พบกับตัวอย่าง Rich snippets ที่นิยมในปัจจุบัน พร้อมการติดตั้งเครื่องมือ Plug-in WordPress สำหรับการทำ Rich snippet ทุกแบบทุกประเภท รวมถึงโค้ด HTML สำหรับเว็บไซต์ที่ไม่ได้ใช้เวิร์ดเพลส อธิบายข้อดี-ข้อเสียของ Rich snippet แต่ละชนิด พร้อมแนะนำความแตกต่างด้านความหมายของคำศัพท์ Rich result , Schema markup , Structured data และ Rich snippet ให้เห็นภาพที่บทความนี้ ครบจบที่เดียว (สนใจกด >> รับทำ SEO)
Google Rich Snippet คืออะไร
Google Rich Snippet คือ รูปแบบชุดข้อมูลที่แสดงผลบน Google ซึ่งเป็นข้อมูลแบบพิเศษ ที่ไม่ใช่การแสดงผลแบบทั่วไป ซึ่งมีหลากหลายชนิดด้วยกัน Google จะแสดง ริช สนิปเปต โดยการดึงชุดโครงสร้างข้อมูลที่เป็น HTML ของหน้าเว็บนั้นมาแสดง
การทำ Rich Snippet ใครทำติดก่อนได้เปรียบ เพราะ Google ไม่สามารถดึง Rich Snippet ของทุกเว็บมาแสดงได้ ซึ่ง Google จะเป็นผู้คัดเลือกเอง (สนใจกด >> รับสอน SEO)
หมายเหตุ :
Snippet (n) เป็นคำนาม อ่านว่า (ส-นิพ-พัด-ท) เขียนว่า สนิพเพท มี 2 ความหมาย คือ
- ส่วนย่อ หรือ ส่วนนึง ของสิ่งบางอย่าง ซึ่งเป็นส่วนนึงของทั้งหมด
- code snippet คือ ชุดของโค้ดหรือคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้สามารถเรียกมาใช้ได้หลายๆครั้งในโปรแกรมหนึ่งๆ
SERPs ย่อมาจาก Search Engine Results Page หมายถึง การแสดงอันดับบน Search Engine อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือหน้าเว็บ Google ที่แสดงผลการค้นหา เมื่อเราพิมพ์หาข้อมูลต่างๆ รายการของหน้าเว็บที่แสดงบน Google จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
- Organic SERP Listings – เป็นการแสดงผลลัพธ์ที่แสดงตามการจัดอันดับตามธรรมชาติ
- Paid SERP Listings – ผลลัพธ์ที่แสดงโดยการโฆษณากับ Google หรือที่เรียกว่า Sponsored Links
Rich Results คืออะไร
Rich Results คือ ชื่อเรียกแบบรวม ๆ ของการแสดงผลการค้นหา โดยดึงข้อมูลจาก Structure Data มาแสดงผลในรูปแบบของ Rich snippet ประเภทต่างๆ เช่น Featured snippet , FAQ snippet , Sitelinks , Local business features เป็นต้น
Structured Data คืออะไร
Structured Data คือ ข้อมูลที่มีโครงสร้าง ที่ทำหน้าจัดรูปแบบโครงสร้างคอนเทนต์ในเว็บ ให้พร้อมสำหรับ Search Engine โดยใช้ Schema markup เข้ามาช่วยทำ Structured Data เพื่อแปลงผลเป็น Rich result (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)
Schema markup คืออะไร
Schema markup คือ รูปแบบภาษากลาง ทำหน้าที่อธิบายคอนเทนต์ในเว็บที่เป็น Raw data(ข้อมูลดิบ) โดยจะแปลงผลเป็นการทำ Structured Data เพื่อให้ระบบ Search Engine เข้าใจ (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ E-Commerce)
สรุปความสัมพันธ์ของ Rich result , Rich snippet , Stuctured data , Schema markup และ Raw data
ความสัมพันธ์ของ Rich result , Rich snippet , Stuctured data , Schema markup และ Raw data ของทั้งฝั่ง User และ generator หรือ ฝั่งคนทำเว็บและsearch engine เป็นไปตามแผนผังและตารางนี้
Rich Results(เช่น featured snippet , FAQ snippet , Sitelinks , Local business features เป็นต้น) >>ดึงข้อมูลมาจาก>> Structured Data >>ใช้ข้อมูลจาก>> Schema markup >>อธิบายข้อมูลของ>> Raw data(ข้อมูลดิบ)
ฝั่ง User
- Rich results
การแสดงผลคอนเทนต์โดยดึงข้อมูลจาก Structured data มาแสดงผลในรูปแบบ Rich snippets ประเภทต่าง เช่น Featured snippet , FAQ snippet , Sitelinks , Local business features เป็นต้น
- Rich snippets
ฟีเจอร์แสดงตัวอย่างข้อมูลที่เราค้นหาจากเว็บไซต์ที่ Google คัดเลือกมาแล้วว่าตรงกับคำตอบของ User มากที่สุด เช่น Featured snippet , FAQ snippet , Sitelinks , Local business features เป็นต้น
ฝั่ง Search engine และ คนทำเว็บไซต์
- Structured data
คอนเทนต์ในเว็บที่ถูกจัดรูปแบบสำหรับ search engine เรียบร้อยแล้ว โดยใช้ข้อมูลจาก Schema markup เพื่อส่งต่อการแสดงผลไปที่ Rich results ที่เป็น Rich snippets แบบต่างๆ
- Schema markup
ภาษากลางที่ถูกนำมาใช้อธิบายคอนเทนต์ในรูปแบบ Raw data(ข้อมูลดิบ) ของเว็บไซต์ เพื่อจัดรูปแบบเป็น Structured data ส่งให้ระบบ search engine เข้าใจคอนเทนต์ในเว็บได้มากขึ้น
- Raw data(ข้อมูลดิบ)
คอนเทนต์ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในเว็บไซต์
การทำบทความบนเว็บไซต์ของเราให้แสดง Rich Snippets
มาถึงส่วนนี้หลายคนจะเห็นแล้วว่านอกจากการแข่งขันเรื่องอันดับบน Google แล้ว เรายังต้องแย่งชิงสายตาของผู้ใช้จากหลายๆ เว็บที่ค้นเจออีกด้วย ซึ่งถ้าทำได้สวยงามและกระชับจะยิ่งได้เปรียบเลย แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกบทความของเราต้องแสดงด้วย Rich Snippet นะ (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress)
1. เครื่องมือทำ Rich snippets จาก WordPress ด้วย Plug-in
ในกรณีที่เว็บไซต์ของคุณใช้ WordPress อยู่แล้ว สามารถติดตั้ง Plugin ที่มีชื่อว่า All In One Schema Rich Snippets ไปที่เว็บไซต์ได้เลย ฟีเจอร์ของ Plugin ตัวนี้เรียกว่าค่อนข้างครบ ทั้งรูปแบบของ Snippet ที่นำมาแสดงได้สำหรับเว็บคอนเทนต์ รวมไปถึงการใช้งานที่ค่อนข้างง่าย
หลังจากติดตั้งแล้ว ลองสร้างบทความใหม่ จะพบกล่องสำหรับตั้งค่า Rich Snippet อยู่ที่ด้านล่าง ให้เราเลือกว่าต้องการให้บทความนี้แสดง Rich Snippet ประเภทไหน จากนั้นใส่รายละเอียดลงไป แล้ว plugin จะทำการ generate code ใส่ในบทความนั้นให้โดยอัตโนมัติ
2. สร้าง Code HTML โดย Schema markup generator หรือ rich snippet generator จาก Google
กรณีที่เว็บไซต์คุณไม่ได้ใช้ WordPress หรือ CMS ตัวไหนเลย จำเป็นต้องนำ code HTML ไปแปะเองทีละ URL แบบ Manual โดยสามารถนำ code มาจากเครื่องมือของ Google ที่ generate ให้มาใช้ได้เลย กด >> Markup Helper
หลังจากที่เราเลือกรายละเอียด Snippet ที่ต้องการเรียบร้อย จะได้ code ออกมาเป็น json หนึ่งชุด ให้นำตรงนี้ไปแปะท้าย code HTML ของหน้าเว็บนั้นได้เลย ถึงแม้ว่าตัวช่วยจาก Google จะช่วยสร้าง code ให้เรานำไปใช้ แต่ถ้านำไปวางไม่ถูกต้องก็อาจจะพังได้ ถ้าตรงนี้คุณไม่ได้มีความรู้เรื่อง HTML อาจจะสะกิดเพื่อนมาช่วยทำให้ดีกว่านะ
วิธีการติดตั้ง Schema Markup ในเว็บไซต์
4 ขั้นตอนการติดตั้ง Schema Markup โดย Code HTML ทำได้ดังนี้
1. เลือกประเภทของ Schema Markup ที่จะใช้
เลือก Schema Markup โดยกดเข้าไปในลิงก์นี้ >> รูปแบบ Schema จาก Google แล้วดูว่าหน้าที่เว็บไซต์ที่เราจะใส่ Schema Markup นั้นเราจะเลือกรูปแบบไหน
2. ใช้เครื่องมือ Structured Data Markup Helper ในการช่วยเหลือ
เราสามารถใช้เครื่องมือของ Google เพื่อมาช่วยในการจัดตั้ง Structured Data ให้ง่ายยิ่งขึ้น โดยกดเข้าไปในลิงค์นี้ >> ตัวช่วยในการทำ Schema Markup
เราสามารถเลือกได้เลยว่าเราจะใช้ Schema รูปแบบไหน จากนั้นใส่ URL เว็บไซต์ที่เราต้องการจะใส่ Schema Markup
3. Highlight ตำแหน่งที่แสดงผล และใช้เป็น Structured Data ได้เลย
พอเราเข้ามาในหน้าต่อไปนั้น Google จะ browse หน้าเว็บไซต์เราขึ้นมา หลังจากนั้นเราสามารถกด Create HTML และ Copy Script ที่ได้รับมาได้เลย
4. ตรวจสอบความถูกต้องของ Structured Data ที่ได้สร้างขึ้นมา
หลังจากที่เราได้สร้าง code ขึ้นมาแล้วอาจจะใช้ไม่ได้ หรือกดในส่วนไหนที่ผิดไปก็ได้ และ Google ไม่สามารถรัน code ชุดนั้นได้ เราสามารถตรวจสอบได้ที่ลิ้งค์นี้ กด >> เครื่องมือตรวจสอบ Schema
- กดไปใน section < > code แล้วแป๊ะ code ชุดนั้นลงไป และกด Test Code
- ถ้าขึ้นสัญลักษณ์เครื่องหมายตกใจในสามเหลี่ยมสีเหลือง แปลว่าเราใส่ตรงไหนผิดไป
- ให้กดด้านล่างหัวข้อ detected structured data ระบบจะแสดง section ที่เราขาดในส่วนไหนบ้าง
ทดสอบการแสดงผล(วิธีการเช็ก Rich Results)
หลังจากที่ทดลองตั้งค่าเรียบร้อยแล้วอาจจะต้องใช้เวลาสักพักประมาณ 1 วันในการรอให้ Google reset index ของเราใหม่ จากนั้นเราสามารถทดสอบการแสดงบทความได้จากลิ้งค์นี้ กด >> Google Structured Testing Tool
- จะมี section ดึงข้อมูล URL กับ ข้อมูลโค้ด
- กดเลือก section ดึงข้อมูล URL
- วาง link url แล้วกด เรียกใช้การทดสอบ
และถ้าหากขึ้นแสดงผล เป็นอันว่าการทำ Rich snippets ของเราเสร็จสมบูรณ์และรอติดอันดับได้เลย แต่ถ้าหากไม่แสดงผลก็อาจจะต้องลองรีเช็กกันอีกทีว่ามีตรงส่วนไหนที่เราสามารถพัฒนาหรือปรับปรุงได้บ้าง
การแบ่งหมวดหมู่ของ Rich Snippets
สคีมา มาร์กอั้พ(Schema markup) และข้อมูลที่มีโครงสร้าง(Structured Data) ที่ถูกกำหนดโดยเว็บไซต์ Schema.org แล้วนำมาสร้าง Rich Snippet / Structured Data มีอยู่หลายร้อยแบบ แต่ในแง่การใช้จริง เรายังไม่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งหมด เนื่องจากปัจจุบัน Search Engine ยังรองรับการแสดงผลได้ไม่กี่แบบเท่านั้น
จากข้อมูลล่าสุด Google รองรับ Rich Snippet / Structured Data อยู่ 6 หมวดใหญ่ แยกย่อยจากหมวดหมู่ใหญ่เป็นหมดหมู่ย่อย 31 แบบ
- Article
- Book
- Breadcrumb
- Carousel
- Course
- Dataset
- EmployerAggregateRating
- Estimated salary
- Local Business
- Logo
- Math solvers
- Event
- Fact Check
- FAQ
- Home Activities
- How-to
- Image License
- Job Training (beta)
- JobPosting
- Movie
- Podcast
- Practice problems
- Product
- Q&A
- Recipe
- Review snippet
- Sitelinks Search box
- Software App (beta)
- Speakable
- Subscription and paywalled content
- Video
ริช สนิปเปต มีการแสดงผลลัพธ์หลากหลายรูปแบบบน Google โดยแบ่งเป็น 6 หมวดหมู่หลักๆได้ ดังนี้
- Sponsored (การสนับสนุนของสปอนเซอร์)
- Local Business (ร้านค้า , ธุรกิจท้องถิ่น)
- Knowledge (ให้ข้อมูล , ความรู้)
- Media (สื่อสำหรับเผยแพร่ข้อมูล)
- Rich Result (การเพิ่มประสิทธิภาพของผลลัพธ์ออร์แกนิก)
- Search Query (ข้อความค้นหา , แบบสอบถาม , คำถามต่างๆที่เกี่ยวข้อง)
ซึ่งหมวดหมู่ที่กล่าวตามข้างต้นแต่ละรูปแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน เราจึงควรเลือกรูปแบบให้เหมาะสมกับข้อมูลที่ต้องการสื่อสาร ต่อไปเราไปดูตัวอย่างของรูปแบบต่างๆเพื่อให้เห็นภาพกันมากขึ้นดีกว่า
1. Sponsored (การสนับสนุนของสปอนเซอร์)
การแสดงสินค้าหรือบริการบน Google มีหลายรูปแบบแต่หากอยากให้อยู่ในจุดที่เด่นที่สุดจะมีค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณา Google Ads โดยส่วนใหญ่จะเหมาะกับเว็บไซต์ธุรกิจค้าปลีก อีคอมเมิร์ซ
- ถ้าเป็นสินค้ามักทำ Product ads หรือ Product listing จะแสดงรูปภาพสินค้า ราคา ผู้จำหน่าย
- หากเป็นสินค้าบริการ เช่น สายการบิน Google จะดึงข้อมูลต่างๆที่แสดงใน SERP ขึ้นมาแสดงสายการบินทั้งหมด รวมทั้งเวลาที่ใช้เดินทาง และราคา เพื่อสะดวกในการเลือกข้อมูลต่อไปของผู้ใช้งาน
2. Local Business (ร้านค้า , ธุรกิจท้องถิ่น)
จะเป็นการแสดงข้อมูลของร้านค้าท้องถิ่น บริเวณใกล้เคียง หรือพื้นที่เดียวกันเหมาะสำหรับ ร้านอาหาร โรงแรม เมื่อผู้ค้นหาข้อมูลเจอร้านค้าต่างๆ จะสามารถเข้าไปดูเว็บไซด์ต่อในรายละเอียดได้ บอกตำแหน่งของร้านค้าเพื่อให้คุณทราบเส้นทาง หรือโทรติดต่อร้านค้าได้โดยตรง
3. Knowledge (ให้ข้อมูล , ความรู้)
จะแสดงข้อมูลที่เป็นกล่องคำตอบสำหรับคำตอบแบบทันที หรือจะเป็นการแสดงรายละเอียดของข้อมูลเพิ่มเติมจากการค้นหา หรือเป็นการแสดงข้อมูลที่โดดเด่นสำหรับการค้นหาแบบคำถาม เช่น ต้มยำทำยังไง? ก็จะแสดงข้อมูลคำตอบแบบทันทีในกล่องบนสุด โดยข้อมูลที่ดึงมาแสดงจะเป็นเว็บที่ติดอันดับ 1-7 บน SERP มองว่าเป็นเว็บที่น่าเชื่อถือ
4. Media (สื่อสำหรับเผยแพร่ข้อมูล)
การแสดงข้อมูลสำหรับเผยแพร่นั้นมีหลายรูปแบบ เช่น รูปภาพต่างๆ วิดีโอจากเว็บและ Youtube เรื่องเด่นที่กำลังเป็นประเด็นร้อน บทความเชิงลึก ผลการค้นหาที่ดึงมาจาก Twitter การจัดอันดับ App เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีกลยุทธ์ในการใช้แอปพลิเคชั่นบนมือถือเมื่อผู้ค้นหาคลิกเว็บไซด์จะเชื่อมโยงไป App store เพื่อให้ผู้ใช้ติดตั้งก่อน และการประกาศรับสมัครงาน เป็นต้น
5. Rich Result (การเพิ่มประสิทธิภาพของผลลัพธ์ออร์แกนิก)
การแสดงผลลัพธ์ของการค้นหาแบบออร์แกนิกนั้นมีหลากหลายแบบขึ้นอยู่ประเภทของธุรกิจ โดย Google SERP จะดึงข้อมูลที่อาจเป็นตัวแปรสำคัญขึ้นมาแสดงให้โดดเด่น เช่น เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ รีวิว ผลิตภัณฑ์และบริการ จะแสดง Rating ราคา จำนวนสต็อกสินค้า หากเป็นเว็บไซต์ดนตรี การแสดง เทศกาลต่างๆ จะดึงข้อมูล กิจกรรมหรืองานที่เกี่ยวข้อง หรือเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ เช่น งานคอนเสิร์ต งานวิ่ง เป็นต้น
6. Search Query (ข้อความค้นหา , แบบสอบถาม , คำถามต่างๆที่เกี่ยวข้อง)
จะเป็นแสดงผลการค้นหายอดนิยม เช่น การค้นหาสถานที่เที่ยวในจังหวัดต่างๆ ก็จะมีผลการแสดงของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน การสอบถามแบบเฉพาะเจาะจง เช่น ค้นหารีวิวของหนังใหม่ และอาจมีคำถามอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันที่ผู้คนมักสอบถามบ่อยๆ
ตัวอย่างรูปแบบของ Rich snippets ที่น่าสนใจ
Rich Snippet รูปแบบต่างๆ ที่สามารถแสดงผลบน Google นั้นมีหลายตัว โดยบทความนี้เราจะยกตัวอย่างรูปแบบที่น่าสนใจสำหรับคนทำเว็บคอนเทนต์ที่พวกเราจะสามารถทำได้เองมาให้รู้จักกันดังนี้
Local business snippet
มักนิยมใช้กับธุรกิจท้องถิ่น เช่น ร้านอาหาร โรงแรม หรือร้านค้าต่าง ๆ ที่มีหน้าร้าน โดย Google จะดึงข้อมูลจาก Google Business Profile ของธุรกิจนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็น รีวิว, พิกัดร้าน, เวลาทำการ, ฯลฯ
แสดงผลในฝั่งขวามือของ Google SERP ซึ่ง Rich snippets ประเภทนี้มีข้อดีมากสำหรับร้านค้าที่อาจจะยังไม่มีเว็บไซต์โดยตรง เพราะลูกค้าจะยังสามารถติดต่อผ่านเบอร์โทรศัพท์หรือข้อมูลที่ระบุไว้ใน snippets รวมถึงช่วยในการสร้างความน่าเชื่อถือผ่านรีวิวบนหน้า Google ได้อีกด้วย
Review snippet
เป็นรูปแบบการแสดงผลที่เจอได้บ่อยไม่แพ้กับ Featured Snippet โดยจะนำคะแนนรีวิวมาแสดงอยู่ใต้ Description มีข้อดีคือสามารถใช้งานกับเว็บไซต์และเนื้อหาที่หลากหลายและใช้ร่วมกับ snippets แบบอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น บทความ สูตรอาหาร รีวิวร้านอาหารหรือรีวิวสถานที่ เป็นต้น
ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่เว็บไซต์ แต่บางครั้งก็อาจมีการสร้างรีวิวปลอมเพื่อปั๊มคะแนนเว็บไซต์ให้สูงขึ้น ดังนั้น ผู้อ่านจึงต้องใช้วิจารณญาณในการสังเกตโดยเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งอื่นไปพร้อมๆกัน
รูปแบบการแสดงผลที่พบได้บ่อย จะมีการให้ rating กับสิ่งที่พูดถึง จะมีรูปดาวและคะแนนเฉลี่ยแสดงอยู่ พร้อมกับรายละเอียดเล็กน้อยขึ้นอยู่กับผู้ทำคอนเทนต์จะใส่ เช่น ถ้าเป็นร้านอาหารก็จะมีช่วงราคาแจ้งไว้ เป็นต้น
ในส่วนของ rating จะมีสองแบบ คือคะแนนจากผู้ใช้ (Individual reviews) และคะแนนจากผู้เขียนเนื้อหา (Aggregate reviews) โดยจะมีแสดงรายละเอียดว่าให้คะแนนโดยใคร
Event snippet
บทความที่แสดงรายละเอียดของงานอีเวนท์ เบื้องต้นจะสามารถแสดงวัน-เวลาที่จัดงาน, สถานที่, วิธีการซื้อบัตร, ราคาบัตร ในส่วนนี้ถ้าแสดงรายละเอียดได้มากพอ ผู้ใช้อาจจะไม่จำเป็นต้องคลิกเข้าไปอ่าน จึงพอที่จะสามารถเคลมตัวเลขของคนที่เห็นด้วยจำนวนคนที่พบเว็บนี้บน Google แทน pageviews ได้ด้วย
Product snippet
Rich snippets ประเภทนี้จะใช้กับเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มที่มีการจำหน่ายสินค้า โดยเวลาที่มีใครเสิร์ชหา Keyword ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่จำหน่ายในเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มนั้นๆ ก็จะมีการแสดงผลในหน้าค้นหา
แสดงรายละเอียดของสินค้าพร้อมช่วงของราคา สถานะของสินค้า (เช่น in stock) หรือสามารถใส่คะแนนรีวิวเข้าไปด้วย ถ้ามั่นใจว่าสินค้าที่คุณขายน่าสนใจ ราคาดี ตรงนี้ทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจเข้ามาดูได้ง่ายขึ้นมาก
Recipe snippet
อยากบอกให้ลูกค้ารู้ว่าอาหารจานนี้ใช้เวลาทำนานแค่ไหน Recipes ช่วยคุณได้ รูปแบบนี้จะเหมาะกับร้านอาหาร หรือบทความแนะนำการทำอาหารมากๆ เพราะผู้อ่านจะทราบได้เลยว่าต้องรอนานแค่ไหน ถึงจะได้ทานอาหารจานนี้
บทความสูตรอาหารที่สามารถแสดงภาพและรายละเอียดของการปรุงเบื้องต้น อย่างระยะเวลาในการทำ, แคลอรีเมนูนี้ รวมไปถึงวัตถุดิบเบื้องต้น ที่สำคัญคืออย่าลืมใส่รูปในหน้านี้เพื่อการแสดงผลที่น่าสนใจและดึงดูดให้น่าอ่าน
Feature snippet
เป็น Rich snippets ที่เรามักจะคุ้นหน้าคุ้นตาและพบเจอได้บ่อยที่สุด โดย Featured Snippet จะเป็นการแสดงชุดคำตอบสั้นๆ ประมาณ 1 ย่อหน้า ในคำถามหรือสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการค้นหาที่ด้านบนสุดของหน้าเว็บไซต์ หรือที่เราเรียกว่า “อันดับ 0” (Position Zero) นั่นเอง และจะมีการไฮไลท์หรือเน้นตัวหนาในส่วนที่เป็นประเด็นสำคัญ พร้อมลิงก์ไปยังเว็บไซต์นั้นๆ ด้านล่าง
Featured Snippet มีข้อดีคือ เหมาะกับเว็บไซต์ทุกประเภท และสามารถทำให้เว็บไซต์ของเราอยู่เหนือคู่แข่งในหน้าค้นหาได้ ในทางกลับกัน หากเว็บไซต์ของคุณมีอันดับ SEO ที่สูงกว่า แต่ Google กลับดึงเว็บไซต์คู่แข่งที่อันดับต่ำกว่าไปแสดงผลก็อาจทำให้เราสูญเสียยอดคลิกและการเข้าถึงจากในส่วนนี้ได้เช่นกัน
สถิติเกี่ยวกับ Rich Snippets ที่น่าสนใจ
จากการรวบรวมข้อมูลและศึกษาเกี่ยวกับ ริช สนิปเปต ของ SEMRush และ Brado ที่ได้ศึกษาคีย์เวิร์ดบนเดสก์ท็อปจำนวณ 160 ล้านคำ และบนมือถือจำนวณ 46.1 ล้านคำ ทาง Markettium เราก็ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจมาฝาก ดังนี้
- 19% ของ SERPs มีการแสดงผลแบบ Rich Snippet
- 50% ของการแสดงผลบนมือถือเป็น Rich Snippet
- 70% ของการแสดงผล Rich Snippet ในรูปแบบ paragraphs มีคำนวณคำเฉลี่ย 42 คำ และมี 249 ตัวอักษร (การศึกษาข้อมูลนี้เป็นภาษาอังกฤษ ในภาษาไทยอาจมีความแตกต่าง)
- 19.1% ของการแสดงผล Rich Snippet ในรูปแบบ Lists มีการแสดงผล 6 รายการ และมีจำนวณเฉลี่ย 44 คำ
- 6.3% ของการแสดงผล Rich Snippet ในรูปแบบ Tables มีการแสดงเฉลี่ย 5 Rows และมี 2 Columns
- 4.6% ของการแสดงผล Rich Snippet ในรูปแบบ videos มีความยาววีดีโอเฉลี่ย 6 นาที 35 วินาที
ประโยชน์ของ Rich Snippets
การติดผลการค้นหาแบบ Rich Snippet จะช่วยให้เว็บไซต์และธุรกิจของคุณได้รับประโยชน์มากมายเหนือคู่แข่ง ดังนี้
1. ได้ที่ดินทำเลทองในผลการค้นหาบนมือถือ
จากข้อมูลของ SEMRush ที่ได้ทดสอบจาก 10,000 ผลการค้นหาบนโทรศัพท์มือถือพบว่า “การติด ริช สนิปเปต มักกินพื้นที่การแสดงผลบนหน้าจอโทรศัพท์ 50% หรือมากกว่านั้น” ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ใช้งานคลิกเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณมากขึ้น และลดโอกาสคู่แข่งอื่น ๆ ที่ต้อง Scroll Down ลงไปกว่าจะเจอ
2. เพิ่มการรับรู้แบรนด์และการมองเห็น
อีกหนึ่งประโยชน์จากการที่เว็บไซต์ของคุณติดอันดับแบบ Rich Snippet คือการเพิ่มการมองเห็น (Impression) และเพิ่มความรับรู้ของแบรนด์มากยิ่งขึ้นเนื่องจากการนำเสนอที่โดดเด่นบน SERPs ของ Google
3. เพิ่มอัตรา Click Through Rate (CTR)
ริช สนิปเปต ช่วยเพิ่มอัตราการคลิกผ่าน (CTR) เนื่องจากมีการแสดงผลที่โดดเด่นกว่าผลลัพธ์การค้นหาแบบปกติทั่วไป จากข้อมูลของ Search Engine Watch พบว่ารูปแบบการแสดงผลแบบ ริช สนิปเปต สามารถเพิ่มอัตรา CTR ได้มากถึง 35.1%
4. เพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการค้นหาด้วยเสียง
ริช สนิปเปต มักถูกนำไปใช้กับระบบผู้ช่วยส่วนตัว (Voice-Controlled Personal Assistants) เช่น Siri, Cortana, Alexa, หรือ Google Assistant
จากข้อมูลของ Backlinko Analysis พบว่า 40% ของคำตอบที่ได้รับจากการค้นหาด้วยเสียงนำข้อความมาจาก Google Rich Snippets
แน่นอนว่าประโยชน์อย่างแรกที่ Rich Snippet สร้างมาก็เพื่อให้ User ไม่ต้องเสียเวลาตามหาข้อมูลหรือคำตอบด้วยการเปิดเข้าไปหน้าเว็บไซต์ทีละเว็บไซต์เพื่อหาข้อมูลที่ต้องการ
เพราะ Google อยากให้ User สามารถหาคำตอบที่ตรงใจได้อย่างรวดเร็วด้วยการพรีวิวบอกก่อนว่า คำตอบที่ตรงกับคำถามของคุณมากที่สุดคืออะไร
ซึ่งสำหรับเว็บไซต์ที่ได้ขึ้นมาอยู่เป็น ริช สนิปเปค นั้นเรียกว่าเหมือนได้พื้นที่โฆษณาตัวเองมาช่วยกระตุ้นให้คนอยากจะกดเข้าไปดูคำตอบหรือเนื้อหาเพิ่มเติมว่ามีอะไรอีก
ทำคอนเทนต์อย่างไรให้เว็บไซต์แสดงผลแบบ RICH SNIPPETS?
การถูกเลือกให้แสดงผลแบบ Rich snippets หมายความว่าเราจะได้พื้นที่บนหน้าการค้นหามากขึ้นอย่างแน่นอน เพราะจะทำให้ผู้ค้นหา/ผู้ใช้เห็นเว็บไซต์เรามากขึ้น ที่สำคัญเว็บไซต์ที่แสดงผลในอันดับแรกๆ ก็จะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นอีกด้วย
จริงๆ แล้ว Google ยังไม่มีคำตอบว่าต้องทำคอนเทนต์ยังไงให้แสดงผลแบบ Rich snippet ซึ่งก็มีการคิดวิธีทำคอนเทนต์ยังไงให้แสดงผลแบบ Rich snippet บนเว็บไซต์ไปหลากหลายแนวทาง ที่เราสามารถทำตามได้ง่ายๆ เช่น
1. เลือกใช้ Long Tail Keyword
จากการศึกษาของ Stone Temple Consulting และ Ahrefs แสดงให้เห็นว่า การแสดงผล ริช สนิปเปต ส่วนใหญ่บน Google Search มักแสดงผลในรูปแบบของ Long Tail Keyword และการตอบคำถามโดยตรง
ลองสมมติว่าเราต้องการไปเที่ยวเขาใหญ่แล้วต้องการพัก 1 – 2 คืน เราจะพิมพ์แค่คำว่า “เขาใหญ่” หรือ “โรงแรมเขาใหญ่ / แนะนำที่พักเขาใหญ่” ?
แน่นอนว่า รูปแบบคำค้นหาแบบหลังย่อมแสดงผลได้ตรงตามความต้องการมากกว่า และทาง Google เองก็จะส่งมอบคำค้นหาที่ตรงใจผู้ใช้งานมากกว่า รวมถึงการแสดงผล ริช สนิปเปต ก็มีมากกว่าเช่นกัน
2. ใช้ประโยชน์จากพลังของคำถาม
การใช้ประโยชน์จากพลังของคำถามเป็นกลยุทธ์หลักในการเพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหาสำหรับ ริช สนิปเปต ประเภท Featured Snippet เมื่อสร้างเนื้อหา สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาคำถามที่ผู้ใช้อาจถาม และจัดโครงสร้างเนื้อหาของคุณในลักษณะที่ตอบคำถามเหล่านั้นได้อย่างชัดเจนและรัดกุม ซึ่งสามารถทำได้โดยการทำ Keyword Research ที่เน้นคำถามหรือโดยการตอบคำถามของผู้ใช้อย่างชัดเจน
จากข้อมูลของ Semrush พบว่า 29% ของคีย์เวิร์ดที่แสดงผลแบบ Featured Snippets เริ่มต้นด้วยชุดคำที่มีลักษณะของคำถาม เช่น “ทำไม : Why” “อย่างไร : How”
3. สร้างหัวข้อที่กล่าวถึงคีย์เวิร์ดนั้น ๆ โดยเฉพาะ
จากที่เราได้ให้ข้อมูลก่อนหน้า การแสดงผลแบบ Paragraph จะเป็บรูปแบบการแสดงผลเป็นตัวหนังสือในลักษณะย่อหน้าสั้น ๆ หากคุณเขียนเนื้อหาให้ตรงกับค่าเฉลี่ยประมาณ 42 คำ หรือ 250 อักขระ จะช่วยให้คุณมีโอกาสแสดงผลแบบ Featured Snippet รวมถึงผู้ใช้งานก็ได้คำตอบตรงที่เขาค้นหามากขึ้นด้วย
4. ปรับปรุงอันดับให้ดียิ่งขึ้น
เงื่อนไขแรกของการปรากฎใน ริช สนิปเปต อ้างอิงจากการวิจัยของ Ahrefs พบว่าเว็บไซต์ที่ Google จะนำไปแสดงผลแบบ ริช สนิปเปต เงื่อนไขแรกคือต้องอยู่ในผลการค้นหา 10 อันดับแรกเสียก่อน
นั่นเป็นเพราะว่า Google พยายามให้คำตอบที่น่าเชื่อถือและมาจากประสบการณ์จริง (ตรงตามหลัก E-E-A-T) แก่ผู้ใช้และสามารถทำได้โดยใช้หน้าเว็บที่มีอันดับสูงสุดซึ่งมีเนื้อหาคุณภาพสูงเท่านั้น
อย่างไรก็ตามคุณเองก็สามารถทำให้เนื้อหาของเว็บไซต์คุณมีอันดับดีได้เช่นกัน โดยการ
- ทำ Keyword Research ที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
- ให้ความสำคัญกับ Checklist การเขียนบทความ On-Page SEO ติดหน้าแรก
- วางโครงสร้างหน้าเนื้อหาให้ Google อ่านง่าย แบบการใช้ Header Tag
- ศึกษาว่า Search Intent คืออะไร เพื่อช่วยให้สร้างเนื้อหาที่ตรงใจผู้ใช้งานมากที่สุด
5. ทำให้ Google อ่านได้ง่ายด้วยการจัดรูปแบบที่เหมาะสม
เนื้อหาของบทความที่ดี ควรมีส่วนเสริมคือการวางโครงสร้างเนื้อหาที่ดีด้วย สำหรับหน้า On Page ของคุณควรจัดรูปแบบโดยใช้แท็ก HTML พื้นฐานเพื่อให้ Google สามารถ Crawl และ Index ได้ดีขึ้น
- แท็ก <h2> และ <h3> สำหรับคำถามหรือหัวข้อย่อย
- แท็ก <p> แท็กย่อหน้าสำหรับข้อความ
- แท็ก <ol> หรือ <ul> และ <li> สำหรับรายการ
6. เลือกใช้ Subfolders อย่างเหมาะสม
โฟลเดอร์ย่อยจะแสดงรายการหลังจากเครื่องหมายทับ (/) ใน URL ดังนี้
- domain.com : เป็นโดเมนหลัก มีโฟลเดอร์ย่อยเป็นศูนย์
- domain.com/subfolder : มีหนึ่งโฟลเดอร์ย่อย
- domain.com/subfolder1/subfolder2 : มีสองโฟลเดอร์ย่อย
จากข้อมูลงานวิจัยของ SEMRush พบว่า URL ที่มีความยาวมาก ๆ มีโอกาสน้อยที่จะแสดงผลแบบ ริช สนิปเปต ดังนั้น การตั้ง URL ควรมี 1-3 โฟลเดอร์ย่อยจึงดีที่สุด
7. ทำคอนเทนต์ให้ลึกและหลากหลาย
ทำ Keyword Research คำในคอนเทนต์ให้ลึกและหลากหลาย โดยอาจจะดูว่าโดยปกติแล้วคนทั่วไปเขาค้นหาอะไรบ้างที่เกี่ยวกับ Keyword ที่เราต้องการจะติด หรือคำที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้กับเนื้อหาของเราเอง
ซึ่งตรงนี้เราสามารถดูได้ง่ายๆ จากหัวข้อ Related searches หรือ People also ask ก็จะได้ไอเดียว่าส่วนมากแล้วคนเขาค้นหาอะไรกับ Keyword นั้นๆ
8. เลือกทำคอนเทนต์ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและประเภท
เลือกทำคอนเทนต์ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและประเภท เช่น ถ้าเนื้อหาเหมาะกับการทำเป็นรูปประกอบก็ควรใช้เป็นรูปภาพ หรือหากคอนเทนต์เหมาะกับการอธิบายเป็นตารางก็ควรทำเนื้อหาออกมาเป็นตาราง เป็นต้น
9. การให้คำตอบแบบ Listing หรือบอกขั้นตอน
ใช้ในการทำคอนเทนต์ที่ต้องอาศัยลำดับขั้น หรือ แนะนำวิธีการต่างๆ เช่น การทำต้มยำกุ้ง การทำเค้กสตรอเบอรี่ วิธีเขียนบทความ On-page SEO
วิธีการทำ Rich Snippets ที่เหมาะสมในแต่ละเว็บไซต์
Rich Snippet นั้นไม่มีวิธีการทำที่แน่ชัดเพราะการถูกเลือกนั่นมาจากหลายปัจจัยเอามากๆ แต่มันก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีแนวทางเอาซะเลย การได้ขึ้นเป็น Rich Snippet นี้ทำให้เว็บไซต์ได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้น ทั้งยังได้โอกาสในการทำให้คนรู้จักและอยากเข้าชมเว็บไซต์ของเราด้วย ดังนั้นเรื่องของแนวทางย่อมมีอยู่บ้าง เพียงแต่แนวทางเหล่านี้ก็มาจากการคาดเดาซึ่งทำแล้วสามารถช่วยเรื่อง SEO ได้และยังได้ลุ้นด้วยว่าอาจได้ขึ้นเป็น ริช สนิปเปต
มาดูกันว่าแนวทางสำหรับการได้เป็น Rich Snippet จะมีอะไรบ้าง
1. นำเสนอข้อมูลเนื้อหาอย่างตรงประเด็น
หากลองสังเกตเว็บที่ได้ขึ้น Rich Snippet ให้ดีเราจะเห็นว่า Google ได้ทำการจับเอา Keyword บางอย่างจากคำที่ User ใช้ค้นหามาใช้เป็นหนึ่งในตัวคัดเลือกแล้วจับเอาที่ตรงมากที่สุด เป็นคำตอบที่ใช่มากที่สุดขึ้นมาแสดง
ซึ่งเราจะเห็นว่ามันเป็นส่วนเนื้อหาส่วนเดียวกัน ไม่ใช่การจับประโยคมาต่อประโยคแต่อย่างใด ดังนั้นหากต้องการเป็น Rich Snippet อย่างแรกเราต้องตรงประเด็นชัดเจน หากมีคำถาม ใกล้กันก็มีคำตอบแบบนี้
นอกจากนี้ Google ยังชื่นชอบการนำเสนอแบบหัวข้อ เช่นการถามว่ามะนาวมีประโยชน์อย่างไร ส่วนที่ถูกเลือกเป็น Rich Snippet จะขึ้นมาเป็นหัวข้อพร้อมกับลิสต์ประโยชน์เรียกได้ว่าชัดเจนและตรงประเด็น
ดังนั้น เมื่อคุณมีข้อมูลเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอให้ขึ้นเป็น Rich Snippet ก็จะต้องนำเสนออย่างเหมาะสมอาจเป็นตาราง รูปภาพ หัวข้อหรือวิดีโอ เราคิดว่าหากชัดเจนและตรงประเด็นมากพอ Google ย่อมเก็บคุณเป็นตัวเลือกที่ควรพิจารณานะ
2. ตรวจเช็คเว็บของเรากับเว็บที่ได้ขึ้น Rich Snippet ว่าต่างกันอย่างไร
หากความชัดเจนและตรงประเด็นของเรายังไม่มากพอ ถ้าอย่างนั้นก็ต้องออกสำรวจกันสักหน่อยแล้วว่าสาเหตุมันอยู่ที่อะไร เพราะว่าการติด Rich Snippet ไม่ใช่อันดับ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณติดอันดับที่เท่าไหร่ บางครั้ง Rich Snippet ที่ถูกยกมาอาจจะเป็นอันดับที่ 3 หรือ 4 ก็ได้ เพียงแต่เนื้อหามันใช่สำหรับ Google เท่านั้นเอง
ซึ่งเป็นเพราะความไม่แน่นอนที่เรายังไม่รู้ตรงนี้ เราจึงต้องลองเทียบดูว่าสิ่งที่เรายังขาดไปคืออะไร แต่ถึงอย่างนั้น ก็ไม่แนะนำว่าจะต้องแก้ให้เหมือน สิ่งที่ต้องการคือแนวทางที่จะนำมาปรับใช้ อาจเป็นเรื่องของโครงสร้างการนำเสนอ หรืออาจเป็นเรื่องความกระชับอ่านง่าย จะอะไรก็ตามลองปรับกันดู ไม่แน่อาจถูกใจ Google ก็ได้
3. ใส่ข้อมูลเนื้อหาให้ครบตามประเภทของ Rich Snippet
อย่างที่ได้นำเสนอกันไปในหัวข้อตัวอย่างถึงประเภทการนำเสนอข้อมูลแต่ละ Rich Snippet ว่าจะมีรายละเอียดที่ยกออกมานำเสนอ นี่แหละคือสิ่งที่กำลังบอกเราว่า หากคุณใส่รายละเอียดส่วนนี้ได้ครบ หรืออาจจะบอกด้วยว่านี่เป็น Snippet แบบไหน Google อาจจะถูกใจก็ได้
สรุป
สุดท้ายแล้ว การแสดงผลแบบ Rich snippets นี้ล้วนเกิดขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์หลักก็คือ ต้องการให้ทุกคนได้คำตอบจากคำที่ค้นหาได้เร็วที่สุด ดังนั้น หากเราทำคอนเทนต์อะไรก็ตามก็ควรทำเนื้อหาออกมาให้กระชับ ได้ใจความและเข้าใจได้ง่าย ซึ่งหากเนื้อหาจากเว็บของเราดี มีหรือที่เว็บไซต์ของเราจะไม่ติดอันดับดีๆ บน Google
คุณสามารถเลือกใช้ ริช สนิปเปต ได้อย่างเหมาะสมสำหรับเว็บไซต์ของคุณ มันจะช่วยให้ผลลัพธ์ของการค้นหาของเว็บไซต์คุณปรากฏบน SERP ได้อย่างโดดเด่นกว่าใคร