ้าลูกค้าที่ Niche market หรือแบรนด์ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เช่น ธุรกิจขายอุปกรณ์เครื่องจักร ไว้ขาย B2B (Business to Business) ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ Brand Keyword ลงไปมากนัก เพราะลูกค้าเป้าหมาย (Lead) นั้นอาจจะยังไม่รู้จักแบรนด์เราเลยด้วยซ้ำ ควรเน้นโฟกัสที่ Generic Keyword ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า / บริการของเรามากกว่า

3. ปัจจัยสุดท้ายคือ เป้าหมายของหน้าเว็บไซต์นั้นๆ (Page Objective) คืออะไร?

ก่อนที่เราจะกำหนด Keyword นั้นต้องดูก่อนว่า เราต้องการให้เว็บไซต์ “หน้าไหน” ติดบน SERP (Search Engine Result Page)ในขณะเดียวกันก็ต้องไปดูว่าในหน้านั้นๆ บนเว็บไซต์ของเรามีเป้าหมายอะไร เช่น ให้ความรู้เรื่องการเลือกซื้อแว่นตาผ่านบทความ

จากนั้นต้องไปศึกษาต่อว่าแล้วลูกค้าเป้าหมายที่กำลังเลือกซื้อแว่นตานั้น เขาจะค้นหาด้วยคำ Keyword ว่าอะไรบ้าง และในคำ Keyword เหล่านั้น มีคำไหนที่ลูกค้าต้องการผลลัพธ์การค้นหาใน “รูปแบบบทความ”ให้ความรู้เรื่องการเลือกซื้อแว่นตาบ้าง

หลังจากที่ได้ทำ Keyword Research เบื้องต้นมีคำที่เกี่ยวข้องดังนี้ : แว่นตา , เลือกซื้อแว่นตา , รีวิวทรงแว่นตา , กรอบแว่นตาทรงเหลี่ยม

เราก็นำ Keyword ที่เราลิสต์ออกมา เพื่อไปลองค้นหาบน Google เพื่อดูว่าผลลัพธ์การค้นหานั้นอยู่ในรูปแบบไหน เป็นบทความ , วิดิโอ , E-commerce , Landing Page และอื่นๆ และใน 1 Keyword นั้นๆ ก็สามารถแสดงผลลัพธ์การค้นหาในหลากหลายรูปแบบ

ตัวอย่างเช่น เมื่อลองค้นหาคำว่า กรอบแว่นตาทรงเหลี่ยม ผลลัพธ์การค้นหาจะเป็น E-commerce ที่พาไปซื้อสินค้าเลย นอกจากนี้ยังแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบบทความให้ความรู้เรื่องการเลือกซื้อแว่นให้เหมาะกับโครงหน้าอีกด้วย ดังนั้นธุรกิจก็สามารถเลือกเอา Keyword นี้ไปใช้ได้ เนื่องจากผลลัพธ์การค้นหาที่ Google จัด Ranking นั้นมีการจัดผลลัพธ์ในรูปแบบบทความขึ้นแสดงบนหน้าแรกๆ ของการค้นหาด้วย

ดังนั้นจำนวน Keyword ที่ควรโฟกัสจึงแตกต่างตามประเภทของธุรกิจ ลักษณะของกลุ่มลูกค้า และเป้าหมายของแต่ละหน้าเว็บไซต์ (อ่านเพิ่มเติม Twitter SEO)

คีย์เวิร์ด SEO ที่ดี เป็นอย่างไร

คีย์เวิร์ด SEO ที่ดีต้องมีส่วนผสมระหว่าง คำที่คนค้นหา และเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการคีย์เวิร์ดที่ดี และมีประสิทธิภาพ ต้องมีส่วนประกอบอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน คือ

  • คีย์เวิร์ดที่คนค้นหา

แน่นอนว่าการใช้คำที่คนค้นหา จะช่วยเปิดโอกาสให้บทความของเราแสดงในหน้าแรกได้มากขึ้น แต่กลับกัน การใช้คำแปลกๆ ที่คนไม่นิยมค้นหา หรือแทบไม่มีการค้นหาเลย เรียกได้ว่าเป็นการปิดโอกาสก่อนที่จะเริ่มเขียนบทความเลยทีเดียว

แต่บางคำ บางคีย์เวิร์ดที่คนใช้ค้นหามากๆ แน่นอนว่าย่อมต้องเจอคู่แข่งมากขึ้นไปด้วย เราสามารถลดคู่แข่งลงได้โดยการใช้ Long Tail Keywords

  • เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ

คำว่าเกี่ยวข้องในที่นี้ คือเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม สำหรับคีย์เวิร์ดเกี่ยวข้องทางตรง เช่นประโยชน์ของสินค้าและบริการของเรา การอธิบายวิธีการใช้งาน ฯลฯ ส่วนคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการทางอ้อม เช่น ข่าวสารในแวดวงของสินค้าและบริการนั้นๆ

การให้ความรู้สาระประโยชน์ต่างๆ แน่นอนว่าคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการโดยตรง จะมีคนค้นหาน้อยกว่า แต่ตรงกว่า ส่วนความเกี่ยวข้องโดยอ้อม มีคนค้นหามากกว่า แต่ตรงน้อยกว่า ควรจะมีบทความที่คละกันไป เพื่อเพิ่มความหลากหลายของคีย์เวิร์ดนั่นเอง

ลองจินตนาการถึงบทความที่เราจะเขียนขึ้นมาสักบทความหนึ่ง ถ้าเราอยากให้บทความนี้ปรากฏขึ้นมาเป็นบทความอันดับแรก เราจะใช้คำว่าอะไร ลองแทนใจตัวเองเป็นคนที่ค้นหาบทความต่างๆ ดู จากนั้นถึงค่อยทำ Topic Clusters ที่เป็นการวางแผนคอนเทนต์เป็นกลุ่มเพื่อรีดประสิทธิภาพของ SEO ให้มากขึ้น

ทำความรู้จักกับ Topic Clusters การจัดคอนเทนต์เป็นกลุ่ม เพิ่มทราฟิกให้กับเว็บได้แค่ไหน?

เลือก Keywords SEO โดยใช้ Long Tail Keywords

Long Tail Keywords คืออะไร? สงสัยกันอยู่ใช่ไหม Long Tail Keywords คือคีย์เวิร์ดที่มีความยาวมากกว่าปกติ มีคำขยายที่อยู่ ยกตัวอย่างเช่น

1. กระเป๋า > กระเป๋านักเรียน > กระเป๋านักเรียนสีดำ

แบบนี้เป็น Long Tail Keywords แบบใช้คำขยายบรรยายลักษณะให้ตรงมากขึ้น

2. แว่นตา > ราคาแว่นตา > ประโยชน์ของแว่นตา > เลนส์แว่นตา

ส่วนในลักษณะนี้จะเหมาะกับการทำคอนเทนต์บทความที่ให้ความรู้

ที่ยกตัวอย่างมาด้านบน คีย์เวิร์ด “กระเป๋านักเรียนสีดำ” มีโอกาสติดหน้าแรกมากกว่าคีย์เวิร์ด “กระเป๋า” เพราะเป็นการระบุเจาะจงให้ลึกลงไปนั่นเอง

ทำไมถึงต้องใช้ Long Tail Keywords ด้วยละ? เพราะโอกาสในการติดอันดับมีมากกว่าคีย์เวิร์ดแบบกว้างๆ แน่นอน เพราะคีย์เวิร์ดแบบกว้างๆ นั้นมักจะมีบทความที่ติดอันดับอยู่ก่อนแล้ว ทำให้การติดบทความหน้าแรกเป็นไปได้ยาก

แต่ถ้าคุณลองใช้ Long Tail Keywords จะมีโอกาสติดอันดับในหน้าแรกมากกว่า เพราะคู่แข่งย่อมน้อยกว่าเช่นกัน นับว่าการทำ SEO เป็นจุดเริ่มต้นของ Inbound Marketing ที่ใช้คอนเทนต์ดึงดูดเข้ามาหาสินค้าและบริการนั่นเอง (อ่านเพิ่มเติม Tiktok SEO)

 

สรุป

ขั้นตอนที่สำคัญต่อการทำ SEO ก่อนที่จะเริ่มทำอย่างอื่นเลยก็คือ “การหา SEO Keyword หรือ การหา Keyword SEO” โดยเราต้องเลือกคีย์เวิร์ดที่มี Volume และมี Traffic ดี นอกจากนี้การหา Longtail Keyword ด้วยเช่นกันเพื่อให้มันส่งเสริมการติดอันดับและการค้นหาเว็บไซต์ของเราเจอได้ง่ายขึ้นและมันจะช่วยเพิ่มยอดขายของเราได้อีกด้วย

และอย่าลืมว่าในการทำ SEO ก็ยังมีส่วนอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบต่อการทำอีกด้วย เช่น On – Page Structure, Speed Website, Mobile Friendly และอื่นๆ อีกมากมายที่คุณต้องให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!