Google analytics คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มีวิธีใช้ยังไง มาติดตามกัน

เครื่องมือฟรีที่คนมีเว็บไซต์ควรรู้ Google analytics บทความนี้เราจะพูดถึงข้อดีข้อเสีย ฟังก์ชันทุกแง่มุมของซอฟแวร์โปรแกรมนี้และการสมัครติดตั้ง 

แต่จะดีแค่ไหน ถ้าคุณสามารถรู้ว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณมีพฤติกรรมอย่างไร คอนเทนต์ไหนที่เป็นตัวดึงคนเข้ามา หรือโปรโมชั่นไหนให้ผลลัพธ์ดีที่สุด

ในบล็อกนี้เราจะรีวิว Google Analytic ซอฟต์แวร์ที่จะช่วยวิเคราะห์เว็บไซต์คุณฉบับเริ่มต้นเพื่อนำไปพัฒนาต่อให้หน้าเว็บมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (สนใจกด >> รับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)

Google Analytics คืออะไร

Google Analytics คือ เครื่องมือที่พัฒนาโดย google เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ชมเว็บและแอป เช่น userใช้เครื่องมืออะไรเข้าเว็บ อยู่หน้าเว็บนานเท่าไหร่ กดไปที่หน้าไหนต่อ บทความอะไรที่userสนใจมากสุด โดย tool นี้ให้ใช้ฟรี

Google Analytics ใช้งานยังไง

เบื้องต้นให้เราไปสร้างบัญชีโดยการลงชื่อเข้าใช้ โดยไปที่หน้าเว็บ Google Analytics เมื่อเราลงชื่อเสร็จก็ตั้งค่าบัญชี ซึ่งจะมี 3 ส่วนให้ทำ คือ

  1. การตั้งค่า account เช่น Data Sharing Setting และ ชื่อแอดคเคาน์ท 
  2. เลือกช่องทางการเกือบข้อมูล เช่น application , website หรือทั้งคู่
  3. ตั้งค่า Property ซึ่งปกติเราใช่ 1 property เก็บข้อมูลสำหรับ 1 website

เมื่อเราตั้งค่าเสร็จแล้วให้เรานำ code ไปใส่ไว้ที่เว็บที่เราต้องการเก็บข้อมูล เพราะเราเชื่อมต่อการทำงานของ GA กับเว็บแล้วเราจะรู้พฤติกรรมของ user (วิธีหา code ทำได้โดย ไปที่ tab ADMIN ทางซ้ายมือ > Tracking > Tracking code > copy code และนำไปใช้ได้เลย) เราต้องใช้เวลารอเพื่อให้ข้อมูลแสดงหลังจากติดตั้ง code ไปแล้ว (สนใจกด >> รับทำเว็บไซต์ wordpress)

Featureการดูreport

โดยทางแท็บด้านซ้าย หรือ Reporting Tab จะเห็นได้ว่ามี Report หลากหลายให้เลือกใช้งาน ตัวหลัก ๆ ที่คนนิยมใช้กันก็ได้แก่ Real-time report, Audience report, Acquisition report, Behavior report และ Conversion report

Real-time report

มาเริ่มกันที่ report ตัวแรกของเรากันเลย นั่นก็คือ Real-time report ซึ่งหน้าที่ก็ตรงตัวเลย คือ เป็นรายงานที่จะนำเสนอทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนหน้าเว็บไซต์ของเราในเวลา 30 นาทีที่ผ่านมา โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกอัพเดทให้เราเห็นอย่างต่อเนื่อง

รายงานนี้จะเหมาะมากเมื่อธุรกิจมีการจัด Promotions หรือจัด Flash deal campaign เพราะสามารถดูผลตอบรับ รวมถึง Feedbacks ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เหล่านั้นได้

โดยภายใน Real-time report ก็จะมีรายงานย่อย ๆ ให้ดู ได้แก่

  • Overview บอกรายละเอียดโดยรวม ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้มีคนเข้าดูเว็บไซต์ของเราอยู่กี่คน ผู้ใช้งานเหล่านั้นมาจากพื้นที่ไหน คีย์เวิร์ดอะไรหรือเว็บไหนที่เค้าใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์เรา และคอนเทนต์อะไรที่เค้ากำลังเสพย์ เป็นต้น
  • Locations บอกรายละเอียดเกี่ยวกับประเทศหรือพื้นที่ที่ Active user นั้นอาศัยอยู่ ถ้ากดเข้าไปในแผนที่ประเทศ ก็จะเฉพาะเจาะจงขึ้นเป็นชื่อเมือง หากมองในมุมนักการตลาด เราสามารถใช้ข้อมูลตรงนี้มาตรวจสอบได้ว่า user ตรงตามที่เรายิงโฆษณาไปหรือเปล่าได้ด้วย
  • Traffic sources แสดง source และ medium ว่าการที่ Active user เข้ามาเว็บไซต์เราได้นั้น เค้าเข้ามาจากช่องทางไหน ไปเจอเราได้ยังไง รายงานนี้จะมีประโยชน์อย่างมากเมื่อเราทำ Live Marketing Campaign และวัด Feedback แบบเรียลไทม์

รายงานนี้จริง ๆ มี 2 dimensions นั่นก็คือ Active Users และ Pageviews

Active users ก็คือ ผู้ใช้งานที่กำลังใช้งานอยู่บนเว็บไซต์ของเราในช่วง 5 นาทีที่ผ่านมา ในขณะที่ Pageviews แสดงสถิติของ medium และ source ที่เกิดขึ้นในช่วง 30 นาทีที่ผ่านมา

  • Content แสดงให้เห็นว่า content ไหนที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ช่วงนี้ รายงานนี้ก็ดูได้ 2 dimensions เช่นกัน ก็คือ Active Users และ Pageviews
  • Events จะแสดงรายละเอียด Events ที่เราได้ตั้งไว้ ว่ามี User ที่เข้าเงื่อนไขของ Event ที่เราได้ตั้งค่าไว้อย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น เราตั้ง Event Category เป็นหมวดหมู่ของ Ecommerce ได้แก่ Add to Cart, Product Click, และ Quickview Click โดยตารางจะแสดงประเภทอีเว้นท์สูงสุด 20 รายการ ในเวลาครึ่งชั่วโมงที่ผ่านมา
  • Conversions หรือรายงานการปิดการขาย รายงานจะเก็บข้อมูลได้เฉพาะที่เรา Set Conversion Tracking ไว้เท่านั้น ส่วนข้อมูลที่ได้คือผลของ Event Goals ที่เราตั้งไว้ แต่ต้องบอกก่อนว่าเราไม่สามารถเก็บ Goals จำพวก Duration, Pages per Session, และ Smart Goals ได้ในรายงานนี้

จากที่อ่านมา ทุกคนอาจเข้าใจว่ารายงานนี้ใช้ได้แค่ในฝ่ายการตลาด หรือฝ่าย PR แต่จริง ๆ แล้วฝ่าย Developer หรือ IT ก็นำข้อมูลจากรายงานนี้มาใช้ได้เช่นกัน อย่างการดู Pageviews per Minute หรือ Pageviews per Second ของเว็บไซต์ เพื่อประเมินว่าเว็บไซต์ของเราสามารถรองรับคนเข้ามาได้มากขนาดไหน เว็บจะล่มหรือไม่ เป็นต้น

Audience Report

Audience report หลักๆ แล้วคือการอธิบายลักษณะและบุคลิกของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเพศ อายุ ภาษา ประเทศ ความชอบ ความสนใจต่าง ๆ เป็นผู้ที่เคยมาชมแล้วหรือเป็นผู้ใช้งานใหม่ อีกทั้งยังแสดงถึงอุปกรณ์ที่ผู้ใช้เหล่านี้ใช้ในการเข้าเว็บไซต์ ถ้าเป็น PC แล้วใช้เบราว์เซอร์อะไร หรือถ้าเป็น แท็บเล็ต/โทรศัพท์ รุ่นอะไร ระบบอะไร iOS หรือ Android สามารถทราบได้ทั้งหมด

ซึ่งข้อมูลตรงนี้แหละจะช่วยบอกเราได้ว่า กลุ่มเป้าหมายหลักของเราเป็นอย่างไร แล้วเราก็นำมาวิเคราะห์ พัฒนาเป็นแนวทางการทำการตลาดในอนาคตได้

รายงานสามารถแยกส่วนออกมาได้อีกมากมาย ดังนี้

  • Overview หรือภาพรวมของผู้ใช้งานแบบเบ็ดเสร็จ โดยจะแสดงจำนวน Users, New Users, Sessions, Pageviews, Bounce rate และอื่น ๆ ตามช่วงเวลาที่เลือก
  • Active Users บอกถึงจำนวนผู้ใช้งานที่เข้าชมเว็บไซต์เราตามช่วงวันที่ที่เราอยากดู ในระยะ 1วัน, 7วัน, 14วัน, และ 28วัน
  • Lifetime Value เป็นรายงานสำหรับใครก็ตามที่มีเว็บไซต์ Ecommerce และได้ติดตั้ง Ecommerce tracking บน Google Analytics รายงานนี้ช่วยให้เราประเมินมูลค่าของลูกค้าในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งที่เราได้ผู้ใช้งานมา และสามารถนำมาเปรียบเทียบในแต่ละช่วงเวลาได้เลย

Metrics ที่สามารถดูได้ เช่น Appviews per User ผู้ใช้คนนั้นเปิดแอปพลิเคชั่นกี่ครั้ง (เฉพาะผู้ใช้งานบนแอปพลิเคชั่นมือถือเท่านั้น), Pageviews per User ผู้ใช้คนนั้นเปิดหน้าเว็บไซต์นั้นกี่ครั้ง (เฉพาะผู้ใช้งานบนเว็บไซต์เท่านั้น), Goal completions per User ผู้ใช้คนนี้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้กี่ครั้ง เป็นต้น

  • Cohort Analysis คือการจัดกลุ่มผู้ใช้งานที่มีอะไรเหมือนกัน แสดงผลในรูปแบบของตาราง โดย สามารถเลือกMetric ที่เราสนใจ แล้วนำมาเปรียบเทียบตามเวลา (over time) ว่ามีการเปลี่ยนแปลงใน Metric นั้นๆอย่างไรบ้าง

ในตอนนี้ Google Analytics มีให้เลือก Cohort type เพียงอย่างเดียว นั่นก็คือ Acquisition Date หรือวันที่ผู้ใช้งานเพิ่งเริ่มใช้งานเว็บไซต์ของเรา ส่วน Metric ที่นิยมใช้กันมากก็คือ User Retention หรือการที่ผู้ใช้งานกลับมาใช้เว็บไซต์ของเราอีกครั้งในวันถัด ๆ ไป

ตัวเลขพวกนี้ทำให้เราสามารถทำไปวิเคราะห์ได้ว่า ทำไมผู้ใช้เดิมจึงกลับมาใช้งานในวันถัดไปเยอะ แต่ก็จะมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกตามไปลักษณะของเว็บไซต์ เช่น เว็บไซต์ข่าวสาร การมีตัวเลขการกลับมาใช้งานที่สูงย่อมเป็นเรื่องดี

กลับกัน ถ้าเป็นเว็บไซต์ที่ขายสินค้าที่ต้องซื้อซ้ำทุก 3 เดือน 6 เดือน การกลับมาใช้งานซ้ำในระยะเวลาสั้นๆ มีตัวเลขที่ต่ำ ไม่ถือว่าผิดปกติแต่อย่างใด (ต้องย้ำอีกครั้งว่านับเฉพาะกรณีการกลับมาของผู้ใช้คนเดิม)

อีกข้อจำกัดหนึ่งของ Cohort Analysis ถ้าผู้ใช้คนเดิมเข้าเว็บไซต์ผ่านอุปกรณ์คนละตัว วันแรกเข้าผ่านคอมพิวเตอร์ วันที่สองเข้าผ่านมือถือ Cohort Analysis ก็จะนับว่าเป็นคนละคนกัน ทำให้ตัวเลขนี้ไม่แน่นอน

แต่สามารถใช้วิธี Cross-Device Tracking ช่วยระบุตัวของผู้ใช้เดิมในอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ เช่น การร้องขอให้ผู้ใช้ลงทะเบียน ถ้าเป็นผู้ใช้ที่ล็อกอินด้วยชื่อนี้เข้ามาผ่านอุปกรณ์ใดๆ ก็จะถือว่ากลับมาใช้งานซ้ำ เป็นต้น

  • Audiences การกำหนดลักษณะของกลุ่มผู้ใช้งานและเลือกดูเฉพาะกลุ่มนั้นๆ โดยก่อนจะสามารถใช้รายงานนี้ได้ เราต้องเปิดใช้ Demographics และ Interests reports ก่อน
  • Benchmarking เป็นรายงานที่มีประโยชน์ค่อนข้างมากเลยทีเดียวหากเราต้องการเปรียบเทียบว่าประสิทธิภาพและผู้เข้าชมเว็บไซต์ของเรา เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันนั้นเป็นอย่างไร
  • User Flow หรือรายงานที่ทำขึ้นเพื่อเข้าใจลำดับการเข้าใช้งานของผู้ใช้งาน โดยสามารถเลือกดู User flow จากลักษณะของผู้ใช้งาน เช่น สถานที่, ภาษา, เบราว์เซอร์, อุปกรณ์ที่ใช้ หรือ Dimensions อื่นที่เกี่ยวข้องได้
  • และรายงานอื่นๆ ได้แก่ Demographics ข้อมูลประชากร, Interests ความสนใจ, Geographics ภูมิศาสตร์, Behaviors พฤติกรรม, Technology เบราว์เซอร์และระบบปฏิบัติการ, Mobile มือถือ, Cross Device การใช้งานบนหลายอุปกรณ์, และ Custom รายงานที่เรากำหนดเอง

ทีนี้เราก็สามารถวัดได้ว่าผู้ใช้งานตกหล่นหายไประหว่างทางตรงไหนบ้าง ที่เป็นผลให้ Conversion เราหายไป (สนใจกด >> สอนทำเว็บไซต์ wordpress)

Dimensions และ Metrics คืออะไร?

เมื่อคุณเริ่มคลิกเข้าไปดูรายงานต่างๆคุณก็จะเห็นพวกตัวเลขต่างๆ อยู่ในรูปแบบตาราง
ถ้าคุณสังเกตที่ตารางข้อมูล คุณก็จะเห็นได้ว่าในทุกๆ ตารางข้อมูลจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ

  1. Dimension (หัวข้อใหญ่)
  2. Metrics (หัวข้อย่อย)

Dimensions คืออะไร?

Dimension คือ “คุณสมบัติของข้อมูล” ที่เอาไว้ใช้เรียกเพื่อให้เข้าใจความหมายของข้อมูลนั้น ๆ เช่น Traffic Source, Browser, Campaign, Country, Device เป็นต้น

โดยที่ทาง Google ก็จะเอาพวก Dimension ต่าง ๆ ไป(ซ่อน)ไว้ตามรายงานต่าง ๆ ที่อยู่ในเมนูของ Acquisition, Behavior, หรือ Conversions ที่เกี่ยวข้องกับนั่นเอง

เราขอแนะนำคุณว่า “คุณต้องตั้งคำถามขึ้นมาก่อน ว่าคุณอยากจะรู้อะไร?” คุณถึงจะรู้ได้ว่าจะไปหาข้อมูลพวกนั้นจากรายงานไหนใน GA ต่อไป

Metrics คืออะไร?

Metrics คือ “ตัวเลขที่ใช้วัดในเชิงปริมาณ” ของคุณสมบัติของข้อมูล (Dimension) นั่นเอง เช่น Goal Completions, Users, Sessions, Bounce Rate เป็นต้น

ง่าย ๆ ก็คือ ตัวเลขต่าง ๆ ที่คุณเห็นใน GA นั้น ก็คือ Metrics นั่นเอง

Acquisition Report

Acquisition report หมายถึงรายงานที่รวบรวมข้อมูลของช่องทางที่เราได้มาซึ่งผู้ใช้งาน หรืออีกนัยนึงก็คือผู้ใช้งานเค้าเข้ามายังเว็บไซต์เราได้อย่างไร

ซึ่งคำว่าผู้ใช้งานในที่นี้ เหมารวมทั้งผู้ใช้งานเก่าและผู้ใช้งานหน้าใหม่ ส่วนช่องทางในที่นี้ก็คือ Source และ Medium ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใช้งานอาจมาจาก Organic search หรือ Paid search(CPC) ผ่าน Google, Affiliates ผ่านพาร์ทเนอร์ของเรา, Referral จากเว็บไซต์อื่นๆ, หรือ Social network และ email เป็นต้น

Behavior Report

Behavior Report คือ ฟังก์ชันที่ใช้วิเคราะห์พฤติกรรมและปฎิกิริยาของผู้คนที่เข้ามาชมเว็บไซต์คุณ พูดง่ายๆคือการวิเคราะห์ว่าผู้ที่มาเข้าชมเว็บไซต์คุณนั้น เขามาเยี่ยมชมเว็บไซต์หน้าไหน และทำอะไรบ้างขณะเยี่ยมชม

Behavior Report สามารถแบ่งออกมาเป็นอีก 8 รายงานย่อย ดังนี้

1. Overview

รายงานภาพรวมที่แสดงถึงจำนวนของผู้เข้ามาชมเว็บไซต์และตัวเลขอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเยี่ยมชมหน้าเพจ

  • Pageviews คือ จำนวนการกดเข้าชมหน้าเพจ ที่นับเพิ่มทุกครั้งเมื่อมีการกดเข้ามา รวมถึงการกดซ้ำๆจากคนเดิม ฟีเจอร์นี้จะช่วยบอกว่าขณะนี้เว็บไซต์คุณเป็นที่นิยมหรือมีคนมากดเข้ามามากน้อยแค่ไหน
  • Average time on page คือ เวลาที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้ต่อหนึ่งหน้าเพจ เป็นการวัดว่าลูกค้าของคุณใช้เวลาอยู่บนหน้าเว็บไซต์นานเท่าไหร่ สามารถนำไปปรับใช้เพื่อหาระยะเวลาที่เหมาะสำหรับคอนเทนต์ต่อไป ๆ ได้ เช่น กลุ่มลูกค้าใช้เวลาไม่เกิน 2 นาทีบนหน้าเพจ คุณอาจสร้างคอนเทนต์สั้นที่มีความยาวไม่เกิน 2 นาที เพื่อให้ตรงกับพฤติกรรมลูกค้า
  • Bounce rate หากเป้าหมายของเว็บไซต์คุณคือการให้ผู้เข้าชมคลิกเข้าหน้าอื่น ๆ ต่อ Bounce rate จะชี้ให้เห็นปัญหาว่ามีจำนวนผู้เข้ามาชมเว็บแต่กดออกทั้งที่ยังไม่ได้คลิกอะไรเลยเท่าไหร่ ซึ่งถ้าจุดนี้เป็นปัญหา คุณสามารถแก้ไขด้วยการทำ A/B Testing เพื่อหาหน้าเว็บไซต์ที่ดีที่สุดและกระตุ้นให้เกิดการคลิกต่อแทนการกดออก
  • Exit หรือ อัตราการออก คือ เปอร์เซนต์ที่บอกว่าหน้าเว็บเพจนี้เป็นหน้าสุดท้ายก่อนที่ผู้ชมจะกดออกบ่อยแค่ไหนจากการเข้าชมทั้งหมด ทำให้เห็นจุดด้อยว่าส่วนไหนของเว็บคือจุดที่ทำให้ลูกค้าหายไปเพื่อนำไปแก้ไขต่อ

2. Behavior Flow

ทำให้เห็นเส้นทางการคลิกไปหน้าเพจต่อๆไปและเวลาของที่ใช้ผู้เข้าชม ตั้งแต่หน้าแรกที่เข้ามาที่เว็บไซต์ไปจนถึงหน้าสุดท้ายก่อนกดออก

3. Site Content

คือ รายงานที่แสดงให้เห็นว่าหน้าเพจไหนของเว็บไซต์คุณเป็นที่นิยมจากยอด Pageview, unique pageviews, average time on page, entrances, bounce rate, exit และ page value.

4. Site Speed

เวลาที่เสียไปกับการโหลดหน้าเว็บ เพื่อนำไปปรับปรุงให้เร็วยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้เข้าชม

5. Site Search

คือ การใช้ประโยชน์จากกล่องค้นหาสำหรับเว็บไซต์ที่มี เพื่อเก้บข้อมูลของลูกค้าจากการค้นหาภายในเว็บ สามารถเรียกดู คำที่ถูกค้นหา หมวดของสินค้าหรือหน้าเพจที่คนต้องหันไปพึ่งกล่องค้นหา

6. Events

แสดงผลการติดตามพฤติกรรมของผู้ใช้ เช่น การคลิกปุ่มต่างๆ, การกดสั่งซื้อสินค้า, การอ่านบทความ, การดาวน์โหลดไฟล์, การดูคลิปวิดีโอ ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้ได้มากขึ้น หรือการตั้งค่า Event ขึ้นมาให้นับเป็น interaction หนึ่งของผู้ใช้ ทำให้การใช้งานนั้นที่เข้าเงื่อนไขไม่ถูกนับอยู่ใน Bounce rate

7. Publisher

สำหรับเว็บไซต์ที่ลิงก์กับเครื่องมืออย่าง Ad Sense หรือ Ad Exchange เพื่อสร้างรายได้จากการที่เว็บมีผู้มาเข้าชมคลิกเข้าไปดูโฆษณาที่มามีการลงไว้ คลิกลิงก์ หรือแสดงโฆษณา รายงาน Publisher นี้จะช่วยให้คุณได้รู้ว่าตอนนี้รายได้จากโฆษณาที่มาลงเป็นอย่างไร หน้าเพจไหนสร้างรายได้บ้าง

8. Experiment

คือการทำ A/B Testing แล้วนำผลลัพท์ที่ได้จากการทดลองใช้มาเปรียบเทียบ เพื่อเอาไปปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ ให้มีประสิทธิภาพและมีผลต่อผู้เข้ามาชมมากที่สุด

ยังมีฟีเจอร์ที่อื่นๆช่วยให้เห็นว่าอะไรคือสิ่งที่หน้าเว็บคุณทำได้ดี หรือเป็นจุดเด่น ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดได้โดยการใช้เรียกลูกค้าผ่านเครื่องมืออื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Google Ads, Facebook Pixel เป็นต้น ฟีเจอร์หมวด Event แสดงผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมบนหน้าเว็บไซต์

Conversion Report

Conversion Report เป็นฟังก์ชันสำหรับวิเคราะห์รายละเอียดของเส้นทางที่ลูกค้าเดินบนหน้าเว็บไซต์คุณ ตั้งแต่การเข้ามา ไปสู่การสร้างรายได้ และกลายมาเป็นผู้นำพาคนอื่น ๆ มา ซึ่งถูกแบ่งออกเป็นรายงานข้อมูล 3 รายงานย่อย ได้แก่ Goal, E-commerce และ Multi-Channel Funnels (สนใจกด >> รับทำเว็บไซต์ E-Commerce)

1. Goal

คือ รายงานในหมวดที่ทำให้ทราบถึงยอดการบรรลุเป้าหมายตามจุดประสุงค์ที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็น สร้างยอดการลงทะเบียน ยอดการกดสั่งซื้อ การคลิก และอื่น ๆ ที่คุณหวังให้เกิดขึ้นบนเว็บไซต์

Goal Report เป็นการรวบรวมข้อมูลไม่ว่าจะเป็น หน้าเพจไหนที่ทำให้เกิดการคลิกที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (การสร้าง Conversion) อะไรเป็นสื่อกลางหรือลิงก์ที่มาที่นำมาซึ่งผู้มาเยี่ยมชมเว็บไซต์ ยอดการบรรลุในเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Goal Completion) และมูลค่าจากการบรรลุเป้านี้ (Goal Value)

2. E-commerce

สำหรับธุรกิจที่มีช่องทางขายสินค้าทางออนไลน์ E-commerce Report จะทำการวิเคราะห์และแสดงให้เห็นการเดินทางของลูกค้าตั้งแต่เข้ามาไปจนถึงการบรรลุเป้าหมาย หรือทั่วไปก็คือการสร้างรายได้

ซึ่งตัวรายงานจะครอบคลุมยอดการเกิด Conversion การซื้อขาย (Transaction) รายได้ มูลค่าเฉลี่ยต่อการสั่งซื้อ การสั่งซื้อเฉพาะ (Unique Purchase) และจำนวนสินค้าจากการสั่งซื้อ

3. Multi-Channel Funnels

แน่นอนว่าการจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ อาจะไม่ได้มาจากช่องทางเพียงช่องทางเดียว หลายๆครั้งผู้ใช้เข้ามาชมเว็บไซต์ผ่านทางโซเชียลมีเดีย แต่สร้าง Conversion จากการเข้ามาอีกทีผ่านทาง Organic Search เข้ามาจากแอปหรือโบชัวร์ที่ติด QR code ไว้ ซึ่งช่องทางและลำดับการใช้สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายนับไม่ถ้วน

Multi-Channel เลยมาเป็นตัวช่วยให้เห็นการทำงานร่วมกันของแต่ละช่องทางในการนำมาซึ่งผู้เข้าชมเว็บไซต์และลักษณะการเดินทางบนหน้าเว็บไซต์

Other Reports

Other reports คือ อีกหลายๆรายงานที่มาจากการใช้ Google Analytics แต่ไม่ได้อยู่ในหมวดข้างต้นไม่ว่าจะเป็น Advertising Reports เพื่อวิเคราะห์การทำงานของเครื่องมือการทำโฆษณา หรือ User Flow Reports สำหรับพฤติกรรมการท่องเว็บไซต์ของผู้เข้ามาชมว่าทำอะไรบ้าง

เท่านั้นยังไม่พอสำหรับผู้ใช้ Google Analytics 360 (เวอร์ชั่นอัพเกรดแบบเสียเงิน) คุณจะสามารถทำเข้าถึงข้อมูลที่แม่นยำมากขึ้นจากการขอเรียกดู Unsampled Report

Unsampled Report เกิดจากการที่ปกติแล้วเว็บไซต์ขององค์กรใหญ่ๆ เมื่อมีข้อมูลจากผู้เข้าชมเว็บไซต์จำนวนมาก Google Analytics เลยทำการสุ่มเลือกผู้เข้าชมเพียงจำนวนหนึ่งเพื่อเอาข้อมูลมาทำการวิเคราะห์

ข้อดีของการสุ่มมาวิเคราะห์ คือ เป็นการประหยัดพื้นที่เก็บข้อมูล และทำให้การประมวลผลอัพเดตได้เร็ว

แต่ข้อเสียคือ หากอยากได้ข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นส่วนน้อยของผู้เข้าชม จากที่มีข้อมูลเพียงเล็กน้อย หลังการสุ่มจะทำให้มีจำนวนน้อยลงไปอีก นำไปสู่ความไม่แม่นยำได้

Report ของ Google analytics มีประโยชน์อย่างไร

ถ้าเกิดเรารู้แล้วว่าลูกค้าเราส่วนมากมักมาจากช่องทางนี้ ในครั้งต่อไปเวลาเราทำแคมเปญที่คล้ายกัน ก็ควรโฟกัสไปที่ช่องทางนี้เป็นหลัก รวมถึงสามารถปรับสัดส่วน Budget ของเราสำหรับโฆษณาในช่องทางนี้ให้เพิ่มขึ้น เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น

หรืออีกมุมหนึ่งก็สามารถเอาไว้ตรวจสอบได้ว่าช่องทางไหนที่ไม่ได้ประสิทธิภาพตามเป้า และต้องได้รับการปรับปรุง เปลี่ยน Strategy อย่างด่วน

ถึงรายงานนี้หลัก ๆ มีไว้ดู Traffic sources ของผู้ใช้งาน แต่ถ้าหากใครที่ได้ลงโฆษณาไว้กับ Google Ads แล้วอยากดูผล หรืออยากตรวจสอบ SEO ที่ได้ทำไว้ใน Google Search Console ก็ทำได้เช่นกันในรายงานย่อยของ Acquisition report แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องทำการเชื่อมเครื่องมือเหล่านี้เข้าด้วยกันก่อน

  • สำหรับการเชื่อม Google Adwords สามารถเข้าไปที่แท็บ Admin ทางซ้ายมือ > Property Column > Google Ads Linking
  • ส่วน Google Search Console เข้าไปที่แท็บ Admin เช่นกัน > Property Column > All Products > Search Console

ฟีเจอร์เพิ่มเติมที่น่าสนใจของ GA

Customize Dashboard

ฟีเจอร์น่าสนใจของ Google Analytics ที่เราจะมาพูดถึง ก็คือ การทำ Customize Dashboard นั่นเอง

Customize Dashboard เป็นทางลัดที่เราสร้างขึ้นเองเพื่อเลือกดูแต่ข้อมูลหรือ Metrics ที่เราต้องเช็คเป็นประจำ และมีความสำคัญกับธุรกิจของเรามากที่สุด

ในแต่ละ Dashboard จะสามารถใส่ Widget ได้มากถึง 12 widgets โดยแต่ละ Widget ก็จะมีให้เราเลือกอีกที ทั้งในแง่ของรูปแบบการแสดงผลข้อมูล(Metric, Timeline, Geomap, Table, Pie chart, Bar chart), ความอัพเดทของข้อมูล (Standard vs Real-time), และการกรองข้อมูล(Metrics และ Dimension)

หรือถ้าหากใครไม่แน่ใจว่า ควรใส่ Widgetอะไร Metricsไหน หรือวางรูปแบบยังไงให้อ่านง่าย สามารถลองเข้าไปที่ Google Analytics Solutions Gallery (พื้นที่ที่กลุ่มผู้ใช้งาน Google Analytics มาแชร์ประสบการณ์กัน) Customizations แบบต่างๆที่ตนเองทำไว้ได้ แล้วให้ผู้ใช้งานคนอื่นดาวน์โหลดไปใช้งานหรือปรับแต่งต่อเติมเองอีกที

ต้องบอกก่อนเลยว่าถ้าเราเป็นคนแชร์ Customize Dashboard ของเรา ข้อมูลและสถิติทุกอย่างจะไม่ได้ถูกแชร์ไปด้วย มีเพียงแต่รูปแบบของ Widgets เท่านั้นที่ถูกแชร์ ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลเลยว่าข้อมูลสำคัญจะถูกเปิดเผย (สนใจกด >> สอน woocommerce)

Google analytics ข้อดี ข้อเสีย มีอะไรบ้าง

ข้อดีของ Google analytics

เหตุผลที่ช่วยสนับสนุนให้ทุกธุรกิจควรมี GA อย่างมาก จะมาจากทางด้านคุณลักษณะเพิ่มเติมที่ช่วยให้ผู้ใช้งาน สามารถระบุแนวโน้ม และรูปแบบที่ผู้เข้าชมมีส่วนร่วมกับเว็บไซต์ รวมถึงด้านอื่นที่ประกอบไปด้วย

  • เครื่องมือในการสร้างภาพข้อมูลและตรวจสอบ รวมถึง Dashboard ดัชนีชี้วัด พร้อมภาพ Visual ที่อัปเดตตามข้อมูลที่เกิดขึ้นแบบ Real Time
  • การกรองข้อมูล การจัดการ และการวิเคราะห์ช่องทาง
  • อินเทอร์เฟซโปรแกรมการรวบรวมข้อมูล API
  • การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์, ข่าวกรอง และการตรวจจับความผิดปกติ
  • การแบ่งกลุ่มสำหรับการวิเคราะห์ชุดย่อย
  • รายงานสำหรับโฆษณาที่กำหนดเอง, Acquisition, พฤติกรรมของผู้ชม และ Conversion
  • การแบ่งปันการสื่อสารทางอีเมล และการผสานร่วมกันกับเครื่องมืออื่น เช่น Google Ads, Google Data Studio, Salesforce Marketing Cloud, Google AdSense, Google Optimize 360, Google Search Ads 360, Google Display & Video 360, Google Ad Manager and Google Search Console

ภายใน Dashboard ของ Google Analytics ผู้ใช้งานทุกคนสามารถบันทึกโปรไฟล์สำหรับหลายเว็บไซต์ได้ และเข้าดูรายละเอียดทางด้านข้อมูลได้ตามกำหนด นับว่าเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำหรับธุรกิจที่ต้องการขับเคลื่อนการตลาด ในรูปแบบ Data Driven

ข้อเสียของ Google analytics

ในเรื่องของจำกัด GA ที่เราจะกล่าวต่อจากนี้ เป็นมุมมองล่าสุดที่ Google ปรับ GA ธรรมดาให้กลายเป็น GA4 หรือก็คือ Google Analytics 4 ซึ่งเปลี่ยนไปทั้งหน้าตาของแพลตฟอร์มในการใช้งาน และมีฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้ามาด้วย แต่อย่างไรก็ตาม มันก็ยังมีขีดจำกัดที่เป็นจุดอ่อนให้เราได้พบเจออยู่บ้าง เช่น

  • ไม่สามารถย้ายประวัติข้อมูลจาก Universal Analytics ไปยัง Google Analytics 4 ได้
  • ขีดจำกัดในการรวบรวมข้อมูล แม้ว่า GA4 มีพารามิเตอร์ให้กำหนดเองถึง 25 รายการ แต่ก็อาจจะยังไม่มากพอสำหรับเว็บไซต์ขนาดใหญ่ และถ้าต้องการอัปเกรดเป็น Google Analytics 360 จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว
  • การที่ปัจจุบันมีกฎหมายควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นผลให้ต้องขออนุญาตจากผู้ใช้งานเพื่อติดตั้ง Cookie ที่มีหน้าที่ในการติดตามพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ต ดังนั้นหากผู้ใช้งานไม่ยินยอมให้ติดตั้ง Cookie ตัว GA ก็ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ และนี่ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนอาจกระทบกับความแม่นยำของเจ้าเครื่องมือนี้ได้

ไม่ใช่แค่ Cookie เท่านั้น แต่จริงๆ การที่มี Ad Filtering Program และ Extensions บางตัว ก็สามารถบล็อคการเก็บข้อมูลของ Google Analytics ได้ด้วย อย่างของ Firefox มี Firefox’s Enhanced Tracking Protection, Web Browser มี Extension NoScript , และแอปพลิเคชั่นบนมือถือก็มี Disconnect Mobile เป็นต้น

  • ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลดิบได้ คุณจะได้เห็นเฉพาะข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ และนำเสนอในรูปแบบสรุปจาก GA4 เท่านั้น
  • ข้อเสียอีกอย่างเลยคือ การมีลิมิตของการเก็บข้อมูล นั่นก็คือมันสามารถเก็บข้อมูลของ Web Property/Property/Tracking ID ได้เพียง 10 ล้านครั้งต่อเดือนต่อ Property เท่านั้น

ดังนั้นสำหรับเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมเว็บจำนวนมาก เพื่อไม่ให้เซิฟเวอร์หนักเกินไป และให้ได้รายงานที่รวดเร็วที่สุด Google Analytics จะลดจำนวนข้อมูลที่รายงานลงโดยเลือกจากการสุ่ม

ทำให้มีการตกหล่นของข้อมูลบางส่วนที่ไม่ได้โดนเลือก เลยจะมี Margin of Error บอกให้ในรายงานของผู้เข้าชมเว็บไซต์ แต่ไม่มีให้ในหน้ารายงาน Metric อื่นๆ การลดจำนวนข้อมูลนี้ถ้าทำ segment ย่อยเล็กๆ Error margin จะกลายเป็นใหญ่มาก

ทั้งนี้ ถ้าเราไม่อยากประสบปัญหาดังกล่าว เราสามารถอัปเกรดเป็น Analytics 360 ได้

Google analytics ใช้งานยังไง

วิธีใช้งาน Google Analytics ในการวิเคราะห์ง่ายๆมี 5 ขั้นตอน ดังนี้

เราขอแนะนำให้ท่านเริ่มจาก 5 ขั้นตอนนี้ก่อน ในการที่จะนำ GA มาใช้ในการช่วยวิเคราะห์เว็บไซต์ของท่าน

ขั้นที่ 1 : อันดับแรกเลยคือคุณต้องรู้ก่อนว่า “เป้าหมายธุรกิจคุณคืออะไร?

ขั้นที่ 2 : เสร็จแล้วคุณก็มาดูว่าแล้ว “เป้าหมายเว็บไซต์” ของคุณมันช่วยทำให้เกิดเป้าหมายธุรกิจของคุณหรือเปล่า?

ขั้นที่ 3 : โดยดูจาก “ตัวเลขวัดผล (KPIs)” ที่คุณนำมาใช้วัด ซึ่งการมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน ก็จะทำให้มีตัวเลขวัดผลที่แตกต่างกันเช่นเดียวกัน

ขั้นที่ 4 : แต่คุณจะรู้ว่าจะใช้ตัวเลขวัดผลอย่างเดียวไม่ได้ คุณต้องทำการตั้ง “ตัวเลขคาดหวัง” หรือว่ายอด Target ที่คุณต้องการด้วย เช่น ภายใน 3 เดือน คุณตั้งเป้าไว้ให้มียอดขายเดือนละ 1 ล้านบาท เป็นต้น

เราแนะนำให้คุณตั้งเป้าหมายที่อิงจากความเป็นจริงด้วยนะ ซึ่งส่วนตัวเราชอบการตั้งเป้าหมายที่จะอิงจากตัวเลขปัจจุบัน เช่น ถ้ายอดขายเฉลี่ยเดือนละ 1 ล้านบาท เราก็จะตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า ภายใน 3 เดือนหน้า ขอเพิ่มอีกสัก 20% เป็น 1.2 ล้านบาท เป็นต้น

ทีนี้คุณก็เข้าไปดูตัวเลขต่าง ๆ (Metrics) ที่อยู่ใน GA ว่า ตัวเลขที่เกิดขึ้นจริง กับตัวเลขคาดหวังนั้น ตัวไหนมันมากกว่ากัน

ถ้าตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงดีกว่าตัวเลขคาดหวัง ก็แสดงว่าคุณทำได้ตามเป้าละ 

แต่ถ้าน้อยกว่า คุณก็ต้องหาคำตอบให้ได้ต่อไปว่าทำไม? แล้วทำยังไงถึงจะทำให้ตัวเลขมันดีขึ้นต่อไป

ขั้นที่ 5 : เมื่อคุณเริ่มวิเคราะห์ คุณก็จะต้องนำเทคนิคที่เรียกว่า “การแบ่งกลุ่มของข้อมูล (Segmentations)” มาใช้ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลทีละส่วนๆไป

สรุปขั้นตอนต่าง ๆ ออกมาเป็น 5 สิ่งที่คุณจะต้อง “ตั้ง” ดังนี้

  1. ตั้ง “เป้าหมายธุรกิจ” ที่คุณต้องการ เช่น สร้างการรับรู้, เพิ่มจำนวนลูกค้ามุ่งหวัง, เพิ่มยอดขาย เป็นต้น
  2. ตั้ง “เป้าหมายเว็บไซต์ที่ตรงและสอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจที่ตั้งไว้ในข้อ1
  3. ตั้ง “ตัวเลขวัดผล (KPIs)ให้สอดคล้องกับเป้าหมาย
  4. ตั้ง “ตัวเลขคาดหวังเพื่อเป็น KPIs ที่ต้องการในการชี้วัดความสำเร็จ
  5. ตั้ง “กลุ่มของข้อมูล (Segments)เพื่อนำมาวิเคราะห์ในส่วนของตัวเลขคาดหวังที่ตั้งเอาไว้ ว่าได้ตามที่ต้องการหรือไม่

ถึงตรงนี้ พวกคุณอาจจะอยาก Login เข้าไปดู GA ของตัวเองกันแล้วใช่หรือเปล่า?

เราขอย้ำอีกครั้งนะว่า เมื่อคุณทำการวิเคราะห์แล้ว คุณต้องนำข้อมูลเชิงลึก (Insights) ที่คุณได้มา แล้วนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ (Business Impact) ให้ดีขึ้นด้วยนะ

แล้วคุณก็ลองฝึกตั้งคำถามดู ว่าอยากจะรู้ข้อมูลเกี่ยวกับอะไร? แล้วก็เข้าไปหาดูจากรายงานต่างๆ ที่(ซ่อน)อยู่ในเมนูหลักๆของ GA

ทำความรู้จักกับ GA4 หรือ Google Analytics 4

สำหรับ GA4 นั้นเปิดตัวขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2020 ถือเป็นการยกเครื่องใหม่ทั้งหมดของระบบ Google Analytics เวอร์ชั่นก่อนหน้า ให้กลายมาเป็นรูปแบบใหม่หมดจด

Google Analytics 4 มีอินเทอร์เฟซการใช้งานรูปแบบใหม่ที่ดูใช้งานง่ายขึ้น เปลี่ยนจากการพึ่งพาคุกกี้ของบุคคลที่ 3 ไปสู่การใช้งาน Machine Learning เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่แม่นยำกว่าเดิม สำหรับคุณลักษณะใหม่ที่มีเฉพาะใน GA4 คือ

  • Machine Learning และ AI ที่ชาญฉลาด
  • การผสานเข้ากันกับ Google Ads
  • การรายงานที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
  • คุณสมบัติการติดตามแบบไร้โค้ดเพิ่มเติม สามารถให้ข้อมูลได้โดยมีเวลาน้อยลง
  • คุณสมบัติการควบคุมข้อมูลที่ปรับปรุงสำหรับการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการจัดการข้อมูล

วิธีการติดตั้ง Google Analytics (ฉบับอัพเดท GA4)

ขั้นตอนในการติดตั้ง Google Analytics 4 จะมีทั้งหมด 7 ขั้นตอนด้วยกัน และก่อนอื่นคุณต้องมีบทบาท Editor Role สำหรับบัญชีที่ต้องการติดตั้ง GA4 ด้วย จากนั้นจึงทำตามคำแนะนำด้านล่าง ซึ่งสามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องสนใจว่าก่อนหน้านี้มีการติดตั้งแท็ก Google Analytics (gtag.js หรือ analytics.js) แท็ก Google Ads (gtag.js) หรือคอนเทนเนอร์ Google Tag Manager หรือไม่

  1. ในหน้า Google Analytics คลิกไปที่สัญลักษณ์เฟืองที่มีคำว่า “Admin”
  2. เลือกที่เมนู GA4 Setup Assistant ที่อยู่ใต้แถว property
  3. คลิกที่ “Get Started” ได้เลย
  4. คลิกต่อไปที่ “Create Property”
  5. คลิกไปที่ปุ่ม See your GA4 property จากนั้นจะไปปรากฏที่หน้า Setup Assistant แล้วค่อยคลิกลูกศร (>) ที่อยู่ในช่อง Tag Installation เพื่อเข้าไปที่หน้า Data Streams
  6. คลิกไปต่อที่ลูกศร (>) ในช่อง
  7. ในหน้า Web Stream Details ให้มองหาช่อง Measurement ID ได้ที่มุมขวาบน เพียงเท่านี้การอัปเกรดเป็น GA4 ก็เสร็จสิ้นแล้ว

เมนูที่นิยมใช้ใน GA4

  • Audience-Based Conversion ความสามารถในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ชม
  • GA4 กับการวัดผลเรื่องเวลาการตอบโต้ ที่ช่วยให้เรารับรู้ได้ว่าผู้ชมใช้เวลาเท่าไหร่กว่าจะผ่านในแต่ละส่วน
  • Event Based Funnels ที่ให้เราสามารถเปรียบเทียบเส้นทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดของเว็บไซต์ จากการวัดพฤติกรรมของผู้ใช้งาน
  • การอัปเดตข้อมูลแบบ Real Time ที่ทำให้เราเห็น Flow ของเหล่าผู้ใช้งานบนเว็บไซต์
  • คุณลักษณะการรายงานแบบใหม่ที่ใช้งานง่ายขึ้นบนหน้า Explorer
  • Machine Learning & AI ที่ช่วยให้เราเห็น Metrics การคาดการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Google Analytics กับ Google Tag Manager ใช้งานต่างกันอย่างไร

สิ่งที่ทำให้หลายคนเกิดความสับสนระหว่าง Google Analytics กับ Google Tag Manager อาจเป็นเพราะความเชื่อมโยงของกันและกัน แต่ทั้งนี้การแบ่งแยกทุกอย่างให้ชัดเจนมากขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง อาจเริ่มต้นง่ายๆด้วยการยกให้

  • Google Tag Manager ตัวกลางระหว่างเว็บไซต์และเครื่องมือ ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเว็บไปยัง Google Analytics หรือเครื่องมืออื่นๆในรูปแบบแท็ก
  • Google Analytics มีหน้าที่ในการจัดเก็บ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล

แพ็กเกจ GA

Google Analytics มีให้เลือกทั้งหมด 2 ด้วยกัน คือแบบไม่มีค่าใช้จ่าย (Analytics) และมีค่าใช้จ่าย (Analytics 360) โดยมีความแตกต่างกันอยู่เพียงเล็กน้อย ซึ่งเราได้ทำการเปรียบเทียบมาให้ตามด้านล่างเลย

Analytics

  • ไม่มีค่าใช้จ่าย
  • เป็นแพคเกจที่เหมาะสำหรับเว็บไซต์ส่วนตัว เว็บไซต์สำหรับองค์กรขนาดเล็กถึงกลาง เพราะมีข้อจำกัดในการสร้างอยู่ที่ 200 Views ต่อ Property และ 20 Dimensions & Metrics ต่อ Property

Analytics 360

  • ค่าใช้จ่ายรายเดือน $12,500 / เดือน (ติดต่อฝ่ายขาย)
  • แพคเกจนี้เหมาะสำหรับเว็บไซต์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ เพราะสามารถสร้าง Views ต่อ Property ได้สูงสุด 400 Views และ Dimensions & Metrics ต่อ Property สูงสุด 200 Dimensions

นอกจากนี้ Analytics 360 ก็มีฟีเจอร์ล้ำ ๆ ที่เพิ่มเติมมาให้ ดังต่อไปนี้

  1. การทำงานร่วมกับ Google BigQuery เพื่อค้นหาและดึงข้อมูลของบริษัท, Salesforce เพื่อจัดการกับลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)
  2. มีฟีเจอร์อื่น ๆ เช่น Advanced Analysis, customizable funnel reporting, attribution modeling (Data-driven model)
  3. ได้ข้อมูลที่มีความสดใหม่ การรันตีการอัพเดตไม่เกิน 4 ชั่วโมง ภายใต้ SLA (Service Level Agreement)
  4. ไม่จำกัดที่ที่เก็บข้อมูล รีพอทต์ เข้าถึงข้อมูลดิบ
  5. มีทีมซัพพอร์ต ให้บริการ และ SLA จาก Google และผู้ให้บริการที่เป็นพาร์ทเนอร์ทั่วโลก

 

สรุป

Google Analytics เป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่ เพื่อนำไปพัฒนาเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น GA สามารถช่วยวิเคราะห์ทิศทางการทำการตลาดให้ตรงกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น ข้อมูลจาก GA สามารถนำไปใช้เพื่อทำ Remarketing ได้เพื่อเพิ่มยอดขายได้

Google Analytics คือ เครื่องมือที่สามารถวัดผลประสิทธิภาพของเว็บไซต์ ด้วยการนำข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์มาวิเคราะห์ ซึ่งจะเป็นลักษณะการเก็บสถิติแบบละเอียด ว่าผู้ที่เข้ามาใช้งานคือใคร โดยแบ่งตามลักษณะดังต่อไป คือ

Demographic : ภูมิประชากรศาสตร์ เช่น อายุ เพศ อาชีพ ภาษา สถานที่ที่อยู่อาศัย

Behavior : พฤติกรรมของลูกค้า เช่น อุปกรณ์ที่ใช้เมื่อเข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์ และสามารถวัดผล Traffic บนหน้าเว็บไซต์ เป็นต้น

ความสามารถของ Google Analytics

  1. สามารถวิเคราะห์ข้อมูล Acquisition ของผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ ว่ามาจากช่องทางไหน เพื่อให้ผู้ใช้ทราบว่า แพลตฟอร์มออนไลน์ใดที่ใช้ในการทำโฆษณาแล้วได้ผลมากกว่ากันเช่น ช่องทาง Facebook มี Traffic การคลิกเข้ามามากกว่า Google ดังนั้นผู้ประกอบการอาจใช้งบในการทำโฆษณา จาก Facebook มากกว่า Google เพื่อให้โปรโมตแบรนด์ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  2. สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า ซึ่งผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ให้ดีขึ้น เพื่อให้ลูกค้าอยู่บนหน้าเว็บได้นานขึ้นและเกิดการซื้อขาย
  3. สามารถวิเคราะห์ Conversion Rate ซึ่งได้แก่ การคลิกเข้ามาที่หน้าเว็บไซต์ การสมัครสมาชิก การกด Subscribe การลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ เป็นต้น
  4. สามารถวิเคราะห์ข้อมูล Demographic ของกลุ่มเป้าหมาย เช่น เพศ อายุ เมืองหรือประเทศที่อยู่อาศัย ความสนใจและความชอบส่วนตัว สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้เครื่องมือสามารถค้นหากลุ่มเป้าหมายที่ใช่ในอนาคต และเจอฐานการตลาดของแบรนด์ ไม่ต้องเสียเวลา และงบประมาณในการทำโฆษณาแบบไม่มีจุดหมาย
  5. สามารถนำข้อมูลเชิงลึกไปต่อยอดการทำโฆษณาออนไลน์บนแพลตฟอร์มอื่นๆ
  6. สามารถวัดความเร็วของหน้าเว็บไซต์ได้ ซึ่งมีผลมากกับการทำ SEO (Search Engine Optimization) เนื่องจากระบบอัลกอริทึมจะจัดลำดับให้เว็บไซต์ที่ใช้เทคนิคนี้ กลายเป็นเว็บไซต์แนะนำและติดหน้าแรกบน Google ทำให้กลุ่มเป้าหมายเจอเว็บไซต์ของเราง่ายขึ้น

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!