Category Archives: Google Ads

วิธีทำ Google Ads ด้วยตนเองสำหรับมือใหม่เข้าใจง่าย ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย

สอนลงโฆษณา วิธีทำ Google Ads ตั้งแต่ลงชื่อเข้าใช้งาน สร้างบัญชีแบบมือโปร พร้อมอธิบายวิธีใช้งานกูเกิ้ลแอดมีอะไรบ้างกี่ประเภท การทำโฆษณา Google Ads เรียกเก็บเงินทำยังไง จ่ายหักเงินเองดีไหม

นอกจากจะช่วยค้นหาคำตอบเรื่องที่สงสัย หรือทำให้พบสิ่งที่ตอบโจทย์ความต้องการแล้ว Google นับเป็นช่องทางสำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ด้วย พ่อค้าแม่ค้ายุคปัจจุบันไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน ก็มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าผ่านเว็บไซต์หรือเพจโซเชียลมีเดีย ส่วนเจ้าของธุรกิจที่มีหน้าร้านหรือผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมระดับใหญ่ก็สามารถสร้างฐานกลุ่มเป้าหมายใหม่และเพิ่มยอดขายได้จากการทำ Google AdWords (ปัจจุบันรีแบรนด์ใหม่เป็น Google Ads)

หลายคนอาจเกิดคำถามว่าจำเป็นต้องลงทุนทำโฆษณากับ Google Ads หรือ AdWords หรือไม่ จะไม่เสียเงินเปล่าโดยใช่เหตุหรือ แล้วมันต่างจากการเสียเงินลงโฆษณาในสื่อประเภท Traditional Advertisement อย่างไร และอีกสารพัดข้อกังขาในการทำ Google Ads มือใหม่ ถึงอย่างนั้น หากคุณเป็นคนหนึ่งที่วางแผนทำธุรกิจออนไลน์ Google AdWords ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่คุณไม่ควรมองข้าม

GOOGLE ADS คืออะไร?

Google Ads คือ การทำโฆษณาออนไลน์ผ่านเครือข่ายของ Google ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Search Engine ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก ส่งผลให้ตัวธุรกิจสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้คนในยุคปัจจุบันได้อย่างลงตัว โดยการบริการจะเรียกเก็บเงินเมื่อโฆษณาถูกคลิกหรือถูกเผยแพร่ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

ด้วยการทำงานที่เรียบง่ายและไม่ซับซ้อน Google Ads จึงถูกยกให้เป็นเครื่องมือในการทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพ และสามารถเข้าถึงผู้คนจำนวนมากได้ไม่แพ้กับ Ads ที่อยู่บน Social media เลย

แคมเปญของ Google Ads สามารถทำอะไรได้บ้าง

เนื่องจาก Google Ads คือ เครื่องมือที่ทุกธุรกิจสามารถใช้งานได้ Google Ads จึงจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์การทำโฆษณาที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น ดังนี้

  • Sales : แคมเปญ Google Ads ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์เพิ่มยอดขายออนไลน์ในช่องทางแอปพลิเคชันในโทรศัพท์หรือ Online Shop
  • Leads : แคมเปญ Google Ads ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าหรือหาว่าที่ลูกค้าที่เข้ามาปฏิสัมพันธ์กับ Ads ของคุณ
  • Website Traffic : แคมเปญ Google Ads ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์เพิ่มยอดเข้าชมเว็บไซต์
  • Product & Brand Consideration : แคมเปญที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ให้ผู้คนเห็นสินค้าและแบรนด์มากขึ้น เพื่อช่วยในการตัดสินใจซื้อ
  • Brand Awareness & Reach : แคมเปญที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์เพิ่มการมองเห็นและทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง
  • App Promotion : แคมเปญ Google Ads ที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์เพิ่มยอดการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน โดยการให้ผู้คนเห็นโฆษณาแอปฯ มากขึ้น
  • Create Campaign Without A Goal’s Guidance : เป็นการสร้างแคมเปญ Google Ads ด้วยการกำหนดเองทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้แคมเปญโฆษณาที่เหมาะสมกับธุรกิจมากที่สุด

บริการของ GOOGLE ADS มีอะไรบ้าง

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าผู้คนยุคนี้มักใช้ชีวิตในโลกออนไลน์มากขึ้น เพราะพฤติกรรมการบริโภค เสพสื่อต่าง ๆ หรือแม้แต่การทำธุรกรรมสำคัญก็มีแอปพลิเคชันหรือสื่อโซเชียลมีเดียที่คอยอำนวยความสะดวกพร้อมสรรพ แน่นอนว่าหนึ่งในเครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยให้ใช้ชีวิตกันง่ายขึ้นคงหนีไม่พ้น Search Engines อย่าง Google ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นคลังรวบรวม Solutions ของปัญหาสารพัดอย่าง

1. GOOGLE SEARCH คืออะไร?

Google Search คือ บริการโฆษณาที่จะทำให้เว็บไซต์ของตัวธุรกิจ แสดงอยู่บนหน้าแรกเมื่อมีคนค้นหา Keyword ที่เรากำหนดไว้บน Google ถือเป็นบริการหลักของ Google Ads ที่ได้รับความนิยมจากแบรนด์มากมายทั่วโลก

มีรูปแบบการทำงานที่คล้ายคลึงกับการทำ SEO แต่จะเห็นผลลัพธ์ได้เร็วและชัดเจนกว่า โดยการบริการจะคิดค่าใช้จ่ายก็ต่อเมื่อมีคนคลิกโฆษณาเข้ามายังเว็บไซต์ของเรา ส่วนราคาที่ต้องจ่ายก็ขึ้นอยู่กับว่า Keyword ที่เราใช้ประมูลมาเท่าไหร่ ยิ่งเป็น Keyword ที่มีการแข่งขันสูง มีคนใช้เยอะ ราคาก็มักจะสูงตาม

2. GOOGLE DISPLAY NETWORK หรือ GDN คืออะไร?

Google Display Network หรือ GDN คือ บริการของทาง Google Ads ที่จะแสดงโฆษณาในรูปแบบของแบนเนอร์ที่เป็นรูปภาพและตัวหนังสือบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ Google ถือเป็นรูปแบบโฆษณาที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมหาศาล เพราะตัวธุรกิจจะสามารถกำหนดได้ว่าจะให้แบนเนอร์ไปแสดงอยู่บนเว็บไซต์แบบใด หมวดหมู่ไหน และเกี่ยวข้องกับอะไร

เพื่อผลักดันให้ตัวโฆษณาเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุดนั่นเอง โดยการบริการจะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของตัวโฆษณาระหว่างตามยอดคลิก (CPC) หรือ ตามยอดวิว (CPM) ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะกำหนดให้ตัวโฆษณาทำงานแบบใด

3. บริการโฆษณา YOUTUBE ADS คืออะไร?

บริการโฆษณาในรูปแบบของ Youtube Ads คือ Video Ads ที่จะแสดงให้ผู้ใช้งานเห็นเมื่อกำลังรับชมคลิปวิดีโอต่าง ๆ บน Youtube ถือเป็นอีกหนึ่งรูปแบบโฆษณาที่เรามักคุ้นและผ่านตากันเป็นอย่างดี

โดยผู้ลงโฆษณาจะสามารถกำหนดได้ว่า จะให้ Video Ads ของเราไปแสดงอยู่ที่ไหนหรือ Channel อะไร เพื่อให้ตัวโฆษณาเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและปรากฏให้ผู้บริโภคได้เห็นมากที่สุดนั่นเอง

Video Campaign (YouTube) คือ การซื้อโฆษณาวิดีโอบน YouTube โดยจะปรากฏขึ้นได้ในหลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น

  • TrueView Ads หรือ Skippable Video Ads (โฆษณาที่กดข้ามได้)
  • Non-Skippable Video Ads (โฆษณาวิดีโอที่กดข้ามไม่ได้)
  • Bumper Ads (โฆษณาที่แสดงเพียง 6 วินาทีและไม่สามารถกดข้ามได้)
  • Display ads หรือ Banners โดยจะปรากฏในหน้าต่างๆของ Youtube ยกเว้นหน้า Homepage

4. บริการ MOBILE APP ADS คืออะไร?

Mobile App Ads คือ บริการที่จะแสดงแบนเนอร์หรือวิดีโอโฆษณาบนแอปพลิเคชันที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ Google ในระหว่างที่ผู้บริโภคกำลังเปิดใช้งานแอปฯอยู่ อาจมาในรูปแบบของคลิปวิดีโอที่ต้องรับชมเพื่อแลกกับของรางวัลบางอย่างในแอปฯ หรือเกมที่เปิดให้เล่นฟรีบนมือถือ แต่หากต้องการไอเทมพิเศษเพิ่มก็ต้องรับชมโฆษณาให้จบ เป็นต้น

ซึ่งส่วนมากแล้วเรามักจะพบโฆษณาประเภทนี้ บนโทรศัพท์มือถือระบบแอนดรอยด์เป็นหลัก เพราะทุกแอปพลิเคชันที่อยู่ใน Google Play ก็ล้วนแล้วแต่เป็นพาร์ทเนอร์กับทาง Google นั่นเอง

5. GOOGLE SHOPPING ADS คืออะไร?

Google Shopping Ads เป็นรูปแบบโฆษณาที่จะเน้นโชว์สินค้าและราคาให้ผู้ใช้งานเห็นบนหน้า Search เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อสินค้าได้อย่างรวดเร็ว โดยรูปแบบโฆษณานี้จะต่างกับบริการ Google Search ตรงที่ไม่ต้องคัดเลือก Keyword เพราะตัว Google จะเก็บข้อมูลในหน้าสินค้าแล้วนำไปประมวลผลเอง ว่าผู้ใช้งานคนไหนควรจะเห็นสินค้าของเรา

แต่ผู้ใช้งานที่ทำการค้นหาจะไม่ได้พบสินค้าของเราเพียงเว็บเดียว เพราะตัวระบบจะแสดงสินค้าจากหลากหลายเว็บไซต์ เพื่อเป็นตัวช่วยในการเปรียบเทียบและตัดสินใจซื้อต่อไปในอนาคต

6. GOOGLE REMARKETING คืออะไร?

การ Remarketing คือ การนำโฆษณาไปแสดงซ้ำ ๆ ให้กับผู้ใช้งานที่เคยคลิกดูเว็บไซต์ หรือเคยคลิกดูสินค้าของเรา ส่งผลให้พวกเขาเห็นโฆษณาของตัวธุรกิจในทุกที่ ๆ พวกเขาสามารถเห็นได้ขณะใช้อินเทอร์เน็ต

เป็นการกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการรับรู้ถึงตัวสินค้าและแบรนด์อยู่ตลอดเวลา ช่วยเพิ่มโอกาสให้พวกเขาตัดสินใจซื้อสินค้าได้เป็นอย่างดี แม้ว่าพวกเขาจะเคยมองข้ามไปแล้วก็ตาม

7. Google Discovery Ads

Google Discovery Ads คือ การโฆษณาอีกรูปแบบหนึ่งของ Google โดยลักษณะโฆษณาจะเป็นรูปแบบ Native ที่จะดูแล้วเนียนไปกับเนื้อหาของคอนเทนต์เลย ซึ่งจะปรากฏในแอปฯ Google หรือที่เรียกว่า Google Discover Feed, YouTube Home Feed, Social Tab และ Promotion Tab ใน Gmail

8. Google Performance Max

Google Performance Max คือ รูปแบบโฆษณาเวอร์ชันล่าสุดของ Google Ads ที่ทำให้โฆษณาของคุณได้ผลลัพธ์ระดับสูงสุด เพราะสามารถสร้างโฆษณาทุก ๆ รูปแบบบน Google ไม่ว่าจะเป็น Search Ads, Video, GDN และอื่นๆ ได้ในแคมเปญเดียว

วิธีการทำ GOOGLE ADS สำคัญอย่างไร? ช่วยให้หาลูกค้าใหม่ได้จริงหรือ?

Google AdWords หรือ Google Ads คือการทำโฆษณาผ่าน Search Engine ของ Google อัลกอริทึมจะจับคู่ Keyword ที่ผู้ใช้ค้นหาเข้ากับคำบนโฆษณาที่เขียนขึ้นจากทั้งใน Landing Page และข้อความโฆษณาโดยปกติแล้วส่วนที่เป็นโฆษณาหรือ SEM จะปรากฏอยู่ในอันดับบนสุดถัดมาถึงจะเป็นคอนเทนต์แบบ SEO เพื่อให้ผู้ใช้งานให้ความสนใจกับโฆษณาก่อนเป็นอย่างแรก

ซึ่งตัวโฆษณาสามารถสร้าง CTA กำหนดให้ผู้ใช้งานเข้ามามีส่วนร่วมกับโฆษณาในแบบต่าง ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็น เพิ่มยอดการโทร ยอดการเข้าชมเว็บไซต์ หรือกรอกข้อมูลติดต่อกลับเพื่อให้ปิดการขาย โดยที่ผู้ลงโฆษณาสามารถกำหนดงบประมาณ การออกแบบแคมเปญ และควบคุมการยิงโฆษณาผ่านหลังบ้าน Google Ads ได้ด้วย

ทำไมคุณควรใช้ Google Ads ในธุรกิจ

Google Ads คือ ฟีเจอร์การยิงโฆษณาที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อนธุรกิจในหลายๆด้าน ยกตัวอย่างเช่น

  • เห็นผลลัพธ์ได้ในทันที

สำหรับใครที่ต้องการ Lead หรือข้อมูลของลูกค้าเป้าหมายที่แสดงความสนใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการแบบรวดเร็ว แถมยังสามารถติดตามผลได้จากการใช้ Google Tag Manager ได้ แนะนำให้ใช้ Google Ads เพราะจะทำให้รู้ว่าโฆษณานั้นได้ผลอย่างไร และยังสามารถปรับแต่งโฆษณาได้เพื่อทำให้ผลลัพธ์จากการจ่ายโฆษณาที่ดีขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • เพิ่มการรับรู้ให้กับแบรนด์ (Brand Awareness)

เนื่องจาก Google Ads มีประเภท Ads ที่ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น Google Search Ads คือ โฆษณาที่ใช้ Keyword หรือ คำค้นหา เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย, Google Display Ads หรือที่เรียกว่า Google Display Network (GDN) เป็นต้น ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จำนวนมากผ่านทั้งเว็บไซต์ YouTube หรือแม้กระทั่งบนแอปพลิเคชันต่างๆ

  • ช่วยหากลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด

Google Ads คือ ฟีเจอร์ที่สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายจากตำแหน่ง ที่ต้องการให้กลุ่มเป้าหมายเห็นโฆษณา หรือระบุ Demographic ของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมได้อย่างตรงจุด ทำให้ยิงโฆษณาได้อย่างแม่นยำมากขึ้น อีกทั้ง ธุรกิจยังสามารถทำการ Remarketing ได้ในภายหลังจากกลุ่มเป้าหมายที่เคยเห็น เคยคลิก หรือมีปฏิสัมพันธ์กับแอดของคุณ เพื่อเพิ่มโอกาสการซื้อได้มากขึ้นด้วย

  • สามารถติดตามผลลัพธ์ และจัดทำรายงานเพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาดได้ง่ายๆ

คุณสามารถเช็กผลลัพธ์จากการยิงโฆษณา Google Ads ได้แบบ Real-time ผ่านหน้า Dashboard ของ Google Ad Manager ซึ่ง Google Ad Manager คือ เครื่องมือการตั้งค่าโฆษณา ชำระเงิน และสามารถเชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของ Google ได้ นอกจากนี้ คุณยังสามารถจัดทำรายงานผลการทำโฆษณาได้ง่าย ๆ เพียงใช้ Google Data Studio ดึงข้อมูลจาก Google Ads โดยตรง และลงมือสร้างตารางหรือแผนภูมิสรุปข้อมูล

วิธีลงชื่อเข้าใช้งาน Google Ads

หลังจากกดสร้างบัญชีใหม่แล้ว สำหรับฟีเจอร์ปัจจุบันของ Google ในหน้าการสมัครบัญชีโฆษณาใหม่ ระบบจะพาเราไปที่หน้าสร้างแคมเปญโฆษณาใหม่ ไม่ต้องกังวลใจ ให้เราสร้างแอดขึ้นมาคร่าวๆ เพื่อให้การสร้างบัญชีสามารถทำต่อไปได้ ส่วนแคมเปญโฆษณาที่สร้างขึ้นมานี้ เราสามารถได้ปิด หรือ ลบทิ้งได้ภายหลังจากที่เราสร้างบัญชีเสร็จแล้ว โดย Google จะไม่ได้ตัดเงินของเราก่อนแน่นอน

  1. เสิร์ชคำว่า “Google Ads” ลงในช่องของการค้นหาของ Google และคลิกผลการค้นหาแรกได้เลย ที่ขึ้นมาว่า ‘Google Ads ประเทศไทย’ หรือกด >> https://support.google.com/google-ads/answer/6366720?hl=th
  2. คลิกคำว่า ‘เริ่มเลย’ และ เลือก ‘บัญชี Google Ads ใหม่’ คือ การบอกระบบว่าเราจะสมัครบัญชีใหม่นั่นเอง

วิธีการทำแคมเปญโฆษณาผ่าน GOOGLE ADS

  1. สมัครเปิดบัญชีกับ Google Ads ก่อน แต่ถ้ามีบัญชีอยู่แล้วให้เข้าสู่หน้า Google Ad คลิกเลือก Campaign > กดบวกสีน้ำเงิน > เลือก New Campaign
  2. Google จะให้เราเลือกว่าจะทำการโฆษณาแบบไหน เพิ่มยอดขาย เพิ่ม Lead เพิ่มจำนวนผู้เข้าชม สร้าง Brand Awareness และอื่น ๆ ทั้งหมด 8 แบบ เลือกตามจุดประสงค์แคมเปญที่คิดเอาไว้
  3. เลือกประเภทแคมเปญตามกลยุทธ์ที่วางไว้มีให้เลือกทั้งหมด 6 รูปแบบ
  4. เลือกเป้าหมาย CTA และตั้งชื่อแคมเปญ
  5. เลือก Budget และ Bidding สำหรับประเทศไทย Budget ขั้นต่ำจะอยู่ที่ 300฿ ส่วน Bidding เริ่มที่ 1฿ ได้เลย
  6. ในหน้าตั้งค่าแคมเปญ Google Ads จะให้เลือกว่าโฆษณาจะไปแสดงบนหน้าไหนระหว่าง Search บนหน้าของ Google เองหรือ Display Network ข้างล่างให้เลือกพื้นที่ที่จะยิงโฆษณามีให้เลือก 3 แบบ คือ (ทุกประเทศ ทุกพื้นที่/เฉพาะในไทย/เฉพาะพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น) ถัดมาเลือกภาษาที่ผู้ใช้งานจะใช้ค้นหา
  7. เลือกหมวดหมู่ลูกค้าที่จะเข้าถึง มีทั้งแบบ Search ที่เรากดเลือกเองได้เลย หรือถ้าไม่มั่นใจก็ไปแบบ Browse ที่จะลิสต์คำถามเอาไว้ว่าเราต้องการจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าแบบไหน ส่วนข้างล่างจะให้เลือกว่าจะใช้แบบ Targeting ตีวงแคบลูกค้าเข้ามาช่วยให้ยิงโฆษณาได้แม่นยิ่งขึ้น หรือ Observation ที่ยิงโฆษณาแบบวงกว้าง เหมาะสำหรับออกผลสำรวจหรือหากลุ่มลูกค้าที่เข้าถึงได้หลายกลุ่ม
  8. มาถึงหมวดการทำ Ad Group ท่อนบนใส่ลิงก์ที่จะไปยังหน้า Landing Page ข้างล่างให้ใส่ Keyword ที่ได้ไปศึกษามาแล้ว เลื่อนลงมาข้างล่างคือส่วนของการทำ Google Responsive Search Ads หรือ RSA
  • RESPONSIVE SEARCH ADS คืออะไร

Google Responsive Search Ads หรือ RSA คือกลุ่มคำหรือวลีที่คุณเป็นคนคิดขึ้นมาเองโดยจะแทรก Keyword ที่คุณไปศึกษามาเข้าไปด้วยเพื่อให้การอ่านดูเป็นธรรมชาติ ซึ่งจะแทรกอยู่ทั้งใน Headline และ Description เมื่อคุณพิมพ์ประโยคเสร็จแล้ว Google Ads จะสุ่มเลือกกลุ่มคำที่เหมาะสมที่สุดและเข้ากันได้มากที่สุดให้คุณอ่านเป็นตัวอย่าง เพื่อที่คุณจะได้ปรับคำตามที่สมควร

วิธีทำคือ ให้เราใส่ข้อความ Headline และ Description เอาไว้เป็นชุด โดย Headline จะแบ่งออกเป็น 3 ชุด ใส่คำโฆษณาได้สูงสุด 30 คำ Description แบ่งออกเป็น 2 ชุด ใส่คำอธิบายได้สูงสุด 30 ประโยค

เมื่อเราใส่ข้อชุดคำโฆษณาเรียบร้อยแล้ว ระบบของ Google Ads ก็จะวิเคราะห์ และเลือกข้อความที่ดีที่สุดไปแสดงบนโฆษณาของเรา

จะเห็นได้ว่าท่อน Headline จะใส่คำได้ทั้งหมด 15 ช่องและ Desceiption อีก 4 ช่อง หากสังเกตทางด้านหลังของแต่ละช่องจะเห็นหมุดสีฟ้าพร้อมตัวเลขระบุเอาไว้ นั่นคือหมุดที่เราจะระบุได้ว่าจะให้เอาประโยคไหนขึ้นก่อนเป็นอันดับแรกไล่ไปจนลำดับที่ 3

ส่วน Description ก็จะมีเหมือนกันแต่มีแค่ 2 ลำดับเท่านั้น ซึ่ง Google จะหยิบเอาแต่ละช่องมาเรียงเองตามความเหมาะสมจนได้เป็นชุด Text Ad ที่หลากหลายขึ้นอยู่กับความเหมาะสมที่อัลกอริทึมเลือกให้

ข้อแนะนำวิธีลงโฆษณา

  • หน้าการตั้งงบประมาณ ก็คลิกเลือกอันไหนก็ได้เลยไม่ต้องกังวล (หลายคนมาถึงขั้นตอนนี้แล้วไม่กล้ากดเพราะกลัวว่าจะถูกตัดเงินเลยทันทีเหมือนกับ Facebook ที่เมื่อกดนำส่งแล้วจะระบบเริ่มติดค่าโฆษณาเลย แต่สำหรับ Google จะแตกต่างออกไป การเก็บเงินจะเกิดขึ้นเมื่อมีการคลิกเข้าไปที่เว็บไซต์ที่เรากำหนดเท่านั้น)
  • ทริคอีกอย่างนึงที่จะช่วยเขียน Text Ad ให้ง่ายขึ้น ให้เลื่อนไปที่ด้านบนสุดเราจะเห็นวงแหวนสีน้ำเงินและปุ่มเครื่องหมายถูกสีน้ำเงินให้ทำตามคำแนะนำนั้นจนกว่าเครื่องหมายถูกจะขึ้นครบ และวงแหวนขึ้นเต็มวง เพียงเท่านี้ Google Ads ของคุณก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ตั้งค่าข้อมูลสำหรับการเรียกเก็บเงิน เป็นขั้นตอนที่เราต้องให้ความสำคัญ เพราะเรื่องของการตั้งค่าแคมเปญที่เราไม่ได้ใช้จริง เราจะกดปิดและกดลบแคมเปญเมื่อสร้างบัญชีเสร็จ แต่ข้อมูลสำหรับการเรียกเก็บเงินนี้ต้องใช้ข้อมูลจริงที่ถูกต้องนะ ให้กดตรง ‘เพิ่มบัตรเครดิตหรือเดบิต’ แล้วใส่รายละเอียดบัตรที่ต้องการให้ Google ตัดบัญชี (ต้องตรวจสอบให้ดีในเรื่องของ ประเทศ เขตเวลา และตัวเลขของการชำระเงินผ่านบัตรเดบิต/เครดิต ให้ถูกต้อง) จากนั้นกด ‘ส่ง’ ได้เลย

เพียงแค่นี้เราก็สามารถเปิดบัญชี Google Ads ได้เรียบร้อยแล้วหล่ะ และหากเราต้องการแก้ไขข้อมูลการตั้งค่าอื่นๆ สามารถกดไปที่ เมนู ‘การตั้งค่า’ ที่แถบสีเทาด้านบน ของหน้าได้เลย สิ่งที่เราสามารถตั้งค่าเพิ่มเติมได้ อาทิ ตั้งค่าการเรียกเก็บเงินและการชำระเงินเพิ่มเติม อย่างเพิ่ม/เปลี่ยนบัตรเครดิตที่ต้องการให้ตัดบัตร การทำธุรกรรมต่าง ๆ รวมไปถึงการดาวน์โหลดใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จค่าโฆษณาจาก Google เป็นต้น

Google Ads ทำงานอย่างไร

Google Ads ทำงานภายใต้รูปแบบการยิงโฆษณา PPC ย่อมาจาก Pay Per Click นั่นคือ การทำโฆษณากับ Search Engine โดยผู้ยิงโฆษณาสามารถกำหนด Keyword หรือ คำค้นหาที่ผู้คนใช้ในการ Search หาบน Google และสามารถเสนอราคา Bidding ใน Keyword ที่ต้องการได้ อีกทั้งยังสามารถกำหนดงบประมาณรายวันสูงสุดสำหรับโฆษณาได้ด้วย

การคิดค่าใช้จ่ายของโฆษณา Google Ads

สำหรับใครที่ต้องการทราบว่า ต้องจ่าย Google Ads ราคาเท่าไหร่ การจ่ายเงิน Bidding โฆษณานั้นมีกี่รูปแบบเราขอสรุปเอาไว้ให้ 3 รูปแบบ ดังนี้

1. Cost-per-click (CPC)

CPC หรือ Cost per Click (ต้นทุนต่อคลิก) คือ จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละครั้งที่มีการคลิกโฆษณาของคุณ ซึ่งสำหรับการทำ Google Ads การกำหนดค่าใช้จ่ายเป็น CPC ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง

2. Cost-per-mille (CPM)

Cost-per-mille (CPM) คือ ต้นทุนต่อการแสดงผลพันครั้ง (Mille แปลว่า 1,000) หมายถึง คุณจะต้องกำหนดราคาในการโฆษณาโดยจ่ายเงินจำนวนหนึ่งสำหรับการแสดงผลครบ 1000 ครั้ง ซึ่งรวมทั้งโฆษณาที่มีคนคลิกชม และโฆษณาที่ไม่มีจำนวนการคลิกชมเลย

3. Cost-per-engagement (CPE)

Cost-per-engagement (CPE) คือ การกำหนดราคาสำหรับการลงโฆษณา Google Ads ทั้งหมดต่อจำนวนครั้งที่คนเข้ามา Engage กับโฆษณา เช่น การดูวิดีโอ, การลงทะเบียน เป็นต้น

รู้จักประเภทของ Keywords และ Negative Keywords

การทำKeyword Research มีความสำคัญอยากมากกับการทำ Search Engine Marketing การรู้จักและเลือกใช้คีย์เวิร์ดให้ถูกประเภทจะยิ่งเพิ่มโอกาสให้คุณสามารถทำโฆษณาผ่าน Google Ads ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถบริหารและคุมการใช้ต้นทุนได้อย่างคุ้มค่า ก่อนอื่นเราลองมาดูกันดีกว่าว่ามีคีย์เวิร์ดประเภทไหนบ้าง

1. Broad Keyword

เป็น Keyword แบบกว้างๆ เมื่อมีคนเสิร์ช Keyword ประเภทนี้ ระบบ Search Engine จะวิเคราะห์และแสดงผลคำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกันมาแสดงเพิ่มเติม เหมาะกับธุรกิจที่เพิ่งเกิด เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นวงกว้าง

2. Broad Match Keyword

เป็น Keyword ที่ทำงานแคบกว่าแบบแรก มักมีเครื่องหมาย (+) นำหน้า สามารถมีคำอื่นๆ หรือรูปประโยคอื่นๆ มาแทรกกับคำหลักได้ แต่จะแสดงผลลัพธ์ที่ตรงกับคำค้นหาเท่านั้น ไม่แสดงคำคล้ายอื่นๆ

3. Phrase Keyword

เป็น Keyword ที่มีเครื่องหมาย ” ” ทำงานแบบเป็นกลุ่มคำห้ามมีคำอื่นมาแทรกกลาง โดยจะแสดงเฉพาะเว็บไซต์/โฆษณาที่มี Keyword นั้นประกอบอยู่ ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น

4. Exact Keyword

เป็น Keyword ที่มีราคาค่า Bid ต่ำที่สุด โดยมีเครื่องหมาย [ ] เนื่องจากเป็นคำที่คนจะค้นหาแบบไม่มีคำอื่นมาปะปน โฆษณาที่จะแสดงผลมักจะต้องมี Keyword ที่ตรงเป๊ะเท่านั้น ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้แม่นยำที่สุด แต่ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ความชำนาญในการหา Keyword สูง

5. Negative Keyword

เป็น Keyword ที่มีเครื่องหมายลบ (-) นำหน้าไว้ด้วย เพื่อให้นำ Keyword และกลุ่มคนที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงออกไป โดยการช่วยป้องกันลูกค้าที่เคยค้นหา Keyword นั้นแล้วไม่สนใจเว็บไซต์หรือการแสดงผลอื่นๆ รวมถึงโฆษณาของเรา เมื่อเขากลับมาค้นหาใหม่จะไม่เห็นโฆษณา/เว็บไซต์ของเราอีก ทำให้การทํา Google Ads ด้วยตัวเองสามารถเข้าถึงเป้าหมายที่ถูกต้องได้ง่ายขึ้น

Ad Extensions คืออะไร

Ad Extensions เป็นการเพิ่มส่วนขยายให้กับโฆษณาของเรามีการแสดงผลที่ละเอียดมากขึ้น ดูโดดเด่นกว่าโฆษณาอื่นได้มากยิ่งขึ้น มีประมาณ 4 แบบที่สามารถพบเจอได้ทั่วไป จากทั้งหมด 10 รูปแบบ ได้แก่ Callout Extension เขียนคำเน้นย้ำเกี่ยวกับสินค้าที่เราต้องการจะสื่อ, Location Extension บอกที่ตั้งของสถานที่หน้าร้าน, Sitelinks Extension ส่งกลุ่มเป้าหมายไปยังลิงก์ปลายทาง และ Call Extension เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้

การปรับปรุงคุณภาพของ Campaign

สามารถเริ่มต้นได้ด้วยการสร้างกลุ่มโฆษณาที่มีความจำเพาะเจาะจงสูงเพื่อให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด อย่าเลือกทำโฆษณาหลายชิ้นในหนึ่งแคมเปญ

อย่าลืมดึงความ Creative ออกมาใช้สร้างโฆษณาที่เข้าใจง่าย และดึงดูด มีการวางเป้าหมาย (Objective) ของแคมเปญให้ดี และควรทดสอบ/ตรวจสอบคุณภาพโฆษณาอย่างสม่ำเสมอ

เทคนิคการเขียนโฆษณาให้ปัง

  1. เข้าใจในสินค้าหรือบริการของตัวเองเป็นอย่างดีจนสามารถจับจุดเด่นและคำสำคัญที่สามารถสื่อถึงสินค้าหรือบริการมาใช้ทํา Google Ads ด้วยตัวเองได้อย่างตรงจุด ชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจง่ายโดยใช้เพียงไม่กี่คำ
  2. คำที่ใช้ควรสามารถกระตุ้นอารมณ์บางอย่างให้อยากมีส่วนร่วมและคลิกไปยังลิงก์ปลายทางได้ หากแม้แต่ตัวเองลองเขียนและอ่านทวนแล้วยังรู้สึกว่าเฉยๆ แสดงว่ายังไม่ผ่าน
  3. เลือกใช้ Keyword ให้เหมาะสม และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยเฉพาะ นอกจากจะนำไปใช้ในการทำ Google Ads แล้ว ยังอาจนำไปใช้กับการทำ SEO ควบคู่ไปด้วยเพื่อให้เว็บไซต์ติดหน้า Google ได้ยาวนานและประหยัดค่าใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น

เทคนิคเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างโฆษณา GOOGLE ADS

  • KEYWORD ที่ใช่โดนใจลูกค้า

อย่างแรกคือคุณต้องหา Keyword ให้เจอก่อน เพราะ Keyword คือแกนหลักของระบบ Search Engine ที่จะจับคู่คำที่คุณค้นหาให้ตรงกับโฆษณาหรือคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับ Keyword ที่คุณใส่ลงไปนั่นเอง

ส่วนคำถามที่ว่าคุณจะหา Keyword ได้จากที่ไหน ให้ดูที่สินค้าของคุณก่อนว่าขายอะไร Pain Point และ Solution ที่คุณมี มีอะไรบ้าง เลือก Keyword มาสักคำหนึ่งที่คิดว่าผู้ใช้งานจะต้องพิมพ์คำคำนี้ลงใน Google แน่นอน

เข้าไปที่ Google Keyword Planner เขียนคำที่คุณคิดได้ลงในนั้น ให้คิดเผื่อไว้หลาย ๆ Keyword แล้วค่อยนำมาเปรียบเทียบดูกันอีกที คำไหนที่ค่า Average Search สูง Competition ต่ำก็ให้เลือกคำนั้นมาเป็น Keyword หลัก

จากนั้นก็ใส่ Keyword ที่ว่าเข้าไปบน Google Headline และ Description จะช่วยให้ Google จัดอันดับ SEM ของคุณได้ง่ายขึ้น เปิดช่องทางให้ลูกค้าหรือผู้ที่สนใจคลิกเข้ามาดูได้

  • หลีกเลี่ยงการใช้ BROAD MATCH

Broad Match จะแสดง Keyword ที่ใกล้เคียงทุกแบบเท่าที่จะหาได้ อาทิ คำสะกดผิด การวางคำผิด หรือคำที่มีวลีพ่วงท้ายมาด้วย หรือคำที่สะกดเหมือนกันแต่ความหมายอื่น ซึ่งจะทำให้การค้นหาแบบเจาะจงและยอดการค้นหาที่จะส่ง Traffic เข้ามาเว็บไซต์คุณยากขึ้นไปด้วย Google Ads จะไม่รู้ว่าโฆษณาของคุณควรจะถูกจัดไปอยู่ในหมวดไหนดี เพราะ Keyword ของคุณกว้างมาก

ดังนั้นจึงควรใช้คำประเภท Phrase Match หรือ Exact Match ที่จะเป็นกลุ่มคำวลีหรือกลุ่มคำที่จะไม่ปรากฏคำใกล้เคียงอื่น ๆ หรือส่วนขยายเพิ่มเข้ามาใน Keyword ด้วย ซึ่งจะให้ผลการค้นหาที่แม่นยำกว่า

  • ปรับโครงสร้างแคมเปญ เพิ่มความหลากหลายเอาไว้ใน 1 กลุ่ม

จากข้อแรกสมมติว่าคุณคิด Keyword ออกมาได้ร้อยแปดพันคำแล้ว พอถึงขั้นตอนการสร้างแคมเปญ จัด Ad Group แล้วคุณจับ Keyword ทุกคำมายำรวมกันใน Ad Group เดียว ถือว่าเป็นการทำโฆษณาที่พลาดอย่างมหันต์เลยล่ะ เพราะมันจะทำให้ Google Ads วัดผลโฆษณายากขึ้นไปอีก

อัลกอริทึมดูไม่ออกว่าคุณจะโฟกัสที่คำคำไหน อันดับโฆษณาของคุณจะถูกปรับต่ำลง ยอด Lead ที่จะเข้ามาก็น้อยตามลงไปด้วยหรืออาจจะไม่มีเลย เพราะแม้แต่ลูกค้าเองก็จับทิศจับทางโฆษณาไม่ถูก

วิธีที่ดีที่สุด คือปรับโครงสร้างโฆษณาแบ่งตาม Keyword / Pain Point / Solution / USP ของสินค้าหรือบริการให้ชัดเจนเป็นหมวดหมู่แน่ชัด จะทำให้ Google Ads เข้าใจความหมายของโฆษณาแต่ละชิ้นได้ดีขึ้น จัดอันดับโฆษณาได้ง่ายกว่าและลูกค้าก็จะไม่งง ไม่ปวดหัวอีกด้วย

  • BIDDING หาจุดที่ต่ำที่สุด

การ Bid ในราคาที่สูงแน่นอนว่าโอกาสที่โฆษณาของคุณจะจัดอันดับสูงก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน แต่ก็ไม่มากเท่าไหร่ เพราะอัลกอริทึมยังคงประเมินการจัดอันดับตามคุณภาพของโฆษณากับ Keyword อยู่ดี ฉะนั้นก่อนยิงโฆษณาควรกำหนดงบประมาณ PPC ให้ชัดเจน ไหวเท่าไหร่เอาเท่านั้นแล้วหาโอกาส Bid ในราคาที่ต่ำลงไปเรื่อย ๆ จนอยู่ในระดับที่สมควรแล้วก็ยิงโฆษณาได้

  • ตรวจสอบและปรับปรุง LANDING PAGE

การขึ้น Headline และ Description โฆษณาบนหน้า Search Engine เปรียบเหมือนการสร้างประตูทางเข้าบ้านเท่านั้น ข้างในบ้านหรือเฟอร์นิเจอร์ข้างในก็ควรได้รับการตกแต่งให้สวยงาม น่าอยู่ การปรับปรุง Landing Page ก็เช่นกัน

ถ้าหน้าที่คุณกดเข้ามาแล้วไม่มีคำบรรยายอะไรเลย มีแต่รูปอย่างเดียว ข้อมูลสินค้า หรือบริการสั้นมากจนสรุปใจความไม่เข้าใจ การจัดวางหน้าเพจไม่เหมาะกับอุปกรณ์ที่ใช่ ไม่เพียงแต่ลูกค้าที่กดเข้ามาจะกดออกแทบจะในทันที แม้แต่ Google เองก็จะจัดอันดับ Landing Page ของคุณไปอยู่ข้างล่างด้วย

พยายามใส่เนื้อหาให้ละเอียดมากขึ้น แทรก Keyword ลงไปในทุก ๆ ข้อความและรูปภาพ ใช้รูปภาพที่ชัดเจนเห็นชัด จัดเรียงหน้ากระดาษให้นำสายตา อ่านแล้วรู้ว่าต้องไปตรงไหนต่อ และเพิ่มปุ่ม CTA ให้ลูกค้าลองกดดูจะช่วยให้คุณหาลูกค้าใหม่และปิดการขายได้ดีขึ้น

รู้จักคำศัพท์เกี่ยวกับ Google Ads

เมื่อเราพอจะรู้จัก Google Ads กันไปแล้ว ก่อนจะศึกษาวิธีใช้ Google Ads เราลองมารู้จักคำศัพท์ที่จำเป็นก่อน เพราะในการทำงานหรือใช้เครื่องมือทํา Google Ads ด้วยตัวเอง จำเป็นที่จะต้องทราบคำศัพท์เหล่านี้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาต่อไป วันนี้เรายกคำศัพท์หลักๆ มาดังนี้

  • Keywords

คำที่เราใช้เสิร์ชค้นหาข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องบน Google (เช่น อยากซื้อเครื่องกรองน้ำ เราก็พิมพ์ไปว่า “เครื่องกรองน้ำ” ถ้าอยากเจาะจงเราก็จะพิมพ์ว่า “เครื่องกรองน้ำ 5 ขั้นตอน” หรือ “เครื่องกรองน้ำ ราคาถูก” เป็นต้น)

คีย์เวิร์ดมีบทบาทต่อการทำ Google Ads สูงมาก เนื่องจากเป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ลงโฆษณา และกลุ่มเป้าหมายให้มาเจอกันผ่านการเสิร์ช

  • Bid

ราคาสูงสุดที่เรากำหนดเพื่อให้คนกดเข้ามาดูโฆษณาของเรา ซึ่งเราจะเสียเงินก็เฉพาะเวลาที่คนดูคลิกที่โฆษณาเท่านั้น

  • Quality Score

คะแนนเพื่อประเมินระดับความมีคุณภาพและความเกี่ยวข้องของคีย์เวิร์ดกับตัว Ads ยิ่งคะแนนในส่วนนี้เยอะก็จะยิ่งทำให้ราคาค่าโฆษณาถูกลงไป มีโอกาสแสดงในตำแหน่งสูง คนเห็นง่ายมากขึ้นด้วย

  • Impressions หรือมักย่อเป็น Impr.

ตัวนี้ถือเป็นมาตรวัด (Metric) อย่างหนึ่งที่จะเป็นตัวบอกเราว่าโฆษณาของเรานั้นได้ปรากฎอยู่ในผลของการเสิร์ชไปกี่ครั้งแล้ว (มีคนเห็นกี่ครั้งแล้ว)

  • Click Through Rate หรือมักย่อเป็น CTR

ตัวเลขที่บ่งบอกเปอร์เซ็นต์ของคนที่คลิกที่โฆษณาเมื่อได้เห็นตัวโฆษณา วิธีคำนวณที่คือเอาจำนวนคลิกทั้งหมดมาหาด้วยจำนวน Impressions ทั้งหมดนั่นเอง (เราไม่ต้องคำนวณเอง เครื่องมือจะคำนวณให้เราอัตโนมัติ)

  • Cost Per Click หรือมักย่อเป็น CPC

ตัวเลขนี้เป็นราคาต่อคลิก คำนวณด้วยการเอาราคาค่าโฆษณาทั้งหมดหารด้วยจำนวนคลิกที่ได้รับทั้งหมดของแคมเปญ

  • Ad Rank

หมายถึงอันดับของโฆษณา ซึ่งจะอยู่สูงต่ำแค่ไหนอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง

  • Average Position หรือมักย่อเป็น Avg. Pos.

ตัวเลขนี้จะบ่งบอกตำแหน่งโดยเฉลี่ยของโฆษณาของเราเมื่อเทียบกับโฆษณาอื่นๆ โดยที่ 1 ก็คือตำแหน่งที่ดีที่สุด แต่ต่อให้เราได้ค่าเฉลี่ยเป็น 1 ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะได้ปรากฎอยู่อันดับหนึ่งทุกครั้ง (อย่างที่บอกว่าเป็นเพียงค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่านั้น)

  • Conversion

เป้าหมายบางอย่างที่เราต้องการจากกลุ่มเป้าหมาย เช่น ต้องการให้มีการสั่งซื้อ การลงทะเบียนเป็นสมาชิก ยอดกดติดตาม ฯลฯ

  • Bounce Rate

ตัวเลขนี้จะบ่งบอกสัดส่วนของผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณที่เข้ามาชม แต่ไม่ได้กดเพื่อไปทำอะไรต่อจากนั้น (กดเข้ามาแล้วก็ออก) อาจจะบอกยากนิดหน่อยว่าตัวเลขแบบไหนดีหรือไม่ดี แต่รวมๆ แล้วถ้าต่ำกว่า 56% จะถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์พอรับได้ มากกว่า 70% เป็นต้นไปอาจจะเริ่มสูง

ข้อดี ข้อเสีย ของ Google Ads มีอะไรบ้าง

แม้ Adwords คือเครื่องมือยอดนิยมสำหรับคนที่ทำการตลาดออนไลน์ แต่ก่อนที่จะเลือกใช้งานเครื่องมือนี้จำเป็นที่จะต้องรู้ข้อดีและข้อเสียของ Google Ads อย่างชัดเจนเสียก่อน โดยเราสรุปมาให้แล้ว ดังนี้

ข้อดีของ Google Ads

  1. Google Ads คือ ฟีเจอร์โฆษณาที่ใช้เวลาในการทำไม่นาน และยังเห็นผลลัพธ์ได้ในทันที
  2. คุณสามารถตั้งค่า Google Ads ได้อย่างละเอียด ตั้งแต่งบประมาณ ราคาของโฆษณา กลุ่มเป้าหมาย รูปแบบการโฆษณา ไปจนถึงพื้นที่โฆษณาที่ต้องการให้ Ads ขึ้นไปแสดงได้
  3. Google Ads สามารถเห็นผลลัพธ์ได้แน่นอน เช่น มีคนคลิกโฆษณาช่วงไหนมากที่สุด มีคนเข้าชมเว็บไซต์กี่คน เป็นต้น
  4. Google Ads สามารถลงโฆษณาได้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น Google Shopping Ads คือ การโฆษณาสินค้าบนหน้า Google ในรูปแบบของ Shopping Card Search Ads คือ โฆษณาที่ขึ้นเป็นลิงก์ที่อยู่บนหน้าแรกของการค้นหาใน Google ฯลฯ แถมยังปรากฏขึ้นในหลายแพลตฟอร์ม จึงช่วยในการสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ (Brand Awareness) ได้เป็นอย่างดี
  5. Google Ads คือ เครื่องมือที่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการยิงโฆษณาได้ โดยสามารถเลือกได้ว่าจะจ่ายเงินเท่าใด ต่อเดือน ต่อวัน และต่อโฆษณา
  6. สามารถดูและจัดการบัญชี Google Ads ทั้งหมดได้อย่างง่ายดายจากที่เดียว

ข้อเสียของ Google Ads

  1. การแข่งขันสูง ทำให้ราคาของการโฆษณาไม่แน่นอน (ขึ้นอยู่กับกระแสการแข่งขัน)
  2. ไม่ได้การันตียอดขาย แต่ถ้ามีคนคลิกเข้าชมเว็บไซต์ก็ต้องเสียค่าบริการให้กับ Google Ads ตามจำนวนการคลิกของผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ถึงแม้ว่าคนกลุ่มนั้นอาจจะไม่สั่งซื้อหรือใช้บริการของคุณหรือไม่ก็ตาม
  3. ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการประมูล เว็บไซต์จึงจะติดอันดับ
  4. สำหรับ Google Search Ads อันดับของเว็บไซต์จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องเติมเงินเพื่อ Bidding ราคาโฆษณาอยู่ตลอดเวลา

ประโยชน์ของ Google Ads มีอะไรบ้าง

ในยุคที่อินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเรา Search Engine อย่าง Google ก็ถือเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานมหาศาล และอาจจะมากพอ ๆ กับบรรดา Social media ยอดฮิตเลยก็ว่าได้ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดบริษัทเอเจนซี่ที่มีบริการรับทำ Google Ads เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมองเห็นว่าสิ่งนี้เป็นเครื่องมืออันทรงพลัง ที่จะช่วยให้ภาคธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถสร้างประโยชน์ต่าง ๆ ได้มากมาย ดังนี้

  1. ช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายในการโฆษณา เราสามารถกำหนดงบประมาณที่จะใช้จ่ายในแต่ละวันได้บน Google Ads ทำให้ตัวธุรกิจสามารถวางแผนและควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ตลอดเวลา
  2. ตอบโจทย์พฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ ด้วยไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตเสียเป็นส่วนใหญ่ Google Ads ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ตัวธุรกิจเข้าถึงพวกเขาได้อย่างเป็นธรรมชาติ พร้อมสอดคล้องกับพฤติกรรมและความต้องการของพวกเขาได้อย่างลงตัว
  3. สามารถวัดผลและนำข้อมูลกลับไปใช้งานได้ เราสามารถนำเอา Google Ads Metrics หรือตัวชี้วัดต่างๆ ที่ได้มา ไปพัฒนาแคมเปญโฆษณาให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมได้ในอนาคต
  4. เพิ่มโอกาสในการขายและขยายธุรกิจให้เติบโต Google Ads คือเครื่องมือการทำการตลาดที่สามารถผลักดันให้ตัวธุรกิจ สามารถขยายตลาดไปได้ทั่วประเทศ ทำให้ผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายรู้จักแบรนด์และสินค้าของคุณมากขึ้น ช่วงเพิ่มโอาสในการขายสินค้าหรือบริการได้เป็นอย่างดี

แม้ว่าตัว Google Ads คือเครื่องมือการทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากขนาดไหน แต่การพิจารณาเลือกช่องทางเพื่อทำโฆษณาออนไลน์ให้เหมาะสม ก็เป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของธุรกิจไม่ควรมองข้าม เพราะไม่ใช่ทุกธุรกิจที่จะใช้งาน Google Ads แล้วจะได้ผลเสมอไป มันยังมีปัจจัยเล็กน้อยอยู่อีกมาก ที่ส่งผลให้การทำการตลาดแตกต่างกันไปในแต่ละช่องทาง เจ้าของธุรกิจจึงควรทำความเข้าใจว่าธุรกิจของคุณเหมาะสมกับช่องทางไหนและเครื่องมืออะไรมากที่สุด ซึ่งถ้าหากคุณเลือกใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง มันก็จะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตเหนือคู่แข่งได้อย่างรวดเร็ว

สรุป

วิธีทำ Google Ads ด้วยตัวเอง นับเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น แต่ก็อาจมีข้อผิดพลาดในการซื้อโฆษณาทำให้ Conversion ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น นักการตลาดควรวิเคราะห์เป้าหมาย วางแผนการตลาด สร้างสรรค์คอนเทนต์ รวมทั้งติดตามวัดผลแคมเปญอย่างใกล้ชิด รวมทั้งประมวลผลลัพธ์ที่ได้จากการทำแคมเปญแต่ละครั้ง เพื่อนำไปปรับใช้ในการทำแคมเปญครั้งต่อไป ที่สำคัญ ต้องอัปเดตเทรนด์ใหม่ ๆ ในโลกออนไลน์อยู่เสมอ

Google Ads หรืออีกชื่อคือ Google Adwords คือ กลยุทธ์การตลาดที่สามารถควบคุมผลลัพธ์ที่แน่นอนได้จากการจ่ายเงินซื้อโฆษณาให้แสดงขึ้นบนพื้นที่โฆษณาของ Google โดยพื้นที่แสดงโฆษณาก็จะมีมากมายหลายแบบให้เลือก ไม่ว่าจะเป็น

  • Google Search และเว็บไซต์การค้นหาอื่นๆ ซึ่งจะเป็นการยิงโฆษณาบน Google (Search Engine Result Page – SERP) โดยอาจจะปรากฏขึ้นในหลายตำแหน่ง เช่น เหนือหรือใต้ผลการค้นหา หรืออาจจะปรากฏด้านข้างก็ได้ รวมถึงยังปรากฏบน Google Play, แท็บ Shopping, Google Maps รวมถึงแอปพลิเคชัน Maps ได้ด้วย
  • พาร์ทเนอร์ในเครือข่ายการค้นหาของ Google ซึ่งจะเป็นการยิงแอดโฆษณาบนเว็บไซต์ในเครือข่ายการค้นหาที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ Google ที่มีเนื้อหาคล้ายเว็บไซต์ของคุณ หรือตามหมวดหมู่ตามที่คุณกำหนดไว้
  • บางผลิตภัณฑ์ของ Google เช่น Gmail, Blogger, YouTube
  • แอปพลิเคชันต่าง ๆ

และอย่างที่คุณทราบว่า Ads คือการโฆษณาแบบจ่ายเงิน ดังนั้น Google Ads คือ การยิงโฆษณาที่สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการเห็นโฆษณาได้ โดยข้อมูลที่สามารถตั้งค่าได้อย่างเช่น

  • กำหนด Demographic ทั่วไป เช่น เพศ – เพศชาย / หญิง / ไม่ระบุ, ช่วงอายุ – 18-24 ปี, 25-34 ปี, 35-44 ปี, 45-54 ปี, 55-64 ปี หรือมากกว่า 65 ปี
  • กำหนดที่อยู่ได้ เช่น เฉพาะประเทศไทย เฉพาะจังหวัด หรือ พื้นที่ที่กำหนด
  • กำหนดเป้าหมายแคมเปญตามภาษาที่ผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าใช้เพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น
  • กำหนดกลุ่มเป้าหมายตามความสนใจ หรือคอนเทนต์ที่กลุ่มเป้าหมายนั้น ๆ มักจะนิยมเสพได้
error: Content is protected !!