Structured data จะใช้ข้อมูลจาก Schema markup (อธิบายข้อมูลดิบ Raw data) เพื่อแสดงผลในรูป Rich result ในรูปแบบ Rich snippet ต่างๆ จำเป็นที่คนทำ SEO ต้องเรียนรู้ เพื่อการทำอันดับเว็บไซต์ ซึ่งมีรูปแบบประเภท Schema markup ที่นิยมในปัจจุบันในคอนเทนต์นี้ มีวิธีทำโดยใช้ Code HTML และ การทำ สคีม่ามาร์คอัพ ผ่าน Plug-in WordPress เป็นอย่างไรไปดูกัน
Schema Markup เป็นส่วนเสริมในการค้นหาของ Google เพื่อให้ User นั้นสามารถที่จะเจอในสิ่งที่ต้องการ ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถที่จะ Upsale สินค้าอื่น ๆ ของเราได้ด้วยเช่นเดียวกัน การใช้ Schema Markup ให้ถูกวิธีนั้นสามารถกระตุ้น CTR ได้อย่างมหาศาล และขึ้นอันดับได้โดดเด่นกว่าใคร
Schema markup คืออะไร
Schema Markup คือ โค้ด(Code) ความยาวไม่กี่บรรทัดชุดหนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นส่วนเสริมในเว็บไซต์ โดยโค้ดตัวนี้หลักๆแล้วจะมีเอาไว้เพื่อใช้เพิ่มข้อมูลให้กับเว็บไซต์ ทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจของ Bot Google และแสดงผลในรูปแบบเฉพาะให้ผู้ใช้งานที่ค้นหาด้วย keyword สามารถเข้าใจเนื้อหาได้โดยไม่ต้องคลิกเข้าเว็บ ส่งผลให้เว็บไซต์ที่ติดตั้ง Schema Markup จะโชว์ขึ้นมาในหน้าแสดง SERP เป็นอันดับแรก ๆ
โดยทั่วไป Schema Markup จะติดตั้งอยู่ที่ส่วนหัว (header) หรือหน้าเว็บเพจ โดย Schema Markup มีมากมายหลายรูปแบบให้เลือกใช้ และแต่ละรูปแบบก็จะมีข้อมูลเฉพาะที่จำเป็นต่อการอธิบายเว็บไซต์เพิ่มเติมที่แตกต่างกันไป (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)
ซึ่งจะส่งผลให้เว็บไซต์ที่ติดตั้ง schema markup ขึ้นติดหน้าอันดับ Google แน่นอนว่าย่อมส่งผลให้ผู้ใช้งานที่ค้นหาคีย์เวิร์ดค้นเจอเว็บไซต์ของเรา
สำหรับ schema markup เกิดขึ้นจากการพัฒนาร่วมกันของ Google, Microsoft, Yahoo and Yandex โดยมุ่งมั่นที่จะทำให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มียอดคลิก มีอันดับบนหน้ากูเกิล รวมไปถึงสร้างรายได้จากเว็บไซต์ได้ นับว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่มีประโยชน์และไม่ควรมองข้าม
Structured Data คืออะไร
โครงสร้างข้อมูล หรือ Structured Data คือ รูปแบบของการระบุชุดข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์ เพื่ออธิบายให้บอทของ Google เข้าใจเกี่ยวกับหน้าเว็บของเรามากยิ่งขึ้น เช่น หน้าเว็บนี้เป็นสูตรอาหาร – ต้มยำกุ้ง , หน้าเว็บนี้เป็นบริการ – รับทำ SEO , รับสอน SEO เป็นต้น
โดยโครงสร้างข้อมูล แต่ประเภทจะมีรูปแบบโครงสร้างที่แตกต่างกัน แนะนำให้ใช้รูปแบบของ Schema.org จะดีที่สุด (ในส่วนของ WordPress มีปลั๊กอินให้ใช้งานมากมาย) ทาง Schema.org จะมีชุด tag ที่เรียกว่า Schema Markup มาให้เลยพร้อมตัวอย่างข้อมูลซึ่งใช้งานง่ายมาก
NOTE : Google ไม่รับประกันว่า โครงสร้างข้อมูล ของคุณจะปรากฏในผลการค้นหา แม้ว่าหน้าเว็บของคุณจะใส่ข้อมูลอย่างถูกต้อง ถ้าอยากให้ปรากฎแบบ 100% เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่นี่
Schema markup ทำงานอย่างไร
การทำงานของ schema markup หรือโค้ดชุดนี้ จะต้องนำโค้ดดังกล่าวมาจัดเรียงในเว็บไซต์ของตนเอง จากนั้นจะช่วยทำให้ Google Bot เข้าใจหน้าเว็บไซต์ของเรามากยิ่งขึ้น และแสดงผลบนหน้า Google รวมถึงจะแสดงผลตรงกับคำค้นหาของผู้ใช้งาน
ทำไม Schema Markup ถึงสำคัญ ในการขึ้นอันดับของ SEO?
ประโยชน์ของ Schema Markup มีอะไรบ้างนั้น สคีมามาร์กอัพ นั้นเป็นเหมือนการเพิ่มพลัง SEO ให้กับเว็บไซต์เรา ในเชิงของการขึ้นอันดับนั้น สามารถที่จะกินพื้นที่ใน Search Engine ได้เยอะกว่า สามารถแสดงผลที่ดียิ่งขึ้นในส่วนของการค้นหาจากชื่อแบรนด์
ข้อดีของ Schema Markup นั้นมีดังนี้ คือ
- ประสิทธิภาพการแสดงผลดียิ่งขึ้น
ดังที่กล่าวมาในข้างต้น schema markup ไม่ได้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้อันดับของเว็บไซต์ติดอันดับบนหน้า Google โดยตรงในทันที แต่มีส่วนช่วยในการสร้างความเข้าใจให้กับ Google ซึ่งจะเก็บข้อมูลและแสดงผลให้ตรงกับคำค้นหาของผู้ใช้งาน เช่น ผู้ใช้งานค้นหาคำว่า วิธีทำ SEO ก็จะเจอเว็บไซต์ รับทำ SEO เป็นอันดับต้นๆ
- ช่วยให้ GOOGLE BOT เก็บข้อมูลได้ง่าย
กระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้การทำ SEO ติดอันดับหรือประสบความสำเร็จ อาจจะต้องเริ่มตั้งแต่การเก็บข้อมูลของ Google Bot ในฐานะฝั่งเจ้าของเว็บไซต์จึงจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือที่ช่วยให้ Google Bot รู้ว่าเว็บไซต์ของเรามีเนื้อหาหรือคีย์เวิร์ดอะไร เข้าใจ และเก็บข้อมูลได้ง่ายอย่าง schema markup (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ E-Commerce)
- เพิ่มอัตรา CTR
CTR หรือ Click Through Rate คือ อัตราการคลิกต่อจำนวนการมองเห็น ซึ่งจะเพิ่มมากขึ้น หากเว็บไซต์มีการติดตั้ง schema markup เนื่องจากเครื่องมือชนิดนี้จะช่วยให้ Google เข้าใจเว็บไซต์ของเรา และแสดงผลตรงกับความค้นหาของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการคลิกได้ในที่สุด
ประเภทของ Schema markup
อย่างไรก็ดี ก่อนจะติดตั้ง สคีมา มาร์กอั้พ จะต้องพิจารณาว่า สคีม่า มาร์กอั้พ ประเภทใดเหมาะสมกับเว็บไซต์หรือจุดประสงค์ของเรามากที่สุด เนื่องจาก สคีม่า มาร์กอัพ มีหลายประเภท โดยมีประเภทหลัก ๆ ที่ได้รับความนิยมสูง ดังนี้
- Book Schema : เนื้อหาที่ขายหนังสือหรือเป็นหนังสือ
- Article Schema : เนื้อหาที่เป็นบทความ
- Carousel Schema : คอร์สต่าง ๆ บทเรียน
- Person Schema : เนื้อหาที่เจาะจงถึงบุคคล
- Event Schema : เนื้อหาแสดงถึงกิจกรรมหรือเหตุการณ์
- Product Schema : เนื้อหาที่เกี่ยวกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์
- How-To Schema : เนื้อหาที่เป็นวิธีทำ
- Organisation Schema : เนื้อหาที่เกี่ยวกับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง
- Movie Schema : เนื้อหาที่เกี่ยวกับภาพยนตร์
- Review Schema : เนื้อหาที่เกี่ยวกับการรีวิวหรือเนื้อหาทั่วไป
อธิบายรูปแบบของ Schema markup ที่เป็นที่นิยม
- 1. Shop on Google
เป็น Schema ที่มาจากการลงโฆษณากับทาง Google เมื่อเราคลิกเข้าไปจะเจอร้านค้าต่างๆ ที่ได้ลงโฆษณาไว้บน Google ads แบบ Smart Shopping นั้นเอง สนใจการลงโฆษณาแบบนี้เข้าไปดูข้อมูลได้ที่ Google for retail
- 2. Local business features
Schema แบบนี้ จะแสดงเป็นข้อมูลของร้านค้า หรือบริษัทต่างๆ โดยปกติแล้วมันจะปรากฏที่ด้านขวาของผลนการค้นหา (SERP) แต่จะแสดงหน้าตาแบบนี้เฉพาะบน Desktop โดยดึงข้อมูลจาก Google My business ของร้านค้านั้นๆ
- 3. Map pack
แน่นอน Google เข้าใจบริบทหรือเจตนาการค้นหาของผู้คน หากมีคนค้นหาคำว่า “ร้าน+ชื้อสินค้า” google มองว่า ผู้ใช้คนนั้น อาจต้องมีการเดินทางไปยังหน้าร้าน เพื่อดูสินค้า (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress)
เขาจึงแสดง google map ไว้ส่วนบน หากคุณต้องการสร้างโอกาสให้ร้านค้าของคุณแสดงบน Map pack Snippet การเปิดใช้งาน Google My business เป็นสิ่งจำเป็นมาก
- 4. Featured snippet
Featured snippet หรือที่คนในวงการ SEO มักจะเรียกว่า “Position zero” เป็นการแสดงชุดคำตอบสั้นๆ ของคำศัพท์ นิยาม หรือประเด็นต่างๆ ของเรื่องนั้น แบบสั้นๆ
มันจะปรากฏเหนือผลการค้นหาทั่วไปใน SERP หรือแสดงอยู่สูงกว่าเว็บที่ติดอันดับ 1 นั้นเอง และหน้าตามันจะดูเด่น การที่เว็บของเราปรากฎ Featured snippet จึงมีโอกาสให้คนเข้ามาเว็บของเราได้มากขึ้นด้วย
- 5. Sitelinks
Google Sitelinks หรือ “six-pack” คือ ลิงค์ที่แสดงผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับคำที่ค้นหา จะแสดงอยู่ใต้ล่าง Title และ Meta Description ด้านบนสุด โดยทั่วไปจะแสดงผลเมื่อเราค้นหาด้วย ชื่อ Brand ของสินค้า หรือชื่อเว็บไซต์นั้นตรงๆ
Google Sitelinks คือสิ่งที่แสดงว่าเว็บเรามีคุณภาพดี และได้รับความเชื่อถือจาก Google ช่วยให้เราทำ SEO ติดอันดับหน้าแรกได้ง่ายขึ้น แต่ไม่ใช่ทุกเว็บไซต์จะแสดง sitelinks ทาง Google จะเป็นผู้คัดเลือกแล้วนำมาแสดงเอง
- 6. FAQ Schema
FAQ Schema(คำถามที่พบบ่อย) เป็นหนึ่งรูปแบบของ Rich Snippet การแสดงผลแบบนี้จะกินพื้นที่บนหน้า SERP ได้เยอะ ทำให้เว็บของเราดูเด่นขึ้นมากเลย
Structured Data ช่วยเพิ่ม Organic Traffic หรือไม่ อย่างไร
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราได้เห็นการใช้งานโครงสร้างข้อมูลบนเว็บไซต์ต่าง ๆ มากขึ้น โดยทั่วไปแล้วผลการค้นจะปรากฏออกมาในหลากหลายรูปแบบตามหมวดหมู่ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสิ่งที่หน้าเว็บของคุณมีความเกี่ยวข้องกับการค้นหาของพวกเขา
ด้วยรูปแบบของการปรากฏบนผลการค้นหาที่โดดเด่น หากเว็บไซต์ของเรามีเนื้อหาที่ตรงตามความต้องการผู้ใช้ด้วยแล้ว โอกาสที่พวกเขาจะทำการคลิกเข้ามาในหน้าเว็บของเราก็ยิ่งมากกว่าเว็บไซต์ที่ไม่มีการใช้งานโครงสร้างข้อมูล นั่นจะทำให้ Organic Traffic เพิ่มมากขึ้นด้วย
จะใช้งาน Structured Data ให้เกิดประโยชน์ ได้อย่างไร
มีหลายวิธีที่เว็บไซต์ของคุณจะได้รับประโยชน์จากการใช้งาน โครงสร้างข้อมูล เราจะพูดถึงตัวอย่างบางส่วนที่จัดกลุ่มตามประเภทของเป้าหมายการใช้งานที่แตกต่างกัน เพิ่มการรับรู้แบรนด์, เน้นความโดดเด่นของเนื้อหา, เน้นข้อมูลผลิตภัณฑ์
เพิ่มการรับรู้แบรนด์
สิ่งหนึ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อโปรโมตแบรนด์ของคุณด้วย โครงสร้างข้อมูลของแบรนด์ คือการใช้ประโยชน์จากชุด Tag ของ Schema Markup ที่มีคุณลักษณะต่าง ๆ เกี่ยวกับแบรนด์ เช่น Logo (โลโก้), Local Business (ธุรกิจในท้องถิ่น) และ Sitelinks Searchbox (ช่องค้นหาไซต์ลิงก์)
นอกเหนือจากการเพิ่มโครงสร้างข้อมูลแล้ว คุณควรยืนยันเว็บไซต์กับ Knowledge Panel (ฟีเจอร์ของ Google ที่แสดงผลการค้นหาเพิ่มเติมจากการแสดงผลการค้นหาตามปกติ) และอ้างสิทธิ์ทางธุรกิจของคุณใน Google Business Profile
เน้นความโดดเด่นของเนื้อหา
หากเว็บไซต์ของคุณเน้นให้ข้อมูลข่าวสารกับผู้อ่าน มีโครงสร้างข้อมูลมากมายที่สามารถช่วยโปรโมตเนื้อหาของคุณและดึงดูดผู้ใช้มากขึ้นได้ โดยคุณสามารถเลือกใช้งานประเภทโครงสร้างข้อมูลที่ตรงกับเนื้อหาของคุณมากที่สุด ตัวอย่างเช่น Article, Breadcrumb, Event, Job, Q&A, Recipe, Review
เน้นข้อมูลผลิตภัณฑ์
หากคุณขายผลิตภัณฑ์หรือสินค้า คุณสามารถเพิ่ม โครงสร้างข้อมูลของสินค้า ลงในหน้าเว็บสำหรับสินค้าองคุณได้ รวมถึงราคา จำนวนสต๊อกและคะแนนรีวิว, นี่คือลักษณะที่หน้าเว็บสินค้าของคุณอาจแสดงผลบนการค้นหาที่เกี่ยวข้อง
การทำบทความบนเว็บไซต์ของเราให้แสดง Rich Snippets
มาถึงส่วนนี้หลายคนจะเห็นแล้วว่านอกจากการแข่งขันเรื่องอันดับบน Google แล้ว เรายังต้องแย่งชิงสายตาของผู้ใช้จากหลายๆ เว็บที่ค้นเจออีกด้วย ซึ่งถ้าทำได้สวยงามและกระชับจะยิ่งได้เปรียบเลย แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกบทความของเราต้องแสดงด้วย Rich Snippet นะ
1. เครื่องมือทำ Rich snippets จาก WordPress ด้วย Plug-in
ในกรณีที่เว็บไซต์ของคุณใช้ WordPress อยู่แล้ว สามารถติดตั้ง Plugin ที่มีชื่อว่า All In One Schema Rich Snippets ไปที่เว็บไซต์ได้เลย ฟีเจอร์ของ Plugin ตัวนี้เรียกว่าค่อนข้างครบ ทั้งรูปแบบของ Snippet ที่นำมาแสดงได้สำหรับเว็บคอนเทนต์ รวมไปถึงการใช้งานที่ค่อนข้างง่าย
หลังจากติดตั้งแล้ว ลองสร้างบทความใหม่ จะพบกล่องสำหรับตั้งค่า Rich Snippet อยู่ที่ด้านล่าง ให้เราเลือกว่าต้องการให้บทความนี้แสดง Rich Snippet ประเภทไหน จากนั้นใส่รายละเอียดลงไป แล้ว plugin จะทำการ generate code ใส่ในบทความนั้นให้โดยอัตโนมัติ
2. สร้าง Code HTML โดย Schema markup generator หรือ rich snippet generator จาก Google
กรณีที่เว็บไซต์คุณไม่ได้ใช้ WordPress หรือ CMS ตัวไหนเลย จำเป็นต้องนำ code HTML ไปแปะเองทีละ URL แบบ Manual โดยสามารถนำ code มาจากเครื่องมือของ Google ที่ generate ให้มาใช้ได้เลย กด >> Markup Helper
หลังจากที่เราเลือกรายละเอียด Snippet ที่ต้องการเรียบร้อย จะได้ code ออกมาเป็น json หนึ่งชุด ให้นำตรงนี้ไปแปะท้าย code HTML ของหน้าเว็บนั้นได้เลย ถึงแม้ว่าตัวช่วยจาก Google จะช่วยสร้าง code ให้เรานำไปใช้ แต่ถ้านำไปวางไม่ถูกต้องก็อาจจะพังได้ ถ้าตรงนี้คุณไม่ได้มีความรู้เรื่อง HTML อาจจะสะกิดเพื่อนมาช่วยทำให้ดีกว่านะ
วิธีการติดตั้ง Schema Markup ในเว็บไซต์
4 ขั้นตอนการติดตั้ง Schema Markup โดย Code HTML ทำได้ดังนี้
1. เลือกประเภทของ Schema Markup ที่จะใช้
เลือก Schema Markup โดยกดเข้าไปในลิงก์นี้ >> รูปแบบ Schema จาก Google แล้วดูว่าหน้าที่เว็บไซต์ที่เราจะใส่ Schema Markup นั้นเราจะเลือกรูปแบบไหน
2. ใช้เครื่องมือ Structured Data Markup Helper ในการช่วยเหลือ
เราสามารถใช้เครื่องมือของ Google เพื่อมาช่วยในการจัดตั้ง Structured Data ให้ง่ายยิ่งขึ้น โดยกดเข้าไปในลิงค์นี้ >> ตัวช่วยในการทำ Schema Markup
เราสามารถเลือกได้เลยว่าเราจะใช้ Schema รูปแบบไหน จากนั้นใส่ URL เว็บไซต์ที่เราต้องการจะใส่ Schema Markup
3. Highlight ตำแหน่งที่แสดงผล และใช้เป็น Structured Data ได้เลย
พอเราเข้ามาในหน้าต่อไปนั้น Google จะ browse หน้าเว็บไซต์เราขึ้นมา หลังจากนั้นเราสามารถกด Create HTML และ Copy Script ที่ได้รับมาได้เลย
4. ตรวจสอบความถูกต้องของ Structured Data ที่ได้สร้างขึ้นมา
หลังจากที่เราได้สร้าง code ขึ้นมาแล้วอาจจะใช้ไม่ได้ หรือกดในส่วนไหนที่ผิดไปก็ได้ และ Google ไม่สามารถรัน code ชุดนั้นได้ เราสามารถตรวจสอบได้ที่ลิ้งค์นี้ กด >> เครื่องมือตรวจสอบ Schema
- กดไปใน section < > code แล้วแป๊ะ code ชุดนั้นลงไป และกด Test Code
- ถ้าขึ้นสัญลักษณ์เครื่องหมายตกใจในสามเหลี่ยมสีเหลือง แปลว่าเราใส่ตรงไหนผิดไป
- ให้กดด้านล่างหัวข้อ detected structured data ระบบจะแสดง section ที่เราขาดในส่วนไหนบ้าง
ทดสอบการแสดงผล(วิธีการเช็ก Rich Results)
หลังจากที่ทดลองตั้งค่าเรียบร้อยแล้วอาจจะต้องใช้เวลาสักพักประมาณ 1 วันในการรอให้ Google reset index ของเราใหม่ จากนั้นเราสามารถทดสอบการแสดงบทความได้จากลิ้งค์นี้ กด >> Google Structured Testing Tool
- จะมี section ดึงข้อมูล URL กับ ข้อมูลโค้ด
- กดเลือก section ดึงข้อมูล URL
- วาง link url แล้วกด เรียกใช้การทดสอบ
สรุป
schema markup คือ หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่เป็นกลยุทธ์ช่วยในการทำ SEO แม้ว่าจะไม่ได้ช่วยให้อันดับของเว็บไซต์ติดอันดับบนหน้า Google ในทันทีหรือโดยตรง แต่ก็มีส่วนช่วยให้ Google ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเว็บไซต์และเนื้อหา เพื่อนำข้อมูลแสดงผลให้ตรงกับการค้นหาของผู้ใช้งานและติดอันดับบนหน้า Google ทั้งนี้ ในการทำ schema markup จะต้องพิจารณาถึงรูปแบบ วัตถุประสงค์ รวมถึงมีการตรวจสอบหลังจากใส่ schema markup เสมอ