บทความนี้แนะนำตัวอย่างวิธีการเขียน Meta Description ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการโปรโมทเพจดันดับเว็บแรงก์ การทำเมตาเดสคริปชั่นร่วมกับ Meta Title tag จะช่วยให้เนื้อหาถูกเข้าใจได้ดีกับบอท Google ซึ่งคอนเทนต์นี้เรามีแนะนำการตั้งตั้งและใช้ Plug-in Yoast SEO สำหรับการเขียน Meta Description ของ wordpress ด้วยนะ
สำหรับคนทำ SEO สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญนอกเหนือจากเรื่อง Keyword Research การทำ Off-Page SEO หรือการทำ Technical SEO แล้ว ยังมีในเรื่องของการปรับแต่งหน้า On-Page SEO ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยทำอันดับ SEO ซึ่งถ้าคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นปรับแต่งอย่างไร แนะนำให้ศึกษาการปรับแต่ง Meta Description ในบทความนี้ก่อน
เพราะนี่เป็นวิธีการทำ SEO พื้นฐานที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจ โดยควรรู้ว่า Meta Description คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร แตกต่างจาก Meta Keyword อย่างไร ไปจนถึงมีวิธีการทำอย่างไรบ้างให้ติดอันดับ SEO ลองไปดูคำตอบพร้อมๆ กันได้เลย (สนใจกด >> รับทำ SEO)
Meta Description คืออะไร
Meta Description คือ Mata Tag ประเภทหนึ่งที่เป็นชุดโค้ดของภาษา HTML ซึ่งใช้ในการเขียนอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับหน้าเว็บไซต์นั้นๆ ว่า เกี่ยวข้องกับอะไร โดย Google จะนำเสนอ เมตา เดสคริปชั่น ที่เขียนเอาไว้ใต้ Title Tag ที่เป็นชื่อบทความหรือชื่อของหน้าเว็บไซต์ โดยมีจำนวนแสดงผลที่จำกัดอยู่ที่ประมาณ 150 – 154 ตัวอักษร
สำหรับหน้าตาของ Mata Tag ที่เป็นชุดโค้ด HTML จะมีหน้าตาประมาณนี้
<meta name=”description” content=”Site Explorer runs on a huge database of 12 trillion links and 402 million tracked keywords to give you the most complete SEO data about any website or URL.”>
โดยจะไม่ได้แสดงผลขึ้นให้ผู้ใช้งานบน Google ได้เห็นแต่จะเป็น Source Code หรือระบบหลังบ้านที่ใช้ในการใส่โค้ดของเว็บไซต์เท่านั้น ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเหมือนป้ายแนะนำตัวให้กับ Search Engine เจอกับเว็บไซต์และรู้ว่าเว็บไซต์ในหน้านี้เกี่ยวกับอะไรได้มากขึ้น (สนใจกด >> รับสอน SEO)
Meta Tags Description มีประโยชน์อย่างไร
ถึงแม้ Meta Description tags อาจจะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ช่วยในการจัดอันดับเว็บไซต์บนหน้า Search Engine อย่าง Google แต่ก็เป็นปัจจัยเสริมที่ช่วยเพิ่มอันดับได้ นั่นคือ การดึงดูดให้คนคลิกเข้ามายังเว็บไซต์ได้มากยิ่งขึ้น
การมีคำอธิบาย เมตา เดสคริปชั่น ที่น่าสนใจ จะช่วยดึงดูดให้ผู้คนคลิกเว็บไซต์ของคุณจากการแสดงผลบน Search Engine มากขึ้น ถึงแม้ว่า Google จะทำการแสดงผลของ เมตา เดสคริปชั่น เพียง 37% จากการแสดงผลทั้งหมดก็ตาม
ยกตัวอย่างเช่น หากหน้าเว็บไซต์ได้รับการแสดงผล 50,000 ครั้งต่อเดือน Google จะแสดง Meta Description โดยเฉลี่ยที่ 8,500 ครั้ง แต่ก็มีโอกาสที่คนจะได้เห็นคำอธิบายที่บอกว่าหน้าเว็บไซต์นั้นเกี่ยวกับอะไรอย่างชัดเจน
แน่นอนว่า ถ้าคุณเขียน Meta Description ดีก็จะมีโอกาสช่วยเพิ่ม CTR (Click Through Rate) ให้กับเว็บไซต์ได้ ซึ่งยอด CTR นี้อาจส่งผลในเชิงบวกต่อความสามารถในการจัดอันดับของ SERP (Search Engine Results Page) ได้ด้วยเช่นกัน
- เป็นตัวช่วยสร้างความมั่นใจให้คนที่กำลังค้นหาข้อมูลว่าจะได้พบกับข้อมูลหรือคำตอบที่อยากรู้
ผู้ใช้งานทุกคน ไม่อย่างเสียเวลาในการค้นหาข้อมูล ทุกคนอย่างได้คำตอบที่ถูกต้องเมื่อคลิกเข้าไปเปิดเว็บใดเว็บหนึ่ง การเขียน Page Titles และ เมตา เดสคริปชั่น ที่ดีก็เหมือนการตอบคำถามเบื้องต้นให้ผู้ใช้งาน
- ผลลัพธ์ของ Page Titles และ เมตา เดสคริปชั่น ที่แสดงเป็นตัวชี้วัดว่า Google มองเห็นเว็บคุณอย่างไรบ้าง
ผลลัพธ์ของ Page Titles และ เมตา เดสคริปชั่น ที่แสดงบนหน้าผลการค้นหาของ Google เป็นตัวบ่งบอกว่า Google เข้าใจเนื้อหาหน้านั้นในรูปแบบใดบ้าง ถ้าสิ่งที่เขียนกับสิ่งที่ Google แสดงไม่ตรงกัน เราก็สามารถนำสิ่งที่ Google แสดงมาปรับปรุงการแต่ง Titles และ Descriptions ต่อได้ (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ E-Commerce)
Meta Description จำเป็นต้องใส่ไหม
สำหรับหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการทำอันดับ SEO หรือติดอันดับอยู่แล้ว แนะนำให้ใส่ Meta Description ในหน้าเหล่านั้น รวมถึงหน้าที่เป็น Home Page ที่เป็นหน้าหลักของเว็บไซต์ ซึ่งเป็นหน้าเพจที่เชื่อมต่อไปยังหน้าเว็บไซต์อื่นๆ
จึงควรมี Meta Description ที่อธิบายเกี่ยวกับเว็บไซต์ในภาพรวม และหน้าที่เป็นสินค้าหรือหมวดหมู่ของสินค้า เพราะเป็นหน้าเว็บไซต์ที่ส่งผลต่อยอดขาย หากเขียน เมตา เดสคริปชั่น ที่ดึงดูดลูกค้าก็จะช่วยทำให้พวกเขาคลิกเข้ามาดูสินค้าได้มากยิ่งขึ้น
ดังนั้น คำตอบของคำถามที่ว่า เมตา เดสคริปชั่น จำเป็นต้องใส่ไหม? ก็คือ จำเป็นต้องใส่ในหน้าสำคัญๆ แต่อาจจะไม่ใช่ในทุกๆ หน้าของเว็บไซต์ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการปรับปรุง On-Page SEO นั่นเอง
ลืมใส่ Meta Description เป็นไรไหม
ถ้าเป็นสมัยก่อนต้องบอกเลยว่ามีผลต่อการทำอันดับมาก เพราะจะมีผลต่อการทำ SEO 100% แต่สมัยนี้ถ้าหากว่าเราลืมใส่ Meta Descriptions ทาง Google เขาก็จะไปดึงเนื้อหาภายใน Content ออกมาแสดงแทน
หากหน้าเว็บไซต์ไหนที่ไม่ได้ทำการใส่ Meta Description ทาง Google จะทำการดึงข้อมูลมาใส่ให้เอง ซึ่งการดึงข้อมูลมาใส่ให้นั้นเนื้อหาที่ถูกดึงมาอาจไม่ใช่ส่วนสำคัญ จนทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ จนทำให้ผู้ที่ทำการค้นหาเกี่ยวกับ Keyword นั้นๆ ไม่ต้องการคลิกอ่านเนื้อหา แน่นอนว่า ทำให้พลาดโอกาสในการสร้าง CTR และ Traffic ให้กับเว็บไซต์ได้
ทางที่ดีคือ ควรใส่ Meta Description ในหน้าเว็บไซต์สำคัญๆ หรือต้องการทำอันดับ และเขียนให้ดีพอเพื่อป้องกันการเปลี่ยนการแสดงผลการค้นหาแบบอัตโนมัติจาก Google
Meta Description กับ Meta Keyword แตกต่างกันอย่างไร
อย่างที่บอกแล้วว่า Meta Description คือ การเขียนคำอธิบายหรือการสรุปเกี่ยวกับหน้าเพจของเว็บไซต์นั้นว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร โดยจะแสดงผลในหน้า Search Engineบริเวณด้านล่างของ Headline หรือ Title Meta Tags โดยจะเน้นการเขียนสรุปเฉพาะข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายค้นหาจริงๆ พร้อมกับใส่ Keyword ที่เกี่ยวข้องลงไปด้วย (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)
ตัวอย่าง ชุดโค้ด HTML (Meta Description)
<meta name=”description” content=”Free Web tutorials”>
ส่วน Meta Keyword คือ การใส่คีย์เวิร์ดเพื่อระบุถึงข้อมูลว่าหน้าเว็บไซต์นั้นเกี่ยวข้องกับอะไร โดยจะใส่เป็น Mata Tag ที่เป็นชุดโค้ด HTML และใช้ตัวคอมมาร์ (,) ในการ tag ข้อความ
ในอดีตนั้น Meta Keyword ใช้เพื่อให้ผู้คนที่ค้นหาข้อมูลบน Search Engine สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลบทความอย่างรวดเร็วจาก Keyword ที่เว็บไซต์ระบุไว้ใน Meta Keyword และมีผลต่อการจัดอันดับด้วย แต่ต่อมาเนื่องจากมีการใส่คีย์เวิร์ดในเชิงสแปมคำเพื่อทำอันดับทำให้ผลการค้นหาไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ในปี 2009 Google จึงได้ออกประกาศอย่างเป็นทางการ ว่า Meta Keyword นั้น จะไม่ใช้อีกต่อไปแล้ว
ตัวอย่าง ชุดโค้ด HTML (Meta Keyword)
<meta name=”keywords” content=”HTML, CSS, JavaScript”>
วิธีเขียน Meta Description ให้ถูกหลักSEO
1. มี Keyword หลักอยู่ในประโยคนั้น
จุดนี้ทำแบบเดียวกันกับการเขียน Meta Title หรือ Title Tag หรือ Page Title แต่สิ่งที่แตกต่าง คือ เราไม่จำเป็นต้องนำ keyword หลักมาเขียนเป็นคำขึ้นต้นประโยคก็ได้
2. ให้มี Keyword รอง อยู่ในประโยคด้วย
การแต่ง Description ต้องแต่งให้เด่นประเด่นเดียว (1 topic) แต่ในประเด่นเดียวสามารถมีหลาย keyword ได้ หมายความว่าใน 1 หน้าเว็บ เราสามารถติดอันดับหลายคำได้ ถ้าคำเหล่านั้นมันเป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกัน เช่นคำว่า “สอน SEO” “สอน SEO ฟรี” “เรียน SEO” ทั้ง 3 คำนี้ ถือว่าเป็นคำที่มีความเกี่ยวข้องกันเราสามารถใช้ทั้ง 3 คำนี้เป็นส่วนหนึ่งในการแต่ง description ได้
3. ตอบโจทย์ Search Intent
Search Intent คือ จุดประสงค์ที่ผู้คนใช้ในการค้นหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งจาก Search Engine โดยคุณต้องวิเคราะห์ให้ออกว่า การที่คนค้นหาคีย์เวิร์ดเหล่านั้นหมายความว่าอะไร เช่น ต้องการข้อมูล ต้องการซื้อ ต้องการคำตอบ ฯลฯ เพื่อที่จะทำการเขียน Meta Description ที่ตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้นได้อย่างตรงจุด
4. Meta description คือสรุปเนื้อหาทั้งหมดของหน้านั้น
description คือคำอธิบายที่เป็นตัวแทนเนื้อหาทั้งหมด ดังนั้น การแต่ง description ที่ดี ต้องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาทั้งหน้าที่เราเขียนลงไปด้วย เทคนิคง่ายๆ สำหรับการแต่ง description ให้สัมพันธ์กับเนื้อหา ก็คือ ให้เราดูว่าเนื้อหาของเรามีหัวข้อย่อยเรื่องอะไรบ้าง ให้หยิบประเด่นจากหัวข้อย่อยเหล่านั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของการแต่ง description
5. Description ของแต่ละหน้าต้องมีความแตกต่างกัน
เพราะ Description คือสรุปเนื้อหาของแต่ละหน้า ดังนั้น แต่ละหน้าก็ต้องมีการเขียนสรุปเนื้อหากันคนละแบบ ดังนั้นให้จำให้ขึ้นใจเลยว่า Google ไม่ชอบเนื้อหาที่ซ้ำกัน อะไรที่ซ้ำกันคือไม่ดีทั้งหมด ดังนั้น คุณต้องพยายามแต่ง Description ของแต่ละหน้าให้มีความเฉพาะเจาะจง ไม่ซ้ำกันนั้นเอง (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress)
6. แต่ง Description ด้วยความยาวที่เหมาะสม
ความยาวที่เหมาะสมของการเขียน Description คือ 150-160 ตัวอักษร แต่จุดนี้คุณไม่ต้องไปเสียเวลานั่งนับตัวอักษร ถ้าคุณกำลังแต่ง title ภาษาไทย ให้คุณดูความยาวจากปลั๊กอิน SEO ที่คุณใช้บนเว็บได้เลย เพราะโดยมากปลั๊กอิน SEO จะสร้างช่องสำหรับการวัดความยาว Description ไว้ให้แล้ว เขียนให้ยาวเกินกึ่งกลางของช่อง และอย่าไปเขียนยาวเกินช่องที่เขาเตรียมไว้ให้นั้นเอง
7. เขียนเพื่อให้คนอ่าน ไม่ใช่เขียนเพื่อ Google bot
ไม่ว่าคุณจะแต่ง title หรือ Description จงเขียนเพื่อให้คนจริงๆ อ่าน ดังนั้น ต้องเขียนให้น่าอ่าน ไม่สแปม Keyword และเขียนให้กระชับเป็นลักษณะของสรุปเนื้อหาทั้งหมด
8. เขียนให้กระชับและเข้าใจง่าย
เพราะ Meta Description เป็นเหมือนการสรุปเนื้อหา จึงไม่ต้องใช้กลวิธีการเล่าเรื่องที่ยืดยาว แต่เน้นไปเลยว่า ถ้าคลิกลิงก์นี้แล้วจะเจอกับอะไร หรือได้อะไรหรืออาจจะใส่ CTA หรือ Call-to-Action เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรู้ว่าต้องทำอะไร และจะได้อะไรจากการคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ เช่น ดาวน์โหลดฟรี สมัครใช้งาน ฯลฯ
ไม่เช่นนั้นการแสดงผลของ Meta Description อาจจะไม่ครบถ้วน และทำให้การสื่อสารด้านเนื้อหาขาดหายไป แน่นอนว่า ส่งผลให้การดึงดูดผู้คนให้เข้ามายังเว็บไซต์มีน้อยลงไปด้วย
9. เขียนอธิบาย Title Tag
Meta Description ควรเป็นข้อความที่อธิบายเสริมจาก Title Tag โดยมีเนื้อหาหรือการใช้คำที่ส่งเสริมกันและกัน ยกตัวอย่างเช่น
Title Tag เขียนเชิญชวนด้วยคำว่า “ฟรี” และบอกด้วยว่า เป็นเครื่องมือสำหรับตรวจสอบลิงก์เสียจาก Ahrefs ที่เป็นเว็บไซต์ที่โดดเด่นในด้าน SEO อยู่แล้ว ส่วน Meta Description นั้นมีการเขียนขยายความจาก Title Tag ว่าเป็นเครื่องมือตรวจสอบลิงก์เสียที่รวดเร็ว หาลิงก์ที่เสียจากทั้งลิงก์ที่เป็น Internal และ External ได้ รวมถึงไม่ต้องทำการสมัครหรือดาวน์โหลดเพื่อใช้งานอีกด้วย ซึ่งเป็นการบอกคุณสมบัติเครื่องมือที่ตรงกับสิ่งที่คนค้นหามาด้วยคำคีย์เวิร์ดที่ว่า Check Broken Link
ตัวอย่างการเขียน Meta Description
หลักการเขียน Meta Descriptions คือ เขียนให้เข้าประเด็น กระชับ รวมถึงการใส่ Keyword ลงไป ก็เป็นอันจบแล้ว แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย เพราะนั่นเป็นเพียงแค่ วิธีการเบื้องต้นเท่านั้น
สำหรับเรื่อง Meta Descriptions หลายๆ คนคงคิดว่าแค่มี Keyword อย่างเดียวก็พอใช่ไหม ถ้าหากว่าเพื่อนๆ คิดแบบนั้น แสดงว่า ยังไม่รู้เทคนิคลับนี้ เอาเป็นว่าไม่พูดเยอะดีกว่า เรามาทำความเข้าใจเพิ่มเกี่ยวกับเรื่องนี้กัน
คุณรู้ไหมว่า ใน Meta Descriptions เราสามารถใส่ Keyword ได้มากหลากหลายคำ
Focus Keyword <สอน SEO >
Description แบบที่1 : สอน SEO ให้แบบเรียบง่าย โดยไม่ต้องใช้เวลาเยอะ เพราะย่อมาให้แล้ว แบบไม่ต้องอ่านนาน แนะนำให้อ่านบทความนี้
Description แบบที่2 : สอน SEO ฟรี คอร์สเรียน SEO แบบง่าย ๆ ที่ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ อัปเดทการทำ SEO 20XX
แบบที่2 เราได้เพิ่มมาตั้งหลาย Keyword คือ
- สอน SEO
- สอน SEO ฟรี
- คอร์สเรียน SEO
- เรียน SEO
- เรียน SEO 20XX
หลักการเขียน Meta Description ที่ดีไม่จำเป็นที่จะต้องใส่ Keyword แบบเต็มก็ได้ เราสามารถ นำ Keyword มาผสมคำกันได้ครับ แต่ต้องตรงกับ Title ด้วยนะ
แต่มันจะมีข้อเสียก็คือ ถ้าหากว่าในบทความนั้น ไม่มี Keyword ที่ว่า ก็จะทำให้อันดับออกมาไม่ดีเท่าที่ควรครับ ดังนั้น ควรใส่เท่าที่จำเป็น หรือเกี่ยวข้องเท่านั้น ไม่งั้นมันจะไม่ตรงกับ Search Intent ของผู้ใช้งาน
ข้อควรระวังในการเขียน Meta Description
สำหรับข้อควรระวังสำหรับการเขียน Meta Description นั้นมีอยู่หลายข้อ โดยเรารวบรวมข้อสำคัญๆ เป็น Checklist มาให้แล้ว ดังต่อไปนี้
- ถ่ายทอดออกมาด้วยภาษาที่ใช้สื่อสารตามธรรมชาติ ไม่ยัดเยียด Keyword มากจนเกินไป เพราะจะทำให้อ่านไม่รู้เรื่อง และยังดูเป็นการสแปมคีย์เวิร์ดอีกด้วย
- ควรเขียนในความยาวที่เหมาะสมโดยไม่ควรเขียนเกิน 150 – 154 ตัวอักษร เพราะข้อความอาจแสดงไม่ครบกรณีที่เขียนยาวมากกว่านั้น
- ควรมี Meta Description เฉพาะของเว็บเพจหน้านั้นๆ แบบไม่ซ้ำกัน ดังนั้น ไม่ควรทำการ Copy หรือ Duplicate ข้อความ Meta Description มาใช้เหมือนกันทุกหน้า เพราะอาจส่งผลต่อการจัดอันดับได้
- ไม่ควรใช้คำ Clickbait ที่ไม่ตรงกับเนื้อหาเพื่อหลอกล่อให้คนกด แต่ควรที่จะใช้การเขียนที่ดึงดูดความสนใจ
- ใส่ LSI Keyword ที่เกี่ยวข้องกับคำคีย์เวิร์ดหลักลงไปก็จะช่วยทำให้ Google และผู้อ่านเข้าใจบริบทของหน้าเว็บไซต์นั้นๆ ได้มากยิ่งขึ้น
ข้อแนะนำในเรื่อง Meta Description
- เขียนให้คนอ่านอยากคลิก
- พยายามใส่ Keyword ไว้ต้นๆ ถ้าให้ดีอย่าเขียนซ้ำกับ Title
- ให้ใส่ Keyword ที่สำคัญ แต่ไม่ต้องใส่เป็นคำตรงๆทุกคีย์ เน้นการผสมคำและสลับตำแหน่งเพื่อให้มีที่ว่างพอเขียน
- เขียน Meta Description ให้กระชับ
- ใส่ข้อความประมาณ 145-155 ตัวอักษร
- ไม่ควรทับซ้อนกับเนื้อหาอื่น : ข้อความ Meta Description ควรไม่ซ้ำกับส่วนอื่นของหน้าเว็บไซต์หรือบทความ เพราะจะทำให้ผู้ใช้งานสับสนและไม่รู้ว่าจะคลิกเข้าไปดูเนื้อหาต่อหรือไม่
- เขียนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน : ข้อความ เมตา เดสคริปชั่น ควรเขียนเพื่อเพิ่มคุณค่าและประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน เช่น การอธิบายข้อดีของสินค้าหรือบริการของคุณ เพื่อดึงดูดผู้ใช้และเป็นสิ่งที่ผู้ใช้จำได้
สรุป
การใส่ Meta Description ซึ่งเป็น Meta Tag รูปแบบหนึ่งให้กับหน้าเว็บไซต์ทุกหน้า เปรียบเสมือนการสรุปย่อเกี่ยวกับเนื้อหาทั้งหมดของเว็บเพจ ดังนั้น การเขียน Meta Description ที่ดีจึงควรอธิบายข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายได้ทันที แน่นอนว่า ก็ต้องศึกษาถึง Search Intent และทำ Keyword Research มาให้ดีพอที่จะทำให้ Meta Description ดึงดูดให้คนคลิกเข้าเว็บไซต์ได้จริง เพื่อเพิ่ม CTR ให้กับเว็บไซต์ ซึ่งเป็นทางหนึ่งในการเพิ่มอันดับบน Search Engines ได้ด้วย
Title Tag(Meta Title) และ description คือปัจจัยสำคัญของการทำ SEO เลยก็ว่าได้ เพราะ Googlebot คัดเลือกหน้าเว็บโดยดูจาก 2 จุดนี้เป็นอันดับแรก ดังนั้น คุณจำเป็นต้องเขียน title และ description ให้ดีที่สุด โดยยึดหลักการดังนี้
- มี keyword อยู่ในนั้น
- เขียนให้แต่ละหน้ามีความเฉพาะเจาะจงไม่ซ้ำกัน (unique)
- เขียนด้วยความยาวที่เหมาะสม
- ไม่สแปม keyword
- เขียนเพื่อเอาใจคนอ่าน ไม่ได้เขียนเพื่อเอาใจ Googlebot