Canonical Tag คืออะไร จำเป็นต่อการทำSEOอย่างไร แนะนำวิธีใช้ให้ครบ

เมื่อท่านติดตั้ง Plugin YOAST แล้วสามารถทำ URL Conanical Tag ได้ บทความนี้พามาเจาะลึก พร้อมข้อควรระวังที่เกี่ยวกับSEO และอธิบายให้ว่า Conanical URL ต้องใช้ตอนไหน มีหน้าที่อะไรบ้าง

การทำบทความที่ใช้ Keyword ใกล้เคียงกัน ส่งผลต่อ SEO เพราะ Google Bot ไม่รู้ว่าควรจะจัดอันดับให้กับหน้าเพจไหนกันแน่ เมื่อเพจไม่ติดอันดับ Trafficโดยรวมของเว็บไซต์ก็อาจลดฮวบลงอีก

เป็นหน้าที่ของคนทำ SEO หรือเจ้าของเว็บไซต์ที่จะต้องชี้ให้ Google รู้ว่า หน้าเพจนี้ไหน คือ หน้าเพจต้นฉบับ (Original) ที่เราต้องการให้คนเข้ามาเยี่ยมชม

Canonical Tag คืออะไร

Canonical tag คือ ทำหน้าที่กำหนดให้ search engine bot เข้าใจว่า หน้าใดเป็นหน้าหลักที่ต้องการแสดงผลหน้าใดเป็นหน้ารองที่ส่งให้หน้าหลักแสดงผลแทนโดยการทำโค้ด (rel=“canonical”)

โดยเป็นการไม่ให้ search engine bot มาเก็บข้อมูลหน้าเว็บไปแสดงผลแบบผิดๆ โดยแสดงหน้าที่ไม่ต้องการให้แสดงผลแทนหน้าหลักที่ต้องการเพราะมีเนื้อหาคล้ายกัน หรือ duplicated content เราจึงต้องทำ Canonical tag

โดยถ้าหน้าเว็บของเรามีหน้าที่มีเนื้อหาคล้ายกันมากไปจะเกิดการแสดงผลผิดเพี้ยนแย่งกันทำอันดับกันเอง ส่งผลให้ลดความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ในสายตาของ Google

การใส่ Canonical tags นั่นทำได้ง่าย เพียงแค่ระบุโค้ดหรือ Tag ตามตัวอย่างนี้ ลงไปในส่วน <head> ของหน้าเพจ นั่นคือ

<link rel=“canonical” href=“https://example.com/sample-page/” />

หากไม่ได้ทำ Canonical Tag จะส่งผลเสียต่อ SEO อย่างไรบ้าง

หากเราไม่ได้ระบุ Canonical Tag ไว้ Google จะตัดสินใจได้ 2 แบบ คือ

  1. กูเกิ้ลเลือกให้เองว่าควรจดจำหน้าไหนเพื่อนำมาแสดงในหน้าผลการค้นหา ส่วนหน้าที่คล้ายกันหน้าอื่นๆจะไม่แสดงข้อมูล
  2. กูเกิ้ลตัดสินว่า URL ทั้งหมดนั้นมีความสำคัญเท่ากัน และแสดงผลทั้งหมด ซึ่งอาจจะเฉลี่ยการแสดงผลของคีย์เวิร์ดของหน้าที่คล้ายกัน ทำให้แสดงผลไม่เต็มที่ อันดับจึงไม่ดีในแต่ละ URL

(สนใจกด >> รับทำ SEO)

Canonical Tag ต่างกับ Canonical URL ยังไง

ปกติแล้ว Canonical tag จะมีส่วนหลักอยู่ 2 ส่วน ตามcode ซึ่งคนมักเรียก 2 อย่างนี้สับสนกัน ได้แก่

  • 1. Canonical tag คือ Tag ที่ใช้ระบุว่าด้านหลังของ link URL นี้ เป็นหน้าเพจหลัก >> link rel=“canonical”
  • 2. Canonical URL คือ การที่เราต้องการให้ search engine bot มาเก็บข้อมูลที่ link ของหน้าเว็บนี้เป็นหน้าหลัก และเข้าใจว่าหน้านี้คือหน้าเพจหลักที่ต้องการแสดงผล หรือ Original page โดย Canonical URL จะต้องเป็น Exact URL หรือ link versionเต็มเท่านั้น โดยระบุไว้ข้างหลัง href=“exact.url” โดยส่วนที่เรียกว่า “Canonical URL” หรือ “Canonical link” >> href=“https://example.com/sample-page/”

ในมุมของ Bot Crawler จะมอง URL ที่เขียนแตกต่างกันว่าเป็นคนละหน้าเพจ (แต่ในมุมของผู้ใช้งาน เราจะเข้าใจว่าคือหน้าเพจเดียวกัน) ยกตัวอย่างเช่นหน้า Home page ที่มีหลากหลาย URL

  • http://example.com/index.php
  • https://www.example.com
  • http://www.example.com
  • http://example.com/index.php?r…
  • http://example.com

วิธีการสร้าง Canonical Tags

1. ใส่ HTML tag (rel=canonical) ด้วยตัวเอง

เพียงแค่เรา copy code ของตัวอย่างนี้ไปโดยใช้วางในส่วนของหน้า code HTML การทำ Canonical tag ด้วย rel=canonical ด้วยตัวเองก็ไม่ใช่เรื่องยาก เราต้องวางไว้ที่ส่วน <head> section ของ Duplicate page หรือวางไว้ที่หน้าเพจที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกันกับหน้าหลัก โดยต้องเปลี่ยนให้ URL เป็น URL ของหน้าหลัก

โค้ด Canonical tag : <link rel=“canonical” href=“https://example.com/canonical-page/” />

ยกตัวอย่าง

สมมติว่า เว็บไซต์ของคุณมีหน้าบริการ คือ https://www.markettium.com/seo-service/ ที่อยากให้เป็นหน้าหลัก

แต่ว่ามี URL อื่นๆ ที่ถูก Index อยู่ใน Google เหมือนกัน แล้วคนสามารถเข้าหน้าเพจบริการนั้นได้เหมือนกับ URL หน้าหลัก ก็ให้คุณใส่ Canonical tag บนหน้าเพจนั้นหรือหน้าเพจ Duplicate

ใส่โค้ดและ URL นี้ ไว้ในส่วน <head> ของหน้าเพจเหล่านั้นแทนด้วยหน้าหลัก : <link rel=“canonical” href=“https://www.markettium.com/seo-service/” />

เช่น

<head>

<link rel=”canonical” href=”https://www.markettium.com/seo-service/” />

</head>

2. ระบุ Canonical tag ใน WordPress

จะง่ายมากถ้าเราสร้างเว็บไซต์ผ่าน CMS อย่าง WordPress เราไม่จำเป็นต้องใส่ Canonical tag ด้วยตัวเองให้ยุ่งยาก โดย

วิธีใช้ Plugin Yoast SEO ของ WordPress ทำ Canonical tag

  1. ติดตั้ง Plug-in Yoast SEO กับ WordPress
  2. กดแก้ไขหน้า page/post (edit page/post)
  3. เลื่อนลงไปด้านล่าง จะพบ Yoast plugin ให้หาหัวข้อ advance
  4. กด drop down จะพบหัวข้อ canonical url
  5. ให้ใส่ URL หน้าที่ต้องการให้เป็นหน้าหลัก

3. การใส่ Canonical Tag ใน Joomla

คุณสามารถตั้งค่า Canonical Tags ใน joomla โดยใช้ Plugin SH404SEF ซึ่งปลั๊กอินนี้จะช่วยให้คุณสามารถตั้งค่า Canonical Tags ได้ง่ายง่ายๆ โดยเข้าไปที่เมนู Components > SH404SEF > URL Manager แล้วใส่ URL ของหน้าเพจที่ต้องการตั้งค่า Canonical Tags ลงไปในช่อง Canonical URL (สนใจกด >> รับสอน SEO)

วิธีเช็คว่ามีการติดตั้ง Canonical Tag สำเร็จแล้วหรือไม่

เราแนะนำให้ใช้ Moz Bar ในการเช็ค (สามารถติดตั้ง Moz Bar ได้ที่ https://moz.com/products/pro/seo-toolbar) เมื่อติดตั้งแล้ว ให้เปิดใช้งาน Moz Bar แล้วเข้าไปที่หน้าเพจที่เราต้องการเช็ค จากนั้นให้กดที่ Page Analysis หรือไอคอนที่เป็นรูปกระดาษและแว่นขยาย

ให้ดูในแท็ป General Attributes จะมีรายการที่ชื่อว่า Rel=”canonical” ให้เราเช็คว่า Url ที่เราตั้งใน WordPress นั้นแสดงถูกต้องหรือไม่

Canonical Tags สำคัญต่อการทำ SEO ยังไง

  • 1. ช่วยคุณนำเสนอ URL ที่ดีที่สุด

อย่างที่รู้กันว่าเราสามารถกำหนด Canonical Tag ขึ้นมาเองได้เพื่อให้ Google รู้ว่าหน้าไหนเป็นหน้าหลักของเรา ดังนั้นการทำ Canonical Tag จึงเป็นการนำเสนอ URL ที่คุณคิดว่าครบถ้วน มีคุณภาพและดีที่สุดสำหรับ User ซึ่งหากตอบโจทย์ครบทุกด้านก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะไต่ขึ้นสู่อันดับหนึ่งในหน้าแรกของ Google

  • 2. ป้องกันการเลือกหน้าผิด

การ Duplicate Content หรือเป็นกรณีที่เรามีหน้าเพจที่เป็นเรื่องใกล้เคียงกันอยู่หลายหน้า ทำให้เวลา Google ส่งบอทเข้ามาตามหาข้อมูลก็จะได้ข้อมูลที่คล้ายกันเยอะแยะเต็มไปหมด เลือกไม่ถูกเลยว่าอันไหนหลัก อันไหนรอง จึงต้องสร้าง Canonical Tag ขึ้นมาเพื่อให้โอกาสกับเราได้บอกว่าอันไหนเป็นหน้าหลักที่จะเอาไปไต่อันดับกันแน่

  • 3. รวบรวมข้อมูลเพื่อเพิ่มอันดับ

Google มีการรวบรวมข้อมูลที่ครบถ้วนอย่างมากทีเดียว แต่ด้วยความที่มันครบถ้วนเกินไปนี่แหละทำให้เวลาเก็บข้อมูลก็มักจะสับสนเอง โดยทำให้หน้าที่เราตั้งใจว่าจะให้เป็นหน้าหลักถูกเข้าใจผิด ยิ่งกับเว็บใหญ่ๆ ที่มีข้อมูลมากๆ ต้องให้ Crawl Budget เข้ามาช่วยรวบรวมเลือกดู URL ที่ใช่ที่สุด

แต่ระบบจะเลือกได้ตรงเท่าเราไหม ก็ต้องตอบว่า ไม่

ดังนั้นการทำ Canonical Tag จึงช่วยลดต้นทุนการรวบรวมข้อมูล ประหยัดเวลาและทำให้ Google สามารถหาตัวเลือกที่ดีที่สุดมาได้ เพราะมันจะรวบรวมข้อมูลสำหรับหน้าที่มีการทำ Canonical Tag ก่อนเสมอ ขณะเดียวกันก็จะนำเอาหน้าที่มีเนื้อหาคล้ายกันมาไว้ใน URL เดียวทำให้ไต่อันดับได้ดีขึ้นด้วยนะ

ลักษณะของเว็บไซต์แบบใดที่ควรใช้ Canonical Tag?

แล้วหน้าเพจแบบไหนบ้างที่เราควรจะใส่ Canonical tag? โดยมากจะมีหน้าเพจอยู่ 3 ลักษณะด้วยกันที่เราจะเรียกใช้ Canonical tag ได้แก่

1. Duplicate content

คือ เป็นหน้า page/post ที่มีเนื้อหาเหมือนหน้าที่เราต้องการให้แสดงผล(หน้าหลัก) ซึ่งหน้าหลักเราจะมี focus keyword ที่ต้องการทำอันดับอยู่ ซึ่งหน้า duplicated content จะมีเนื้อหาซ้ำกันหรือใกล้เคียงกัน (จน Google เลือกไม่ถูกว่าต้อง Rank หน้าไหน) ให้เราใส่ Canonical URL ให้กับหน้า Duplicate page หรือหน้าเพจที่ Keyword ชนกับหน้าหลัก

2. Similar content

เป็นหน้าที่มีเนื้อหาใจความที่คล้ายๆกันอยู่มาก เช่นหน้าเว็บขายสินค้าหมวดเดียวกันที่ต้องบรรยายสรรพคุณเหมือนๆกัน ต่างแต่สีหรือขนาดของสินค้า ให้เราทำ Canonical กับหน้านั้นๆ

3. URL parameters

เป็นหน้าเว็บที่มีการติดตั้ง URL พารามิเตอร์ หรือ UTM ไว้ track ข้อมูลคนเข้าเว็บเพื่อใช้ในแต่ละจุดประสงค์โดยมี url ไม่เหมือนกันแม้จะเป็นหน้า page/post เดียวกัน ให้เราติดตั้ง Canonical tag เอาไว้ เช่น

  • http://example.com/product/men-shoe/utm_campaign=analytics-tools &utm_medium=banner&utm_source=friends
  • http://example.com/product/men-shoe/?isnt=it-awesome
  • http://example.com/product/men-shoe/
  • http://example.com/product/men-shoe/?cmpgn=facebook
  • http://example.com/product/men-shoe/?cmpgn=twitter

ควรใช้ Canonical Tags ตอนไหนบ้าง

ใช้ตอนที่เราป้องกัน search engine bot สับสนเวลาเก็บข้อมูลจากเว็บเรา โดยแนะนำติดตั้ง Canonical tag ในกรณีเหล่านี้ด้วย คือ

  1. หน้า Product และหน้า Product Category มี filter หรือ tag แบ่งย่อยเป็นหลาย url ต่างๆกันเพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น หน้าสีสินค้น หน้าขนาดสินค้า จะมีแยกย่อยของหน้า product เยอะแต่ใจความเนื้อหาซ้ำๆกัน กดแล้วเด้งไปเป็นอีก URL ควรใส่ Canonical tag ไว้เพื่อลดโอกาสเกิดปัญหาในการ Index ของ Search Engine
  2. หน้า blog บทความของ page/post ที่มีแบ่งแยกย่อยหลาย tag หรือ category เช่น หน้า page/post ที่มีเนื้อหาคล้ายๆกันเหมือนหน้า product จะทำให้ search engine bot สับสนได้ จึงมีโอกาสเข้าถึงหน้าเพจนั้นๆ ด้วย URL ที่ต่างกัน

คำแนะนำเพิ่มเติม : สำหรับหน้า Tag เป็นหน้าที่เว็บไซต์จะ Generate ขึ้นมาเอง เพื่อความสะดวกของผู้ใช้งานเว็บไซต์ในการหาข้อมูลหรือหาคอนเทนต์อ่าน และเพื่อลดปัญหาเรื่องการทำ Index และ Ranking ที่สับสน หลายเว็บไซต์จึงมักติด Tag “No-index” สำหรับหน้า Tag ต่างๆ (สนใจกด >> รับดูแลเว็บไซต์ wordpress)

ข้อควรระวังในการทำ Canonical Tag มีอะไรบ้าง?

สิ่งที่มักทำผิดพลาดในการทำ Canonical tag นั้น Google ได้สรุป ไว้5ข้อ โดยชี้แจงถึงสิ่งที่ไม่ควรทำ ควรหลีกเลี่ยง อธิบายง่ายๆ ดังนี้

1. ใส่ rel=canonical ส่งไปหาหน้าแรกของซีรี่ส์ (paginated series)

เนื่องจากหน้า page/post ของบางคอนเทนต์บทความ มีความเกี่ยวเนื่องกันเป็น series เช่น วิธีทำ cupcake ตอนที่ 1 และ วิธีทำ cupcake ตอนที่ 2

  • example.com/blog?story=cupcake-news&page=1
  • example.com/blog?story=cupcake-news&page=2
  • หรือหน้าถัด ๆ ไป

มีหลายท่านเข้าใจว่า url ทั้งสองนี้เป็น Similar Content ตกใจว่า Bot google จะตัดสินว่าเป็น Duplicated content ทำให้ไปใส่ Cononical URL กำหนดให้บทคววามที่1เป็นหน้าหลัก ส่งผลให้หน้าอื่นๆ กูเกิ้ลไม่มีเก็บข้อมูลไม่ถูก Index แม้ว่าคอนเทนต์นั้นไม่ได้ซ้ำซ้อนกัน แต่เป็นเนื้อหาที่ต่อเนื่องต่างหาก

หากมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นสิ่งที่ควรทำ คือ การใส่ Markup Tag 2 ตัวนี้ ได้แก่ rel=“prev” หรือ/และ rel=“next” ให้กับหน้าเพจเหล่านั้นแทน วิธีใส่ก็เหมือนกับการใส่ rel=“canonical”

2. ย่อ Canonical URL หรือทำแบบอ้างอิง

ไม่ควรย่อ URL การใส่ Canonical URL นั้น ทางGoogleแนะนำให้ใส่แบบ Exact/Absolute URL หรือ link แบบเต็มรูป คือต้องใส่ http:// หรือ https:// ลงไปด้วย เช่น

<link rel=canonical href=“markettium.com/service/seo.html” />

ตัวอย่างที่แนะนำและไม่แนะนำ :

  • Recommended : <link rel=canonical href=”http://markettium.com/service/seo.html” />
  • Not recommended : <link rel=canonical href=”markettium.com/service/seo.html” />
  • Not recommended : <link rel=canonical href=”service/seo.html” />

3. ในหน้า HTML เดียวกัน อย่าใส่ Canonical มากกว่า 1 Tag

อาจจะใส่หลายครั้งโดยไม่ได้ตั้งใจของการทำ rel=canonical เกิดขึ้นบ่อยโดยการใส่ Canonical Tag ซ้ำกันเอง หรืออาจจะเกิดจากปลั๊กอินที่ใช้ใน CMS (สนใจกด >> รับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)

โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่ติดตั้งปลั๊กอิน SEO การที่ใส่ rel=canonical ซ้ำซ้อนหลายครั้ง อาจจะเกิดจากการแทรกลิงก์ rel=canonical ไว้เป็นค่าเริ่มต้น หรือการไม่ได้ตรวจสอบเวลาใส่ tagในกรณีที่มีผู้ดูแลเว็บหลายคนซึ่งหน้า page/postนั้นมีการทำ Canonical ไว้แล้ว

การมี rel=canonical มากกว่า 1 Tag หรือการประกาศ Canonical หลายครั้ง ส่งผลให้ Google จะมองว่าไม่ได้ทำ เลือกมองข้ามการทำ Canonical ทั้งหมด

ดังนั้น ก่อนที่จะใส่ Canonical tag ทุกครั้ง ควรตรวจสอบดูที่ <head> ของหน้าเพจนั้น ๆ ก่อน ว่ามี rel=“canonical” อยู่หรือเปล่า

4. ใส่ rel=canonical ในส่วน <body>

google bot จะไม่สนใจ code นี้ ถ้าหากใส่ rel=canonical ในส่วน <body> 

มีเพียงส่วน <head> ของ page/post เท่านั้นที่เป็นตำแหน่งที่ควรใส่ rel=canonical โดยควรใส่ไว้ให้อยู่ก่อน script หรือ code อื่นๆที่เอามาติดตั้งไว้ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ จุดประสงค์เพราะ กูเกิ้ลบอทจะเข้ามาพบตั้งแต่แรก

5. ใช้ Tag แบบผสม หรือ ทำ conanicle แบบเป็นลูกโซ่ต่อๆกันไป

  • ตัวอย่างการทำ Canonical แบบลูกโซ่ : ใส่ rel=canonical ให้กับหน้า A → B และจากหน้า B → A หรืออีกรูปแบบคือ การใส่ rel=canonical ให้กับหน้า A → B จากหน้า B → C และจากหน้า C → D หรือต่อไปเรื่อยๆ
  • ตัวอย่างการใช้ Tag แบบผสม (Mixed Tags) : ใส่ rel=canonical ให้กับหน้า A → B แล้วใส่ 301 redirect ให้กับหน้า B → A

การทำใส่แท็ก Canonical ในรูปแบบเหล่านี้ จะทำให้ Crawl Bot เกิดความสับสน หรือการ Index บทความไม่ถูกต้อง Tag ตีกันเอง ย่อมส่งผลเสียต่อการทำ SEO ของเว็บไซต์

6. ห้ามวาง Canonical Tag ซึ่งมี URL เดียวกันในทุกหน้าของเว็บไซต์

มักเกิดโดยการวาง Canonical Tag ใน HTML ของเทมเพลตหลักของเว็บไซต์ ทำให้ Tag ปรากฏบนทุกหน้าในเว็บไซต์

อ้างอิงจาก :

หาก Traffic ลดไปแล้ว ก่อนที่จะใส่ Canonical Tag จะแก้ไขอย่างไร?

ก่อนใส่ Canonical tag ให้เรารู้ก่อนว่าเว็บไซต์ที่หน้า page/post ที่ ranking ตก หรือ traffic ลด เรากู้อันดับยากมาก ซึ่งถ้าเราต้องการกู้อันดับ เราต้องทำเว็บเราให้มีความน่าเชื่อถือโดยการ ทำดังนี้ (สนใจกด >> รับทำเว็บไซต์ wordpress)

  • ทำ 301 Redirect หน้า page/post ที่ซ้ำซ้อนกัน พร้อมลบหน้าเหล่านั้นออกให้หมด
  • หน้าที่คล้ายกันให้ทำ Canonical tags ส่งพลังไปยังหน้าหน้าหลักที่ต้องการแสดงผลการค้นหาสำหรับคีย์นั้นๆ จากนั้นก็ให้ Google bot เข้ามา Index เว็บใหม่อีกครั้ง ด้วยการส่ง sitemap แผนผังเว็บไซต์ หรือ ส่ง URL หน้าที่ต้องการที่ google search console
  • เพิ่ม traffic ให้หน้า page/post เก่าๆด้วยการทำ Internal link โดยใส่ไปยังหน้า page/post ใหม่ที่เป็นเรื่องที่น่าสนใจในขณะนั้น โดยควรเป็นคอนเทนต์บทความที่มีเนื้อหาสอดคล้องกัน
  • กระตุ้นหน้า page/post ที่ต้องการเพิ่ม traffic โดยการทำ Backlink ก็สามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ Google ได้

แนะนำ Plugin แก้ไข Canonical URLs

การแก้ไขและทำ Canonical tag มี plugin อยู่ 3 ตัว ที่เป็นที่นิยม เพราะคนใช้มากและมีการปรับปรุงอยู่เสมอ

  • Yoast SEO สามารถใช้ทำ Canonical URL ได้ง่ายๆ คนใช้งานมาก
  • AIOSEO หรือ All-in-One SEO เหมือนกับ YOAST วิธีใช้คล้ายกัน มีระบบป้องกัน duplicated content โดยการใส่ Canonical URLs แบบอัตโนมัติด้วย
  • Rank Math SEO เหมือนกับ AIOSEO มีฟังก์ชันการใส่ Canonical URLs และระบบ Auto Canonical URLs โดยใส่ URLs หน้าหลักและป้องกันปัญหา Duplicated content ให้แบบอัตโนมัติ

 

สรุป

การทำ Canonical tags เป็นการป้องการการแสดงผลหน้า page/post ที่มีเนื้อหาคล้ายกัน โดยเราจะกำหนดหน้าหลักของ keyword นั้นๆ ที่เหลือเป็นหน้ารอง ทำให้ google bot ไม่สับสนเวลาแสดงผลให้เว็บไซต์ ส่งผลให้การทำอันดับ SEO ของคีย์เวิร์ดนั้นๆดีขึ้น (สนใจกด >> รับทำเว็บไซต์ E-Commerce)

โดยเราควรวางแผนการเขียนคอนเทนต์บทความให้หลากหลาย ไม่ซ้ำกันบ่อย ไม่อย่างนั้นจะเกิดการแย่งกันแสดงผลของหน้าต่างๆที่คีย์เวิร์ดคล้ายคลึงกัน Traffic ร่วง หรืออันดับเพจตกลงมา โดยการทำ Canonical เพื่อกอบกู้เว็บไซต์ให้กลับมาเหมือนเดิมก็ต้องใช้เวลาพอสมควร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!