Website Traffic คืออะไร? จำเป็นการเพิ่มอันดับเว็บ พร้อมเทคนิคครบสุด

Website Traffic คือตัวชี้วัดในการทำเว็บไซต์ของคุณว่าได้คุณภาพและมีผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์มากขนาดไหน เมื่อสร้างหน้าเว็บธุรกิจเสร็จสมบูรณ์แล้วไม่ได้หมายความว่าธุรกิจจบเพียงเท่านั้น แต่ควรคำนึงถึงการทำ SEO และใช้ Traffic เป็นตัวชี้วัดเพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นด้วย

ไม่ว่าจะเป็นเว็บขายสินค้าหรือบริการ รวมถึงการทำ Blog Content เพื่อให้คนคลิกอ่านและเกิด Call-To-Action ต่อไป ยิ่งหากเป็น Traffic ที่เกิดจาก Organic Search ย่อมส่งผลดีต่อหน้าเว็บของคุณในระยะยาวได้อย่างแน่นอน

Markettium จะมาอธิบายความสำคัญของการสร้าง Traffic และหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ว่าทำอย่างไรให้ได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพ (เรามีบริการ รับสอน SEO ด้วยนะ)

Website Traffic คืออะไร?

Website Traffic คือ การเยี่ยมชมเว็บไซต์ ซึ่งสามารถวัดได้ในเชิงปริมาณ เช่น Users (จำนวนคนที่เยี่ยมชมเว็บไซต์), Sessions หรือ Visits (จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์), Pageviews (จำนวนครั้งที่เปิดหน้าเว็บไซต์) และการวัดในเชิงคุณภาพ เช่น Avg. Session Duration หรือ Avg. Visit Duration (ระยะเวลาโดยเฉลี่ยของการเยี่ยมชมเว็บไซต์ในแต่ละครั้ง), Bounce Rate (อัตราที่มีคนเข้ามาในเว็บไซต์เพียงหน้าเดียวแล้วออกไป) เป็นต้น (สนใจกด>> บริการรับทำ SEO)

ข้อมูล Traffic ต่างๆ เหล่านี้ เจ้าของเว็บไซต์สามารถเช็คได้โดยการสมัครและติดตั้งโค้ดของ Google Analytics ไว้ในเว็บไซต์ ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากสำหรับผู้ที่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง และยังสามารถใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย นอกจากนี้ หากต้องการตรวจสอบข้อมูลของเว็บไซต์อื่นหรือเว็บไซต์คู่แข่ง อาจใช้เครื่องมือ เช่น SimilarWeb ช่วยในการตรวจสอบก็ได้

ความสำคัญของ Website Traffic มีอะไรบ้าง

1. สร้างการรับรู้

เว็บไซต์ที่มียอด Traffic สูง หรือมีคนมาเยี่ยมชมเว็บไซต์เป็นจำนวนมาก ย่อมมีโอกาสที่จะเป็นเว็บไซต์ที่มีคนรู้จักอย่างแพร่หลายและเป็นที่จดจำได้ง่าย

2. เพิ่มความน่าเชื่อถือ

ถ้าเว็บไซต์ของเราเป็นเว็บไซต์นำเสนอบทความ แต่มียอด Traffic น้อย หรือมีคนเข้ามาอ่านน้อย แสดงว่าเว็บไซต์ยังไม่เป็นที่รู้จักเพียงพอ และยังส่งผลต่อการขายโฆษณาในเว็บไซต์อีกด้วย (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)

3. เพิ่มโอกาสในการขาย

หากเว็บไซต์ของเรามีการขายสินค้าหรือบริการ การที่มียอด Traffic จำนวนมาก ก็จะมีโอกาสจะมีลูกค้าเข้ามาเป็นจำนวนมากและขายได้มากขึ้น

4. นำข้อมูลไปใช้งานต่อได้

เราสามารถนำข้อมูลพฤติกรรมของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราจาก Google Analytics ไปปรับปรุงเว็บไซต์ รวมถึงนำไปวางแผนและวัดผลทางการตลาดได้

5. ส่งผลดีต่อ SEO

Traffic เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่มีผลต่อการทำ SEO (อ่านบทความเพิ่มเติม: การทำ SEO ให้ติดอันดับ มีวิธีอย่างไร) เพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับแรกๆ เวลาค้นหาบน Google หรือที่เรียกว่า Organic Search ถ้ามีคนเข้าเว็บไซต์จำนวนมาก อยู่ในเว็บไซต์นานๆ และคลิกไปดูต่อยังหน้าอื่นๆ ก็แสดงว่าเว็บไซต์นั้นมีความน่าสนใจหรือมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน ในทางกลับกัน ถ้ามีคนเข้ามาในเว็บไซต์แล้วไม่อ่านหน้าอื่นต่อ เข้ามาแล้วกดปิดหรือกด Back ทันที ก็จะมีอัตราการตีกลับหรือ Bounce Rate สูง ก็แสดงว่าเว็บไซต์อาจไม่มีคุณภาพเพียงพอ

ประเภทแหล่งที่มาของ web traffic

ใน Google Analytics สามารถแบ่งแหล่งที่มา Traffic (Acquisition) ได้เป็น 5 ช่องทาง ซึ่งในแต่ละส่วนนั้นก็มีวิธีการเพิ่มยอด Traffic หาคนเข้าเว็บไซต์ที่แตกต่างกันไปดังนี้

1. Organic Search

Organic Search คือ การเข้าชมเว็บไซต์โดยค้นหาด้วย Keyword ผ่าน Search Engine ของ Google เราสามารถเพิ่มยอด Traffic นี้ได้ด้วยการทำ SEO ซึ่งมีหลักการที่สำคัญคือ การปรับแต่งเว็บไซต์ให้เป็นไปตามกฎ และการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพเพื่อผู้ใช้งาน(อ่านเพิ่มเติม Tiktok SEO) แม้จะมีขั้นตอนมากมายและเห็นผลช้ากว่าเว็บไซต์จะติดอันดับในหน้าแรก แต่ก็ถือเป็นช่องทางสำคัญที่สามารถส่งคนเข้าเว็บไซต์ได้อย่างสม่ำเสมอ

2. Paid Search

Paid Search คือ การจ่ายเงินค่าโฆษณาในการทำ Google Ads (Google AdWords) โดยการประมูล Keywords เพื่อให้เว็บไซต์ของเราไปปรากฎอยู่ในหน้าแรกผลการค้นหาของ Google หรือที่เรียกว่า PPC (ข้อมูลเพิ่มเติม: PPC (Pay Per Click) คือ?) ซึ่งเราจะต้องจ่ายเงินเมื่อมีคนคลิกลิงค์โฆษณาเข้ามายังเว็บไซต์

โดยราคาเฉลี่ยต่อคลิก (CPC (Cost Per Click)) นั้นแตกต่างไปในแต่ละ Keyword ยิ่งเป็นคำที่มีการแข่งขันสูง ค่า CPC ก็ยิ่งแพง ดังนั้น หากต้องการทำโฆษณาเพื่อเพิ่ม Traffic ก็ควรเลือก Keyword ที่ค่อนข้างเจาะจง เพื่อจะได้จำนวนคลิกที่มากขึ้น

3. Social

Social คือ การเข้าชมเว็บไซต์ผ่าน Social Media ต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, Twitter, Blogger การเพิ่มยอด Traffic นี้ทำได้จากการสร้างคอนเทนต์บน Social Media และส่งลิงค์มายังเว็บไซต์ของเรา เมื่อคนที่ใช้ Social Media เห็นว่ามีคอนเทนต์น่าสนใจก็จะกดเข้ามาดู

ยิ่งเป็น Social Media ที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก ก็มีโอกาสสร้าง Traffic ส่งเข้ามายังเว็บไซต์ได้มาก ถือเป็นช่องทางที่สามารถใช้งานได้ฟรี เพียงแต่ต้องอาศัยการทำคอนเทนต์ที่น่าสนใจและต้องโพสสม่ำเสมอ เพื่อให้คนสนใจติดตาม (อ่านเพิ่มเติม การทำ Facebook SEO)

4. Referral

Referral คือ การที่เว็บไซต์อื่นอ้างถึงหรือเขียนถึงเว็บไซต์ของเรา และการลงโฆษณาโดยแปะลิงค์เว็บไซต์ของเราไว้ด้วย คนที่สนใจก็จะคลิกลิงค์เพื่อมาชมเว็บไซต์ของเรา รวมถึงการคลิกลิงค์จาก Email และ Search Engine อื่นๆ ที่ไม่ใช่ Google

นอกจากนี้เรายังสามารถเข้าไปสร้างคอนเทนต์ในเว็บไซต์อื่นพร้อมกับติดลิงค์ให้คนตามมาก็ได้ ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเพิ่ม Traffic และยังเป็นการสร้าง Backlinks ที่มีคุณภาพซึ่งส่งผลดีต่อการทำ SEO อีกด้วย

5. Direct

Direct คือ การเข้ามายังเว็บไซต์โดยตรง เช่น การพิมพ์ URL ใน Browser, การคลิก Bookmarks, การคลิกลิงค์ผ่านไฟล์เอกสาร เป็นต้น การเพิ่มยอด Traffic ช่องทางนี้สามารถทำได้โดยการสร้างการรับรู้ (Awareness) ให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จักและให้คนนึกถึงเว็บไซต์ของเรา

เช่น ถ้าอยากไปเที่ยว อยากหารีวิว คนก็มักจะนึกถึง Pantip.com ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยหลายๆ ช่องทางในการโปรโมทเว็บไซต์ และต้องใช้เวลาในการสร้างเว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จัก กว่าจะได้รับความไว้วางใจที่จะกลับเข้ามาใช้งานอยู่เรื่อยๆ

วิธีการเพิ่ม web Traffic เพื่อดันอันดับเว็บในกูเกิ้ล

จะเพิ่ม Traffic ได้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะมีหลากหลายปัจจัยที่คอยควบคุมเราอยู่ ไม่ว่าจะเป็นจากทาง Algorithm Update ของทาง Google ที่มาบ่อยจนเกือบจะตามไม่ทัน หรือจะเป็นการขยับขยายตีตื้นจากทางฝั่งของคู่แข่ง เราจึงมีเคล็ดลับเพื่อเพิ่ม Web Traffic แบบยั่งยืนมาฝาก ถ้าอยากรู้แล้วก็ตามมาดูกันเลย (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ E-Commerce)

1. การจับคู่คีย์เวิร์ดที่ใช่กับ Landing Page ที่เหมาะสม

โดย Landing Page บางทีก็เรียกว่า Sale Page จะเป็นหน้าเว็บไซต์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง อาทิ ต้องการแนะนำให้เป็นที่รู้จัก มีโปรโมชัน ต้องการเพิ่มฐานลูกค้า ต้องการให้ข้อมูลหรือความรู้ต่างๆ ที่ตอบ Pain Point ของ User รวมถึงต้องการให้เกิดการขายหรือมี Conversion เกิดขึ้น

ซึ่งการจับคู่ Keyword ที่เราต้องการต้องเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ รวมถึงหน้า Landing Page นั้นๆ ด้วยเช่นกัน เพื่อให้คีย์เวิร์ดดังกล่าว ส่งเสริมให้โอกาสที่จะมีผู้ใช้งานมายังหน้าเว็บไซต์ของเรามากยิ่งขึ้น และได้ประโยชน์จากสิ่งที่ตามหาด้วยนั่นเอง

2. ปรับแต่งคอนเทนต์บนหน้าเว็บไซต์

คือ การทำให้เว็บไซต์ของเราเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้งาน และง่ายต่อการเข้าใช้งานเว็บไซต์ (User Friendly) รวมถึงตัว Search Algorithm ด้วยเช่นกัน เนื่องจาก On-page SEO ที่ดี จะส่งผลดีต่อการทำ SEO โดยการปรับปรุงทุกอย่างที่ปรากฎอยู่บนเว็บไซต์ ตั้งแต่โครงสร้างเว็บไซต์ หน้าตา การใช้งาน เนื้อหา เป็นต้น เพื่อให้ง่าย สะดวก และเกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน เมื่อเว็บไซต์เรามีคุณภาพ ก็จะดึงดูดให้เกิด Traffic เพิ่มมากขึ้น

3. อัปเดตคอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอ

วิธีง่ายๆ ในการดันให้ Traffic เพิ่มคือ ต้องอัปเดตคอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอ ด้านนึงคือการนำเสนอหน้าคอนเทนต์ที่มีความสดใหม่ มีประโยชน์รวมถึงทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะส่งผลดีต่อคะแนนอันดับของเว็บไซต์ของเราแล้ว ยังดีต่อผู้ใช้งานที่เข้ามาเจอเราด้วย เนื่องจากเนื้อหาที่เรานำเสนอสามารถเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ได้จริง

นอกจากนี้ยังมีแนวการทำคอนเทนต์แบบ Evergreen Content ซึ่งเป็นเนื้อหาหรือคอนเทนต์ที่ไม่มีวันหมดอายุ ไม่ตกยุค ไม่ล้าสมัย คอนเทนต์ประเภทนี้เป็นคอนเทนต์ที่มีคนเข้ามาอ่านอยู่เสมอ และสามารถดัน Organic Traffic ให้หลั่งไหลเข้ามาตลอดเวลา

4. ใช้โซเชียลมีเดียเป็นตัวช่วย

อีกหนึ่ง Organic Traffic สำหรับการดันยอด Website Traffic คือ โซเชียลมีเดีย โดยการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้มากมายภายในนั้น หรือที่เราเรียกว่า Engagement โดยเราสามารถทำได้ทั้งการแชร์ลิงก์เว็บไซต์ของเราไปยัง โซเชียลมีเดียช่องทางต่างๆ หรือการสื่อสารกับผู้ใช้ในโลกโซเชียลโดยตรง ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เว็บไซต์ของเราได้ Organic Traffic รวมถึงสามารถสร้าง Brand Awareness ให้กับสินค้าและบริการภายในเว็บไซต์

5. สร้างลิงก์จากข้างนอก

การทำ External Link เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ทำให้เราได้ Traffic มากขึ้น โดยเราสามารถเรียกอีกอย่างได้ว่า Link Building หรือการทำ Backlinks ซึ่งก็คือ การที่มีลิงก์อ้างอิงจากเว็บอื่น เข้ามายังเว็บไซต์ของเรา โดยเราต้องมีกลยุทธ์ ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ Backlink มีคุณภาพถึงจะสามารถเพิ่มอันดับที่ดีบนหน้า Search Engine และทำให้คนเสิร์ชเจอเว็บไซต์ของเราได้ง่ายขึ้น

การสร้าง Backlink ที่มีคุณภาพ ต้องมาจากเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ และ Authority สูง จะช่วยให้ Domain Authority ของเราสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ลิงก์นั้นๆ ต้องมีความเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเรา และมีคนใช้งานจริงๆ จะทำให้ Search Engine มองว่าเว็บไซต์ของเรามีคุณภาพ และทำให้อันดับบนหน้า Search Engine ดีขึ้น

หากเราสามารถปรับปรุงทุกข้อที่กล่าวมาให้ดีแล้ว จะช่วยเพิ่มประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้แก่ผู้ใช้ และยังดีต่อการจัดอันดับบน search engine ส่งผลให้มีผู้ใช้งานที่มองเห็นคอนเทนต์หรือเว็บไซต์ของเราได้มากขึ้น โอกาสที่จะได้รับ Traffic จึงมากขึ้นตามไปด้วย

web check traffic หรือ website ที่ใช้ในการเช็ก Website Traffic

หลังจากที่เข้าใจวิธีการแล้ว อันดับต่อมาควรมีการวัดผล traffic ของเว็บไซต์เพื่อให้ทราบว่า Website Traffic ที่ได้รับนั้นมาจากช่องทางใด และมีคุณภาพหรือไม่ โดยใช้เครื่องมือ Google Analytics ในการอ่านรีพอร์ต ซึ่งมี Sorces หรือช่องทางหลัก ในการวิเคราะห์ผลดังนี้

Organic : อธิบายตรงตัวที่ Traffic ที่ได้จาก Organic Search ไม่ใช่การจ่ายเงินโฆษณา เช่น การเสิร์ชคำค้นหา “หมอนรองคอ” และเจอเว็บไซต์ของเราหน้าแรก แบบไม่ได้รันโฆษณา เป็นต้น (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress)

Direct : คือ Traffic ที่เข้ามาโดยตรง เช่น การพิมพ์ชื่อเว็บไซต์เข้ามา หรือเกิดจากการที่ผู้ใช้งานกด Bookmark ไว้

Referral : คือ การคลิกเข้าจากลิงก์บนหน้าไซต์อื่นที่ไม่ใช่ Search Engine เช่น จาก Backlinks ในบทความ

Social : คือ Traffic จากโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Twitter หรือ Instagram

Paid : จำนวนการคลิกจาก PPC ที่ทำโฆษณาผ่าน Google Search หรือ SEM

Email : การเข้าชมเว็บไซต์ที่มาจากการคลิกลิงก์ผ่าน Email Marketing และมีการติด Tag เอาไว้

และเพื่อชี้วัดประสิทธิภาพของ Website Traffic ที่ได้ ต้องอาศัยปัจจัยเหล่านี้จาก Google Analytic (อ่านเพิ่มเติม Youtube SEO)

1. CTR (Click Through Rate)

คืออัตราการคลิก ที่ใช้วัดประสิทธิภาพของเนื้อหา Content หรือโฆษณาใด ๆ ก็ตามที่เราได้วางกลยุทธ์ไป โดยคิดจาก จำนวนคลิก หารด้วยจำนวนการแสดงผล = CTR Rate นั่นเอง เช่น มีจำนวน 5 คลิก และ 100 Impression จะได้ CTR = 5%

2. Engaged Session

ถือเป็น Session ใหม่สำหรับ Google Analytic 4 (เวอร์ชันล่าสุด) ที่ทาง GA เอาค่า Bounce Rate ออกเรียบร้อย ซึ่ง Engaged Session คือการที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์มีปฎิสัมพันธ์กับหน้าเว็บ เช่น การคลิก การอ่าน โดยใช้เวลาอยู่บนหน้าเว็บไซต์หรือเปิดไว้อย่างน้อย 10 วินาที (Session Duration) หรือมีการเข้าดูหน้าเพจต่าง ๆ (Page View) อย่างน้อย 2 หน้า

รวมถึงคอมเมนท์อะไรต่าง ๆ ดังนั้นหากระยะเวลาการเข้าชมเว็บไซต์ของคุณไม่นาน ลองวิเคราะห์ว่าเกิดจาก Content ที่ไม่ตรงตามความต้องการ หรือมีรายละเอียดในส่วนไหนที่ควรปรับให้ดีขึ้นหรือไม่

ปัจจัยในการวัดผล Traffic มีอะไรบ้าง?

แน่นอนว่าการเพิ่มจำนวนหรือดันยอด Website Traffic คือเราต้องมีเครื่องมือที่ดีในการวัดผล Traffic ได้ ผ่าน Tool ที่มีชื่อว่า Google Analytics โดยสามารถวัดผล Traffic ได้หลากหลายมาก ดังนี้

วัดผลเชิงปริมาณ

การวัดผลเชิงปริมาณคือส่วนที่จำเป็นเป็นอย่างมากในการวัดผล Traffic และนำมาวิเคราะห์ในภายหลัง โดยมีข้อมูลที่เราใช้ในการวัดผล ดังนี้

Users หรือ ผู้ใช้

คือ จำนวนคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ไม่ว่าคนๆ นั้นจะเข้ามายังเว็บไซต์ของเรากี่ครั้ง Google Analytics จะนับเป็น 1 User แต่ถ้า Users เปลี่ยน Browser หรือ Device ก็จะนับเป็น New User

Sessions

คือ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ หรือสิ่งที่ Users ได้กระทำบางสิ่งบางอย่างบนหน้าเว็บไซต์ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น โดยจะถูกนับ Session ก็ต่อเมื่อ User คนนั้นไม่ทำอะไรบนเว็บไซต์เป็นเวลา 30 นาที รวมถึงเลยเที่ยงคืนของวันดังกล่าวไปแล้ว ทาง Google Analytics ก็จะตัด Session ตอนนั้นด้วย

Pageviews

คือ จำนวนครั้งที่เปิดหน้าเว็บไซต์ โดยจะถูกนับทุกครั้งที่มี User เข้ามาใช้งาน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่ามีคนเข้ามาใช้งานในหน้าเว็บไซต์ของเรามาก-น้อยแค่ไหน และหน้าเว็บไซต์ใดมีคนเข้ามาใช้งานเยอะที่สุด

วัดผลเชิงคุณภาพ

เป็นอีกการวัดผลที่ได้รับความนิยม เพื่อใช้ในการวัดผลผู้เยี่ยมชมในเว็บไซต์ในเชิงคุณภาพ โดยมีเกณฑ์ในการวัด ดังนี้

Avg. Session Duration(Average Session Duration)

หรือ ระยะเวลาเฉลี่ยของแต่ละ Session โดยคิดจาก Session Duration / Sessions คือช่วงระยะเวลาของ Session หารด้วยจำนวน Session ทั้งหมดเพื่อคิดเป็นค่าเฉลี่ยออกมา

Bounce Rate

หรืออัตราการตีกลับ คือ อัตราของ User ที่เข้ามายังเว็บไซต์ของเราในหน้าใดหน้าหนึ่งเพียงแค่หน้าเดียวแล้วออก โดย Bounce Rate ที่ดี ต้องมีเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำ เพราะหมายความว่ามี Users คลิกไปยังหน้าอื่นบนเว็บไซต์ของเราต่อ

CTR (Click Through Rate)

หรือ อัตราการคลิกผ่าน คืออัตราส่วนการคลิกต่อการมองเห็น เป็นตัวชี้วัดว่าโฆษณาและคีย์เวิร์ดที่เราทำนั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน โดย CTR ยิ่งสูงหมายความว่าคอนเทนต์หรือโฆษณาของเรามีความน่าสนใจ

Conversion

หรือ จำนวนครั้งที่เป้าหมาย (Goals) ได้ถูกกระทำสำเร็จในเว็บไซต์ตามวัตถุประสงค์การทำเว็บไซต์ รวมถึงเป็นยอดขายที่เกิดขึ้นจริงในธุรกิจ อาจใช้สามารถวัดผลการสร้าง Brand Awareness โดยนับรวมทั้งการคลิกเข้ามาดู การกดถูกใจ การสมัครสมาชิก หรือการสั่งซื้อ เป็นตัน โดย Conversion ยิ่งมาก หมายถึงเปอร์เซ็นของความสำเร็จในการทำเว็บไซต์นั้นมากขึ้นตามไปด้วย

Conversion Rate

คือ สัดส่วนของผู้ที่ทำการตอบสนองต่อโฆษณา หรือยอดผู้ซื้อจริง โดยคิดจาก (ยอดรวมของ Conversion / จำนวนการเข้าชมหรือเข้าร่วมในส่วนนั้นๆ) x 100 = Conversion Rate โดยอัตราของ Conversion Rate สูงหมายถึงการทำโฆษณาได้ผลและสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้

Traffic ของเว็บไซต์ลดลงมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง

สิ่งที่ผู้ทำเว็บไซต์หลายคนต้องเจอก็คือ Traffic ตก Pageview ลดลง แม้ว่าจะนำเสนอคอนเทนต์ใหม่ๆ หรือปรับโครงสร้างเว็บไซต์แล้วยังไม่ดีขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ดังนี้

1. Search Intent เปลี่ยน ทำให้ Traffic ลดลง

โดย Search Intent คือ จุดประสงค์ในการค้นหาของคน หรือ เจตนาของการค้นหา โดยการทำ SEO มีการใช้คีย์เวิร์ดเพื่อช่วยในการค้นหาบน Search Engine ได้สะดวกจนทำให้บทความ SEO ของเราติดอันดับอยู่บนหน้าแรกของ Google แต่ผ่านไปสักระยะเวลานึง คีย์เวิร์ดที่เราใช้นั้นไม่ตรงกับเจตนาของการค้นหาของ User อีกต่อไป ทำให้ Traffic ลดลงตาม โดยเราสามารถแก้ได้ด้วยการเขียนคอนเทนต์ใหม่ๆ ที่ตรงกับ Search Intent ของ User ก็จะช่วยให้ Traffic เพิ่มขึ้น

2. มีคอนเทนต์ใหม่มากขึ้นบน SERP

พูดง่ายๆ ก็คือการนำเสนอเนื้อหาใหม่ๆ ของเว็บไซต์คู่แข่งที่มีความน่าสนใจมากกว่า สดใหม่มากกว่า และมีเนื้อหาที่ครบถ้วนมากกว่าเกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ รวมถึงยังมีการปรับแต่ง Responsive ให้มี On page SEO และ Off page SEO ที่ดี จะทำให้อันดับคอนเทนต์ของเราตกลง ซึ่งวิธีการแก้ไขก็คือ Re-optimize เพื่อปรับปรุงเนื้อหาและ Responsive ทั้ง On page และ Off page ให้ดีขึ้น เพื่อให้เราสามารถมั่นคงอยู่ในอันดับที่ดีขึ้นดังเดิม

3. Algorithm Update

สำหรับการอัปเดต Algorithm โดยเฉพาะ Google Search นั้นเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้เลย เนื่องจาก Google มีการปรับเปลี่ยนและอัปเดตตัวเองอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะ Core Update ซึ่งเป็นการอัปเดตครั้งใหญ่ โดย Google ซึ่งทางที่ดี เราแนะนำว่าควรทำตามคำแนะนำของ Google และต้องไม่ลืมที่จะนำเสนอเนื้อหาที่มีคุณภาพ มีแหล่งที่มาชัดเจน ตอบโจทย์ Search Intent เน้น Users เป็นหลัก เพียงเท่านี้ ก็จะทำให้เราสามารถคงอันดับที่ดีบน Google เอาไว้ได้แล้ว

4. ปัญหาด้าน Technical

นอกจากนี้ การที่ Website Traffic อาจเป็นเรื่องทางเทคนิคที่เราไม่อาจควบคุมได้ ซึ่งอาจขึ้นได้จากสาเหตุ ดังนี้

มีเนื้อหาซ้ำกันในเว็บไซต์เดียวกัน

คือการเผยแพร่เนื้อหาที่ซ้ำหรือคล้ายกันมากเกินไป (Duplicate Content) โดยหากมีการผลิตเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนกันภายในเว็บไซต์ อาจจะทำให้กูเกิลสับสนและจับสัญญาณได้ไม่ถูกต้อง และทำให้ยอด Traffic หน้าที่เราต้องการให้ติดอันดับตกลงได้

การทำ Redirect ที่ไม่ถูกต้องเรียบร้อย

คือการย้าย Url ที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมทำให้ Traffic ตกลง บางครั้งอาจจะมีลิงก์บางหน้าที่จำเป็นต้องทำการย้ายไปหน้าใหม่ ด้วยการทำ Redirect ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่มีความรู้พื้นฐาน SEO ทำ ก็อาจจะทำให้เกิดการย้ายไปหน้าใหม่ที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นได้ และส่งผลให้ Website Traffic ลดลงได้

URL ไม่เรียบร้อย

หรือชื่อ URL ที่กลายเป็นภาษาต่างดาว ซึ่งมักเกิดกับเว็บไซต์ที่ใช้ชื่อ URL หรือมี Slug บางส่วนเป็นภาษาไทย เพราะมันจะถูก Auto Generate ออกมาเป็นภาษาต่างดาว ซึ่ง Google อาจจะมองว่าเว็บไซต์ที่มีชื่อ URL ดังกล่าวดูไม่น่าเชื่อถือ ควรจะมีการปรับชื่อให้เหมาะสม เป็นมิตรกับคนอ่าน โดยขอแนะนำให้ใช้เป็นภาษาอังกฤษที่สื่อถึงแบรนด์และมีคีย์เวิร์ดที่จำเป็นจะทำให้ Traffic ของเราคงที่หรือเพิ่มมากขึ้น

หน้าโหลดช้า แสดงผลช้า

เพราะผู้ใช้ส่วนใหญ่อยากใช้งานเว็บไซต์ที่มีความรวดเร็ว ไม่ต้องรอโหลดนานมาก ดังนั้น Google เองก็มองเห็นถึงความสำคัญในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน จึงนำมาเป็นปัจจัยในการเลือกจัดอันดับเว็บไซต์ด้วย

ไม่มีติดตั้ง HTTPS Security

จะทำให้ Google มองว่าเว็บไซต์นี้ไม่มีความปลอดภัย และมีการขึ้น Pop up ให้ Users ยินยอมใช้งานเว็บไซต์ที่ Google มองว่าไม่ปลอดภัย จึงทำให้ Users ส่วนใหญ่เลือกกดปิดเว็บไซต์ทันที จนทำให้ Traffic ลดลง และอันดับบน Google ลดลงอีกด้วย

เว็บไซต์ไม่ถูก Index

คือการที่เว็บไซต์ไม่ถูกจัดเก็บข้อมูลลงบนดัชนีของ Search Engine ทำให้เว็บไซต์ไม่ถูกนำไปแสดงผลบนหน้า Search Engine ดังนั้น จึงเป็นที่ทำให้คุณไม่ได้รับ Traffic จากหน้าที่ไม่ Index เลย

Broken Links

ไฮเปอร์ลิงก์ของเว็บไซต์ไม่ถูกเชื่อมโยงกับหน้าเว็บไซต์ หรือไม่มีอยู่จริง โดยเมื่อคลิกลิงก์ดังกล่าว ระบบปรากฎข้อความแสดงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เราจึงจำเป็นต้องแก้ไขทันที เพราะส่งผลต่อการจัดอันดับ บน Google ทำให้ Traffic ตกลง และเสียเครดิตได้

ไม่ได้ทำ Canonical Tags หรือทำไม่ถูกต้อง

การทำ Rel=Canonical จะช่วยจัดการเนื้อหาที่ซ้ำหรือคล้ายกันให้เป็นระบบ จะไม่ทำให้ Google ลงโทษหรือลดอันดับคอนเทนต์ของเราบน Search Engine โดยเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาของแต่ละหน้าที่ใกล้เคียงกันมากๆ อาจจะแย่งการจับสัญญาณจาก Google ได้ว่าเนื้อหาของหน้าไหนที่เป็น Original การทำ Canonical Tags สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้

ไม่มี XML Sitemaps

คือการสร้างแผนผังเว็บไซต์ ซึ่งเป็นไฟล์ที่รวบรวมข้อมูลทุกหน้าบนเว็บไซต์ของเราจะช่วยให้บอทของกูเกิลรู้จักและเข้าใจเว็บไซต์เราได้ดีขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าไป crawl ของบอทได้ การที่เราไม่มี XML Sitemaps อาจจะทำให้เราเสียโอกาสในการติดอันดับบน Google หรืออาจสามารถแก้ปัญหาที่หน้านั้นๆ ไม่ Index ได้ยาก

ไม่มี Robots.txt หรือไม่ถูกต้อง

การทำ Robots.txt จะช่วยให้เราสามารถระบุในไฟล์ Robots.txt ได้เลยว่า ‘อยากให้ และ ไม่อยากให้ Google Bot มาเก็บข้อมูลที่หน้าใดบ้าง’ หากเราไม่มี Robots.txt หรือทำผิดพลาด อาจจะทำให้การเก็บข้อมูลพันกันยุ่งเหยิง หน้าที่เราไม่อยากให้ติดอันดับ อาจโผล่ขึ้นมาอยู่บน Google ได้โดยที่เราไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรจากมัน หรือร้ายแรงไปกว่านั้น คือหน้าที่อยากให้ติดอันดับ ดันหายไปจากผลการค้นหาบนหน้า Google

สรุป

สำหรับคนที่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง นอกจากการทำเว็บไซต์ให้สวยงามและเป็นมิตรกับผู้ใช้แล้ว การหาคนเข้าเว็บไซต์หรือที่เรียกว่า “Website Traffic” ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะไม่อย่างนั้นเว็บไซต์ที่ทำมา ต่อให้ลงทุนหรือใช้เงินไปเท่าไหร่ แต่ไม่มีคนเข้ามาดู ก็ย่อมไม่มีความหมายอะไร เปรียบเสมือนเรามีหน้าร้าน แต่ไม่มีคนเข้าร้านนั่นเอง

Traffic คือสิ่งบ่งชี้หนึ่งของคุณภาพคอนเทนต์ในเว็บไซต์ของเราว่ามีจำนวนมากน้อยแค่ไหน การที่เราปรับปรุงเว็บไซต์ของเราให้มีคุณภาพดีเพียงพอก็จะสามารถเพิ่ม Traffic ได้ในทุกแง่มุม ไม่ว่าจะทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ แน่นอนว่าจะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจที่มากตามไปด้วย ดังนั้น สำหรับผู้ทำและต้องการสร้างเว็บไซต์ จำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพของเว็บไซต์และเนื้อหาให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้และอัลออรึทึมอยู่เสมอ เพื่อให้ Traffic เพิ่มขึ้น และสร้างโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจของคุณได้มากขึ้นตามไปด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!