Meta tags คืออะไร แบ่งเป็นอะไรบ้าง สำคัญอย่างไรกับ SEO พร้อมอธิบาย

รวมชนิด วิธีเขียนและตัวอย่าง Meta tags แบบต่างๆ เช่น meta description , meta title , header tags สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น code HTML ที่ต้องรู้ในการทำSEO ในบทความนี้จะกล่าวถึงเครื่องมือเมตาแท็กที่ต้องรู้อีกด้วย(Meta tags generator)

Meta Tags ป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คนทำ SEO ต้องได้ยินและได้เจอกันอยู่แล้ว โดยเฉพาะนักการตลาดออนไลน์ที่เริ่มมาจับทางทำการตลาดสร้าง Organic traffic นั้น คงต้องมาทำความรู้จักและทำความเข้าใจเรื่องนี้กันเยอะเลย

บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกทุกเรื่องของ Meta Tags ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงการประยุกต์ใช้จริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Meta Tags คืออะไร สำคัญต่อ SEO อย่างไร Meta Tags แบบไหนที่ต้องรู้ รวมทั้งวิธีเขียน Meta Tags ที่ช่วยให้อันดับ SEO ของเว็บไซต์ดียิ่งขึ้น (สนใจกด >> รับทำ SEO)

Meta Tags คือ อะไร

Meta Tags คือ ข้อความตัวอักษร ทำหน้าที่อธิบายคอนเทนต์ในเว็บเพจหน้านั้นว่าคืออะไร เกี่ยวกับอะไร โดยจะปรากฏเฉพาะหน้า Source code HTML ของเว็บเท่านั้น ไม่ได้ปรากฎอยู่ภายในหน้าเว็บไซต์

โดย Search engines และ Web crawlers จะใช้ Meta Tags เพื่อตัดสินว่า เว็บเพจนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร แล้วจะดึงข้อมูลจาก Meta Tags มาแสดงผลบนหน้าผลการค้นหา SERP(Search Engine Result Page) เมื่อมีคนเสิร์ชหาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ เมตาแท็ก นั้นๆ

Meta Tags สำคัญต่อ SEO หรือไม่ อย่างไร

เมตาแท็ก หรือ Google Snippet เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยนั้นการจัดอันดับโดย Google ได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นตัวที่อธิบายเนื้อหาของหน้าเว็บนั้นๆ ให้ Search Engine และ Robot ที่เข้ามา Crawl ข้อมูลรู้ว่า “หน้าเว็บ (Web Page) ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร” (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)

ซึ่งสามารถนำ เมตาแท็ก ไปปรับแต่งที่หลังบ้านของเว็บไซต์บน Source Code หรืออาจเป็น Plugin ต่างๆ เช่น Yoast (สำหรับ WordPress) จากนั้น ข้อความใน Meta Tag จะถูกดึงออกมาแสดงให้เห็นบนหน้า SERP (Search Engine Result Page) หรือหน้าแสดงผลการค้นหาของ Search Engine

ขอตอบว่า เมตาแท็ก สำคัญต่อการทำ SEO โดย Meta Tags มีส่วนช่วยในการจัดอันดับบนหน้า Search engines สามารถทำให้เว็บเพจหรือเว็บไซต์ของคุณติดอันดับต้นๆ รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายมีแนวโน้มคลิ๊กเข้ามาได้ง่ายขึ้น

โดยหัวใจหลักที่ช่วยให้เว็บไซต์อยู่ในอันดับต้นๆ บน Search engines ได้ ต้องประกอบด้วย คอนเทนต์ดีมีคุณภาพ และดีไซน์ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน(UX/UI) ซึ่ง Meta Tags ประเภทต่างๆ จะเข้ามาเสริมสองส่วนนี้ และนี่ก็เป็นเหตุผลที่คุณควรทำความรู้จัก เมตาแท็ก

มาดูกันว่า Meta Tags ใดบ้าง ที่จำเป็นต้องรู้จัก เพื่อนำไปปรับใช้ในการสร้างเว็บไซต์และคอนเทนต์สำหรับเพิ่มอันดับ SEO ต่อไป (สนใจกด >> รับสอน SEO)

Title Tag หรือ Page Title คืออะไร

Page Title หรือ Title Tag คือ หัวเรื่อง (headline) ของหน้าเว็บเพจ ซึ่งจะถูกนำไปแสดงเวลาบทความของเราถูกนำไปแสดงในผลการค้นหาบน Google เป็นสิ่งที่บอกให้ผู้ค้นหารู้ และสามารถเลื่อนสายตาผ่านแล้วเก็ทได้เลย ว่าบทความของเรานั้นเกี่ยวกับอะไร

เป็นการเขียนชุดคำสั่ง Code HTML ตัวนึง เพื่อบ่งบอกให้กับทาง Google ทราบว่า เนื้อหาเราเกี่ยวข้องกับอะไรนั่นเอง

Title Meta Tag จะช่วยให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์เข้าใจได้ทันทีว่าเว็บเพจที่แสดงผลในหน้าค้นหานั้น คืออะไร เกี่ยวกับอะไร และเกี่ยวข้องกับสิ่งที่พวกเขากำลังค้นหาอยู่หรือไม่ รวมทั้งทำให้ตัดสินใจได้ว่าจะคลิกเข้ามาอ่านข้างในต่อหรือไม่ คุณจึงควรคิดและวางแผนว่าจะเขียน Page Title ให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมายด้วย

Meta Description คืออะไร

Meta Description คือ Meta Tag ประเภทหนึ่งที่เป็นชุดโค้ดของภาษา HTML ซึ่งใช้ในการเขียนอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับหน้าเว็บไซต์นั้นๆ ว่า เกี่ยวข้องกับอะไร โดย Google จะนำเสนอ Meta Description ที่เขียนเอาไว้ใต้ Title Tag ที่เป็นชื่อบทความหรือชื่อของหน้าเว็บไซต์ (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ E-Commerce)

ข้อมูลสรุปย่อเกี่ยวกับเนื้อหาทั้งหมดของเว็บเพจ โดยจะแสดงผลในหน้า Search engines เป็นรายละเอียดด้านล่าง ต่อจาก Headline หรือ Title Meta Tags

โดยทั่วไปแล้ว Meta Description ควรอธิบายข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายได้ทันที คุณจึงต้องสรุปเฉพาะข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายค้นหาจริงๆ

ถึงแม้ Meta Description จะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ช่วยในการจัดอันดับเว็บไซต์บนหน้า Search engines แต่การใส่ keyword ที่กลุ่มเป้าหมายใช้ค้นหาไว้ใน เมตาแท็ก ส่วนนี้ รวมทั้งเขียนให้น่าสนใจจนคนคลิกเข้ามาในเว็บไซต์นั้น ก็ช่วยให้ Click-Through-Rate หรือ CTR ดีขึ้น ซึ่งเป็นทางหนึ่งในการเพิ่มอันดับบน Search engines ได้

Meta Tags อื่นๆ ที่ควรรู้จัก

เมื่อได้ทำความรู้จักกับกับ เมตาแท็ก หลักทั้ง 2 ประเภทไปแล้ว ทีนี้เรามาทำคามรู้จัก Meta Tags ประเภทอื่นๆ กันบ้าง แต่ละประเภทจะมีความสำคัญอย่างไร? และเหมาะสำหรับการนำไปใช้ในรูปแบบไหน? ตามไปดูกันเลย

ALT Text Tags

เมื่อมีการจัดการข้อความไปแล้ว ก็ต้องมีจัดการรูปภาพกันบ้าง ถ้าหากเว็บไซต์ของคุณมีคอนเทนต์ที่ต้องแทรกรูปภาพเข้ามาประกอบการบรรยายไปด้วย ALT Text Tags จะใส่คำ Keywords สั้นๆอธิบายให้ Search Engines ฟังว่า รูปภาพนี้คืออะไร เกี่ยวกับเนื้อหาส่วนไหนของคอนเทนต์เราบ้าง

ยิ่งรูปภาพมีความเกี่ยวข้องกับ Keyword เท่าไหร่ยิ่งดีเพราะไม่ใช่แค่หน้า Search Result เท่านั้นที่คอนเทนต์เราจะไปปรากฎ แต่รวมถึงการติดอันดับการค้นหาแบบรูปภาพอีกด้วย

Meta Robots

Tag นี้ทำงานร่วมกับ Search Engine / web Crawler ร่วมกันกับโค้ด HTML ในการสำรวจเว็บไซต์ด้านในและคอยตัดสินใจว่าควรหรือไม่ควรเข้าไปที่หน้าเพจไหน หรือ ควรหรือไม่ควรติดตามลิงก์ใดไปที่เว็บไซต์อะไรบ้าง ซึ่งตัวอย่างโค้ดเบื้องหลังจะใช้คำว่า “noindex” คือ ไม่ให้แสดงผลหน้าเว็บไซต์ในผลการค้นหา หรือ “nofollow” ไม่ให้แสดงผลจากลิงก์ที่อยู่ในหน้าเว็บไซต์ เป็นต้น

Meta Refresh Redirect

ชุด Tags ช่วยให้ผู้ใช้งานทำการ redirect ไปยังหน้า URL อื่นภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ (คนละแบบกับ 301, 302 Redirect แบบนี้คือเป็นการเปลี่ยนเส้นทาง URL แบบถาวรให้ไปอ่านลิ้งก์ตัวใหม่แทน) (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress)

โดยปกติ Meta Refresh Redirect จะมีความเชื่อมโยงกับการนับถอยหลัง 5 วินาทีมักปรากฎบ่อยๆ ในรูปแบบข้อความ “If you are not redirected in five seconds, click here.” ซึ่งผู้ใช้งานอาจรู้สึกไม่ปลอดภัย เกิดความสับสนในหน้าเว็บของเราได้ และมีผลต่อความยุ่งยากของ SEO เราด้วย แนะนำอย่า redirect บ่อยจะดีกว่านะ

Viewpoint tag

ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปการใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ PC อย่างเดียวคงไม่ใช่คำตอบ รวมถึงการมาของสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการรับรู้ข้อมูลได้ดีขึ้น

Viewpoint Tag คือชุด Meta ที่ช่วยให้หน้าเว็บไซต์ของคุณสามารถไปแสดงผลได้บนอุปกรณ์อื่นๆ นอกจากคอมพิวเตอร์ PC อาทิ สมาร์ทโฟน ไอแพด และแล็ปท็อป ซึ่ง Viewport Tag ไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการจัดอันดับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเหมือน Title Tag หรือ Meta Description แต่การปรับรูปแบบของเว็บไซต์ให้มีความ User-friendly เมื่อใช้งานบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถกดคลิกเข้ามาเพื่ออ่านคอนเทนต์ของเราได้สะดวกยิ่งขึ้น

Meta Tag ตัวนี้ มีส่วนช่วยในการจัดอันดับบนหน้าการค้นหา เพราะ Google จะให้คะแนนเว็บไซต์ที่ออกแบบ UX รองรับกับสมาร์ทโฟนของผู้ใช้งาน หรือที่เรียกว่า Mobile-user friendly

Social Media Meta Tags

หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่า Open Graph Meta Tags ซึ่งการทำงานของมันก็ตรงตามชื่อเลยคือช่วยโปรโมทเว็บไซต์ของคุณผ่านสื่อโซเชี่ยลมีเดียอย่าง Facebook, Linkedin, Google แต่การโปรโมทผ่าน Twitter จะใช้ผ่าน Twitter Cards แทน

Header Tags หรือ Heading Tags

Heading Tag คือ Tag ที่ใช้ในการกำหนดหัวข้อต่าง ๆ ในหน้านั้น ซึ่งในหน้าหน้าหนึ่ง อาจจะมี หัวข้อหลัก หัวข้อย่อย จึงทำให้การใช้ Heading Tags จะต้องมีการแบ่งย่อยไปตั้งแต่ h1 h2 h3 ไปจนถึง h6 นั่นเอง

ข้อแนะนำ : h1 ใช้สำหรับกำหนด หัวข้อใหญ่ของหน้านั้น ยกตัวอย่างเช่น หน้าสินค้า h1 อาจต้องเป็นชื่อของสินค้า โดย h2 อาจจะเป็น หัวข้อเกี่ยวกับ คุณสมบัติของสินค้านั้น ๆ และ h3 อาจพูดถึง สาขาที่สินค้านั้นมีขาย

  • Header 1 จะต้องมี Keyword หลักที่สามารถไปติดอันดับใน Search Engine ได้
  • Header 2 หัวเรื่องรองลงมาจากหัวเรื่องใหญ่เป็นการอธิบายเพิ่มเติม เนื้อหาของ Keyword
  • Header 3 แยกย่อยเข้าไปอีกจะเป็น bullet headline ก็ได้หรือเป็น เครดิตรูปภาพก็ได้ เป็นต้น

Canonical Tags

ผู้ประกอบการมือใหม่อาจเคยเจอปัญหาการทำเว็บไซต์ที่มี URL มากเกินไปหรือการทำคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันเกินไปจน Search Engine เกิดความเข้าใจผิดและแสดงเนื้อหาซ้ำไปซ้ำมาจนคิดว่าเราคือ Spam ส่งผลกระทบต่อการจัดอันดับเนื้อหาในเว็บคุณได้ ดังนั้น Canonical tags จึงมีไว้บอก Search Engine ว่าหน้าเว็บเพจนี้ที่มี URL มาพร้อมกับโค้ด Canonical tags คือหน้าเว็บหลักของเรา ให้มาประเมินจัดอันดับที่ลิงก์นี้ที่เดียว ลดการเกิดข้อมูลซ้ำ

ดังนั้น คุณควรเพิ่ม Canonical Tags เพื่อระบุว่า URL ในเป็นหน้าเว็บไซต์ต้นฉบับที่ต้องการปรากฏให้เห็นในหน้าของการค้นหา โดยตัวอย่างของ Canonical Tags เป็นดังนี้

<link rel=”canonical” href=”http://example.com/hubspot/meta-tags” />

Robots Meta Tags

เป็นการเขียนคำสั่งเพื่อไม่ให้ Search Engine แสดงผลหน้าเว็บไซต์นั้น ดัวอย่างเช่น

  • noindex ป้องกันไม่ให้แสดงผลเว็บไซต์ในหน้าผลการค้นหา
  • nofollow ป้องกันไม่ให้ Google Bot สามารถติดตามที่อยู่ได้
  • nosnippet ป้องกันไม่ให้แสดงตัวอย่างข้อความหรือตัวอย่างวิดีโอในหน้าผลการค้นหา
  • noarchive ป้องกันไม่ให้ Google แสดง Cached Link สำหรับหน้าเว็บไซต์
  • unavailable_after:[date] เพื่อระบุวันที่ไม่ต้องการแสดงผลในหน้าผลการค้นหา

ในกรณีที่ต้องการจะใช้ nofollow คือหากหน้าเว็บของคุณมีการแสดงความคิดเห็น และคุณไม่สามารถควบคุมลิงก์ที่โพสต์โดยผู้อ่านได้ ตัวช่วยนี้ จะช่วยให้ Search Engine ไม่แสดงผลลิงก์ดังกล่าวได้

ตัวอย่าง Robots Meta Tags ที่ใส่คำสั่งได้ทั้ง noindex และ nofollow เป็นดังนี้

<meta name=”robots” content=”noindex, nofollow”>

Meta Content Type

Meta Charset (อีกชื่อ Meta Content Type) : ใช้ระบุประเภทของสื่อที่แฝงอยู่ในหน้าเว็บไซต์อย่าง ข้อความ (เขียนในรูปของ “text/html”) หรือ ชุดอักขระ (Character Set) ในแต่ละหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถแสดงชุดคำบนหน้าเว็บได้ถูกต้อง

Meta Content Type ช่วยให้สามารถระบุประเภทของสื่อและชุดอักขระของแต่ละหน้าเว็บไซต์ ที่ต้องรวบรวมไว้ในหน้าเว็บไซต์ของคุณและเพื่อแสดงผลในรูปแบบที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง โดยตัวอย่าง Meta Content Type เป็นดังนี้

<meta http-equiv=”Content-Type” content=”text/html; charset=utf-8″ />

Meta Keywords คืออะไร

Meta Keywords คือชุด Code HTML ตัวนึงครับ ซึ่งอยู่ในส่วน Head ที่เอาไว้บอกกับ Google ว่าบทความเหล่านี้ หรือหน้าเพจนี้เกี่ยวข้องกับอะไร

Hreflang tags

เป็นแท็กที่ออกเสียงยากสักหน่อย ออกเสียงว่า เรฟ-แลง แท็กซ์ Tags ตัวนี้มีหน้าที่ในการระบุภาษาที่เราใช้บนหน้าเว็บเพจให้ Search engine / web crawler สามารถค้นหาและระบุผลลัพธ์ที่ผู้ใช้งานทำการค้นหาในภาษาเดียวกันกับเว็บไซต์ของเราได้

เทคนิคการเขียน Meta Tags ให้การทำ SEO มีประสิทธิภาพมากที่สุด ต้องทำอย่างไร?

ถ้าเป้าหมายการทำ SEO ของคุณคือต้องการให้เว็บไซต์หรือเว็บเพจของคุณติดอันดับต้นๆ ในหน้า SERP (แบบOrganic) และได้ค่า CTR ที่เพิ่มขึ้น เมตาแท็ก ที่สำคัญที่สุดที่คุณต้องโฟกัสก็คือการเขียน Title Tags และ Meta Description

ในหัวข้อนี้เราจะมาแชร์ 3 เทคนิคในการเขียน Meta Tags ทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวให้โดนใจทั้ง User และ Google ให้การทำ SEO ของคุณมีประสิทธิภาพมากที่สุด

1. Keyword ยังเป็นสิ่งสำคัญเหมือนเดิม

ไม่ว่าจะเป็น Title Tags หรือ Meta Description สิ่งสำคัญก็คือคุณควรใส่ Keyword ที่เกี่ยวข้องกับ Content บนเว็บไซต์หรือเว็บเพจไปในช่วงต้นๆ ของ Tags เสมอ เพราะการใส่ Keyword ลงไปใน Title Tags หรือ Meta Description ก็เป็นเหมือนการช่วยให้ Search Engines หาเว็บไซต์คุณเจอได้ง่ายขึ้นและได้อันดับที่ดีในหน้า SERP

แต่สิ่งที่ต้องเตือนไว้ก่อนก็คือ คุณไม่ควรที่ยัดจะ Keyword ลงไปมากเกิน เพราะถ้า Google เจออาจจะมองว่าคุณพยายามโกง ส่งผลให้เว็บไซต์ของคุณไปอยู่หน้าท้ายๆ หรือหายไปได้เลย

โดยตัวช่วยในการ Reseach Keyword ในปัจจุบันนั้นก็มีตัวช่วยหลากหลายทั้งฟรีและเสียเงิน ในการหา Keyword ที่ User ค้นหาที่สุด เช่น Google Keyword Planner , Ubersuggest , Google Trend , Keyword Generator เป็นต้น

หลังจากเช็ค Keyword เรียบร้อยแล้ว ในการเขียน Meta Tags ที่ดีนั้นคือการเขียนให้เว็บไซต์ของคุณดูโดดเด่นกว่าคู่แข่ง เพราะอย่าลืมนะ ว่าการทำ SEO ก็เหมือนการลงสนามแข่งขันกับคู่แข่งอีกมากมาย ที่เขาก็ต้องการอยากให้เว็บไซต์ได้อันดับดีๆ เช่นกัน เพราะฉะนั้นการเขียน เมตาแท็ก ด้วยคำทั่วๆ ไปอาจไม่ได้ทำให้เว็บไซต์ของคุณโดดเด่นในสายตากลุ่มเป้าหมาย

โดยเฉพาะถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีไว้เพื่อการขายของ เทคนิคนี้จะเป็นการปล่อยหมัดน็อคให้ลูกค้ากดเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณ

เช่น การบอกเหตุผลให้ผู้ค้นหาทราบว่า ทำไมเขาควรกดเข้ามายังเว็บไซต์ของเรา , จุดเด่นของเว็บไซต์เราคืออะไร , ถ้ากดเข้ามาคุณจะได้รู้อะไร หรืออาจจะบอก Benefits แบบสั้นๆ กระชับๆ ที่คุณจะมอบให้ลูกค้าได้เช่น (กรณี E-Commerce) เช่น แจกโค้ดส่งฟรี , ผู้นำด้าน… , เจ้าแรกในประเทศ , คืนเงินภายใน 15 วัน ฯลฯ

เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกลุ่มเป้าหมายแล้ว ยังส่งผลทางจิตวิทยากับพฤติกรรมผู้บริโภคได้อย่างดีเยี่ยมเลย

3. คุมจำนวนตัวอักษรอย่าให้เกินที่กำหนด

สำหรับใครที่ใช้ระบบหลังบ้านของเว็บไซต์อย่าง WordPress จะมีระบบ Counting Character ที่จะคอยนับให้ว่าคุณได้ใช้ตัวอักษรในการเขียน Meta Tags ทั้ง 2 ประเภทไปกี่ตัวแล้ว แต่ถ้าใครที่เป็นสาย HTML ก็อาจจะต้องรู้เกี่ยวกับการจำกัดจำนวน Character ของ Meta Tags ด้วย

ซึ่งการเขียน เมตาแท็ก ที่ดี และเอื้อประโยชน์ต่อการทำ SEO ได้มากที่สุดนั้น จะต้องมีความยาวดังนี้

  • Title Tags – ความยาวของตัวอักษรไม่เกิน 60 – 65 ตัวอักษร
  • Meta Description – ความยาวของตัวอักษรไม่เกิน 150 -160 ตัวอักษร

เพราะถ้าเกิดคุณเขียนเกินจำนวน (ยาวเกินไป) จะทำให้ Google ไม่สามารถนำข้อความทั้งหมดไปแสดงใน SERP ได้ ซึ่งอาจจะเห็นแค่บางส่วน ทำให้กลุ่มเป้าหมายอาจเกิดความสับสนในข้อความที่คุณจะทำการสื่อสารได้

โดยหัวข้อนี้ ถือว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายนักการตลาดพอสมควร เพราะคุณจะต้องทำทั้งการคิด Keyword และใส่ลงไปใน เมตาแท็ก ทั้ง 2 ให้ได้ จากนั้นก็ต้องหาข้อความหรือทำการเขียนให้ “ดึงดูด” กลุ่มเป้าหมายโดยใช้คำได้อย่างจำกัด

ปัจจุบันมีตัวช่วยเกิดขึ้นมากมาย อย่างถ้าใน WordPress ก็จะมี Preview Mode ให้คุณเห็นได้เลยว่าเวลาอยู่บนหน้า SERP (Google) สิ่งที่เราเขียนจะปรากฏแบบไหน แต่ในกรณีอื่นคุณสามารถใช้งานเครื่องมือแนว Snippet Preview เช่น Yoast , SERPsims , Merkle , Mangools ในการเช็ค Character และ SERP Appearance ได้

วิธีการเขียน Meta Tags บนเว็บไซต์

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายๆ คนคงกำลังสงสัยว่า หลังจากรู้แล้วว่า Meta Tags คืออะไร แล้วเราจะเอาข้อมูลพวกนี้ไปใส่ไว้ในส่วนไหนล่ะ?

หลักๆ เราจะแบ่งวิธีปรับ Meta Tag ในส่วนของหลังบ้านออกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

1. เขียน Meta Tags ลงบน Plugin หรือ Section เพื่อการปรับแต่ง SEO ที่หลังบ้าน

วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพียงแค่คุณเข้าไปยังหน้าที่ต้องการจะแก้ไข เมตาแท็ก แล้วเลือกส่วนที่เป็นการปรับแต่ง Meta Tags สำหรับการทำ SEO ลองดู Youtube การใช้ Plugin Yoast SEO

จากนั้นให้ปรับแต่งโดยใส่ข้อความลงไป และอย่าลืมรีเช็กความยาวของตัวอักษรทั้งในส่วนของ Meta Title และ Meta Description ตาม Tools ที่เราให้ไปด้วยนะ เพราะเอาเข้าจริง จำนวนความยาวที่ปรากฎอยู่ในส่วนของหลังบ้าน อาจไม่ได้ตรงตามความยาวที่ทาง Google ต้องการแสดงเสมอไป

2. เขียน Meta Tags ลงบน Source Code ที่หลังบ้าน

สามารถทำได้โดยการเปิดไปที่ Source Code หรือ HTML ของหน้านั้นๆ และวาง Meta Tag ที่ปรับแต่งเรียบร้อยแล้วในรูปแบบของโค้ด ระหว่าง Head Tags ดังนี้

  1. <head>
  2. <title>Title of the page</title>
  3. <meta name=”title” content=”Enter meta title here.”>
  4. <meta name=”description” content=”Enter meta description here.”>
  5. </head>

ทั้งนี้ หลังบ้านแต่ละรูปแบบอาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย หรือบางรูปแบบอาจไม่สามารถปรับแต่งเพิ่มเติมในส่วนนี้ได้ แต่จะถือว่า Meta Title เป็นตัวเดียวกันกับ Header หรือ Title และ Meta Description อาจดึงเอาข้อมูลในย่อหน้าแรก หรืออาจเป็นบางส่วนที่ถูกกำหนดไว้ต่างหากขึ้นมาเอง

ข้อควรระวังในการเขียน เมตาแท็ก

ทีนี้เรามาดูกันว่า ในการเขียน เมตาแท็ก นั้น มีข้อควรระวังอย่างไร? และอาจส่งผลอย่างไรต่อการทำ SEO บ้าง เรามาดูกันเลย

1. ใช้ Keyword เยอะเกินไป

แม้ว่าการใส่ Focus Keyword ลงไปใน Meta Tags นั้นจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าหากว่าเราใส่ Keyword เยอะจนเกินไป อาจทำให้ Robot ของ Google นั้นเกิดความสับสนได้ว่าหน้าเว็บดังกล่าวนั้นโฟกัสไปที่ Keyword ใดกันแน่ และไม่ได้ไต่ Ranking แข่งกับ Keyword ที่ควรจะเป็น

2. จำนวนข้อความยาวเกินไป

หากเราเขียน เมตาแท็ก ยาวจนเกินไป จะส่งผลให้ในท้าย Title Tag และ Meta Description นั้นกลายเป็นจุดไข่ปลา (…) ซึ่งจะทำให้เนื้อหาที่เราต้องการจะแสดงให้เห็นไม่ครบถ้วนนั่นเอง

3. ใช้ Meta Tag ซ้ำกันทุกหน้า

การใช้ เมตาแท็ก แบบเดียวกันซ้ำกันในหลายๆ หน้า อาจทำให้ Robot นั้นเกิดความสับสนในการ Index ข้อมูลได้ ซึ่งทาง Google เองก็ได้ระบุว่าควรที่จะระบุ เมตาแท็ก ให้แตกต่างกันในแต่ละหน้าจะดีที่สุด

ถ้าไม่ทำ เมตาแท็ก จะเกิดอะไรขึ้น ?

เนื่องจาก เมตาแท็ก ทุกประเภท โดยเฉพาะ Meta Title และ Meta Description เป็นส่วนสำคัญมากที่จะช่วยให้ Robots ของ Google เข้าใจในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ แม้สุดท้ายแล้ว Google อาจเลือกหยิบจุดอื่นๆ ไปแสดงผล

แต่การที่ไม่ได้บอกกับ Robots หรือ Search Engine โดยการไม่ปรับ Meta Tags จะส่งผลโดยตรงต่อความเข้าใจของ Robots และผลกระทบที่ตามมาก็คือ เว็บไซต์ หรือ เว็บเพจของเราไม่ได้ถูก Google ให้ค่า ไม่สามารถแข่งขันอันดับกับอีกหลากหลายเว็บไซต์ได้ สุดท้ายก็ไม่ถูกมองเห็นจาก User และไม่เกิด ฺBrand Awareness หรือ Engagement ที่จะนำไปสู่ Conversion นั่นเอง

 

สรุป

Meta Tags(เมตาแท็ก) สำคัญต่อการทำ SEO และการเติบโตของเว็บไซต์รวมไปถึงธุรกิจของคุณ แต่อีกสิ่งที่เราอยากจะบอกให้ทราบก็คือ ยังไงก็ตามการทำ SEO ก็ยังต้องใช้ “เวลา” ในการแสดงผลพอสมควร และขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

ไม่ใช่ว่าปรับ เมตาแท็ก ให้ตรงสเป็คของ Google แล้วเว็บของเราจะติดอันดับต้นๆ ของหน้าการค้นหาทันที (ใช้เวลาพอสมควร) แต่การปรับปรุง เมตาแท็ก ให้มีประสิทธิภาพนั้นก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่จะทำให้เว็บไซต์ของไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!