การดันอันดับเว็บในกูเกิ้ลให้หน้าแรก การโปรโมทเพจด้วย internal link หรือ ลิ้งค์ภายใน ถือว่าสำคัญมาก เพื่อการทำ SEO ที่ดี วิธีทำ internal link ที่ถูกต้องมีขั้นตอนการทำอย่างไร แบบไหนถูกแบบไหนผิด เรารวบรวมไว้ครบที่สุดที่นี่
มีปัจจัยสำคัญต่างๆ มากมายที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับได้ อีกหนึ่งวิธีที่หลายคนนิยมใช้กันคือ การสร้าง Traffic ภายในเว็บไซต์ของเราด้วยการทำ ลิ้งค์ภายใน หรือ internal link ที่เราสามารถทำเองได้โดยไม่ยาก ต่างจากการสร้าง Traffic ด้วยการทำ Backlink ซึ่งมีโอกาสโดนถอดลิ้งค์ออก หรือ เสียค่าจ้างแพง
Internal link คืออะไร
Internal link คือ การใส่ Hyperlinks ผ่านข้อความหรือประโยคใดประโยคหนึ่งในหน้าเว็บไซต์ของคุณ เพื่อนำพาผู้ใช้งานไปยังอีกหน้าเว็บไซต์เดียวกัน ซึ่งส่วนมากจะใช้ในการเชื่อมโยงไปยังบทความอื่น ๆ หรือหน้าสินค้า/บริการที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหานั้น ๆ หรือในหลายครั้งการทำ Internal link ก็คือการเชื่อมกับปุ่ม Call-To-Action ที่จะช่วยกระตุ้นความสนใจให้ผู้ใช้งานตัดสินใจและลดความลังเลใจลง จนกลายเป็นลูกค้าของคุณในที่สุด
ทำไมถึงต้องทำ Internal Link
Internal link สามารถเชื่อมโยงหน้าเพจที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันให้เชื่อมต่อกัน เกิดเป็น Traffic ภายในเว็บไซต์ (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)
1.สร้างการเชื่อมต่อภายในเว็บไซต์
Internal link จะเชื่อมโยงหน้าเพจที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันให้เชื่อมต่อถึงกัน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถคลิกเข้าไปดูเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ ช่วยให้พวกเขาอยู่ในเว็บไซต์ได้นานขึ้น เกิดเป็น Traffic ขึ้นมาภายในเว็บไซต์ อีกทั้งยังช่วยให้ Google Bot ที่เข้ามาเก็บข้อมูลเข้าใจเนื้อหาของเว็บไซต์มากขึ้นอีกด้วย
2.สร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้ใช้งาน
Internal link จะช่วยให้ผู้ใช้งานที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ และสามารถคลิกอ่านเนื้อหาหรือเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้ในทันที ช่วยให้พวกเขาได้รับข้อมูลที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องเสียเวลา Search หรือกดคลิกเปิดหาทีละหลาย ๆ หน้า ถือเป็นการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด
3.ช่วยดันอันดับบนหน้าค้นหาให้สูงขึ้น
หากลิงก์ที่เรานำมาใส่ไว้ในบทความมีหน้าเพจปลายทางที่มีคุณภาพสูง มันก็จะช่วยดันอันดับของหน้าเพจที่ใส่ลิงก์ไว้ให้สูงขึ้นตามไปด้วย เพราะ Google จะมองว่าเว็บไซต์ของเรามีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ และมีความเกี่ยวข้องกับหน้าเพจที่ติดอันดับเนื่องจากเป็น Internal link นั่นเอง
ประโยชน์ของการใช้ Internal Link สำหรับการทำ SEO
นอกเหนือจากการทำหน้าที่เสมือนแผนที่สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปแล้ว Internal Link ยังมีประโยชน์ในแง่ของการดันอันดับ SEO ให้สูงขึ้นอีกด้วย จะมีอะไรบ้างไปดูกัน
ง่ายต่อการรวบรวมข้อมูลโดย Google
การมี Internal Link บนเว็บไซต์นั้นเกี่ยวข้องกับอัลกอริทึมของกูเกิลโดยตรง เพราะการที่ Google จะเริ่ม Crawl เว็บไซต์เพื่อนำข้อมูลไปจัดทำ Indexing จำเป็นต้องมี Internal Links ในการนำทางเพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลต่างๆ ได้ทั่วทั้งเว็บไซต์ พูดง่ายๆ คือ Internal Links เป็นไฟลท์บังคับที่ไม่สามารถเลี่ยงได้หากต้องการให้เว็บไซต์ติดอันดับ SEO (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ E-Commerce)
ช่วยกระจาย PageRank
Internal Link ยังมีประโยชน์ในการช่วยกระจาย PageRank ไปยังทั่วเว็บไซต์ อย่าลืมว่า PageRank เป็นมาตรวัดสำคัญของกูเกิลในการระบุว่าแต่ละหน้าของเว็บไซต์นั้นมีความนิยมอย่างไร โดยวัดจากการดูว่าหน้านั้นมีลิงก์ที่เชื่อมโยงมากแค่ไหน หมายความว่าหากหน้านั้นมี PageRank จำนวนมากโอกาสที่จะได้รับการจัดอันดับที่ดีก็มีสูงขึ้นตามเท่านั้น
สร้าง Authority ให้กับหัวข้อที่ต้องการ
หากอัลกอริทึมของกูเกิลเห็นว่ามี Internal Link จำนวนมากที่กำลังเชื่อมโยงไปยังหน้าๆ หนึ่งที่พูดถึงหัวข้อหนึ่งอยู่ ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสให้อัลกอริทึมของกูเกิลมองว่าเว็บไซต์นี้เป็นอันดับหนึ่งหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญสำหรับหัวข้อนั้น
ยกตัวอย่างเช่น หากเว็บไซต์มีการโพสต์เนื้อหาเกี่ยวกับ Link Building ที่ถูกลิงก์จากโพสต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกันภายในเว็บไซต์ อย่างโพสต์มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอธิบายความหมายของ Anchor Text การอธิบายความหมายของ Backlink Profile หรือหัวข้อย่อยอื่นๆ ก็จะเพิ่มโอกาสในการดันอันดับเว็บไซต์ให้สูงขึ้นได้
การทำ Internal Links มีกี่แบบ
การทำ Internal Links หรือ Inbound link จะมีทั้งหมด 2 รูปแบบดังนี้
1. Internal Links ที่เป็นคำสั้นๆ แทรกเอาไว้ เพื่อเพิ่มคะแนนให้กับการทำ Factor SEO On-page
ยกตัวอย่างเช่น :
Markettium เป็นเว็บที่ให้ความรู้SEO รับสอนSEO และ รับทำ SEO เหมาะสำหรับคนเข้ามาหาข้อมูลที่ถูกต้อง เรื่องเกี่ยวกับเทคนิคการทำ SEO เพราะว่ามีเนื้อหาที่อ่านง่าย รวมถึง จ้างงานโดยตรงกับผู้มีประสบการณ์สูง
2. Internal Links ที่เป็นแบบคำยาวๆ ซึ่งการทำลิ้งก์ภายในหรือ Internal Links ในรูปแบบนี้ จะค่อยข้างที่จะดึงดูด และ ทำให้คนกดคลิ๊ก ได้มากกว่าการทำ Internal Links แบบแรก
ยกตัวอย่างเช่น :
ถ้าหากสงสัยข้อมูลการทำ Backlink เพิ่มเติมสามารถอ่านได้ต่อจากที่นี่ : Backlinks คืออะไร? จำเป็นแค่ไหนกับการทำ SEO ให้ได้อันดับดีๆ < ข้อดีของการทำ Internal Link แบบยาวมันจะดีกว่าแบบสั้น เพราะว่ามันสามารถทำให้ผู้อ่านเกิดความสงสัย จนกดเข้าไปอ่านได้ คล้ายๆ เหมือนกับปูพื้นเรื่องให้ ผู้คนวิ่งผ่านตาม Link ที่เราต้องการ
ตำแหน่งของลิงก์ภายใน
ตำแหน่งลิงก์ภายในบนหน้าเว็บและการเลือกใช้งานให้เหมาะสม เพื่อคะแนนทางเอสอีโอที่ดีที่สุด (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress)
In-content Link
ลิงก์ภายใน ในตำแหน่งของเนื้อหา มีส่วนสำคัญมากว่าลิงก์ภายในของตำแหน่งอื่น ๆ (คอนเฟิร์มโดย John Mueller ) เราสามารถเชื่อมโยงลิงก์ตำแหน่งนี้ระหว่างหน้าอื่น ๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน ภายในเว็บไซต์ของเรา เมื่อ Robot ทำการ Crawler เว็บไซต์ มันจะมองเห็นว่าเว็บไซต์ของเรามีความความเชี่ยวชาญเนื้อหาเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกันในเรื่องนั้น ๆ
Navigation Link
ลิงก์ภายใน ในตำแหน่งของเมนูนำทาง ใช้เพื่อเป็นทางลัดที่มีประโยชน์เชื่อมโยงไปยังหน้าที่มีความสำคัญบนเว็บไซต์ของเรา นอกจากจะปรับแต่งให้เหมาะสมกับการ Crawler ของ Robot แล้ว ยังต้องคำนึงถึง User-friendly หรือผู้ใช้งานทั่วไปด้วย (ส่วนใหญ่เมนูแบบ one-level จะเป็นที่ชื่นชอบของผู้ใช้งานมากกว่าแบบ two-level)
Footer Link
ลิงก์ภายใน ในตำแหน่งของ Footer ไม่ได้มีความสำคัญมากนักในเชิงเทคนิคทาง SEO แต่อย่างไรก็ตาม ลิงก์ในตำแหน่งนี้อาจมีความสำคัญกับผู้ใช้ทั่วไป ที่ต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเว็บไซต์ของคุณ เช่น Privacy, Term & Conditions อื่น ๆ
ลิงก์ในตำแหน่งนี้มักไม่ผ่านตาผู้ใช้มากนัก ดังนั้นอย่าวางลิงก์ที่เชื่อมโยงไปในหน้าสำคัญ ๆ ของเว็บไซต์ของเราไว้ที่นี่
Image Link
การทำ Internal Link แบบ Image เป็นการเชื่อมโยงลิ้งก์ด้วยภาพ อารมณ์ประมาณว่ากดคลิกที่ภาพก็จะเด้งแท็บไปเว็บเพจอื่น ๆ
URL Link
การทำ Internal Link แบบ URL Link เป็นการวางลิ้งก์แบบที่ไม่มีการปรับแต่งใด ๆ เรียกได้ว่าเรา Copy ลิ้งก์มาแบบไหน ก็วางลิ้งก์แบบนั้นไปเลย
Redirect Link
Google โอนค่าของ PA และ Backlinks ผ่านทางลิงก์ที่ถูกเปลี่ยนเส้นทาง เป็นการแจ้งให้ Google ทราบว่าเราทำการย้ายเนื้อหาจากหน้านี้ ไปยังหน้าอื่น
Google จะถ่ายโอนค่าทั้งหมดข้างต้นที่เคยมีอยู่ไปยังหน้านั้น ๆ ที่คุณทำการ Redirect ไป
การใช้งาน Redirect Links ควรทำอย่างระมัดระวัง
- การใช้ Redirect Links หลายระดับ จะไม่เป็นผลดีต่อหน้าเว็บ ในบางครั้ง Robot จะไม่ Crawler ตามลิงก์เหล่านั้นไป
- การทำ Redirect Links ในปริมาณมากเกินไป ก็ไม่เป็นผลดีสำหรับตัวเว็บไซต์เช่นกัน ให้ใช้ปริมาณที่พอเหมาะ ใช้เฉพาะในยามที่จำเป็นเท่านั้น
Canonical Link
ในกรณีที่คุณมีบางหน้าเว็บที่มีเนื้อหาเหมือนหรือเกือบคล้ายกัน Google อาจจะสับสนในการจัดอันดับหน้าเว็บให้คุณ เป็นแนวทางที่ดีในการใช้ Canonical Links เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาที่ซ้ำกัน
Canonical Links จะทำหน้าที่อ้างอิง URL ไปยังหน้าเว็บที่มีเนื้อหาหลักของเรา และทำการโอนย้ายค่า PA ไปยังหน้านั้น ๆ ด้วย
กดอ่าน >> external link คืออะไร จำเป็นต่อ SEO หรือไม่
หลักการทำ Internal Link ที่ถูกต้อง
- พยายามใส่ Internal Link ลงไปในทุกหน้าเพจเท่าที่ทำได้ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อไปยังหน้าเพจอื่น ๆ ของตัวเว็บไซต์ และยังทำให้ Google Bot เข้าใจเนื้อหาบนเว็บผ่านลิงก์ที่เชื่อมโยงในแต่ละหน้า
- ลิงก์ที่ใส่ไว้ต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาให้ไปในทิศทางเดียวกัน
- เลือกใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Keyword หลักมาเป็น Link text และห้ามใส่ลิงก์ลงไปในคำที่เป็น Focus Keyword ของหน้านั้นๆ
- ในหนึ่งหน้าเว็บไม่ควรใช้ Link text ซ้ำกัน เพราะอาจทำให้ Google Bot เกิดความสับสนได้
- ทำลิงก์ให้เด่นชัด อาจเปลี่ยนสีตัวอักษร ทำตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ให้ดูโดดเด่นกว่าเนื้อหาอื่น เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้ว่านี่คือลิงก์ที่สามารถกดคลิกไปต่อได้
- ควรเขียนกระตุ้นให้คนอยากกดลิงก์ อย่าวางลิงก์ไว้เฉย ๆ โดยไม่เกริ่นนำใด ๆ เพราะการทำ Internal link คือการสร้าง Traffic ภายในให้กับเว็บไซต์ คุณจำเป็นต้องทำให้ลิงก์มีความน่าดึงดูด ทำให้ผู้ใช้งานสนใจและอยากคลิกลิงก์ให้ได้
- คุณควรจัดสรรปริมาณลิงก์ที่ใส่ลงไปในเนื้อหาอย่างเหมาะสม จัดวางตามตำแหน่งต่าง ๆ ของหน้าเพจอย่างเป็นระเบียบ เพื่อให้ประสบการณ์ของผู้ใช้งานออกมาดีที่สุด
- ไม่ควรใช้ Naked Link หรือวาง URL ลงไปเฉย ๆ เพราะมันอาจทำให้การแสดงผลบนโทรศัพท์มือถือเพี้ยนจนแตกต่างไปจากเดิม
เทคนิคเพิ่มเติมการทำ Internal link
1. Internal link ต้องทำ link แบบ Same window
หลังจากที่เรากด Link ต่างบนเว็บ มันจะมี Action การเปิดหน้าเว็บอยู่ 2 ชนิด คือเปิดหน้าเว็บใหม่แบบ Same Window กับ แบบ Open Link New Tab
สำหรับการทำ Internal link ต้องทำ link แบบ Same window เป็นหลัก แต่การทำ External link ให้ทำลิงค์แบบ Open Link New Tab เสมอ
2. เน้นทำ link ประเภท Exact-match กับ Partial-match เป็นหลัก
เราสามารถแบ่งลิงค์ออกเป็น 6 ลักษณะด้วยกัน ในการทำ Internal link ให้คุณเน้นไปที่การทำ Link แบบ Exact-match กับ Partial-match เป็นหลัก แต่ให้กระจายคำด้วย ไม่ใช่ว่าทุกบทความคุณจะใช้แต่ Exact-match ลิงค์อย่างเดียวไม่ได้
3. เอาคำที่เกี่ยวข้องของ keyword หลัก มาเขียนเป็น Link text
บางที่เรานึกคำที่จะมาเขียนแบ Partial match ไม่ออก ให้เอาคำที่เกี่ยวข้องของ Keyword นั้นมาเขียนเป็น Partial match Link ได้เลย
ทำไมการทำ Internal Link ถึงมีความสำคัญ
- การทำ Internal Link มีประโยชน์กับ User และช่วยให้คนอยู่ในเว็บไซต์ได้นานขึ้น
- การทำ Internal Link เปรียบเสมือนการทำ Navigation Menu ให้กับผู้ใช้งาน
- การทำ Internal Link เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดอันดับเว็บไซต์บน Google SERP
- Internal Link ช่วยให้ Google เข้าใจว่าเนื้อหาในหน้านั้น ๆ เกี่ยวข้องกับอะไร
- การทำ Internal Link ส่งผลต่อการจัดเก็บ Index
- Internal Link ช่วยให้เห็นลำดับชั้นข้อมูลของเว็บไซต์
แนะนำการทำ Internal Link ที่เห็นผลลัพธ์ที่ดี
1. ทำ Link ไปยัง Page ที่มีความสำคัญ
การทำ Internal Link ไปยังหน้าเว็บเพจอื่นๆ เป็นการช่วยสร้างความหน้าเชื่อถือให้กับเว็บเพจหน้านั้นๆ ว่าเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน นักทำ SEO หลายคนก็ใช้วิธีนี้เช่นกันในการดันอันดับเว็บไซต์ให้กับ Keyword ต่างๆ
2. ไม่ทำ Anchor Text ซ้ำกัน
สมมติว่าคุณต้องการทำ Internal Link ให้กับบทความ 2 เรื่อง คือ Grain-Free Chocolate Chip Cookies และ Low-Carb Chocolate Chip Cookies.
สิ่งที่ไม่ควรทำ คือ ไม่ทำ Anchor Text แบบซ้ำกันที่คำว่า “Chocolate Chip Cookies”
เพราะเวลาที่ Google Bot เข้ามาเก็บข้อมูล Google จะเข้าใจว่าอ๋อออออ ไอลิ้งก์ 2 ตัวนี้มันเป็นเนื้อหาหัวข้อเดียวกันนี่เอง แบบนี้จะส่งผลเสียต่อการทำ SEO อย่างแน่นอน
ทางที่ดีควรทำ Anchor Text แบบที่แตกต่างกัน ห้ามซ้ำกันเด็ดขาด
3. ปรับ แก้ไข Internal Link ผ่าน Google Search Console
Google Search Console นับว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากสำหรับการทำ SEO เพราะเป็นเครื่องมือที่เอาไว้ใช้ตรวจเช็คประสิทธิภาพของเว็บไซต์ ว่าเหมาะกับการแสดงผลแบบ Mobile Fridendly หรือไม่ คนที่ค้นหาผ่าน Google แล้วมาเจอเว็บไซต์ของเรา เขาเข้ามาด้วย Keyword อะไร
การปรับและแก้ไข Internal Link ผ่านการใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า Google Search Console ก็มีวิธีที่ง่าย ๆ เพราะตัว Google Search Console มี Feature การใช้งานที่ชื่อว่า “Links”
เราสามารถใช้ Feature นี้เพื่อตรวจเช็คดูว่าเว็บไซต์ของเรามีโครงสร้าง Internal Link เป็นอย่างไร เว็บเพจนั้น ๆ มี Internal Link มาก-น้อยแค่ไหน
4. อย่าลืมวาง Internal Link ด้านบนของเว็บเพจ
การทำ Internal Link ไว้ด้านบนเนื้อหาของบทความ ถือว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเมื่อ User เข้ามาเจอ Internal Link ที่เราวางไว้ ก็จะเพิ่มโอกาสที่ User จะกดคลิกได้
ซึ่งจะส่งผลดีต่อการทำ SEO เช่นกัน เพราะการทำคนกดคลิก Internal Link นั่นหมายความว่า User จะอยู่ในเว็บไซต์ของเรานานขึ้น ทาง Google ก็จะมองว่าเว็บไซต์เราตอบโจทย์ความต้องของ User แถมยังช่วยลด Bounce Rate และช่วยเพิ่มระยะเวลาการอยู่ในเว็บไซต์ได้นานขึ้นอีกด้วย
ฉะนั้นแล้วไม่เป็นอะไรเลยที่คุณจะวาง Internal Link ไว้บริเวณด้านบนของบทความสัก 1-2 Links
5. ควรทำ Internal Link เป็นแบบ Dofollow Links
Dofollow Link คือ การทำ Link แบบที่ให้ Link ไปเต็มๆ ไม่มีกั๊ก ซึ่งจะแตกต่างจากการทำแบบ Nofollow Link
การทำ Internal Link ควรทำเป็นแบบ Dofollow Link เพราะจะช่วยส่ง Pagerank ไปทั่วเว็บไซต์ของเราได้มากกว่า
6. ใช้ Internal Link เป็นตัวช่วยในการทำให้เว็บเพจติด Index
การที่เว็บเพจของเราจะแสดงผลในการค้นหาของ Google ได้ เว็บเพจหน้านั้น ๆ จำเป็นจะต้องติด Index เสียก่อน
ซึ่งการทำ Internal Link จะช่วยให้เว็บเพจนั้น ๆ ติด Index ได้ เพราะการทำ Internal Link จะช่วยให้ Google หาเว็บเพจต่าง ๆ ในเว็บไซต์เราได้ง่ายขึ้น
7. เพิ่ม Internal Link ในเว็บเพจเก่าที่เคย Publish ไปแล้ว
อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้เราทำ Internal Link ได้ดียิ่งขึ้น คือ การกลับไปเพิ่ม Internal Link ที่บทความเก่าๆ แต่ Internal Link ที่ทำใส่เพิ่มไป ควรเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักด้วย
วิธีตรวจเช็คว่า Internal Link มีคุณภาพหรือไม่
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น ว่าเราสามารถตรวจเช็คได้ว่า Internal Link ที่เราทำนั้นมีคุณภาพหรือไม่ผ่านการใช้เครื่องมือฟรีที่มีชื่อว่า “Google Search Console” โดยมีขั้นตอนดังนี้
- คลิกเข้าไปที่ : https://search.google.com/search-console/about
- สังเกตแถบด้านซ้ายมือ กดคำว่า “Links”
ซึ่ง Google Search Console ก็จะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับ Links ทั้งหมดให้เรา ซึ่งเราก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ “Total internal links” ว่าแต่ละ URL มีการทำ Internal ไปแล้วกี่ link และมี URL ไหนบ้างที่ link มาหา
ไม่ทำ Internal Links ได้ไหม
สำหรับความเห็นส่วนตัว การทำ SEO สมัยนี้ มีบทความเดียวแบบโดดๆ มักจะทำให้การทำอันดับยากขึ้น และติดช้ามากๆ การทำ Internal link เปรียบเหมือนเป็น Backlink ภายใน ที่โหวตกันว่า บทความไหนดีที่สุด และบทความไหนควรเป็นบทความหลัก ทางที่ดีควรทำเอาไว้ดีกว่านะ
1หน้าเว็บไซต์ ควรทำ Internal Link จำนวนเท่าใด
จากบทความของ Moz บอกว่า จริงๆ แล้วไม่มีคำตอบที่ตายตัว ว่ามีจำนวน Internal Link เท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าเยอะมากเกินไป
แต่ทาง Google เคยบอกว่า สามารถ Crawl Link ได้ประมาณ 100 Links/Page
แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การมี Internal Link มากเกินไปจะส่งผลไม่ดีต่อประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ (User Experience) เพราะผู้ใช้จะรู้สึกว่าทำ Link เยอะเกินความจำเป็น จนบางครั้งอาจจะเหมือนกับการ Spam Link ได้
ส่วนตัวแล้วเราคิดว่า ควรทำ Internal Link ในแบบที่พอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป ทำ Internal Link ให้สอดคล้องกับเนื้อหาของภายในเว็บไซต์นั้น ๆ แบบนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการทำ SEO มากกว่า
สรุป
วิธีการทำ internal link หรือ ลิงค์ภายในเว็บไซต์ นั้นช่วยให้อันดับดีขึ้นมาได้จริงๆ และเป็นเทคนิคที่แพร่หลายอย่างมากในวงการ SEO เมื่อได้ลองเข้าไปศึกษาข้อมูลเชิงลึกจากเว็บไซต์บล็อกดังๆ หรือที่ติดอยู่หน้าแรกของ Google ก็จะพบกับเทคนิคการทำ Internal Links อยู่ นอกจากจะช่วยให้เว็บไซต์อันดับดีขึ้นมาได้แล้ว หลักการนี้ยังเป็นมิตรกับ SEO อย่างมาก มีความเสี่ยงต่ำที่จะโดน Google แบน
ลิงค์ภายในมีประโยชน์ต่อ SEO อย่างไร
- ช่วยกระจายความเท่าเทียมของลิงค์ ทั่วเว็บไซต์ ทำให้เว็บมีคุณภาพมากขึ้น
- ช่วยดันหน้าเว็บอื่นให้มีผู้ชมงานขึ้น
- ผู้ใช้สามารถใส่ลิงค์นำทางไปยังเว็บไซต์ภายในได้โดยที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ และเป็นมิตรต่อ SEO
- ช่วยให้ Google ค้นบทความใหม่ๆ เพื่อจัดอันดับได้ง่ายขึ้น
- ควบคุมหรือจัดการ Google Bot ได้ง่ายยิ่งขึ้น
- เป็นการเพิ่มทราฟฟิกโดยตรง ทำให้โครงสร้างของเว็บไซต์ได้คุณภาพยิ่งขึ้น