การทำSEOเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ด้วย search intent (เจตนาของการค้นหา) จุดประสงค์เพื่อการปรับปรุงเนื้อหา ทำบทความ content ให้ตรงกับเจตนาของผู้ค้นหา(user intent) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้อ่านเจอเว็บของเราอยู่หน้าแรกของกูเกิ้ล
ในบทความนี้ Markettium จะพาคุณมาทำความรู้จักกับ Search Intent ตัวช่วยที่จะทำให้คุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกจุดมากยิ่งขึ้น พร้อมวิธีการทำ search intent คอนเทนต์ ที่ถูกวิธี ตามมาดูกันเลย (สนใจกด >> รับทำ SEO)
Search Intent คืออะไร
Search Intent คือ จุดประสงค์ในการค้นหา หรือเรียกง่ายๆ ก็คือการดูว่าคนมากูเกิ้ลคำนั้นไปทำไมนั่นเอง โดย Google จะเลือกแสดงผลเป็นเว็บที่มีลักษณะตรงตามใจผู้หามากที่สุด ตามสถิติที่ผู้ค้นหานิยมกดดู
เช่น เลือกแสดงผลเป็นวีดีโอเมื่อคนเสิร์ชดูการรีวิว การทำอาหาร เลือกแสดงผลเป็นBlogบทความสำหรับข้อมูลเชิงให้ความรู้ เลือกแสดงผลเป็นรูปภาพเมื่อuserหาข้อมูลรีวิวการทำศัลยกรรม การออกแบบบ้าน การตกแต่งสวน
บางคนเสิร์ชหาข้อมูลใน Google เพื่อตอบคำถามเรื่องที่สงสัย บางคนอยากดูรูป บางคนอยากซื้อของ บางคนอยากอ่านรีวิว หน้าที่ของคนที่ทำคอนเทนต์ เว็บไซต์ และ SEO ก็คือการทำความเข้าใจ Search Intent นี้ว่าคนอยากเจออะไร แล้วทำคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์กับคนที่ใช้ Google ให้มากที่สุด
Tips : โดยบางทีเราก็แทนคำว่า Search Intent ด้วยคำว่า User Intent (จุดประสงค์ของผู้ใช้งาน) หรือ Audience Intent (เจตนาของคนดู)
Search Intent สำคัญยังไง
Google กล่าวไว้ Mission ของ Google ก็คือ “การจัดการข้อมูลในโลกนี้ เพื่อให้ข้อมูลนั้นเข้าถึงได้และเป็นประโยชน์สำหรับทุกคน” ดังนั้นแล้วถ้าเราอยากติดอันดับบน Google เราก็ต้องทำคอนเทนต์ที่ “มีประโยชน์และเข้าถึงได้” โดยเจ้าประโยชน์นี้เอง ที่ขึ้นอยู่กับ Search Intent เป็นหลัก (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)
ยกตัวอย่างง่ายๆ สมมติว่าเรากำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของกาแฟ และการคั่วกาแฟ เพื่อจะทำกาแฟที่ดีที่สุดให้คนที่รักสักแก้วในยามเช้าต้อนรับวันใหม่เนื่องในโอกาสวันครบรอบ แต่ถ้าพอไปเสิร์ชใน Google แล้วการค้นหาที่ขึ้นมาเป็นร้านกาแฟไปทั้งหมด มันก็คงจะไม่ตอบโจทย์การค้นหา ไม่ตรงกับ Search Intent ของเรา เพราะเราไม่ได้อยากไปร้านกาแฟ แต่เราอยากทำเอง หมายความว่าผลการค้นหานั้นไม่มีประโยชน์กับเรา อย่างที่ Google อยากให้เป็น
โดย Google ก็โฟกัสที่เรื่องนี้มากๆ ตัว Quality Raters Guideline ที่ Google ทำเอาไว้ล่าสุด ก็โฟกัสมาที่ Search Intent ไม่น้อยเลย แถมยังมีบล็อกที่โฟกัสมาเรื่อง Search Intent เช่นกัน
ดังนั้นแล้วถ้าเราต้องการติดอันดับบน SEO เราต้องเป็นผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้อง (Relevant) กับคำค้นหาครั้งนั้นให้มากที่สุด และจะเป็นคอนเทนต์ที่ถูกเลือกนั้นได้ ก็ต้องเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจ Search Intent ก่อน นี่เป็นหัวใจหลักของการทำ SEO ยุคใหม่เลยนะ
นอกจากจะเป็นประโยชน์กับคนอ่าน ช่วยให้ติดหน้าแรกได้ และ CTR (อัตราการคลิกเข้าเว็บ) ที่เพิ่มขึ้นแล้ว การที่เราทำคอนเทนต์ได้ตรงกับ Search Intent ยังจะช่วยให้คนที่เข้ามาเว็บไซต์ของเราได้คำตอบในที่เดียว ใช้เวลาอยู่บนเว็บนานๆ ไม่ใช้เข้าปุ๊ปออกปั๊ป แล้วก็ไม่ต้องไปหาข้อมูลที่อื่นอีก และพฤติกรรมพวกนี้ก็จะช่วยให้เว็บเราดูดีมีคุณภาพในสายตา Google ซึ่งดีกับ SEO โดยรวมต่อไปอีก โดย Metrics พวกนี้เราจะเห็นได้จากบนเรื่องมือที่เราใช้แทร็คข้อมูล เช่น Google Analytics (สนใจกด >> รับสอน SEO)
ประเภทของ Search Intent
Search Intent สามารถแบ่งประเภทออกตามลักษณะของการค้นหาได้ 4 แบบ ดังต่อไปนี้
1. ข้อมูล,ข่าวสาร (Informational)
ผู้ใช้งาน “ค้นหาหาข้อมูล” เพื่อหาคำตอบสำหรับคำถามง่าย ๆ แต่ไม่ใช่ว่าคำค้นหาทั้งหมดจะอยู่ในรูปแบบคำถามนะ User ต้องการเนื้อหาที่ให้ ‘ข้อมูล’ โดยอาจเป็นข้อมูลทั่วๆ ไป หรืออาจเป็นข้อมูลจำเพาะเจาะจงบางอย่าง มักมีคำเหล่านี้ประกอบการค้นหา เช่น ทำไม, อะไร, อย่างไร, วิธีการ ฯลฯ
Search Intent Informational ตัวอย่าง :
- ปีหน้าหยุดวันไหนบ้าง
- วิธีกำจัดกลิ่นท่อ
- ทำชานมไข่มุกยังไง
- อะไรกินแล้วไม่อ้วนบ้าง
ประเภทของคอนเทนต์ที่สามารถทำได้
- บทความหน้าให้ความรู้ทั่วไป
- บทความหน้าสินค้า หรือบริการ
- คลิปวิดีโอ
2. การนำทาง (Navigational)
ผู้ใช้งาน “ค้นหาเว็บไซต์ที่เฉพาะเจาะจง” พวกเขาอาจคิดว่าการพิมพ์คำค้นหาใน Google นั้นง่ายและเร็วกว่าการพิมพ์ URL ของเว็บไซต์ใน Address Bar ของ Browser หรือบางทีอาจไม่แน่ใจเกี่ยวกับ URL ที่ถูกต้องของเว็บไซต์เหล่านั้น
User มีการรับรู้แบรนด์อยู่บ้างแล้ว และต้องการ ‘ไปยัง’ แบรนด์นั้นๆ ผ่านการค้นหาที่ Search Box ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเว็บไซต์เฉยๆ หรือต้องการไปยังสถานที่จริง มักมีคำค้นหาที่เป็นชื่อแบรนด์โดยตรง
Search Intent Navigational ตัวอย่าง :
- Youtube Donald Trump channel
- Ubersuggest Neil Patel
- คลิปสอน SEO ครู top
- Markettium บริการอะไรบ้าง
ประเภทของคอนเทนต์ที่สามารถทำได้
- หน้า Homepage
- หน้า Contact หรือส่วนที่มีข้อมูลการเดินทาง
3. การตรวจสอบเพื่อการซื้อ (Commercial investigation)
ผู้ใช้งาน “ค้นหาสินค้าหรือบริการที่เฉพาะเจาะจง แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าตัวเลือกใดเหมาะสมกับพวกเขา” มักจะมองหาความคิดเห็นและการเปรียบเทียบ กำลังอยู่ในโหมดชั่งน้ำหนักตัวเลือก
User กำลังอยู่ในขั้น ‘เตรียมตัวซื้อ’ สินค้า หรือ บริการบางอย่าง และต้องการค้นหาข้อมูลที่จะสามารถ ‘ช่วยให้ตัดสินใจได้’ คำค้นหามักประกอบไปด้วย รีวิว, ที่ดีที่สุด, 10 อันดับ… เป็นต้น (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ E-Commerce)
Search Intent Commercial investigation ตัวอย่าง :
- หม้อทอดไร้น้ำมัน ยี่ห้อไหนดี
- รีวิวเครื่องฟอกอากาศ
- line man vs foodpanda
- 10 อันดับ ร้านอาหารเยาวราช
- จ้างทำSEOที่ไหนดี
ประเภทของคอนเทนต์ที่สามารถทำได้
- บทความรีวิว หรือคู่มือการเลือกซื้อ
- อาจมีเป็นแบบรูปภาพ หรือวิดีโอได้ด้วยสำหรับสินค้าหรือบริการบางอย่าง
4. การทำธุรกรรม (Transactional)
ผู้ใช้งาน “ค้นหาเพื่อจะทำการซื้อ” เรียกได้ว่ากำลังอยู่ในโหมดพร้อมจ่าย, ส่วนใหญ่พวกเขารู้อยู่แล้วว่าต้องการซื้ออะไร แค่กำลังมองหาแหล่งจำหน่าย
User มีความต้องการที่จะ “ทำ” หรือ “ซื้อ” สินค้า หรือ บริการนั้นๆ แล้ว โดยมีกลุ่มคำที่เป็นตัวบ่งบอก ได้แก่ ซื้อ, ลดราคา, ราคาพิเศษ, ส่งด่วน, จอง, ราคา เป็นต้น
Search Intent Transactional ตัวอย่าง :
- จอง iPhone รุ่น XXX
- โปรย้ายค่ายเบอร์เดิม AIS
- รองเท้า A รุ่น B ลดราคา
- วิธีเดินทางบริษัท Markettium
ประเภทของคอนเทนต์ที่สามารถทำได้
- บทความหน้าสินค้า หรือบริการ
- หรือบางธุรกิจอาจต้องเป็นหน้าที่เขียนเพื่อให้ข้อมูลความรู้ แล้วจึงสอดแทรกการขาย เช่น ธุรกิจที่อยู่ในหมวด YMYL อย่างคลินิกเสริมความงาม โรงพยาบาล หรือการเงินการลงทุน เป็นต้น
แน่นอนว่าหลายๆ คำเราอาจพอมองด้วยตาเปล่าแล้วสามารถตัดสินใจได้เลยว่า Search Intent แบบนี้ ควรทำคอนเทนต์แบบไหน แต่เราแนะนำให้เลือกใช้ ข้อความค้นหา (Query) / คำค้นหา (Keywords) ต้องนำไปตรวจสอบที่หน้า SERP เสมอทุกครั้ง และทุกตัวถ้าเป็นไปได้ เนื่องจากอาจไม่ได้มีการนำเสนอแค่วิธีเดียวเสมอไป
การวิเคราะห์ Search Intent เพื่อทำ SEO
ในการทำ SEO เราสามารถมองเห็น Search/User Intent ที่ซ่อนอยู่ในลักษณะของ ข้อความค้นและคำค้นหา ได้อย่างชัดเจน เหมือนดังตัวอย่างด้านล่างนี้
ตัวอย่าง: ใช้ข้อความค้นหา “ซื้อ i pad pro” ชัดเจนว่าผู้ใช้งานต้องการซื้อสินค้า (Transactional) ในทางตรงกันข้าม ใช้ข้อความค้นหา “วิธีตัดผม” กำลังมองหาข้อมูล (Informational)
ลักษณะของ คำค้นหา (Keyword) ทั่วไปที่ช่วยให้เราวิเคราะห์เพื่อแยก เจตนาของการค้นหา ได้ง่ายขึ้น (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress)
1. การค้นหาเพื่อหาข้อมูล (Informational)
เทคนิคการใช้Keywordคิดหัวข้อ คือ วิธี อะไร ใคร ยังไง ที่ไหน ทำไม คู่มือ สอน ไอเดีย เทคนิค เรียน ตัวอย่าง
2. การค้นหาเพื่อหาทางไปเว็บไซต์ (Navigational)
เทคนิคการใช้Keywordคิดหัวข้อ คือ ชื่อแบรนด์ ชื่อเว็บ ชื่อหมวดหมู่ ชื่อสินค้า ชื่อร้าน ชื่อบริการ
3. การค้นหาตัวเลือกเพื่อตัดสินใจ (Commercial investigation)
เทคนิคการใช้Keywordคิดหัวข้อ คือ สุดยอด ที่ดีที่สุด ลักษณะของสินค้า (เช่น ขนาด, รุ่น, สี คูปอง) การเปรียบเทียบ
4. การค้นหาเพื่อซื้อ (Transactional)
เทคนิคการใช้Keywordคิดหัวข้อ คือ ซื้อ สั่งซื้อ คูปอง ชื่อร้าน ราคา การตีราคา
ความสำคัญของ Search Intent
จริงๆ แล้ว Search Intent เป็นเรื่องของคีย์เวิร์ดนั่นแหละ เพราะมันเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ Google สร้างขึ้นเพื่อเอามาตีความถึงความต้องการของ User ด้วยการใช้บริบทของคำมาตามหาข้อมูลเหล่านั้น ยิ่ง Google สามารถสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับ User ได้มากยิ่งขึ้น เมื่อเกิดความประทับใจ คนก็จะใช้บ่อยมากขึ้นตามไปด้วย
บอกเลยว่าความเจ๋งสุดของ Google คือเรื่อง Search Intent นี้เขาทำออกมาดีจริงๆ เชื่อว่าทุกคนก็รู้สึกเหมือนกัน แล้วเมื่อมันมีประสิทธิภาพมากขนาดนี้คนทำ SEO ย่อมได้ประโยชน์ไปด้วยอย่างแน่นอน
ความสำคัญของ Search Intent ต่อการทำ SEO
เราสามารถสร้างคอนเทนต์จาก Search Intent ได้ : การมี Search Intent นั้นเหมือนเป็นการได้ไกด์ไลน์ในการทำ SEO ยิ่งคุณสามารถเข้าใจและตามหา Search Intent ได้ตรงใจ Google กับ User มากเท่าไหร่ อันดับของ SEO ที่ปรากฏบน SERPs ก็ยิ่งดีมากขึ้น โดยเราสามารถบอกอย่างชัดเจนได้ 3 ข้อถึงความสำคัญที่ทำให้คุณต้องชื่นชอบ Search Intent ได้แก่
- 1. ช่วยให้คุณวางกลยุทธ์ในการทำเนื้อหาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพราะคุณจะสามารถสร้างคอนเทนต์ที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นได้ โดยรู้ได้ว่าควรใช้คำอย่างไร ใช้คำว่าอะไรมาช่วยเสริมดันให้ Google มองเห็นและเลือกไปนำเสนอ
- 2. ช่วยให้คุณตอบคำถามถัดไปของ User ได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น
เมื่อ User เข้ามาด้วยคำถามแรกแล้ว เขาอาจจะมีคำถามต่อๆ ไป เมื่อเรารู้ว่าคำถามถัดไปหรือ Search Intent คืออะไรก็สามารถสร้างเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันโยงไปหากันได้ User ก็จะใช้เวลาในเว็บไซต์ของเรานานขึ้น ที่สำคัญ Google ก็จะรู้สึกว่าข้อมูลเราครบถ้วนดีสามารถนำไปนำเสนอต่อได้อีก
- 3. ช่วยให้ผลลัพธ์ของการทำ SEO ดีมากขึ้น
หากการใช้ Search Intent ทำให้ Google เลือกเสนอเนื้อหาของคุณและคุณสามารถตอบโจทย์ User ได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังไงอันดับของคุณก็ต้องดีขึ้นอย่างแน่นอน เพราะทุกอย่างของ Google ล้วนทำให้กับ User ทั้งนั้น
วิธีการหา Search Intent
เมื่อคุณมีคีย์เวิร์ดที่ต้องการเขียนแล้วอย่างแรกเลยคือ คุณต้องเช็ค SERPs ที่ย่อมาจาก Search Engine Results Page ก็คือการลองเอาคีย์เวิร์ดคำนี้ของคุณไปค้นหาที่หน้า Google กันดูก่อน
แต่อย่าเพิ่งกดค้นหานะ คุณอาจจะลองดูด้านล่างว่าเขาให้ตัวเลือกอะไรกับเรามาบ้าง ขั้นแรกเราจะดูตรงนั้นก่อนเลย มันเหมือนกับเป็นการเช็คดู Search Intent แบบเบื้องต้นว่าคนเขาค้นหาอะไรในคีย์เวิร์ดคำนี้กันบ้าง
อีกวิธีหนึ่งที่อาจจะสะดวกกว่าทั้งยังมีความน่าเชื่อถือมากกว่าคือการใช้เครื่องมือ SEO Tools ต่างๆ อย่างเช่น Google Keyword Planner เข้ามาดูซึ่งเครื่องมือตัวนี้จะสามารถดู Search Volume ที่จะบอกว่าคีย์เวิร์ดและ Search Intent หรือ Keyword Intent นี้มีการค้นหามากเท่าไหร่
เราก็สามารถหยิบเอาตัวที่มีความนิยมมากๆ และมี Search Intent ที่ตรงกับสิ่งที่ธุรกิจจะสามารถนำเสนอได้มาใช้สร้างคอนเทนต์ พร้อมกับเลือกตัวที่ได้รับความนิยมรองลงมาเพื่อวางกลยุทธ์ในการสร้างคอนเทนต์ให้เชื่อมโยงกันไปเรื่อยๆ แบบนี้ก็ได้
วิธีการใช้ Search Intent ในคอนเทนต์เพื่อ SEO
เมื่อเราได้ Search Intent มาแล้ว เหมือนกับเราได้แนวทางการทำคอนเทนต์เรื่องหนึ่งมาแล้วครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว เพราะ Search Intent ที่เราได้มาสามารถนำมาเป็นหัวข้อหรือแนวทางการวางเรื่องให้ครอบคลุมและมีทิศทางที่สอดคล้องกับสิ่งที่ Google มองว่ามีคุณภาพเพราะมันคือสิ่งที่ User ตามหา
ขณะที่สร้างคอนเทนต์เราก็ใส่เอา Search Intent และคีย์เวิร์ดมาลงในชื่อบทความ คำโปรยหรือ Meta Description และหัวข้อต่างๆ ไปให้พอดี
อย่าลืมใส่ลงในเนื้อหาตามหลักของ SEO เท่านี้คอนเทนต์ของคุณก็จะมีการใช้ Search Intent เข้ามาช่วยทำให้ Google มองเห็นและจัดคอนเทนต์ให้ไปอยู่ในอันดับที่ดีมากขึ้นเมื่อมีคนค้นหาคำคีย์เวิร์ดหรือ Search Intent นั้นๆ
การปรับแต่งเนื้อหาทำ SEO ให้สอดคล้องกับ User Intent
“User Intent เป็นตัวกำหนดประเภทของเนื้อหาที่คุณสร้าง” เมื่อจะสร้างเนื้อหาเพื่อทำ SEO ให้คิดไว้ก่อนล่วงหน้า (มองไปยังอนาคต ) ว่าเนื้อหาที่เรากำลังจะสร้าง หรือกำลังจะปรับปรุง จะถูกใช้เพื่อเจตนาใด? เพื่อให้ข้อมูล? ขายสินค้าหรือบริการ? ต้องการทราฟฟิคจากผู้ใช้งานประเภทใด?
วิเคราะห์ ข้อความค้นหา (Query) / คำค้นหา (Keywords)
เลือกใช้งาน ข้อความค้นหาและคำค้นหา ให้เหมาะสมกับประเภทของเนื้อหาที่คุณต้องการ สร้าง/ปรับปรุง เพื่อให้ตอบ เจตนาของผู้ใช้งาน
เลือกชนิดของหน้าเนื้อหา (Post/Page)
1. คำค้นหา เพื่อให้ข้อมูล (Informational)
- โพสต์บล็อก (Blog Post)
2. คำค้นหา เพื่อให้ตรวจสอบก่อนการซื้อ (Commercial investigation) เลือกใช้
- โพสต์บล็อก (Blog Post)
- หน้าเว็บปกติ (Regular Page)
3. คำค้นหา เพื่อให้ทำธุรกรรม (Transactional) เลือกใช้
- หน้าผลิตภัณฑ์ (Product Page)
- หน้าหมวดหมู่สินค้า (Category Page)
- หน้าบริการ (Service Page)
- แลนดิ้งเพจ (Landing Page)
เลือกรูปแบบของเนื้อหา
เลือกรูปแบบของเนื้อหาที่เราจะเขียน ว่าจะให้ออกมาในลักษณะไหน เช่น
- การแนะนำ
- การแสดงความเห็น
- การรีวิว
- การเปรียบเทียบ
- Top List
- วิธีใช้
- บทเรียนทีละขั้นตอน
สร้างจุดขายให้กับเนื้อหา
สร้างจุดขายที่ไม่เหมือนใครให้กับเนื้อหาของคุณ ทำให้เนื้อของคุณน่าสนใจและชวนให้ติดตาม มากกว่าเนื้อหาของเว็บไซต์อื่น ๆ
การสร้างจุดขายของเนื้อหา :
- เนื้อหาที่ตรงประเด็น
- สไตล์การเขียนที่น่าติดตาม
- โครงสร้างเนื้อหาที่อ่านง่าย
- การใช้มีเดีย สร้างความประทับใจ เช่น รูปภาพ วิดีโอ พอดแคสต์
สร้างจุดเด่นให้กับตัวอย่างเนื้อหา
สร้างจุดเด่นให้กับตัวอย่างเนื้อหาของคุณ ที่แสดงบนหน้าผลการค้นหา (SERP) เมื่อมีการค้นหาบน Google Search เช่น “วิธีทำข้าวหมกไก่” ผู้ใช้งานจะพบ วิธีทำข้าวหมกไก่ มากมายจนเลือกไม่ถูก จากนับพันเว็บไซต์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องและถูกจัดอันดับในคำค้นหานี้เช่นเดียวกันกับเว็บไซต์ของคุณ เพราะฉะนั้นเราต้องโดดเด่นที่สุดจึงจะอยู่รอดและมีอันดับที่ดีกว่าเว็บไซต์อื่น ๆ
การสร้างความโดดเด่นให้กับตัวอย่างเนื้อหา :
- ตั้งหัวข้อ (Title Tag) ให้ดึงดูด
- เขียนคำอธิบาย (Meta Description) ให้น่าสนใจ
- ใช้งาน Rich Snippet เพื่อสร้างความโดดเด่น
ทั้งหมดนี้เรียกว่า การเพิ่มอัตรา Click-Through Rate
เทคนิคลับทำคอนเทนต์ให้ตรง Search Intent
ก่อนที่จะทำคอนเทนต์ทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นหน้าเว็บไซต์ใหม่ บล็อก วิดีโอ Infographic ต่างๆ อย่าลืมดูเรื่อง Search Intent กันก่อนนะ
ขั้นตอนที่ 1: เช็ก SERPs ก่อนทำคอนเทนต์ทุกครั้ง
SERPs ย่อมาจาก search engine results page ซึ่งมันก็คือหน้าผลลัพธ์การค้นหาบน Google นี่เอง ก่อนที่จะทำคอนเทนต์ทุกครั้ง เอาคำที่อยากจะติดอันดับไปลองค้นหาใน Google ดูก่อน แล้วดูว่าผลการค้นหาที่ขึ้นมาเป็นแบบไหน ไอเดียของมันคือ Google ได้เลือกแล้วว่าสิ่งที่ขึ้นมาหน้าแรก คือสิ่งที่ตอบโจทย์การค้นหาของคน ดังนั้นถ้าเราจะไปช่วงชิงพื้นที่หน้าแรกมา ก็ต้องทำตามแนวทางเดียวกันด้วย
โดยหลักๆ แล้วเราจะดูกัน 4 อย่าง คือ สไตล์, ประเภท, ฟอร์แม็ต, และมุมมอง ฟังดูงงๆ หน่อย เดี๋ยวเรามาดูกันทีละตัวนะ
สไตล์ของคอนเทนต์
อันนี้คือตัวแรกที่เราจะดูก่อนเลย มันคือการดูว่าคอนเทนต์นี้เป็นสไตล์ไหน สไตล์ในที่นี้หมายความว่า เป็นคอนเทนต์แบบวิดีโอ รูปภาพ หน้าเว็บบล็อก หรือตัว Rich Results ขึ้นมาเยอะๆ แล้วถ้าคอนเทนต์ส่วนใหญ่เป็นแบบไหน ก็ให้เราทำแบบนั้น เช่นอย่างคีย์เวิร์ด “แกะกล่อง iPhone XXX” ผลลัพธ์ที่ขึ้นมาเป็นวิดีโอทั้งหมด ต่อให้เราเขียนบล็อกดีแค่ไหนก็ไม่มีทางติดหน้าแรกได้เลย ถ้าเราอยากติดหน้าแรกคำนี้ ก็ต้องทำคอนเทนต์เป็นแบบวิดีโอ
ประเภทของคอนเทนต์
หลังจากที่เราดูสไตล์ของผลลัพธ์ไปแล้ว ถ้าผลการค้นส่วนใหญ่เป็นหน้าเว็บปกติ (ลิงก์สีฟ้า) ไม่ได้เป็นวิดีโอหรือรูป เราก็จะมาดูประเภทของหน้าเว็บกัน ส่วนใหญ่ผลการค้นหาแบบตัวหนังสือจะมีอยู่แค่ไม่กี่แบบ ได้แก่ หน้าสินค้า, หน้า category ของสินค้า, บล็อก, หรือหน้าเว็บไซต์ (landing page)
ถ้าคนเสิร์ชหาคำว่า “รีวิวไอโฟน” ตัวหน้าการค้นหาที่ขึ้นมา จะเป็นประเภทบล็อกเกือบทั้งหมด
แต่ถ้าเราเสิร์ชคำว่า “ซื้อเสื้อกันหนาว” แบบนี้ผลการค้นหาส่วนใหญ่ก็จะเป็นหน้า e-commerce ที่รวมสินค้าเสื้อกันหนาวหลายๆ อันเอาไว้
ฟอร์แมตและมุมมองของคอนเทนต์
ตรงนี้เราจะมาดูกันว่า คอนเทนต์ส่วนใหญ่ที่ขึ้นมาหน้าแรก เป็นมุมมองไหน เช่น
- เป็นบทความแบบ How-to
- เป็นการรีวิว
- เป็นบทความสำหรับมือใหม่
- หน้าเว็บสำหรับคนที่เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ แล้ว
- เป็นการให้ความคิดเห็น
- เป็นการเปรียบเทียบ
เรายังต้องวิเคราะห์ด้วยว่า คอนเทนต์ของเรามีกลุ่มเป้าหมายแบบไหน เป็น Beginner หรือเปล่า หรือถึงขั้น Expert แล้ว เพราะการเล่าเรื่องและมุมมองของคนอ่านส่งผลต่อ Search Intent โดยตรง และถ้าไม่ทำตามก็เหมือนว่าเรากำลังเดินผิดทางนั่นเอง
เช่น คนที่เสิร์ชคำว่า “สอน SEO” นั้นส่วนใหญ่น่าจะเป็นผู้ที่เพิ่งเริ่มต้น และกำลังศึกษาด้วยตัวเอง เพราะผลการค้นหาสามอันดับแรก เป็นคู่มือสำหรับมือใหม่ทั้งหมดเลย ถ้าเราจะมาเขียน สอน SEO แต่เน้นเทคนิค สำหรับคนที่ ทำSEO เป็นแล้ว ก็อาจจะติดหน้าแรกคำนี้ยากนิดนึง
ขั้นตอนที่ 2: เขียนคอนเทนต์แบบมี Secondary Keywords เสมอ
เวลาที่เราเขียนบทความหรือทำคอนเทนต์ เราก็หวังจะให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด หนึ่งในวิธีที่จะช่วย Maximize พลังงานของเราได้ ก็คือการทำให้บทความของเราติดอันดับดีๆ ได้มากกว่า 1 คีย์เวิร์ด แต่ทั้งนี้จะมารวมเรื่องโน่นนี่ในบทความเดียวกันไปหมดก็ไม่ใช่นะ
เช่น เขียนบทความ เรื่องสอนSEO แต่จะใส่คำถามเรื่องสอนทำอาหาร ก็อาจจะแปลกๆ หน่อย แต่เราจะต้องดูว่ามีคีย์เวิร์ดอื่นๆ หรือคำถามอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรากำลังเขียนหรือเปล่า แล้วเอามาเติมในคอนเทนต์เดียวกันให้ครบถ้วน โดยการดูคำพวกนี้ ทำได้หลายวิธีเลย วันนี้ยกมาสองวิธีก่อน
1. หาคีย์เวิร์ดด้วย People also ask
หนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุด คือ คอยดูกล่อง “People also ask” หรือคำถามอื่นๆ ที่ผู้คนถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่น สมมติอยากติดคีย์เวิร์ดคำว่า How to make pancakes เราก็จะต้องมีคำถามที่เกี่ยวข้องในคอนเทนต์นี้ด้วย เช่น How to make pancakes from scratch? หรือ What is the best pancake mix? เพื่อให้คอนเทนต์ของเรามันเต็ม ครบถ้วน สมบูรณ์ขึ้น
แต่ถ้าไม่อยากใช้เครื่องมือที่ต้องลงทะเบียน ก็สามารถลองหยิบชุด ‘คำถามที่พบบ่อย’ อื่นๆ ที่เวลาเราพิมพ์ค้นหาอะไรไปสักอย่างจะขึ้นแนะนำให้ หรือเข้าไปดูเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ Also Ask ได้นะ แต่สุดท้ายแล้ว ห้ามลืมเด็ดขนาดว่าเนื้อหาที่เราจะทำ ‘ต้องเขียนดี เนื้อหาครบถ้วน และเป็นประโยชน์กับผู้ใช้งานจริงๆ’
2. หาคีย์เวิร์ดด้วย Ahrefs (ฟรี)
ถ้าใครใช้ Ahrefs ตัวเสียเงินอยู่แล้ว สามารถใส่คีย์เวิร์ดลงไปใน Keyword Explorer แล้วกด Having the same search term ทางซ้ายมือได้เลย แต่สำหรับใครที่ไม่เคยใช้ ลองมาดู Ahrefs Keyword Generator ได้ ใช้ฟรีเลย โดยเข้าไปปุ๊ป ก็กรอกคีย์เวิร์ดตั้งต้น เลือกประเทศ แล้วค้นหาได้เลย จะมีไอเดียมาให้เต็มเลย สามารถดูคีย์เวิร์ดไอเดียได้ทั้งแบบปกติและแบบคำถาม ไปพร้อมกับจำนวนการค้นหาแต่ละเดือนของคำนั้น แล้วก็ Keyword Difficulty หรือความยากในการติดหน้าแรกได้ด้วย
ขั้นตอนที่ 3: ทำคอนเทนต์ให้ดีที่สุด
นอกจากนี้ ก็เป็นการทำคอนเทนต์ให้ดีที่สุดตามปกติที่ควรจะเป็นเลย เช่น
- เอาคีย์เวิร์ดที่อยากได้ ไว้ใน Title,H1, Subheadings, URL และ Descriptions เสมอ
- ทำคอนเทนต์ให้ลึก อ่านง่าย
- ลิงก์ไปอ้างอิงจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือเสมอ
- ให้มี CTA (Call to action) ที่เคลียร์ที่สุด ถ้าเป็นเว็บขายของ ก็ทำปุ่มซื้อให้เห็นชัดๆ กดง่ายๆ ทำให้ระยะเวลาจากการเข้าเว็บไปจนถึง action ที่เราอยากให้ทำ สั้นที่สุด
- ความเร็วเว็บไซต์ดี ใช้งานได้ง่าย โดยเฉพาะบนมือถือ
- UX ดี
- Core Web Vitals ผ่านมาตรฐาน
สรุป
Search Intent เป็นเรื่องที่คนทำ SEO อย่างเราควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างเนื้อหาหรือปรับปรุงเนื้อหา ให้ตอบโจทย์พฤติกรรมการค้นหาจากผู้ใช้งานจริงบน Google Search การที่เราสร้างเนื้อหาโดยคำนึงถึง User Intent (เจตนาของผู้ใช้งาน) เป็นหลัก จะทำให้เราได้รับทราฟฟิคและกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรายได้และเพิ่มผลกำไรให้กับเว็บไซต์ธุรกิจมากยิ่งขึ้น
การที่เราปรับปรุงคอนเทนต์ของเราให้ตรงกับ User Search Intent ได้มากเท่าไหร่ โอกาสที่เนื้อหาของเราจะไปเตะตาของกลุ่มเป้าหมายยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น การศึกษา Search Intent จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เพื่อให้คุณได้พบกับเป้าหมายที่ตรงกลุ่ม อีกทั้งการทำคอนเทนต์ที่ดีและมีคุณภาพยังส่งผลดีต่อภาพลักษณ์แบรนด์ของเรา สร้างประสบการณ์ดีๆ ให้กับผู้ใช้ได้อีกด้วย
- วิธีตรวจสอบรูปแบบของคอนเทนต์ที่จะทำเพื่อ User Intent
หลังจากนำ Keyword ไปตรวจสอบบน SERP แล้ว เราต้องแยกให้ได้ว่าภายใต้คำๆ นั้น Google อยากเห็นคอนเทนต์แบบไหน เช่น Blog Post เลยไหม หรือจริงๆ ต้องเป็นหน้า Product / Service Page ที่เป็นแนว eCommerce สามารถ Lead ผู้ใช้งานให้เกิด Activity หรือ Conversion ได้เลย หรือต้องการแบบวิดีโอ เป็นต้น เพราะหากตัดสินใจทำคอนเทนต์รูปแบบอื่นนอกไปจากส่วนที่ Google นำมาแสดงผลแล้ว อาจไม่สามารถแข่งขันได้เลย
- หา Keyword ข้างเคียง มาเติมในเนื้อหาเพื่อความหลากหลาย ไม่จำเจ
การที่คอนเทนต์ของเรามีคีย์เวิร์ดอื่นนอกเหนือจากคีย์เวิร์ดหลักของเรา หรือที่เรียกว่า Additional Keyword แล้ว ทำให้เนื้อหาของเรามีความโดดเด่น ทั้งยังสามารถตอบรับกับ User Intent ในคำข้างเคียงกันได้อีกด้วย
โดยเราสามารถทำได้ง่ายๆ เพียงนำ Keyword หลักของเราไป Expand ที่ Keyword Research Tools ของทาง Google เช่น Marketium จะใช้ Google Keyword Planner หรือ จะใช้ Third Party Tools อย่าง Ahrefs หรือ MOZ ก็ได้
ขอขอบคุณ ข้อมูลบางส่วนจาก :
https://www.searchenginejournal.com/semrush-search-intent-strategy/428162/
https://www.semrush.com/blog/how-to-use-search-intent-for-your-business/