อูเบอร์ซักเจส คือ เครื่องมือที่นักการตลาด นักทำSEO รวมถึงผู้ดูแลพัฒนาเว็บไซต์พลาดไม่ได้ การใช้ ubersuggest แบ่งออกได้กี่ส่วน ข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง คอนเทนต์นี้อัพเดทมาให้ครบ ตั้งแต่การติดตั้ง ubersuggest จนถึงวิธีใช้งาน จนท่านสามารถรับงานได้เองเลย
ก่อนจะเริ่มต้นทำ SEO (Search Engine Optimization) ให้เว็บไซต์ของเรา เจ้าของธุรกิจอย่างเราก็ต้องรู้จักลูกค้า หรือ กลุ่มเป้าหมายว่าพวกเขาเป็นใครใช่ไหมหล่ะ ทำไมพวกเขาถึงจะสนใจสินค้า/บริการของเรา พวกเขาอยากรู้อะไรจากเว็บไซต์เรา แม้กระทั่งเว็บไซต์ของเราช่วยแก้ปัญหากลุ่มเป้าหมายอย่างไรได้บ้าง
ดังนั้นการที่มี keyword จะเป็นตัวช่วยให้กลุ่มเป้าหมายได้ค้นหา คำที่แสดงออกถึงปัญหาต่างๆ ที่พวกเขาต้องการและสนใจ จากนั้นถึงนำไป Search ที่ Google
ซึ่งเป้าหมายของการทำ SEO จริง ๆ แล้วนั้น นอกจากจะทำให้เว็บไซต์ธุรกิจของเราติดอันดับหน้าแรกของ Google ผลลัพธ์จากการติดอันดับนั้นก็คือ การเพิ่มยอดขาย จนมีผู้เข้าชมหลั่งใหลเข้ามา และเพิ่มลูกค้าให้กับธุรกิจของเรา (สนใจกด >> รับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)
แล้วจะทำอย่างไรให้ หา keyword ที่ดีและถูกจุด เราจึงจะมาแนะนำโปรแกรมดีๆ ใช้งานง่ายๆ ที่จะช่วยตอบโจทย์เจ้าของธุรกิจหรือนักการตลาดมือใหม่ที่กำลังเริ่มต้นหา keyword
หมายเหตุ : การใช้เครื่องมือ Ubersuggest สามารถงานใช้ได้แบบฟรีๆ โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายเงิน (แต่จำกัดการใช้อยู่ที่ 5 ครั้งต่อวันสำหรับการใช้แบบฟรี)
Ubersuggest คืออะไร?
Ubersuggest คือ เครื่องมือ(tool)ไว้หา Keyword หรือคำค้นหาพร้อมปริมาณที่ค้นหาในแต่ละเดือนเพื่อทำบทความ SEO มีแบบใช้งานฟรีและเสียเงิน มี feature การใช้งานมากมาย เช่น การวิเคราะห์ Traffic , การวิเคราะห์หน้าเพจต่างๆ เพื่อช่วยปรับปรุงให้การทำ SEO มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หมายเหตุ : Ubersuggest อ่านว่า อูเบอร์ซักเจส
ข้อดีของโปรแกรม Ubersuggest
- วิเคราะห์เพจบนเว็บพร้อมบอกวิธีแก้ไข SEO
- ดู Backlink ได้ทุกหน้า ดู Traffic ของทุกเว็บได้
- รองรับ Keyword ไทย
- ใช้งานง่าย
- ใช้บัญชี gmail ได้
- มีแบบฟรีจำกัดคีย์เวิร์ดต่อวันให้ทดลอง
ข้อเสียของโปรแกรม Ubersuggest
- ไม่มีข้อมูลเชิงลึก
- ดูประวัติค้นหาคีย์เวิร์ดย้อนหลังไม่ได้ ไม่สามารถทำ Keyword lists ที่ต้องการได้
- ค้นหาคีย์เวิร์ดไม่แม่นยำเท่าที่ควร
สามารถเข้าใช้งานโปรแกรม Ubersuggest ได้ที่นี่ กด >> ทดลองใช้งานฟรี
โปรแกรม Ubersuggest ราคาเท่าไหร่
โปรแกรม Ubersuggest แบบฟรีก็มีให้ลองใช้นะ แต่ถ้าอยากใช้งานมากๆและใช้ได้ทุกฟังก์ชั่นนั้นจะมีการเสียค่าบริการอยู่ 2 แบบ คือ
- เสียเงินแบบรายเดือน : เริ่มต้นที่ $12USD/month (คิดเป็นเงินไทย ประมาณ 420บาท/เดือน) โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ Individual($12USD/month) , Business($20USD/month) , Enterprise/Agency($40USD/month)
- เสียครั้งเดียวตลอดชีพ : เริ่มต้นที่ $12USD/month (คิดเป็นเงินไทย ประมาณ 4,600 บาท) โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ Individual($120USD/month) , Business($200USD/month) , Enterprise/Agency($400USD/month)
ดูรายละเอียดราคาเพิ่มเติมที่นี้ กด >> รายละเอียดราคา
หมายเหตุ : Individual จะใช้ได้ 1 เว็บไซต์ , Business จะใช้ได้ 2-7 เว็บไซต์ , Enterprise/Agency จะใช้ได้ 8-15 เว็บไซต์
โปรแกรม Ubersuggest แบ่งออกได้กี่ส่วน
การใช้โปรแกรม Ubersuggest แบ่งออกได้ 6 ส่วนหลักๆ ได้แก่
- Dashboard แสดงภาพรวมเว็บไซต์
- Site Audit หรือเครื่องมือวิเคราะห์และประเมินคุณภาพเว็บไซต์เพื่อการทำ SEO
- Keyword research วิเคราะห์คีย์เวิร์ด
- Traffic Estimation หรือเครื่องมือวิเคราะห์ Traffic
- ตรวจสอบ Backlink
- ทำ LAB
1. Dashboard แสดงภาพรวมเว็บไซต์
แดชบอร์ดจะแสดงภาพรวมของ SEO Performance โดยรวม เช่น
- Backlink ได้มาเท่าไหร่ เวลาใด
- Estimated Traffic Value แจ้งว่า Traffic ของเว็บไซต์มีค่าเท่าไหร่เป็นสกุล US dollar
- Keyword Ranking (อันดับของคีย์เวิร์ด) แบ่งเป็น Top3, Top10, Top100 และ Not Ranking
- Estimate Organic Traffic แจ้งเป็นรายเดือนโดยเอาข้อมูลมาจาก Google Analytics
Rank Tracking
รายงานอันดับรายคีย์เวิร์ดและภาพรวม แจ้งว่าอันดับไหนดีขึ้นอันไหนแย่ลง ด้านบนจะสรุป Average Position โดยรวมของทั้งเว็บไซต์ว่าอยู่ที่อันดับเฉลี่ยเท่าไหร่ มี Keyword ที่ติดอันดับอยู่บ้าง โดยแบ่งเป็น Top3, Top10, Top100 และ Not Ranking
โดยแยกราย Keyword จะมี search volume ในแต่ละคีย์เวิร์ด ความยากง่าย และอันดับที่เราทำได้ว่าอยู่ที่เท่าไหร่
SEO Opportunities
จะแจ้งเราว่าเว็บหน้าไหนสามารถใช้คีย์เวิร์ดไหนทำอันดับได้ ใช้สำหรับคนทำ SEO ที่ต้องการ optimize หน้าเว็บต่างๆ
2. Site Audit หรือเครื่องมือวิเคราะห์และประเมินคุณภาพเว็บไซต์เพื่อการทำ SEO
feature site audit จะวิเคราะห์แบบละเอียด ชี้วิธีแก้ปัญหาหน้าต่อหน้า และไม่เพียงเท่านั้น อูเบอร์ซักเจส ยังมีคำแนะนำ สำหรับปรับปรุงSEO ให้มีคุณภาพมากขึ้นอีกด้วย
วิธีใช้ Site Audit วิเคราะห์เว็บไซต์
- ใส่เว็บโดเมนหรือURLที่ต้องกำรวิเคราะห์คุณภาพ SEO
- ใส่ประเทศที่ต้องการดูคุณภาพ SEO ของเว็บโดเมนนั้นๆ
- กด “Search”
การอ่านค่า Site Audit บนเว็บไซต์
มีบอกคุณภาพ ภาพรวมของ SEO ว่าดีไม่ดี มีกี่หน้าที่ควรแก้ไข โดยทางรูปกล่องที่อยู่ทางขวาจะสรุป หน้าที่ควรปรับปรุง(Warnings) หน้าที่ต้องรีบแก้ไข(Critical Errors) และแนะนำเพิ่มเติม(Recommendation)
โดยเราสามารถคลิก “View All” ไปดูปัญหาพร้อมคำแนะนำแบบหน้าเพจต่อหน้าเพจได้เลยส่วนค่าอื่นๆ ก็ไม่ยาก
- Backlinks คือ link ที่เว็บอื่นส่งมาให้เว็บเรา
- Organic Keywords คือ คีย์เวิร์ดที่ไม่ได้ยิงแอดมินที่ติดอันดับบนหน้าค้นหา เหมือนกับในหน้า Traffic Analyzer
- Organic Monthly Traffic คือ ยอดคนเข้าเว็บไซต์รายเดือน หรือ จำนวนTrafficรายเดือน
- On-Page SEO Score คือ การให้คะแนนการปรับหน้าOn-Pageตามเกณฑ์กูเกิ้ล
Site audit ยังบอก site speed หรือความเร็วเว็บไซต์แบบแยกออกมาได้อย่างละเอียดเลยว่า บนหน้า Desktop ใช้เวลาโหลดเท่าไร แล้วแบบ Mobile ต้องรอนานแค่ไหน ซึ่งสะดวกมากๆ ครบสุดๆ (สนใจกด >> รับทำเว็บไซต์ wordpress)
สำหรับการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงการทำ SEO เพราะเรื่องความเร็วเว็บไซต์ก็เป็นอีกเรื่องที่ทำให้ผู้คนอยู่บนหน้าเพจของเราได้นานมากยิ่งขึ้น และส่งผลต่อ Authority เว็บไซต์ และอันดับของการทำ SEO
สรุปหน้าที่ site audit
บอกคะแนนของ On-Page SEO เช่น ไม่มี heading / duplicate content , จำนวน Backlink , บอกปัญหาเว็บไซต์และการแก้ไข เช่น link เสียหรือพัง มีการให้คะแนนต่างๆ ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีหรือยัง
ส่วนสุดท้ายจะเป็น Site Speed ที่จะบอกว่าเว็บไซต์มีความเร็วที่ดีหรือไม่ ทั้งระยะเวลาที่ใช้ในการโหลด การตอบสนองต่อการใช้งาน และการแสดงผลในด้าน Layout
3. Keyword research วิเคราะห์คีย์เวิร์ด
ข้อมูลที่ อูเบอร์ซํกเจส นำมาแสดง นั้น จะแบ่งเป็น 6 ส่วนด้วยกัน ตามฟังก์ชันการใช้งาน ตามข้อมูลที่แสดง และเราจะมาแนะนำทั้ง 6 feature หลักกันเลยทีเดียว ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่นักทำSEOใช้งานบ่อยมากๆ ได้แก่
- Keyword Overview
- Keyword Ideas
- Keyword Visualizations
- Keyword by Traffic
- Similar Websites
- Content Ideas
featureเด่นๆตัวแรก คือ Keyword research tool ไว้ใช้สำหรับให้เราค้นหา Keyword เพื่อตรวจสอบดูว่าคำหลักที่เราต้องการค้นหามีผู้คนค้นหามากน้อยต่อเดือนแค่ไหน รวมทั้งดูค่ำ KD : Keyword difficulty ว่าการแข่งขันของคำนั้นๆ สูงหรือไม่
1. เมนู Keyword Overview
วิธีค้นหา Keyword
- ใส่ คีย์เวิร์ดที่ต้องการหาข้อมูล
- เลือกประเทศ(ภูมิภาค) จากนั้นกดค้นหา(search)
ค่าที่แสดงทั้งหมดบนโปรแกรม มีดังนี้
- Search Volume คือ ปริมาณการค้นหาต่อเดือน โดยจะแบ่งเป็นน้อย (Low) หรือมาก(High)
- SEO Difficulty (SD) คือ ค่าที่แสดงการแข่งขันของ คีย์เวิร์ดแบบ organic ว่ายากหรือง่าย
- Paid Difficulty คือ การแข่งขันของคีย์เวิร์ดแบบการลง google ads ว่าง่ายหรือยาก
- Cost per click (CPC) คือ ราคาต่อ click ของการลง google ads
- Mobile Volume / Desktop Volume กราฟแสดงผล Search Volume ในแต่ละเดือน ซึ่งกราฟจะถูกแบ่งออกมาเป็น 2 เส้น ที่แบ่งระหว่างจำนวนการค้นหาผ่านmobile ส่วนอีกเส้นหนึ่งก็คือจำนวนการค้นหาผ่านcomputer
- Click on Search Result คือ จำนวนการคลิกที่เกิดขึ้น แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ คนไม่ click , คน click ผ่าน ads , คน click ผ่าน SEO
- Searchers’ Age Range คือ สัดส่วนของคนที่ทำการค้นหาแบ่งตามช่วงอายุ
2. เมนู Keyword Ideas
feature แสดง Keyword ที่ใกล้เคียงกับ ตีย์เวิร์ดที่เราค้นหาเพื่อเป็น idea ทดแทนคำคำนั้น หรือใช้คำไอเดียนั้นเป็นคำที่ใส่เป็น related keyword ก็ได้ (สนใจกด >> สอนทำเว็บไซต์ wordpress)
มีการแสดง จำนวน backlink จำนวนคนชมเข้าชมเว็บไซต์ ค่า Domain Score (ความแข็งแกร่งของเว็บไซต์) และยอด share บน social media
3. เมนู Keyword Visualizations
เป็น feature แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของ related keyword (ไม่รองรับภาษาไทย) โดยแสดงผลเป็นวงกลมของ Topic และ คีย์เวิร์ดต่างๆมาแสดงโดยแตกต่างจาก Cluster ที่เป็นคำถามที่คนนิยมพิมพ์ค้นหากัน เช่น อะไร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไง ฯลฯ
4. เมนู Keyword by Traffic
feature ค้นหา Keyword จาก domain หรือ URL ของเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อเป็นแนวคิดคีย์เวิร์ดในการเขียนคอนเทนต์บทความ SEO โดยแต่ละหน้าอาจมีหลาย Keyword ที่แสดงผล
5. เมนู Content Ideas
ให้ idea ในการคิด Topic content และดูได้ว่ามีการ share ไป Facebook หรือ Pinterest เท่าไหร่ เราจะรู้ว่าคนชอบหัวข้อแนวไหน และรู้ว่าหน้าเพจมี Keyword ที่คนใช้หาเพื่อเจอหน้านั้น
6. เมนู Similar Website
วิเคราะห์เว็บไซต์ที่ทำธุรกิจคล้ายๆกันว่าใช้คีย์เวิร์ดอะไร บอก backlink และ traffic ทำให้เราสามารถหยิบเอา keyword ไปใช้ต่อได้
4. Traffic Estimation หรือเครื่องมือวิเคราะห์ Traffic
Traffic Estimation คือ เครื่องมือที่เราเอาไว้ใช้ดูว่าเว็บไซต์มียอดคนเข้าถึงเท่าไหร่ (ซึ่งยอดนี้ส่งผลต่อ ค่า Authority ของเว็บไซต์ที่ทำให้เว็บไซต์เรามีพลังในการทำ SEO แข็งแกร่งขึ้น) (สนใจกด >> รับทำเว็บไซต์ E-Commerce)
Traffic Estimatetion จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. Traffic Overview
เป็น feature ที่บอก traffic ของเว็บไซต์นั้นๆ มีติด keyword โดยรวมเท่าไหร่ มี backlink เท่าไหร่ มี Domain Authority เท่าไหร่ โดยแสดงออกในรูปของกราฟและตัวเลขที่เข้าใจง่าย
2. Top pages by traffic
a. SEO Keyword Ranking
เป็นการสรุปอันดับของคีย์เวิร์ดในแต่ละเดือนว่าเว็บเราติดอันดับ keyword ใดบ้าง
b. Top SEO Pages
สรุปยอดผู้เข้าชมเว็บของหน้าที่ได้อันดับที่ดีสุด
c. SEO Keywords
สรุปคนเข้าชมเว็บ แจ้งว่าเราติดคีย์เวิร์ดไหนบ้างในเว็บ แต่ละ keyword ได้ยอด volume เท่าไหร่ ได้ตำแหน่งอะไร
วิธีใช้ Traffic Overview
- ใส่ URL หรือชื่อ Domain ของเว็บที่จะดู Traffic
- เลือกประเทศ
- กดค้นหา
การอ่านค่า Traffic บนเว็บไซต์
สามารถดู keyword ของเว็บคู่แข่งหรือบทความที่เราสนใจว่ามีคีย์เวิร์ดอะไรบ้าง เพื่อนำมาทำคอนเทนต์บทความ ได้เรื่องที่จะเขียนเนื้อหาได้หลากหลาย
Traffic Estimation เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และทำSEOโดยจะแสดงค่าหลักๆ ดังนี้
- SEO Keywords : สืบ keyword จาก URL ต่างๆ เพื่อดู traffic และตำแหน่งของคีย์เวิร์ดนั้นๆในแต่ละหน้าเพจ
- Top SEO Pages : แจ้งว่า keyword นั้นเว็บไหนที่มีคนเข้าชมมากสุด
- SEO Keyword Ranking แสดงอันดับของคีย์เวิร์ดและจำนวนที่ติดอันดับ แยกตามสีต่างๆ สีเขียว = ติดหน้า 1 – 3 ; สีเหลือง = ติดหน้า 4 – 10 ; สีส้ม = ติดหน้า 11 – 50 และสีแดง =ติดหน้า 51 – 100
- ดู Organic Traffic ของ Keyword ที่ติดอันดับใน 1 ปี
- หาจำนวน Backlinks
- แจ้งค่า Domain Score
- Organic Monthly Traffic : แจ้งจำนวนผู้คนที่เข้าเว็บตามแต่ละ keyword รายเดือน
- แสดง Organic Keyword ที่ติดอันดับโดยวิเคราะห์ระดับให้เราตรงข้อความแนะนำด้านล่าง
ถ้าเราพบ Keyword ที่เกี่ยวข้องกัน มีความหมายใกล้กัน หรือ LSI keyword เราสามารถนำมาเขียนในบทความได้เพื่อเพิ่มความหลากหลายของคำ และไม่เป็นการสแปมคีย์เวิร์ดอีกด้วย (สนใจกด >> สอน woocommerce)
เราอาศัยอุเบอร์ซักเจสในการทำ keyword research ได้ง่ายๆ ทำให้เราเขียนบทความคอนเทนต์ได้เรื่อยๆโดยการวิเคราะห์เว็บคู่แข่ง ได้ไอเดียใหม่ๆตามจำนวนค้นหาหรือSearch Volume ที่น่าสนใจ
หมายเหตุ : ค่าที่แสดงใน ubersuggest จะน้อยกว่าค่าความเป็นจริง 3 เท่า ให้เราเช็คอีกทีกับ traffic บน Google search console
5. วิธีใช้ feature ตรวจสอบ Backlink
Backlink คือ link จากภายนอกส่งมายังหน้าเพจเรา โดยมีวิธีการใช้ อูเบอร์ซักเจสวิเคราะห์ BL ดังนี้
- เลือก tab เมนูด้านซ้ายหัวข้อ Backlinks > Backlinks Overview
- ใส่เว็บโดเมนหรือURLที่ต้องการวิเคราะห์คุณภาพ SEO
- ใส่ประเทศที่ต้องการดูคุณภาพ SEO ของเว็บโดเมนนั้นๆ
- กด “Search”
การอ่านค่า Backlinks Overview บน ubersuggest
Source : link จากเว็บต้นทาง
Target : หน้าปลายทางของ BL ที่ส่งมา
โดยปัจจุบัน backlink ที่มีประโยชน์ต้องมาจากเว็บที่มีเนื้อหาใกล้เคียงหน้าเพจปลายทางและเป็นเว็บคุณภาพ เพราะ Google ลดความสำคัญของจำนวน Backlink เน้นแต่คุณภาพเท่านั้น
function วิเคราะห์ Backlink ของอูเบอร์ซักเจสจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
a. Backlink Overviews
Backlink Overviews มีไว้บอกคุณภาพของ BL โดยมีคำอธิบายดังนี้
- Backlinks : จำนวน BL ที่มาเว็บไซต์เรา
- Referring Domains : เว็บไซต์ต้นทางที่ส่ง BL
- Domain Authority : คะแนนความน่าเชื่อของเว็บไซต์
New & Lost Referring Domains แจ้งจำนวนที่เสียและได้ BL ในแต่ละเดือน
Backlinks Over Time แจ้งจำนวน BL ที่ได้มาแต่ละช่วงเวลา
Referring Domains by DA แจ้งค่า DA ของเว็บต้นทาง และบอก Anchor Text ที่ทำ BL ส่งมาที่เพจเรา ว่ามีคำไหนปริมาณเท่าไหร่
b. Backlink Opportunities
เปรียบเทียบ BL ทีละ 2 website เพื่อดู BL ที่น่าสนใจจากค่า DA ของเว็บนั้นและเนื้อหาคอนเทนต์ในเว็บ ทำได้โดยการใส่ Domainของเว็บที่จะนำมาเปรียบเทียบกันแล้วกดค้นหา
6. ทำLab
มี 2 function คือ AI Writer และ Keywords Generator โดยมีรายละเอียดการใช้งาน ดังนี้
1. Keywords Generator
ใช้ค้นหาคีย์เวิร์ดจากเว็บของเราและคู่แข่งแล้วเลือกคำที่เหมาะสมมาใช้
ขั้นตอนการทำ Keywords Generator
- พิมพ์ Domain เว็บเราแล้วกด Next
- เลือกภาษาและประเทศแล้วกด Next
- ใส่เว็บคู่แข่งแล้วกด Next
- วิเคราะห์ Target Keywords นำไปใช้
2. AI Writer
เป็น feature ที่นำคีย์เวิร์ดมาเขียน Title tags เป็นตัวอย่างให้เราเลือกใช้ในคอนเทนต์
สรุป
Ubersuggest เป็นเครื่องมือ(tool)สำหรับทำ SEO โดยจะเด่นด้าน keyword โดยใช้งานง่าย function ที่จำเป็นครบ มี featureให้เลือกทั้งฟรีและเสียเงิน(ราคาถูก) เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นทำ SEO โดยใช้ควบคู่กับ Google search console และ Google analytic ก็เพียงพอในเบื้องต้น