Featured snippet คืออะไร พร้อมวิธีทำเว็บให้ติดอันดับ 0 บนหน้า Google

บทความนี้จะมาอธิบายประเภททั้งหมดของ Featured snippet รวมถึงขั้นตอนการทำฟีเจอร์สนิปเปต บนSERPแบบต่างๆโดยไม่ใช้ code และข้อดี-ข้อเสีย ่ของการติดzero rank position และประโยชน์ต่อ SEO มีอะไรบ้าง

การทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับบน Google นั้นเรียกว่าต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการปรับเว็บไซต์ไปพร้อมๆกั และ Google ก็มีฟีเจอร์ใหม่ๆ มาทดสอบให้เราได้ปรับเว็บกันอยู่ตลอดเวลา

หนึ่งในฟีเจอร์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุด ก็คือ Feature Snippets หรือการติดอันดับ 0 บน Google นั่นเอง คือเหนือกว่าอันดับ1ซะอีก แต่หลังจากที่ปล่อยฟีเจอร์นี้มาตั้งแต่ปี 2014 Google ไม่ได้บอกมาด้วยว่าทำยังไงถึงจะติดตำแหน่งนี้ได้(แต่ดันบอกวิธีการทำเว็บไม่ให้ติดอันดับนี้ซะอย่างงั้น) แต่เราก็หาวิธีมาได้จากการลองผิดลองถูกว่าทำยังไงถึงจะติดอันดับ 0 บน Featured Snippet ได้ (สนใจกด >> รับทำ SEO)

Featured Snippet คืออะไร

Featured Snippet คือ ผลการค้นหาอันดับแรกสุดบน Google หรืออันดับ 0 โดยเป้าหมายคือให้ผู้ใช้งานเจอคำตอบที่ต้องการทันที ไม่ต้องคลิกเข้าไปดูทีละเว็บ บางคนก็เลยเรียกเจ้าสิ่งนี้ว่า “answer boxes” หรือกล่องคำตอบ

การติดอันดับบน Feature Snippets หมายความว่าเราจะได้พื้นที่บนหน้าการค้นหามากขึ้นอย่างแน่นอน บนมือถือนี่คือกินพื้นที่ไปเกือบ 50% เลยนะ ทำให้คนเห็นเรามากขึ้น ดูน่าเชื่อถือขึ้น โดยจะเป็นอันดับรองแค่ Google Ads (PPC) (สนใจกด >> รับสอน SEO)

หมายเหตุ : 

Snippet (n) เป็นคำนาม อ่านว่า (ส-นิพ-พัด-ท) เขียนว่า สนิพเพท มี 2 ความหมาย คือ

  1. ส่วนย่อ หรือ ส่วนนึง ของสิ่งบางอย่าง ซึ่งเป็นส่วนนึงของทั้งหมด 
  2. code snippet คือ ชุดของโค้ดหรือคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้สามารถเรียกมาใช้ได้หลายๆครั้งในโปรแกรมหนึ่งๆ

SERPs ย่อมาจาก Search Engine Results Page หมายถึง การแสดงอันดับบน Search Engine อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือหน้าเว็บ Google ที่แสดงผลการค้นหา เมื่อเราพิมพ์หาข้อมูลต่างๆ รายการของหน้าเว็บที่แสดงบน Google จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

  • Organic SERP Listings – เป็นการแสดงผลลัพธ์ที่แสดงตามการจัดอันดับตามธรรมชาติ
  • Paid SERP Listings – ผลลัพธ์ที่แสดงโดยการโฆษณากับ Google หรือที่เรียกว่า Sponsored Links

ประเภทของ Featured Snippet มีกี่แบบ

สำหรับประเภทของ ฟีเจอร์สนิปเปต นั้นมีอยู่ด้วยกันมากมายหลายประเภท แต่คอนเทนต์นี้จะนิยมแบบที่นิยม คือ

1. ข้อความ (Paragraph)

Feature Snippet ในรูปแบบของข้อความ (Paragraph) จะเป็นประเภทที่เราเห็นได้บ่อยที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยจะเป็นตัวอย่างของข้อความที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ค้นหาทราบความหมายหรือคำอธิบายที่กระชับและตรงประเด็นที่สุด และมีความยาวของคำอยู่ที่ระหว่าง 40-60 คำ (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)

2. ลิสต์แบบตัวเลข (Numbered list)

Featured Snippet ที่เป็นลิสต์แบบตัวเลข (Numbered list) จะเป็นการแสดงผลลัพธ์รายการแบบเรียงลำดับตามหัวข้อ 1 2 3 … โดย Google มักจะแสดง Featured Snippet กับเนื้อหาที่ต้องแสดงลำดับขั้นตอนต่างๆ หรืออาจจะเป็นผลลัพธ์ของการจัดอันดับสิ่งต่างๆ เช่น รวม 100 อันดับหนังที่ดีที่สุดตลอดกาล

Ordered List (รายการแบบเรียงลำดับ) : ตัวอย่างข้อมูลแนะนำ ของรายการที่นำเสนอแบบเรียงลำดับ Google มักจะใช้ Featured Snippet ประเภทนี้ สำหรับเนื้อหาที่แสดงขั้นตอนต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้สำหรับจัดอันดับสิ่งต่าง ๆ ตามลำดับที่เฉพาะเจาะจง

3. BULLET-LIST หรือ หัวข้อย่อย

Featured Snippets ประเภท Bullet list นั้นจะปรากฏขึ้นเมื่อเราค้นหาคำตอบที่ต้องแสดงเป็นข้อหรือหัวข้อย่อย เช่น สูตรอาหาร วิธีติดตั้งซอฟต์แวร์ หรือการจัดอันดับ เป็นต้น

Unordered List (รายการแบบไม่เรียงลำดับ) : ตัวอย่างข้อมูลแนะนำ ของรายการที่นำเสนอแบบไม่เรียงลำดับ แสดงเป็นรายการง่าย ๆ โดยไม่มีข้อมูลเพิ่มเติม

4. ตาราง (Table)

Feature Snippets ที่แสดงผลในรูปแบบของตาราง (Table) จะเป็นการดึงข้อมูลเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ของคุณที่มีตารางขึ้นมาแสดงผล

5. วิดีโอ (Video)

Featured Snippets ในรูปแบบของวิดีโอ (Video) เนื้อหาจะดึงมาจากช่องทาง YouTube

6. ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลข (Number)

เป็นข้อมูลที่ให้คำตอบเกี่ยวกับตัวเลข ตัวอย่างเช่น เราพิมพ์หา Google ว่า ต้มไข่กี่นาทีถึงจะสุก ก็จะมี Featured Snippets ที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวเลขของนาทีที่ใช้ในการต้มไข่ขึ้นมาให้เลย (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ E-Commerce)

7. อีคอมเมิร์ซ (E-commerce)

Featured Snippets สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) จะเป็นรูปแบบของรายการสินค้าที่สามารถคลิกเพื่อเข้าไปยังเว็บไซต์และทำการซื้อสินค้าผ่านช่องทางนั้นๆ ได้เลย

คอนเทนต์ประเภทไหน ติด Featured Snippets เยอะที่สุด

ทาง SEMrush ทำวิจัยไว้ว่าจากการค้นหาทั้งหมด มีประมาณ 19% ที่มีผลการค้นหาแบบ answer box หรือ Featured Snippets นี้ขึ้นมา และจากงานวิจัยนี้ก็พบว่าประเภทของเนื้อหาที่ติดอันดับศูนย์เยอะที่สุด ก็คือแบบตัวหนังสือปกติ (Paragraph) คิดเป็น 70% ตามมาด้วย ลิสต์แบบตัวเลข (Numbered list) 19.1% ตาราง (Table) 6.3% และสุดท้ายวิดีโอ (Video) น้อยที่สุดที่ 4.6% 

ผลกระทบจากการติด Feature Snippets ทำไมมันถึงสำคัญ?

หลายคนอาจจะสงสัยว่า เหตุผลที่คุณควรทำ Featured Snippets คืออะไร สำคัญแค่ไหน ลองมาดูประโยชน์จากการติด Featured Snippets ไปพร้อมๆ กัน ดังนี้

1. สำคัญกับผู้ใช้งาน Google

เพราะเอื้อประโยชน์สำหรับผู้ใช้งาน Google ให้สามารถทำการค้นหาใน Google ได้ง่ายขึ้นและได้คำตอบในสิ่งที่สงสัยรวดเร็วขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ต่างๆ ให้วุ่นวายเพื่อหาคำตอบที่ตรงกับสิ่งที่สงสัยมากที่สุด

2. สำคัญกับการทำเว็บไซต์

เพราะ Featured Snippets ช่วยปรับปรุงยอด Click-through rate (CTR) จากการเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านและเพิ่มโอกาสที่พวกเขาจะเข้าชมเว็บไซต์ที่ติด Feature Snippet มากขึ้น

เพราะถึงแม้ว่าผู้ใช้งานจะได้คำตอบสั้นๆ ไปแล้ว แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้ต้องคลิกเข้าเว็บไซต์เพื่ออ่านรายละเอียดทั้งหมด

ซึ่งผลจากการสำรวจของ Search Engine Land รายงานว่า หลังจากที่เว็บไซต์ของเขาได้แสดงผลแบบ Rich Snippets ยอด CTR หรืออัตราการคลิกเข้าเว็บไซต์ก็เพิ่มขึ้นจาก 2% เป็น 8% ทันที (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress)

นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ จากการได้รับเลือกเป็นเว็บไซต์ที่อยู่ในอันดับ 0 ทำให้ผู้ใช้งาน Google มีแนวโน้มที่จะเชื่อถือในเว็บไซต์เหล่านี้ในฐานะผู้เชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น

ข้อดีของ Feature Snippet

  1. ช่วยในการทำ SEO เพราะการติด Featured Snippets นับเป็นทางลัดที่ช่วยทำให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับ 0 บนหน้า Google แบบ Organic
  2. ช่วยการันตีว่าคอนเทนต์บนเว็บไซต์นั้นมีประสิทธิภาพ เพราะถ้าหาก Google เลือกเว็บไซต์ของคุณให้เป็นส่วนหนึ่งของ Featured Snippets ก็เป็นสัญญาณที่ดีว่าเนื้อหานั้นมีคุณค่าต่อผู้อ่านอย่างแท้จริง
  3. ส่งเสริมการทำ Voice Search เครื่องมือผู้ช่วยอย่าง Alexa, Siri, Google Assistant หรือ Microsoft Cortana มักจะใช้ข้อมูลจาก Feature Snippet ในการตอบคำถามของผู้ใช้งานที่ทำการค้นหาโดยใช้ Voice Search ซึ่งคนในกลุ่มนี้มีมากกว่า40% ทำการค้นหาด้วยเสียงทุกวันทั้งบนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่
  4. ช่วยคัดแยกกลุ่มเป้าหมายที่คลิกเข้ามาในเว็บไซต์ เนื่องจากผู้ใช้งานที่มีความต้องการซื้อมักจะเป็นกลุ่มคนที่คลิกเข้าไปยังเว็บไซต์เพื่อกดซื้อสินค้าหรือหาข้อมูลเพิ่มเติม ในขณะที่กลุ่มผู้ใช้งานที่ค้นหาข้อมูลเพื่อรู้คำตอบมักจะอ่านแค่คำตอบสั้นๆ จาก Featured Snippets เท่านั้น โดยไม่ทำการคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ ทำให้เจ้าของเว็บไซต์คัดกรองกลุ่มผู้ที่สนใจซื้อสินค้าได้มากขึ้น ส่งผลให้เก็บข้อมูลเฉพาะกลุ่มคนเหล่านี้ได้แม่นยำมากขึ้นด้วย
  5. สร้างการจดจำของ Branding ต่อผู้ใช้ได้ : Featured Snippets นี้ถ้าโชว์ขึ้นบนมือถือจะใช้พื้นที่ถึงไปถึง 50% เลย ทำให้ผู้คนจดจำชื่อแบรนด์ของเราได้ง่ายขึ้นด้วยและในปัจจุบัน voice search เช่น siri เริ่มมีอิทธิพลเพิ่มขึ้น ผู้คนมักใช้การค้นหาด้วยเสียงในการถามคำถาม จึงทำให้ Featured Snippet มีการโชว์ในมือถือเพิ่มขึ้น
  6. เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับตัวแบรนด์ : การที่ตัวธุรกิจมีคอนเทนต์ขึ้นโชว์บน Featured snippets จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับตัวแบรนด์ได้อย่างมาก เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่ที่ Google เลือกมาโชว์ในส่วนนี้มักเป็นเนื้อหาที่มีประโยชน์ มีความถูกต้อง และได้รับการยอมรับ ซึ่งมันจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ให้ตัวธุรกิจดูมีความน่าเชื่อถือ มีความรู้ความเชี่ยวชาญไว้ใจได้ ถือว่ามีประโยชน์อย่างมากในยุคปัจจุบัน

ข้อเสียของ Feature Snippet

  1. จำนวนยอด Traffic ลดลง จากการที่ผู้ใช้งาน Google เจอคำตอบโดยไม่จำเป็นต้องคลิกเข้าไปยังเว็บไซต์ ทำให้บางเว็บไซต์ที่มีเป้าหมายเป็นยอดผู้เข้าชมเสียผลประโยชน์ในส่วนนี้ไปได้
  2. เว็บไซต์ที่ทำอันดับ SEO ในหน้าแรกเสียผลประโยชน์ เพราะเมื่อผู้ใช้งาน Google ได้คำตอบที่ต้องการแล้วก็ไม่จำเป็นที่จะต้องค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์อื่นๆ เพิ่มเติมอีก ทำให้เว็บไซต์ที่พยายามแข่งขันกันให้ติดหน้าแรกไม่ได้รับ Traffic เข้ามาอย่างที่ควรเป็น

วิธีทำ Feature Snippet ให้ติดอันดับ 0 บนหน้า Google ได้ยังไง

วิธีการทำ SEO ให้ติด zero rank position ต้องอิงกับหลักการทำ SEO แต่ต้องเลือกหลักการที่เกี่ยวข้องจริงๆ มาดูกันว่าจะดันอันดับปรับหน้าเว็บไซต์ได้ยังไงบ้าง

  • ใช้การตั้งหัวข้อด้วยคำถาม

รีเสิร์ชหลายที่เห็นตรงกันว่า Featured Snippet ส่วนใหญ่จะเป็นแบบคำถาม และ 77% ของคำถามนี้ ก็เป็นคำถามว่า “ทำไม” ดังนั้นเวลาตั้งหัวข้อ ลองเปลี่ยนให้เป็นแบบคำถามดู เช่น “เหตุผลที่คุณควรใช้บริการกับเรา” เปลี่ยนเป็น “ทำไมคุณถึงควรใช้บริการกับเรา?” ก็จะดีกับ Featured Snippet มากกว่า

  • ดันอันดับด้วยหน้าเว็บไซต์ที่ติดอันดับดีอยู่แล้ว

Google ชอบหยิบเอาเว็บไซต์ที่ติดอันดับดีอยู่แล้วนี่แหละมาเป็นคำตอบใน Feature Snippets เพราะงั้นรีบหาเลยว่าเว็บไซต์มีหน้าไหนติดอันดับแรกๆ บนหน้า Google แล้วบ้าง ง่ายที่สุดไล่อันดับดูจาก Search Console หรือจะใช้ Tools ที่ตรวจสอบ Site Explorer ได้ หลังจากนั้นก็ลิสต์มาว่าจะทำหน้าเหล่านั้นให้ติดอันดับ 0 ได้ยังไงในหัวข้อถัดไป

การหาหน้าเว็บที่ติดอันดับ ​2-10 เพื่อเอามาปรับ

เราสามารถดูข้อมูลของเว็บเราได้ง่ายๆ ด้วยการไปที่ Google Search Console แล้วเลือก Filter คำจาก Positions จากนั้นก็เลือกไม่เท่ากับ 1 แล้วไล่ดูได้เลย

  • หาดู Search Intent เพิ่มสักหน่อย

จะตอบคำถามให้ตรงกับสิ่งที่คนหาจะทำยังไงได้ล่ะ ก็ต้องหาให้เจอว่าเขาเสิร์ชคำนั้นมาเพื่อหาอะไรบ้าง? วิธีที่ง่ายที่สุดในการหาก็ลองพิมพ์คำๆ นั้นลงไป แล้วเลื่อนลงไปดู Related searches หรือจะหาดู People also ask ก็ได้ว่าพวกเขาใช้คำนี้หาอะไรบ้าง

วิธีดูคำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับของเราบน Google

ลองพิมพ์คำที่เราต้องการลงไป แล้วก็ดูว่า Google เติมอะไรมาให้ข้างหลัง หรือดูในหัวข้อ Searches Related to หรือ People also ask ก็จะมีไอเดียว่าคนส่วนใหญ่ค้นหาอะไรกัน

วิธีดูคำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับคำนั้นๆ ด้วย Answer the Public

ลองไปพิมพ์คำที่ต้องการบน Answer the Public ก็จะมีตัวอย่างขึ้นมาเยอะเลยว่าคนเค้าหาคำว่าอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง

  • Keyword Research คำให้ลึกและหลากหลาย

มีรีเสิร์ชบอกไว้ว่าตัว Featured Snippet ส่วนใหญ่ จะเป็นคำที่ยาวๆ เช่น ถ้าเราพิมพ์คำว่า Apple คำเดียว ก็จะไม่มีกล่องคำตอบขึ้นมา แต่ถ้าเราพิมพ์ว่า How to choose an apple หรือวิธีการเลือก Apple ก็จะมีกล่องคำตอบขึ้นมา ดังนั้นแล้ว ให้ Keyword Research เยอะๆ เพื่อดูว่าคนทั่วไปค้นหาอะไรเกี่ยวกับคำที่เราอยากจะติด หรือคำที่เกี่ยวข้อง

  • ถามแบบไหนก็เลือกทำคอนเทนต์ให้เหมาะ

รู้ว่าคนค้นหาอะไรแล้วก็เลือกทำคอนเทนต์ที่เหมาะกับรูปแบบของคำตอบ ดูได้จากประเภทของ Feature Snippets ก็ได้ว่าคำตอบที่ Google จะเลือกขึ้นไปแสดงจะเป็นรูปแบบไหน ถ้าเราวาง Structure ได้ถูกต้องและถูกใจ Google ก็มีโอกาสที่จะถูกดึงคำตอบไปเป็น Featured Snippets ได้มากขึ้นแน่นอน

  • อย่าลืมนึกถึงคนอ่านให้มากๆ

อย่ามัวแต่เอาใจ Google จนลืมว่า คุณกำลังเขียนคอนเทนต์ให้กับคนจริงๆ อ่านอยู่ด้วยนะ ลองนึกดูซิว่า ถ้าเป็นคุณเองเจอเว็บไซต์ติดอันดับ Featured Snippets อุตส่าห์ลองคลิกเข้ามาอ่านเนื้อหาเพิ่มเติม แต่ดันเขียนไม่รู้เรื่องซะอย่างนั้น แบบนี้ก็คงจะเสียโอกาสในการเพิ่ม User ประจำไปแบบฟรีๆ

ดังนั้น ลงทุนสักหน่อย เขียนคอนเทนต์ที่มีประโยชน์และตอบโจทย์การทำ Featured Snippets ไปพร้อมๆกัน โดยเน้นเขียนให้ความรู้ที่ทั้งลึก ทั้งจริง สดใหม่ เราพิสูจน์มาแล้วว่านี่แหละเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ถ้าทำได้แบบนี้ นอกจากจะมีความสุขจากที่ Google ดันอันดับให้แล้ว ยังรู้สึกดีที่ได้ใจผู้อ่านเพิ่มขึ้นอีกด้วย เรียกว่า ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว คุ้มซะยิ่งกว่าคุ้มอีกนะว่ามั้ย??

  • ใช้ Long Tail Keywords ให้มากกว่า Short Tail Keywords

การที่เราใช้ Long Tail Keyword มีข้อดีอีกอย่างนั่นคือ คนที่ใช้ Long Tail Keyword ค้นหา มีแนวโน้มสูงมากที่จะมี Search Intent ที่ลึก จะค้นหาเพื่อค้นคว้ามากกว่า ต่างจากคนที่ใช้ Short Tail Keyword คือคำกว้างๆ อาจจะยังไม่ได้มีแนวโน้มที่ค้นหาแบบเจาะลึกอะไร ต้องการแค่ดูคำตอบในภาพรวมเท่านั้น

ลองนึกถึงตัวเองบ้างก็ได้ ถ้าเราค้นหาชื่อบัตรเครดิตตรง ๆ อย่างมากก็จะเข้าเว็บไซต์ของแบรนด์เฉยๆไม่ได้แปลว่าอยากจะสมัครโดยตรง แต่ถ้าค้นหารีวิวบัตรเครดิต หรือเป็นสิทธิประโยชน์ของบัตร เปรียบเทียบบัตรเครดิตต่าง ๆ มีแนวโน้มสูงมากที่จะนำข้อมูลบัตรเครดิตที่อ่านเจอ มาเปรียบเทียบ เพื่อไว้ใช้ประกอบการตัดสินใจการสมัครบัตรเครดิตนั่นเอง

  • จัดเรียง Heading ให้ดี โดยเรียงจากหัวข้อใหญ่ ไปหัวข้อย่อย

Heading ก็คือหัวข้อที่ทำให้ Google รู้ว่า ในย่อหน้านั้น ๆ พูดถึงเรื่องอะไรอยู่ และต้องจัดลำดับความสำคัญของ Headline ด้วยว่า Headline ไหน ควรเป็นหัวข้ออะไร สิ่งที่ไม่ควรทำมากที่สุดคือ การเขียนบทความแบบไม่มี Headline เลย เป็นย่อหน้ายาว ๆ เพราะจะทำให้คนอ่าน อ่านยากขึ้นเป็นอย่างมาก และ Google เอง ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่าจะเอา Headline ไหนไปคัดเลือกโชว์

  • เลือกประเภทคอนเทนต์ที่เหมาะสม

ลองเสิร์ชดูว่า คำที่เราอยากติด เป็นประเภทไหน เช่น วิดีโอ ตาราง ลิส หรือพารากราฟ แล้วก็ทำตามนั้นเลย ถ้าคำที่เราอยากได้ยังไม่มี ลองเสิร์ชที่ใกล้เคียงก็ได้ ก็จะช่วยให้เราทำคอนเทนต์ได้ใกล้เคียงกับที่ Google ชอบมากขึ้น แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วคอนเทนต์ที่ติดกล่องคำถามจะเป็นแบบพารากราฟ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเหมาะกับคำที่เราอยากติดเสมอไป

  • ตอบคำถามให้ดีที่สุด

ตัว Featured Snippet นี้เกิดขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนได้คำตอบจากคำที่ค้นหาได้เร็วที่สุด ดังนั้นแล้วเวลาเราเขียนอธิบายอะไรก็ตาม ไม่ควรยืดเยื้อ มีรายงานจาก A.J. Ghergich บอกไว้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วคำตอบในกล่องคำตอบนี้ยาวแค่ 45 คำ และยาวที่สุด 97 คำเท่านั้น

เทคนิคการทำ Position #0 แบบ Definition Box

Definition Box คือ Featured Snippet ประเภทหนึ่ง จะแสดงผลข้อมูลที่มีลักษณะเป็นนิยามของคำศัพท์ หรือความหมายของ Keyword นั้นๆ

เพิ่มโอกาสการติดตำแหน่งที่0บนGoogle มีวิธีการทำดังนี้

เลือกตำแหน่ง 1 ย่อหน้าช่วงบนๆ จะย่อหน้าแรก หรือย่อหน้าที่ 2 ก็ได้ ให้เขียนความหมายของ Keyword นั้น

ให้เขียนเป็นย่อหน้า คือ ต้องเขียนยาวมากกว่า 1 บรรทัด แต่ต้องไม่เกิน 2-3 บรรทัด ถ้าเขียนยาวเกินไป โอกาสที่ข้อมูลของเราจะถูกดึงไปเป็น Definition Box มีน้อย

ใส่คำที่สื่อความหมายของการเป็น Definition (คำนิยามศัพท์) ถ้าภาษาไทย คำที่ควรใช้ก็จะมีอยุ่ด้วยกัน 3 คำ ได้แก่ “คือ” “เป็น” และ “หมายถึง”

เปิดประโยคแบบเรียบๆ อย่าเขียนเกริ่นนำเยอะเกินไป เอาคำ keyword ว่างต้นประโยคไปเลย เช่น

  • Keyword + คือ ……….
  • Keyword + เป็น ……….
  • Keyword + หมายถึง ……….

เขียนให้กระชับ เป็นธรรมชาติและสื่อความหมายชัดเจน โดยตัวอักษรของย่อหน้าที่เป็น Definition ให้ใช้ตัวอักษรประเภท paragraph (P) ห้ามใช้พวก Heading (H1-H6) มาเขียนเป็นย่อหน้ายาวๆ เด็ดขาด

วิธีเช็กว่าเว็บไซต์มี Featured Snippets หรือเปล่า

สำหรับใครที่ใช้เครื่องมือ SEO Tools อย่าง ahrefs สามารถทำการตรวจสอบได้เลยว่าเว็บไซต์ของคุณติด Featured Snippet แล้วหรือไม่ โดยเข้าไปที่ Site Explorer > Organic Keywords แล้วเลือกฟิลเตอร์​ Featured Snippet

หรือถ้าคุณใช้เครื่องมือทำ SEO อื่นๆ เช่น SEM Rush ก็สามารถใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Position Tracking ในการตรวจสอบตำแหน่งของอันดับเว็บไซต์เพื่อดูว่ามีหน้าไหนติด Featured Snippets หรือไม่ นอกจากนี้ยังใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Rich Result Test ของทาง Google ในการตรวจสอบได้ด้วย

 

สรุป

Featured Snippet เป็นฟีเจอร์ที่มีประโยชน์มากๆ สำหรับผู้ใช้งาน แม้ว่าการมาของ Featured Snippets อาจจะส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์ที่ติดหน้าแรก Google แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการติดอันดับ Feature Snippet จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณมีโอกาสถูกค้นพบ และถูกกดคลิกมากกว่าเว็บอื่น ๆ

สำหรับการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็ควรทำ Content ให้มีคุณภาพ โดยยึดความต้องการของผู้ใช้งานเป็นหลักเสมอ อารมณ์ประมาณว่า Content ที่ทำต้องช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานได้ แล้วค่อยๆ ปรับจูนเนื้อหากันไป หาก Content มีคุณภาพในสายตา Google และผู้ใช้งานเมื่อไหร่ การติด Feature Snippet หรือ Zero Ranking ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!