On Page SEO คืออะไร วิธีเทคนิคที่ทำให้อันดับดีติดหน้าแรก google

ทำไม on page seo ถึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำอันดับเว็บบนกูเกิ้ล เราได้อัพเดทเนื้อหาล่าสุดจากกูเกิ้ลเกี่ยวกับเทคนิควิธีการทำ on page seo ครบจบในที่เดียว แต่ถ้าไม่อยากเสียเวลาทำ seo ด้วยตัวเอง เรา รับทำ seo ติดหน้าแรก google นะ

การทำ Content Marketing ให้ประสบความสำเร็จ ต้องหมั่นพัฒนา และปรับแต่งเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ ง่ายต่อการใช้งาน และเหมาะสมกับอัลกอริทึมเมื่อมีการค้นหา ดังนั้น ผู้ที่ทำคอนเทนต์ในยุคดิจิทัล แน่นอนว่าจะต้องมีการทำ SEO (Search Engine Optimization) เพื่อให้คอนเทนต์ หรือ เว็บไซต์ติดอันดับหน้าแรก และอยู่ในลำดับสูงขึ้นบน Google ซึ่งบทความนี้ MARKETTIUM จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ On-page SEO วิธีการปรับแต่งเว็บไซต์และคอนเทนต์ภายในเว็บไซต์ ให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งาน และ Search Algorithm (เรามีบริการ รับสอน SEO ด้วยนะ)

On page SEO คืออะไร

On page SEO คือ การปรับแต่งคอนเทนต์บนหน้าเว็บเพจหรือบนเว็บไซต์ของเราเอง (บางทีเราเรียกว่า “On site SEO”) ให้เหมาะสมและง่ายต่อทั้งผู้ใช้งานเว็บไซต์และตัว Search Algorithm เพื่อบอกว่าหน้าเว็บเกี่ยวข้องกับอะไร กำลังกล่าวถึงสิ่งใดอยู่

อ่านเพิ่มเติม off-page seo คืออะไร สำคัญต่อการดันอันดับเว็บไซต์ใน google ได้อย่างไร

ทำ SEO แล้วเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่?

ในการจัดอันดับโดย Search Engine อย่าง Google หรือ Yahoo ไม่เสียค่าใช้จ่าย ถ้าเราทำ SEO เอง จะเสียค่าใช้จ่ายก็ต่อเมื่อ เราไปจ้างผู้เชี่ยวชาญ หรือคนอื่นทำ SEO ให้ ซึ่งจะมากน้อยเพียงใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลง และอันดับที่เราต้องการให้ติดใน Search Engine (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)

การทำ SEO นั้นจะต้องใช้ทักษะความรู้ ตลอดจนระยะเวลาในการทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับในหน้าแรก ซึ่งโดยปกติแล้วไม่เกิน 6 เดือน ส่วนใหญ่ก็จะต้องมีการดัดแปลงโครงสร้างของเว็บอยู่บ้าง

ถึงแม้ในระยะหลัง Google ได้เน้นในการค้นหาเว็บที่มี Content ที่ดี และถูกต้องมากขึ้นซึ่งจะสอดคล้องกับประโยคหนึ่งที่ถูกยกขึ้นมาพูดถึงบ่อยๆ อย่าง “Content is king” บทความนี้ เราจะมาทำ SEO เบื้องต้นง่ายๆ ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไร และสามารถทำได้ด้วยตัวเอง

ประโยชน์ของการทำ SEO

  • ได้รับการจัดลำดับจาก Search Engine ในอันดับที่ดีขึ้น ยิ่งอยู่ในผลการค้นหาหน้าแรก หรืออันดับที่หนึ่งใน Keyword นั้นๆ ยิ่งดี
  • เพิ่มโอกาสที่คนจะเข้าเว็บไซต์ของเรามากขึ้น โดยการคลิกที่ลิงค์จากผลการค้นหาผ่าน Search Engine
  • ทำให้เว็บไซต์ของเราเป็นที่รู้จักมากขึ้น
  • ทำให้เว็บไซต์ของเราสามารถขายสินค้าและบริการได้มากขึ้น
  • ประหยัดค่าโฆษณาเว็บไซต์ของเรา ที่ต้องไปซื้อโฆษณาในที่ต่าง ๆ

ส่วนประกอบสำคัญของการทำ On-page SEO

  • การตั้งชื่อหัวข้อหน้าเพจ (SEO/Page Title)
  • การใส่คำอธิบายหน้าเพจ (Meta Description)
  • การทำเนื้อหาให้สอดคล้องกับ Keyword หรือสิ่งที่คนค้นหา (SEO Keyword)
  • การทำเนื้อหาบนเว็บไซต์ให้อ่านง่าย เข้าใจง่าย ตรงประเด็น (Readability & SEO Writing)
  • การทำคอนเทนต์ให้มีคุณภาพ ตอบโจทย์ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ดีที่สุด (E-A-T Content, การใส่รูปภาพ, การใช้สื่อที่หลากหลาย)
  • การปรับความเร็วการใช้งานเว็บไซต์ (Site Speed)

(อ่านเพิ่มเติม การทำ Facebook SEO)

14 checklist ส่วนประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ของ On-page SEO

สำหรับการทำ On-page SEO จริงๆ แล้วมีหลายเรื่องที่จะต้องทำ ซึ่งถึงแม้จะทำตามได้ทั้งหมดหรือไม่หมด ก็ไม่ได้การันตีว่าผลลัพธ์อันดับเว็บไซต์จะแตกต่างกัน แต่ปัจจัยที่แนะนำให้ทำก่อน จะเป็นพื้นฐานให้ส่งผลต่อการจัดอันดับเว็บไซต์ที่ถูกต้อง ปลอดภัย ตามหลักเกณฑ์ที่ Google กำหนด (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ E-Commerce)

โดยส่วนประกอบของ On-page SEO 14 ข้อต่อไปนี้

  1. การทำคอนเทนต์คุณภาพ (E-A-T Content)
  2. การใช้ Keyword ที่เกี่ยวข้องและมีคนค้นหา
  3. การเขียนคอนเทนต์รูปแบบ SEO (SEO Writing & Readability)
  4. การใช้รูปภาพและมัลติมีเดีย เช่น วิดีโอ Infographic ฯลฯ
  5. การตั้งชื่อหน้าเพจ หรือ Page Title
  6. การใส่คำอธิบายที่ Meta Description
  7. Heading Tags (H1-H6)
  8. การปรับรูปภาพให้เหมาะสมกับการใช้งาน (Image Optimization)
  9. การเพิ่มความเร็วเว็บไซต์ (Site Speed)
  10. การทำเว็บไซต์ให้แสดงผลได้บนมือถือ (Responsive Design)
  11. การตั้งชื่อลิงก์หรือที่อยู่เว็บไซต์ (Friendly URLs)
  12. การทำ Internal link & Outbound link
  13. การทำเว็บไซต์ให้แชร์ง่าย (Shareable)
  14. search intent

1. การทำคอนเทนต์คุณภาพ (E-A-T Content)

สิ่งที่คนต้องการอ่าน คือ คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ และ Google หรือ Search Engine เจ้าอื่นๆ ก็ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ซึ่งทาง Google ก็แนะนำไกด์ไลน์ในการทำคอนเทนต์ที่ Google ชอบ อยากดันอันดับให้ มี 3 เรื่องด้วยกัน

Expertise หมายถึง คอนเทนต์มาจากเว็บไซต์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ถ้าเว็บไซต์ของเราเป็นเว็บประกัน เนื้อหาบนเว็บไซต์ก็ควรเกี่ยวข้องกับความรู้เรื่องประกัน ทำเนื้อหาบนคอนเทนต์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มุ่งทำคอนเทนต์ในด้านนั้นๆ เพื่อแสดงความเชี่ยวชาญของเรา (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress)

Authoritativeness หมายถึง คอนเทนต์มาจากใคร ใครเป็นผู้เขียน แล้วผู้เขียนเป็นคนที่เชื่อถือได้หรือไม่ Google จะมองว่า เว็บไซต์ทรงอิทธิพลในความรู้ด้านนั้นๆ แค่ไหน (เว็บไซต์มีคนอ้างอิงมากน้อยแค่ไหน มีการถูกพูดถึง) หรือผู้เขียนมีตำแหน่งหรือไม่ หากเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับการแพทย์ การที่คนเขียนบล็อกมีตำแหน่งเป็นแพทย์จะมีเครดิตที่ดีกว่า

Trustworthy หมายถึง ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา เนื้อหาที่นำเสนอมีการอ้างอิงหรือไม่ มีคนอ้างอิงเนื้อหาแค่ไหน มีคนเข้ามาหาและอ่านข้อมูลจากเว็บไซต์ของเราบ่อยหรือไม่ (อ่านเพิ่มเติม Tiktok SEO)

2. การใช้ Keyword

การเลือกใช้ “คำหลัก” หรือ Keyword ในการทำคอนเทนต์ สร้างเนื้อหาบนหน้าเพจ โดย “หนึ่ง 1 เพจ ควรโฟกัส 1 คำหลัก” หรือคุมเนื้อหาให้มีประเด็นเดียว เพื่อความชัดเจนของเนื้อหา นอกจากนี้ Keyword ที่ใช้ควรมีลักษณะต่างๆ ได้แก่

  • มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียน (Relevant) เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือสิ่งที่ธุรกิจต้องการให้ความรู้
  • มีคนค้นหา (Search Volume) เราสามารถใช้ Keyword Research Tool ในการเสิร์ชดูปริมาณการค้นหาคำหลักต่างๆ ยิ่งมีคนค้นหามาก ก็แสดงว่า หากเราเลือกใช้ ก็มีโอกาสที่คนจะค้นหาและมาเจอเว็บไซต์ของเรามากเท่านั้น
  • สามารถแข่งขันได้ (Keyword Difficulty) การเลือก Keyword ที่ค่า KD หรือ Difficulty สูงเกินไป จะแข่งขันยาก ควรสมดุลระหว่าง Keyword ที่มีคนค้นเยอะ (หรือไม่น้อยเกินไป) กับความยากในการทำอันดับ

อ่านเพิ่มเติม Twitter SEO

3. การเขียนคอนเทนต์ SEO (SEO content Writing & Readability)

การกระจาย Keyword อย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ให้มีความหนาแน่นมากเกินไป โดยวางให้กระจายตามตำแหน่งที่เหมาะสม

การใส่ Heading Tag ให้กับหัวข้อต่างๆ ในบทความ เพื่อให้ Bot เข้าใจโครงสร้างเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว

การเขียนย่อหน้าสั้นๆ หรือไม่ยาวเกิน 5 บรรทัด เพื่อให้เหมาะกับการอ่านบนอุปกรณ์ดิจิทัล
การใช้ Bullet, Number และตัวอักษร italic, bold เพื่อย่อยเนื้อหาให้อ่านง่าย

การแทรกวลี คำพูด หรือ Quote ระหว่างย่อหน้า เพื่อดึงความสนใจผู้อ่านหรือเพื่อให้ผู้อ่านได้พักสายตา

เนื้อหามีความยาวที่พอเหมาะ ไม่สั้นจนเกินไป (ขั้นต่ำ 1,000 คำ ขึ้นไปสำหรับคำไทย)

อ่านเพิ่มเติม การทำ backlinks seo

4. การใช้รูปภาพและสื่อหลากหลาย (Image & Multimedia)

นอกจากคอนเทนต์ในรูปแบบข้อความแล้ว บนหน้าเว็บควรมีสื่อประเภทอื่นๆ เช่น รูปภาพ Infographic วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหวหรือ Gif หรือสื่อ Interactive ที่ทำให้การเสพคอนเทนต์บนหน้าเพจน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ การมีสื่อที่หลากหลายยังทำให้คนใช้เวลาสำรวจเนื้อหาบนเว็บไซต์นานขึ้นอีกด้วย (เพิ่ม Dwell time หรือ Time on page) ซึ่งเป็นหนึ่งใน User Signal ที่ Google ใช้ประเมินว่า คนชอบหน้าเพจนี้หรือไม่

5. การตั้งชื่อหน้าเพจ หรือ Page Title

การตั้งชื่อหน้าเพจหรือใส่ Page Title ให้กับหน้าเพจ จะช่วยบอกทั้ง Bot และคนให้รู้ว่า หน้าเพจนั้น ๆ เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร โดย Page Title จะเป็นข้อมูลส่วนแรกที่ Bot เข้ามาอ่าน และปรากฏเป็นชื่อหน้าเพจบนหน้าค้นหาบน Google

ตัว Page Title มีความสำคัญอย่างมาก ควรตั้งชื่อบทความหรือชื่อเพจให้ชวนคลิกเข้ามาอ่านเนื้อหา โดยตั้งให้มีความยาวไม่เกิน 60 ตัวอักษร (ไม่ใช่นั้นจะแสดงผลไม่ครบ) และ Page Title ควรมี Keyword ที่เราโฟกัสสำหรับเนื้อหาหน้าเพจนั้นๆ ด้วย

6. การใส่คำอธิบายหน้าที่ Meta Description

ต่อจาก Page Title ส่วนต่อมาที่ Bot จะอ่านก็คือ Meta Description หรือคำอธิบายเว็บเพจแบบสั้นๆ เพื่อดูภาพรวมว่าเนื้อหาในหน้าเพจเกี่ยวกับอะไร และเช่นเดียวกันกับคนเสิร์ช ส่วน Meta Description จะแสดงอยู่ด้านใต้ของชื่อหน้าเพจบนหน้าแสดงผลการค้นหา

ในส่วน Meta Description ควรเป็นส่วนที่เราเขียนเพื่ออธิบายว่าเนื้อหาในหน้าเพจเกี่ยวข้องกับอะไร เมื่อคนคลิกไปดู เขาจะเจอกับอะไรบ้าง ควรเขียนเพื่อชักจูงให้คนอยากคลิกเข้ามาดู และถ้าแทรก Keyword ที่โฟกัสทำไว้ได้ด้วย ก็สามารถช่วยเพิ่มโอกาสทำอันดับขึ้นได้อีกนิด

7. Heading Tags (H1-H6)

Heading Tags คือ การสร้างแท็กสำหรับหัวข้อต่าง ๆ ในหน้าเว็บไซต์ของคุณในรูปของ HTML Tags ซึ่งประกอบไปด้วย H1 ถึง H6 โดยการเรียงลำดับแท็กนั้นเปรียบเสมือนสร้างสารบัญสำหรับ Search Bot และยังเป็นการวางโครงสร้างหน้าเว็บไซต์อย่างนึงด้วย แม้ส่วนใหญ่การตั้ง Heading Tags จะใช้เพียง H1, H2 และ H3 ก็ตาม สามารถเรียงลำดับตามความสำคัญได้ดังนี้

  • Heading 1 : สำหรับใส่หัวข้อหลักหรือชื่อบทความ ซึ่งประกอบด้วย Keywords สำคัญที่เราต้องการให้ติด SEO สำหรับคำค้นหานั้น
  • Heading 2 : หัวข้อรองที่มีความสำคัญรองลงมา หรือ Taglines ซึ่งอาจเป็น Key Messages ของเรื่องนั้น สามารถใส่ Keywords รองหรือที่เกี่ยวข้องกับ Keywords หลักเพิ่มเข้าไป
  • Heading 3 : สำหรับคำอธิบาย ขั้นตอน หรือแบ่งเนื้อหาทั่วไปของเรื่องนั้นที่สำคัญออกมาเป็นข้อ ๆ

นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมการให้บทความของคุณในอนาคตที่อาจมีโอกาสติด Featured Snippets หรืออันดับ 0 บนหน้าแรกของผลลัพธ์การค้นหา โดยลักษณะจะเป็นเหมือน Answer Box แสดง Heading Tags ต่าง ๆ ของเราไว้ภายในกล่องนั้น ซึ่งกินพื้นที่บนหน้าผลลัพธ์ไปเกือบครึ่ง ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับหน้าเว็บและยังดึงดูดสายตาของผู้ค้นหาให้กดคลิกเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ของคุณก่อนอีกด้วย

8. การทำ Image Optimization ปรับแต่งรูปภาพให้เหมาะสม

รูปภาพเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้หน้าเพจและคอนเทนต์บนเว็บไซต์ของเราน่าสนใจ แต่เพื่อประสิทธิภาพในเชิง SEO เราควรปรับแต่งรูปภาพอีกเล็กน้อยเพื่อให้ Google Bot ก็เข้าใจสิ่งที่อยู่ในภาพ และรูปภาพไม่โหลดนานเกินรอ

ตั้งข้อ Alternative text หรือ Alt text ให้กับรูปภาพ อธิบายว่าเป็นรูปอะไร เกี่ยวกับอะไร รวมถึงแทรก Keyword ที่โฟกัสทำเนื้อหาบนหน้าเพจนั้นๆ ด้วย จะช่วยเพิ่มโอกาสไต่อันดับ SEO ได้

เลือก Format หรือสกุลไฟล์รูปภาพที่เหมาะสม เช่น png สำหรับรูปภาพที่คุณภาพสูงที่ไม่มีพื้นหลัง, jpeg สำหรับไฟล์รูปภาพที่คุณภาพลดลงมาหน่อย ช่วยให้ดาวน์โหลดได้เร็วขึ้น, webp สำหรับรูปภาพที่มีการบีบอัดให้มีขนาดเล็ก แต่ไม่สูญเสียคุณภาพ รองรับบน Chrome และ Firefox

ตั้งชื่อไฟล์รูปภาพให้มีความหมาย อ่านได้ (descriptive name) เช่น “01-seo-keyword-placement” แทนชื่อรูปภาพดั้งเดิมเช่น “IMG_80404.png”

9. การเพิ่มความเร็วเว็บไซต์ (Site Speed)

‘Page Loading Speed’ คือความเร็วในการโหลดหน้าเว็บให้แสดงคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่มีบนเว็บไซต์ได้อย่างครบถ้วน ซึ่งความเร็วในการโหลดหน้าเว็บนี้เป็นส่วนนึงที่จะสร้างความประทับใจเมื่อผู้ค้นหากดเข้าหน้าเว็บไซต์ของคุณ โดยความเร็วในการโหลดหน้าเว็บที่ Google มองว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพจะอยู่ที่ 3 วินาที จากการวิจัยในต่างประเทศพบกว่า หากเว็บไซต์ใช้ระยะเวลาในการโหลดเพิ่มขึ้นทุก 1 วินาที มีอัตราผู้เยื่อมชมที่ปิดหน้าเว็บไซต์เราออกไปถึง 10% เลยทีเดียว ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้เว็บของคุณมีความเร็วในการโหลดหน้าเว็บนานมากนั้นมีหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น

  • ขนาดไฟล์ต่าง ๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์มีขนาดที่ใหญ่มากเกินไป เช่น รูปภาพ, คลิปวิดีโอ, Javascript, CSS และ HTML
  • มีการติดตั้งปลั๊กอินที่มากเกินไป หรือกินพื้นที่บนเว็บไซต์ของคุณ
  • Hosting ที่ใช้ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ใช้ระยะเวลาส่ง Ping เพื่อเรียกข้อมูลจากเซิร์ฟใช้เวลานาน
  • สร้างการ Redirect ต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็น
  • จำนวนผู้เข้าใช้งานบนเว็บไซต์เกินขีดจำกัดของเซิร์ฟเวอร์

ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เว็บไซต์ของเราหนักและทำให้คะแนนความเร็วในการโหลดหน้าเว็บของเราลดลง อีกทั้งยังดูไม่ดีในสายตาของผู้ใช้งาน และบอทของ Search Engine หากต้องการทดสอบความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ของคุณนั้น สามารถตรวจสอบง่าย ๆ ได้ผ่าน PageSpeed Insights โดยระบบจะประเมินประสิทธิภาพในการเรียกใช้งานหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งหากได้คะแนนระหว่าง 90 ถึง 100 แสดงว่าเว็บไซต์คุณมีประสิทธิภาพพร้อมที่จะมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดีให้แก่ผู้ใช้งาน

10. การทำเว็บไซต์ให้แสดงผลได้บนมือถือ (Responsive Design)

ทุกวันนี้ คนใช้ Google เพื่อค้นหาสิ่งต่างๆ ด้วยสมาร์ตโฟนมากกว่าการค้นหาด้วยคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊ก การแสดงผลได้ดีบนอุปกรณ์พกพา หรือ Mobile Responsiveness จึงถูกให้ความสำคัญมากขึ้น เว็บไซต์จึงต้องออกแบบมาให้แสดงผลรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ เช่น

มีการจัด Layout เนื้อหาและองค์ประกอบต่างๆ ให้ดูง่ายบนมือถือ

เว้นระยะห่างระหว่างปุ่ม ให้สัมผัสได้ง่าย ถูกต้อง ไม่ลำบากในการสัมผัส

มีขนาดตัวอักษรที่เหมาะสมกับการอ่านบนมือถือ

11. การตั้งชื่อลิงก์หรือที่อยู่เว็บไซต์ (Friendly URLs)

‘URL’ หรือ Uniform Resource Locator คือการระบุตำแหน่งที่อยู่ของเว็บไซต์นั้น โดยประกอบด้วย Domain Name หรือชื่อเว็บไซต์ขึ้นต้นและตามด้วย Slug ต่อท้าย ซึ่งหากเราสร้าง URLs ที่ทำให้บอทของ Search Engine เข้าใจได้ในทันทีว่าหน้าเว็บนี้จะมีเนื้อหาอย่างไรบ้าง รวมถึงทำให้ผู้ค้นหาเพียงเห็น URLs ของเรา ก็ช่วยให้ทราบเนื้อหาภายในลิงก์นั้นได้ทันทีเช่นกัน

โดยการสร้าง Slug ที่เหมาะสมประกอบไปด้วย

  • Slug ต่อท้ายควรมีความหมาย หรือใช้ Keywords สำคัญ ที่สั้นกระชับได้ใจความ ช่วยให้ตัวบอทและผู้ค้นหาสามารถอ่านทำความเข้าใจได้ในทันที
  • ใช้ Hyphen (-) แทนการใช้ Underscores (_) ในการแบ่งคำ
  • เมื่อมีการแบ่ง Category ของหน้าเว็บ ควรตั้งเป็น /category-name/ และชื่อหรือหัวข้อของหน้าเว็บย่อยนั้นต่อท้าย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ตัวพิมพ์ใหญ่
  • แนะนำให้ใช้ภาษาอังกฤษเพียงอย่างเดียวในการเขียน Slug เนื่องจากบางภาษามีสระและวรรณยุกต์ที่มากกว่าภาษาอังกฤษ ส่งผลให้มีความยาวของตัวอักษรที่มากเกินไป และอาจถูกระบบตัดทิ้งได้

12. การทำ Internal link & Outbound link

ภายในหน้าเพจต่างๆ ควรมีการเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจและเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่คนที่มาเยี่ยมชมเว็บไซต์และทำให้ Google Bot เข้าใจเว็บไซต์ของเรามากขึ้นผ่านการทำความเข้าใจเว็บไซต์ต่างๆ ที่เราเชื่อมโยงไปหา

ทำ Internal link หรือการเชื่อมโยงลิงก์ไปยังหน้าเพจอื่นภายในเว็บไซต์เดียวกัน จะช่วยให้ Google Bot เข้าใจเนื้อหาบนหน้านั้นๆ ได้มากขึ้น และเทคนิคนี้ ยังช่วยให้หน้าปลายทาง (หน้าที่ถูกลิงก์ไปหา) ได้รับค่าพลัง SEO มาด้วย

ทำ Outbound link หมายถึง การลิงก์ไปหาเว็บไซต์อื่น ซึ่งควรเป็นเว็บไซต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์เรา อาจหมายถึงการอ้างอิงเว็บไซต์ก็ได้ เทคนิคนี้จะช่วยให้ Google มองว่า เว็บไซต์ของเรามีการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและช่วยให้ Bot เข้าใจเนื้อหาและบริบทของเว็บไซต์เราได้ดีขึ้น ผ่านการทำลิงก์เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง (อ่านเพิ่มเติม Youtube SEO)

13. การทำเว็บไซต์ให้แชร์ง่าย (Shareable)

การที่มีคนแชร์เว็บไซต์ของเราไปยังช่องทางอื่นๆ ก็เป็นการเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมหรือ Traffic เข้ามาในเว็บไซต์ (อ่านบทความ website traffic คืออะไร) รวมไปถึงทำให้ Google มองว่าเว็บไซต์ของเรามีอิทธิพลและมีคนชื่นชอบ

Google ก็จะช่วยดันอับดับเว็บไซต์ของเราให้สูงขึ้นไปอีก โดยเทคนิคง่ายๆ ที่ช่วยให้คนแชร์เว็บไซต์ของเรามากขึ้นนอกจากการผลิตคอนเทนต์คุณภาพที่น่าสนใจแล้ว ก็คือ การมี “ปุ่มแชร์โซเชียลฯ” ให้ผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์กดได้ง่ายๆ จะติดไว้ข้างบนความหรือท้ายบทความเวลาคนอ่านจบก็ได้เช่นกัน

14. Search intent

search intent คือ สิ่งที่คนค้นหาข้อมูลต้องการ คือคำตอบที่คนอยากได้จากหาข้อมูลใน Search Engine

ทำไม Search intent จึงสำคัญ เพราะเมื่อเราปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับสิ่งที่คนต้องการ จะทำให้พวกเขาอยู่บนเว็บเพจนานขึ้น ในทางกลับกัน เมื่อคนเริ่มอ่านเนื้อหาแล้วพบว่า นี่ไม่ใช่สิ่งที่คาดหวังไว้ พวกเขาจะออกจากเว็บเพจทันที ซึ่งนั่นไม่ส่งผลดีต่อ SEO แน่

(อ่านเพิ่มเติม การทำ Instagram SEO)

 

สรุป

ปัจจัยต่างๆ ที่ยกตัวอย่างมา ต่างก็เป็นหนึ่งใน Ranking Factors ของ on page seo และเป็นสิ่งที่ทำคนเสพคอนเทนต์ได้ประสบการณ์ใช้งานบนเว็บไซต์ที่ดีขึ้น อัลกอริทึมของ Google จะเรียนรู้ว่า คนชอบหน้าเพจนี้ หน้าเพจนี้ตอบโจทย์คนได้ ก็จะช่วยจัดอันดับเว็บไซต์ให้ดีขึ้น เข้าถึงคนได้มากขึ้น 

การทำ On-page สัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งที่คนต้องการ และหน้าที่ของ Search Engine อย่าง Google ก็คือ การคัดสรรเนื้อหาที่ช่วยตอบโจทย์ ตอบข้อสงสัยของผู้เสิร์ชได้ On-page SEO จึงเป็นองค์ประกอบการทำ SEO ที่สำคัญและสัมพันธ์กับองค์ประกอบสำคัญในการทำ SEO นั่นคือ อัลกอริทึมและคน

แม้การทำ On-Page SEO อาจจะเห็นผลไม่ทันใจเท่าการยิงโฆษณาโดยตรง แต่คุณสามารถจัดการและปรับแต่งเว็บไซต์ของคุณได้ด้วยตนเองโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเหมือนการทำโฆษณา และที่สำคัญยังเป็นรากฐานที่จะนำไปต่อยอดการทำโฆษณาต่าง ๆ เพื่อขยายการเติบโตของธุรกิจคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่อยากเสียเวลาทำเอง เรา รับจ้างทำ seo นะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!