CTR ย่อมาจาก Click Through Rate มีวิธีการง่ายๆในการเพิ่มค่าCTRยังไง

Click Through Rate(อัตราการคลิกผ่าน) คืออะไร? สำคัญต่อ SEO ยังไง? CTR ควรอยู่ที่เท่าไหร่? มีวิธีการหาค่ายังไง และหาจากเครื่องมือไหนที่ถูกต้องที่สุดของเว็บไซต์เรา อธิบายการเพิ่มค่าCTR ให้กับบทความของท่านผู้ที่ทำ Google Ads Facebook Ads ก็อ่านได้ เรามีแจกแจงให้ท่าน รวมถึงให้ข้อมูลความแตกต่างระหว่าง Click Through Rate และ Conversion Rate ครบที่สุดที่นี่ ที่เดียว

Click Through Rate(อัตราการคลิกผ่าน) คือ อัตราการคลิกต่อการเห็นโฆษณาโดยแสดงผลเป็นpercent ค่ายิ่งมากยิ่งดี เป็นเมตริกสำคัญสำหรับคนทำการตลาดออนไลน์ เช่น นักทำSEO นักทำแอด Social Media ตัวอื่นๆ (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)

CTR คืออะไร?

CTR หรือ Click Through Rate คือ เปอร์เซนต์ของผู้เข้าชมเว็บต่อการแสดงผลของเว็บ บ่งบอกถึงความน่าเข้าไปดูของพาดหัวโฆษณาหรือบทความ

หมายเหตุ : Organic CTR คือ ค่า Click Through Rate ที่มาจากการทำ SEO โดยเฉพาะ ไม่รวม Paid media อื่นๆ เช่น Google Ads , Facebook Ads ,TikTok Ads , Youtube Ads และ Social media ads อื่นๆ

สูตรคำนวณ CTR

สูตรของ CTR หรือ Click Through Rate คือ (Click/Impression)*100

การพาดหัวคอนเทนต์ หรือ ทำโฆษณาออนไลน์แล้ว CTR เพิ่ม ส่งผลให้ Traffic เพิ่ม ดังนั้นถ้า Traffic เพิ่ม ก็ย่อมส่งผลให้กิจการได้ยอดขายสินค้าและบริการมากขึ้น

CTR ควรอยู่ที่เท่าไร ?

Click-Through Rate(อัตราการคลิกผ่าน) สำหรับ Organic Traffic จะอยู่ที่ 6.5% ขั้นต่ำ โดย 10% กว่าถือว่ายอดเยี่ยม และมากกว่า 20% คือสุดยอดมาก (สนใจกด >> รับทำ SEO)

ค่าเฉลี่ย CTR โดยมาตรฐานของแต่ละแพลตฟอร์ม

ไม่มีค่าเฉลี่ยตายตัว โดยค่ามาตรฐานของแต่ละช่องทางเป็นดังนี้

โดยเราควรทำ A/B testing เพื่อเลือกการพาดหัวคอนเทนต์หรือลงโฆษณาให้ได้ค่า CTR เยอะๆ

CTR (Click Through Rate)สำคัญอย่างไร

1. วัดความน่าสนใจในโฆษณาแต่ละชิ้น

วิเคราะห์ได้ว่า บทความSEO คำโฆษณา มีผลน่าสนใจเท่าไหร่

2. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย

ถ้าโฆษณาที่กำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้มีค่า CTR สูง แปลว่าทำถูกกลุ่ม โดยเราต้องปรับโฆษณาให้ตรงใจและสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด (สนใจกด >> รับสอน SEO)

3. สำคัญต่อการเช็ก Quality Score

ค่าเมตริกนี้ใน Google Ads บอกว่า Keyword ที่ใช้ทำ SEM หรือ SEO นั้นมีคุณภาพมากแค่ไหนและตรงกับสิ่งที่userต้องการค้นหาหรือไม่ Quality Score จะมากขึ้นตาม CTR เราสามารถลง Google Ads ให้ได้อันดับที่ดีในราคาที่ต่ำได้ เพราะมีคุณภาพของ landing page มีมาก (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress)

ทำไม Organic CTR จึงเป็นผลลัพธ์ที่สำคัญ

สาเหตุที่ทำให้ Organic CTR เป็นเมตริกที่สำคัญ จะมีอยู่ 2 เหตุผลด้วยกัน คือ

  • 1. การมี Organic CTR ที่สูงจะทำให้มี Traffic เข้าเว็บไซต์มากขึ้น

ยิ่งถ้าคุณทำให้เว็บไซต์ติดอันดับบน Google ได้ดีจะมีส่วนช่วยเรียกยอด Traffic เข้ามายังเว็บไซต์เพิ่มขึ้นได้

เนื่องจากการติดอันดับบน Google ช่วยเพิ่มการมองเห็นให้คนเจอเว็บไซต์ของคุณมากขึ้น และถ้าคุณปรับปรุง On-Page SEO ได้ดี คนที่มองเห็นเว็บไซต์ของคุณก็จะมีโอกาสคลิกเข้ามาดูเนื้อหาเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

  • 2. Organic CTR เป็นเมตริกที่ระบุถึงความน่าสนใจของเนื้อหาที่คุณทำ

Organic CTR เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการทำ SEO เพราะมันสามารถบ่งบอกถึงความน่าสนใจของเนื้อหาที่ปรากฏบนหน้า SERP โดยถ้า Organic CTR สูง แสดงว่าเนื้อหาบนเว็บไซต์มีความน่าสนใจและเหมาะสมกับคำค้นหาของผู้ใช้ เนื่องจากสามารถจับ Search Intent ของผู้ใช้งานได้แบบอยู่หมัด และแน่นอนว่าจะสามารถเพิ่มโอกาสในการทำการขายได้จากสาเหตุนี้ด้วย

ค่า Organic CTR แบบไหนถึงดีต่อการทำ Organic Search สำหรับ SEO

ถ้าจะวัดว่า ควรได้ Organic CTR เท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าดี ต้องบอกว่าเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการอุตสาหกรรมที่คุณกำลังทำอยู่ด้วยว่า ใช้ Keyword แบบใด มี Search Intent แบบไหน แต่โดยเฉลี่ยแล้วเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะทำ Organic CTR เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3-5% (อ้างอิงข้อมูลจาก Databox) แต่ถ้าคุณทำอันดับได้สูงจนติดอันดับท็อป 3 ยังไง Organic CTR ของคุณก็มีโอกาสที่จะมี % เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

CTR ส่งผลเสียต่อธุรกิจในกรณีใด

หากพูดถึงค่า CTR ในการทำ Google Ads นั้น คุณต้องจำไว้เลยว่าหาก Keyword ที่คุณเลือกนำมาใช้หรือเนื้อหาคอนเทนต์ในเว็บไซต์นั้นไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ หรือไม่ได้เป็น Keyword ที่นำไปสู่การสร้างยอดขาย สร้างโอกาสในการขาย (Conversion)

ต่อให้ได้ อัตราการคลิกผ่าน (Click Through Rate) ที่สูงก็จะไม่ได้ผลลัพธ์อะไรเลยต่อธุรกิจ ทั้งที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น

ดังนั้นก่อนที่จะโฟกัสที่ตัวเลขของค่า CTR คุณต้องโฟกัสกับการทำโฆษณา, การออกแบบเนื้อหาในแอด หรือการตกแต่งเว็บไซต์ให้น่าดึงดูดและใช้งานง่ายเสียก่อน เพราะถ้าลูกค้าเกิดประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของคุณหลังจากที่กดเข้ามา ก็จะเป็นเรื่องง่ายที่จะเปลี่ยนพวกเขาให้กลายเป็นลูกค้าต่อไป

วิธีตรวจสอบค่า CTR ของแต่ละหน้าเว็บไซต์ของเรา ทำยังไง?

สามารถใช้ Google Search Console ในการตรวจสอบ โดยค่า CTR จะแสดงในหน้า ผลการปฏิบัติงาน โดยมีให้เลือก 3 การแสดงผล คือ

  1. ประเภทการค้นหา : เว็บ/รูปภาพ/วีดีโอ/ข่าว โดยให้มีการเปรียบเทียบเป็นคู่ๆ
  2. วันที่แสดงผล : วันที่ล่าสุด/7วันล่าสุด/28วันล่าสุด/3-6-12-16เดือนล่าสุด/กำหนดเอง โดยมีให้เลือกการเปรียบเทียบเพิ่มเติม
  3. ปุ่ม (+ใหม่)
  • ข้อความค้นหา
  • เลือกเฉพาะหน้า
  • ประเทศที่ค้นหา
  • อุปกรณ์ที่ใช้ค้นหา

วิธีการดู CTR เฉลี่ยของแต่ละหน้าเว็บใน Search Console เป็นเท่าใดทำดังนี้ :

  1. เลือกประเภทของการค้นหา
  2. เลือกวันที่ต้องการให้แสดงผล
  3. กดปุ่ม +ใหม่ แล้วเลือก ข้อความค้นหา หรือ ข้อความค้นหา
  4. จากนั้นกดเมตริก CTR เฉลี่ย อาจจะดูเปรียบเทียบไปกับเมตริกอื่นๆก็ได้ เช่น การคลิกทั้งหมด/จำนวนการแสดงผล/อันดับเฉลี่ย

ตัวอย่างการวิเคราะห์ค่า CTR สำหรับโฆษณา

เรามาวิเคราะห์ค่า Click Through Rate สำหรับการแสดงผลแต่ละ platform ต่างๆ เพื่อให้เข้าใจคำว่า CTR มากขึ้น 

1. ค่า CTR ในการโฆษณา Facebook Ads

ให้คุณเข้าไปเช็กดูที่หลังบ้าน Facebook Business Manager แล้วดูค่าเฉลี่ย CTR เปรียบเทียบกับแอดทุกตัวที่กำลังรันอยู่ ถ้าตัวไหนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ให้มองว่าแอดตัวนั้นแหละที่เป็นตัวที่ไม่ดีและต้องรีบปรับปรุง

จากนั้นมาทำการ Optimize CTR ให้ดีขึ้น เช่น ส่วนของ caption ต่างๆ การจัดอาร์ทเวิร์ค 

  • การปรับ Copywriting – เขียนแคปชั่นเล่นกับกระแส social media หรือการยกข้อดีมาพูดตั้งแต่แรกๆ
  • การปรับรูปภาพ – ให้รูปภาพเด่นชัด ดึงดูด ข้อมูลบรรยายใต้ภาพครบถ้วน
  • การปรับ Call To Action (CTA) – มีคำเชิญชวนที่ดี ปุ่มใหญ่พอควร link ไม่ซ้อนกันให้กดยาก

2. ค่า CTR ในการโฆษณา Google Ads

การใส่ Keyword ใน Text Ads จะช่วยให้ค่า CTR สูงขึ้นโดยทำร่วมกับการเขียนโฆษณาให้น่ากดเข้าไป โดยการจะขึ้นอันดับ Google ads ดีๆขึ้นกับ (สนใจกด >> รับทำ Google Ads) 

  1. Quality Score (คะแนนคุณภาพของ Ads ที่เราโฆษณาอยู่)
  2. CPC Bid (ราคาต่อคลิก)

จากสถิติพบว่าอันดับ 1 ได้ค่า CTR มากกว่าอันดับ 2 อยู่ 2 เท่า ซึ่งการทำโฆษณาให้ตอบโจทย์ search intent แก้ปัญหาให้ผู้ค้นข้อมูลคือสิ่งสำคัญสุดในการทำคอนเทนต์ 

3. ค่า CTR ในการโฆษณา Email Marketing

การทำ Email Marketing ที่ดีนั้นต้องเริ่มจากการที่มีคนเปิดดูอีเมลของเราก่อน โดยการคิดค่า CTR สำหรับ Email Marketing อ้างอิงตามจำนวนของEmailที่เราได้ส่งให้

สูตรคือ Email CTR = (Click/Delivered Email) x 100

หรือ สูตรอัตราการคลิกผ่าน = (Emailที่เปิด/อีเมลที่ส่ง) x 100

ถ้าพบว่ามีอัตราที่ต่ำไปหรืออยากปรับปรุงให้ดีขึ้น เราแนะนำว่าให้ลองปรับเปลี่ยนการตั้งชื่อ Title ของอีเมลรวมถึงคำอธิบาย (Description) ของอีเมลฉบับนั้นๆด้วย ต่อจากนั้น content ภายในก็ต้องน่าอ่าน กระชับ ควรมี CTA ภายใน email เพื่อประเมินผลว่ามีการอ่านจริง 

4. ค่า CTR สำหรับ SEO (Organic CTR)

เราใช้ google search console อ่านค่า CTR ของการทำ SEO โดยดูได้เป็น keyword หรือ แยกแต่ละหน้า การที่ CTR สูงคือมีพาดหัวที่ดีน่าเข้าไปอ่าน ซึ่งเราต้องปรับ Title กับ Meta description ให้เหมาะสม 

จากสถิติเว็บที่อยู่ที่ 1 จะมีค่า CTR สูงกว่าอันดับ 2 อยู่ 2 เท่า นั่นคือได้ traffic เยอะกว่ามากๆ โดยการได้ Traffic เยอะจะมีโอกาสในการได้ conversion , lead หรือ การทำ retargeting ได้มาก 

วิธีเพิ่มค่า Organic CTR ให้กับเว็บไซต์

สำหรับใครที่รู้สึกว่าทำเว็บไซต์มาแล้ว Organic CTR ยังต่ำ ต้องการเพิ่มยอด Organic CTR ให้มากยิ่งขึ้น เรารวบรวมวิธีที่จะช่วยกระตุ้นให้ยอด Organic CTR มาฝากกัน 10 วิธี ดังนี้ (สนใจกด >> รับดูแลเว็บไซต์ wordpress)

1. ทำ Keyword Research

การทำ คีย์เวิร์ดรีเสิร์ช ช่วยเพิ่ม Organic CTR ได้ถ้ามี volume การค้นหามากพอ โดยหา Keyword Research โดยดูจาก 3 เรื่องนี้เป็นหลัก คือ

  • แข่งขันได้
  • เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำ
  • ที่มีคนใช้งานประมาณหนึ่ง

2. เขียน Title Tag ที่น่าสนใจ

ในการเขียน Title Tag ควรใช้คำที่สะดุดตาและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ มี Keyword ที่ใช้ในหน้านั้นๆ รวมถึงมีความยาวที่ไม่โดน Google ตัดตก (ลองใช้เครื่องมือนี้ในการตรวจสอบดู >> https://www.highervisibility.com/seo/tools/serp-snippet-optimizer/old/)

ส่วนเทคนิคการเขียนนั้น เราจะขอมอบเทคนิคเด็ดๆ ที่ใช้บ่อยๆ ให้ดูเป็นตัวอย่าง เช่น

  • ใช้วงเล็บ : HubSpot ทำการศึกษาโดยพบว่าการเขียน Title Tag ที่มีวงเล็บจะมีจำนวนคลิกเพิ่มขึ้นเกือบ 40%
  • ใช้ตัวเลข : เพราะจากการวิจัยของ Conductor ได้ข้อสรุปว่าผู้อ่านกว่า 36% ชอบชื่อบทความที่มีตัวเลขอยู่มากที่สุด
  • ใช้คำที่น่าสนใจ : เช่น ฟรี! สุดยอด หายาก ครั้งแรก ใส่ปี เพื่อระบุความสดใหม่ของเนื้อหา ฯลฯ เพื่อกระตุ้นความสนใจของคนอ่าน

3. เขียน Meta Description ให้ดีต่อ SEO

Meta Description คือ คำอธิบายหน้าเว็บไซต์ที่อยู่ใต้ Title Tag ซึ่งวิธีการเขียนคำอธิบายนี้ให้ดีก็ควรที่จะเขียนไม่ให้ยาวเกินจนโดนตัดตก (ประมาณ 150-170 ตัวอักษร) มี Keyword ที่ใช้อยู่ในหน้าเพจนั้นๆ และควรที่จะเขียนให้น่าสนใจ เช่น เน้นการใช้คำที่ชวนให้รู้สึกว่าไม่ควรพลาด (อย่าช้า ห้ามพลาด), หากรู้แล้วว่าผู้อ่านต้องการอะไร หรือมีปัญหาอะไร ให้เขียนเพื่อบอกว่าหน้าเว็บไซต์นี้จะให้อะไรกับพวกเขา เป็นต้น

4. ใช้ Rich Snippets, Sitelinks และ Featured Snippets ช่วยเพิ่มโอกาสในการคลิกของผู้ใช้

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับฟีเจอร์ทั้ง 3 ตัวนี้จาก Google กันก่อนว่าคืออะไร และทำไมต้องทำให้ติดในฟีเจอร์เหล่านี้ด้วยจึงจะช่วยเพิ่ม Organic CTR โดยเริ่มต้นกันเลยที่

Rich Snippets คือ อันดับ 0 หรือ Zero Position บนหน้าผลลัพธ์การค้นหา เกิดจากการที่ Google คัดเลือกเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลได้ตรงกับสิ่งที่คนทำการค้นหามากที่สุด ส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบการ์ดข้อมูล การตอบคำถามหรืออื่นๆ

Sitelinks คือ ฟีเจอร์ของ Google ที่ทำให้ลิงก์ภายในเว็บไซต์ปรากฏขึ้นมาใต้ Title และ Description และสามารถนำพาคนที่คลิกลิงก์เหล่านี้ไปยังหน้าที่ต้องการได้ทันที

Featured Snippets คือ ฟีเจอร์ของ Google ที่จะดึงเอาตัวอย่างข้อมูลหรือพวกประโยคสำคัญๆ มาแสดงผลให้ดูในหลายรูปแบบ เช่น ขั้นตอน บอกนิยาม ตาราง รายการ ฯลฯ ทำให้เว็บไซต์นั้นดูน่าคลิกและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ซึ่งการที่เราทำหน้าเว็บไซต์ให้ติดบนฟีเจอร์เหล่านี้ที่ทำให้ผลลัพธ์การค้นหาดูพิเศษและน่าสนใจมากขึ้น ย่อมส่งผลให้คนอยากที่จะคลิกเข้ามาดูเนื้อหาตัวเต็มในเว็บไซต์มากขึ้น ทำให้ Organic CTR เพิ่มสูงตามมาด้วยนั่นเอง

5. ใช้ Heading Tags อย่างถูกต้อง เพื่อเพิ่มความชัดเจนของเนื้อหา

Heading Tags คือ สิ่งที่เว็บไซต์ใช้เพื่อกำหนดหัวข้อต่างๆ ของหน้าเพจว่าอะไรคือหัวข้อหลัก หัวข้อรอง เพื่อให้ Google มองเห็นโครงสร้างของหน้านั้นๆ ได้มากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้จะส่งผลต่อการทำ SEO ด้วยเช่นเดียวกันถ้าหากเรียงไม่ถูกต้อง

ซึ่งวิธีการเรียง Heading Tags ที่ดี จะเรียงจากหัวข้อใหญ่อย่าง H1 ไปหา H2 H3 H4,… ไปเรื่อยๆ ตามลำดับความสำคัญ ไม่ควรเขียนกระโดดไปมา และ H1 จะมีได้เพียงอันเดียวเท่านั้น

6. ทำหัวข้อและเนื้อหาให้ตรงกับ Search Intent ของผู้คน

ก่อนที่จะทำการเขียนเนื้อหาออกมา ควรทำการศึกษาก่อนว่า Keyword ที่ใช้คนค้นหาเพื่ออะไร เช่น เพื่อหาความรู้, เพื่อหาวิธี, เพื่อซื้อ ฯลฯ เพราะ Keyword นั้นมี Search Intent ที่แตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น

  1. Keyword ประเภท Naviganional ที่คนค้นหาเพื่อนำทางไปหาอะไรบางอย่าง เช่น คนค้นหาคำว่า Subaru Wedsite แสดงว่า เขาต้องการที่จะไปยังเว็บไซต์ดังกล่าว หากทำเนื้อหาบทความก็ควรที่จะเกี่ยวข้องและนำทางพาไปยังเว็บไซต์ดังกล่าว
  2. Keyword ประเภท Informational ที่คนค้นหาเพื่อรับรู้ข้อมูล เช่น คนค้นหาคำว่า What’s a good car? คอนเทนต์ที่ออกมาก็ควรที่จะให้ข้อมูลและตอบคำถามนี้ที่คนค้นหา
  3. Keyword ประเภท Commercial Investigation ที่คนค้นหาเพื่อการเปรียบเทียบหรือตัดสินใจ เช่น Subaru VS Nissan แสดงว่าคนกำลังเปรียบเทียบรถ 2 แบบนี้ คอนเทนต์ก็ควรออกมาในเชิ่งเปรียบเทียบตามที่คนอยากรู้
  4. Keyword ประเภท Transactional ที่คนค้นหาเพื่อต้องการซื้อขาย เช่น Buy Subaru Forester แสดงว่าคนต้องการที่จะซื้อรถรุ่นนี้ คอนเทนต์ก็ควรที่จะเป็นหน้าซื้อขายสินค้ารถรุ่นนี้

7. เพิ่มภาพและวิดีโอ

การเพิ่มภาพหรือวิดีโอลงไปในหน้าเว็บไซต์ นอกจากจะช่วยทำให้หน้านั้นๆ ดูน่าสนใจและมีเนื้อหาที่ครอบคลุมมากขึ้นแล้ว ยังเป็นที่ถูกอกถูกใจของ Google อีกด้วย เพราะ Google ชอบหน้าเว็บไซต์ที่มี Media หลากหลาย

แต่ทั้งนี้ ก็ควรที่จะรู้จักการ Optimize ให้ภาพและวิดีโอเหล่านี้มีโอกาสทำอันดับบน Google เพิ่มขึ้นด้วย นั่นคือ การใส่ ALT ให้กับภาพเพิ่มเติมนั่นเอง

8. ทำการ Optimize รูปภาพ

หากคุณใช้รูปภาพที่มีขนาดใหญ่ ย่อมส่งผลให้เว็บไซต์โหลดช้า แน่นอนว่ากระทบกับ User Experience เพราะคงไม่มีใครอยากรอใช้งานเว็บไซต์นานๆ ดังนั้น ทางที่ดีควรที่จะเพิ่มความเร็วในการโหลดให้เว็บไซต์ด้วยปรับขนาดภาพให้เหมาะสม เช่น เปลี่ยนสกุลไฟล์ภาพจาก .Jpeg, .png เป็น .webp เป็นต้น

9. ทำ Internal Link ในหน้าเว็บไซต์

การสร้าง Internal Link จะช่วยให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงหน้าอื่นๆ ของเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ Google มองเห็นความเชื่อมโยงของหน้าเว็บไซต์ต่างๆ ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วย ส่วนวิธีการทำ Internal Link ที่ดีจะมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน ดังนี้

  • เขียนให้ทุกหน้ามี Internal Link เชื่อมไปยังบทความอื่น
  • เขียนคำเกริ่นที่ชวนให้อยากคลิกลิงก์มากขึ้น เช่น อธิบายว่าลิงก์นี้จะนำพาไปสู่เนื้อหาแบบไหน
  • ทำ Internal Link ให้เด่นชัด เช่น ทำเป็นปุ่มกด หรือทำตัวหนังสือให้มีสี เพื่อที่คนจะได้รู้ว่าสามารถคลิกลิงก์ได้
  • ควรทำลิงก์ที่คลิกไปแบบ Same window หรือเปิดในหน้าต่างเดียวกัน ไม่ต้องกดเป็น New Tab
  • ใช้คำที่เกี่ยวข้องของ Keyword หลัก มาเขียนเป็น Link text
  • อย่าใช้ Internal Link ใน Keyword เดียวกันพาไปหลายๆ หน้า
  • คำที่เป็น Focus Keyword ในหน้านั้นๆ ไม่ควรทำ Internal Link ใส่

10. ปรับแต่ง URL

แนะนำให้ทำ URL Friendly ให้กับเว็บไซต์ ด้วยการทำให้ URL สั้นกระชับและสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน รวมถึงควรมีคำ Keyword ที่ใช้อยู่ใน URL ด้วย

Click Through Rate ต่างจาก Conversion Rate อย่างไร

ค่า CTR สูง ไม่ได้หมายความว่าจะได้ CV ที่สูงตามไปด้วย เพราะ Click Through Rate วัดค่าจำนวนคนที่เห็นและ click เข้าเว็บ ไม่ได้วัดการกระทำใดๆที่วางแผนไว้ในเว็บ เช่น ลงทะเบียน สั่งซื้อสินค้า  หรืออะไรก็ตามที่เราวางให้เป็น conversion ของแคมเปญนั้นๆ จึงอาจกล่าวได้ว่าค่าร้อยละของ Conversion Rate ที่สูงนั้นค่อนข้างสำคัญในการวัดผลความสำเร็จของแคมเปญทั้งหมดมากกว่านั่นเอง 

แต่อย่าลืมว่า Click Through Rate ก็เป็นส่วนสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะการจะมี CTR ที่ดีนั้น จะส่งผลต่อ อันดับ(Rank) และ Quality Score ให้มีคะแนนสูงขึ้นด้วย ซึ่งหมายความว่านี่คือสะพานด่านแรกที่พาเราไปปิดการขายหรือไปสู่ conversion ที่แท้จริงได้นั่นเอง

 

สรุป

การเพิ่ม CTR หรือ Click Through Rate(อัตราการคลิกผ่าน) สามารถช่วยเพิ่มยอดขายได้ หลักคิดง่ายๆเลยคือ

  • ถ้า CTR เพิ่ม = Traffic เพิ่ม
  • ถ้า Traffic เพิ่ม = ยอดขายเพิ่ม

แนวทางการเพิ่ม CTR กันทีละ Platform 3 แพลตฟอร์ม หลักๆคือ

  1. Facebook Ads
  2. Google Ads
  3. SEO

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!