ปัจจัยที่ทำให้เว็บไซต์ติดอันดับGoolgle คือ การวิเคราะห์คีย์เวิร์ด หรือ Keyword research ก่อนทำคอนเทนต์SEO ซึ่งจะทำให้เราไม่เสียเวลาทำเอสอีโอ เนื่องจากกูเกิ้ลใช้เวลาเก็บข้อมูลแสดงผลให้เราไต่อันดับนั้นนานมาก การทำๆลบๆจะยิ่งเสียเวลาการใช้บทความSEOดันอันดับเว็บมากกว่าเดิมมากๆ โดยเนื้อหานี้มีแนะนำ keywordtool ฟรี ให้เราด้วย เป็นยังไงไปติดตามกัน
Keyword Research เป็นพื้นฐานของการทำ SEO ที่สำคัญมากที่สุด บ่อยครั้งที่เราเห็นนักทำ SEO โชว์ของแต่เอาคีย์เวิร์ดที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีปริมาณการค้นหา ไม่มีการแข่งขันมาเป็น Report
ในบทความนี้เราจึงจะมาอธิบายความหมายของ Keyword Reserach แบบไหนที่เรียกว่าดี มีคุณภาพ พร้อมวิธีการหาคีย์เวิร์ดคุณภาพ ส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจ โดยใช้เครื่องมือค้นหา Keyword หรือ Keyword Research Tools พร้อมแนะนำไอเดียการหาคีย์เวิร์ดที่น่าสนใจ
Keyword Research คืออะไร
Keyword Research คือ กระบวนการที่ใช้สืบหาคำหรือวลีที่ผู้ใช้งานค้นหาข้อมูล สินค้า บริการ และ คอนเทนต์ บนเครื่องมือค้นหา (Search Engine) เช่น Google, Bing, Youtube และนำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ จัดลำดับความสำคัญ เพื่อเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)
นักทำ SEO จะทำ Keyword Research เพื่อใช้ตอบคำถามต่อไปนี้ คือ
- หาปริมาณคำค้นหาต่อเดือน (Search Volume) ของคีย์เวิร์ดที่ต้องการทำอันดับ
- วิเคราะห์การแข่งขันของคีย์เวิร์ด (Keyword Difficulty)
- วางแผน และกำหนดกลยุทธ์คอนเทนต์ เพื่อเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ (SEO Content Strategy)
- หาคีย์เวิร์ดที่มีความสำคัญมากที่สุด (Prioritizing Keywords)
Keyword คือ คำหรือวลีที่ผู้ใช้ค้นหาบน Search Engine ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังต้องการอยากได้คนรับทำSEOให้เว็บไซต์ติดหน้าแรกGoogle แล้วต้องการค้นหาข้อมูลบน Google ด้วยการพิมพ์คำว่า “รับทำSEO” คำว่า “รับทำSEO” ก็คือคีย์เวิร์ดนั้นเอง
ทำไมต้องทำ Keyword Research
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจก่อนนะว่า ไม่ใช่ทุกคีย์เวิร์ดที่เราคิดขึ้นได้จะมีคนค้นหา และก็ไม่ใช่ทุกคีย์เวิร์ดอีกนั่นแหละที่เราจะสามารถเอาชนะคู่แข่งเพื่อขึ้นสู่ Ranking สูงๆ ได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เราต้องทำ คีย์เวิร์ดรีเสิร์ช เพื่อที่จะทำให้เรารู้ได้ว่าจริงๆ แล้วกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้เว็บไซต์ของเราเขาค้นหา Keyword แบบไหนกันแน่
ยกตัวอย่างเช่น เราทำธุรกิจสอนSEO แน่นอนว่า การจะเข้าถึงเป้าหมายได้ก็ต้องใช้คำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ธุรกิจทำ เช่น เรียน SEO ที่ไหนดี , คอร์สสอนSEOตั้งแต่พื้นฐานจนทำเป็นเอง แต่ก็ไม่ใช่ว่าคำที่เราคิดนี้จะมีคนค้นหา เพราะผู้คนอาจจะพิมพ์คำว่า ‘รับสอนSEO’ เป็น ‘รับสอนเอสอีโอ’ ตามความเคยชินก็ได้
ดังนั้น เราจึงต้องทำ Keyword Research เพื่อหาว่า คนเขียนคำว่า รับสอนSEO และเขียน Long Tail Keyword แบบใด เพื่อที่จะได้หยิบคำที่มีคนเสิร์ชจริงๆ มาใช้งานได้ถูกต้อง ซึ่งคำที่มีคนใช้จริงนั้นจะมีสิ่งที่เรียกว่า Search Volume เป็นตัวบอก ถ้าตัวเลข Search Volume เยอะก็แสดงว่า มีคนค้นหาคำๆ นั้นเป็นจำนวนมากนั่นเอง
นอกจากนี้การทำ Keyword Research ยังช่วยทำให้เราประเมินได้ด้วยว่า คีย์เวิร์ดนั้นๆ มีคู่แข่งมาก-น้อยแค่ไหน ทำการแข่งขันได้หรือไม่ เพราะถ้าเลือก Keyword ที่เอาชนะได้ยากโอกาสที่จะทำอันดับจนติดหน้าแรกได้ก็จะยิ่งน้อยนั่นเอง และเรื่องนี้ยังส่งผลต่อการลงทุนรวมถึงความคุ้มค่าในการทำ SEO อีกด้วย
ทำไม Keyword Research ถึงสำคัญกับการทำ SEO
ถึงแม้เรื่อง Keyword Research จะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็มักจะพบผู้เริ่มต้นทำ SEO หรือผู้ประกอบการบ้างท่านที่ยังไม่รู้จักการทำ Keyword Research เลือกคีย์เวิร์ดตามใจฉัน หรือตามความเชื่อ โดยที่ไม่มีหลักฐานมาอ้างอิง เมื่อทำไปแล้ว มาพบว่าไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้ ก็จะทำให้เสียทั้งเงินและเวลา ไปฟรีๆ ได้นะ
คีย์เวิร์ดรีเสิร์ช ก็เหมือนกับการสำรวจความต้องการของตลาด ก่อนลงมือทำจริง เพื่อให้เราไปได้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ ไม่ทำฟรี เป็นพื้นฐานแรกสุดของการทำ SEO ที่ช่วยให้เราเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่ค้นหาสินค้า บริการ คอนเทนต์ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา
การทำ คีย์เวิร์ดรีเสิร์ช เป็นตัวกำหนดรายละเอียดงาน ในหลายส่วนของการทำ SEO เช่น
- การกำหนดแผนการทำ SEO
- การกำหนดหัวข้อคอนเทนต์
- การปรับแต่ง On-Page
- การทำ SEO Content
- การวางโครสร้างเว็บไซต์ (site structure)
- การโปรโมทคอนเทนต์
- การทำ Link Building
- การเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์
- การเพิ่มโอกาสการเติบโตของธุรกิจ
ถือเป็นขั้นตอนแรกๆ ที่มีความสำคัญอย่างมาก สิ่งที่ทำให้คนทำ SEO ส่วนนึงทำแล้วไม่สร้าง Oraganic Traffic เข้าสู่เว็บไซต์ มาจากการที่ไม่ได้เริ่มต้นทำความเข้าใจการทำ Keyword Research ก่อน (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ E-Commerce)
เมื่อรู้แล้วการไปให้ถึงเป้าหมายของเราก็จะชัดเจนมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม และจะตอบคำถามหลายๆ อย่างได้มากขึ้น เช่น
- เว็บไซต์ควรให้ความสำคัญกับคีย์เวิร์ดคำไหนเป็นพิเศษ
- กลยุทธ์เว็บไซต์ในการสร้าง Organic Traffic ต้องทำอย่างไร
- ควรสร้างคอนเทนต์แบบไหน ให้ตอบโจทย์ Search Intent ของผู้ค้นหา
- คีย์เวิร์ดที่ต้องการให้ติดบนหน้าแรกของกูเกิลมีการแข่งขันมากน้อยแค่ไหน มีโอกาสในการแข่งขันไหม
- เลือกคีย์เวิร์ดแบบไหนที่จะเปลี่ยนจากผู้ใช้มาเป็นลูกค้าได้มากที่สุด
หากใครที่ยังไม่รู้จักการทำ Keyword Research เราแนะนำว่าอย่าเพิ่งเริ่มต้นทำ SEO ให้กลับมาทบทวนเรื่องนี้ ก่อนศึกษาการทำ SEO ส่วนอื่นๆ ก่อนดีกว่า
หลักการวิธีการทำ Keyword Research Strategy
หาไอเดียสำหรับทำ Keyword Research ขั้นแรกเลยเราต้องทำการหาไอเดียในการวางแผน Keyword กันก่อน โดยอาจจะเริ่มจากวิธีการง่ายๆ อย่างเช่น ตั้งคำถาม 5 W 2 H
ลองทำการตั้งคำถามดูซิว่า ถ้าคุณเป็นลูกค้าและต้องการหาสินค้าอะไรสักอย่างจะค้นหาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอย่างไรบ้าง หรือคุณอาจจะดูว่าใครในนี้คือลูกค้าของคุณได้บ้าง ยกตัวอย่าง เช่น คุณขายสินค้าเกี่ยวกับกระเช้าผลไม้
- ใคร (Who) : กลุ่มเป้าหมาย --> คนที่กำลังหาของขวัญในช่วงเทศกาลบริษัทที่ต้องการของขวัญสำหรับลูกค้าคนที่จะไปแสดงความยินดีในวันสำคัญ
- อะไร (What) : คุณขายอะไร --> กระเช้าของขวัญ
- ที่ไหน (Where) : สถานที่ตั้งของร้าน --> นนทบุรี บางใหญ่ โลตัสพลัสมอลล์
- เมื่อไหร่ (When) : ช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง --> ปีใหม่, วาเลนไทน์, สงกรานต์, วันแต่งงาน, วันเกิด
- ทำไม (Why) : ทำไมต้องซื้อสินค้าจากคุณ --> มีคุณภาพ, ส่งเร็ว, มีหน้าร้าน, ส่งฟรี
- อย่างไร (How) : ช่องทางการจัดจำหน่าย --> ซื้อหน้าร้าน , โอนผ่านระบบต่างๆ , ปักหมุดแผนที่ร้าน
- ราคาเท่าไหร่ (How much) --> ราคาเท่าไหร่ , มีโปรโมชั่นอะไรบ้างไหม , ราคาเทียบกับเจ้าอื่นเป็นยังไง
เมื่อได้คำตอบของคำถามก็อาจจะนำคำเหล่านี้ในการแตกประเด็น Keyword และดูว่าคำไหนมีคนค้นหาบ้าง
- ใช้ Keyword Suggestion จาก Google
สำหรับใครที่เป็นมือใหม่ในด้านการเขียน SEO Content Writing หรือเพิ่งเริ่มต้นในการทำ Research Keyword อีกหนึ่งวิธีการที่ง่ายที่สุดคือใช้ฟังก์ชันของ Google ให้เป็นประโยชน์ โดยการพิมพ์คีย์เวิร์ดที่ต้องการหาลงไปในช่องค้นหา จากนั้น Google จะแนะนำคำที่คนมักใช้ค้นหาเกี่ยวกับคำๆ นั้นขึ้นมาให้
หรือจะเลื่อนลงไปดูด้านล่างของหน้า Search ก็จะเห็นว่ามี Related Searchs ขึ้นมาให้ ซึ่งนี่นับเป็นไอเดียที่เป็น Longtail Keyword ที่หยิบไปใช้ได้เช่นเดียวกัน
- แบ่งหมวดหมู่ของเนื้อหาบนเว็บไซต์
ลองทำการแบ่งเนื้อหาบนเว็บไซต์แล้วลองคิดว่าในแต่ละหน้าที่ต้องการทำให้ติด SEO นั้นมี Topic อะไรบ้างที่คนจะให้ความสนใจและมีโอกาสจะค้นหา เช่น คุณทำ Agency ต้องการทำเว็บไซต์ที่ให้ความรู้ด้านการตลาด และแนะนำเซอร์วิสของคุณก็อาจจะแบ่งข้อมูลตามการบริการ ว่าควรมีเนื้อหาให้ความรู้อะไรตามบริการที่คุณทำ และควรตั้งต้นหาคีย์เวิร์ดจาก Topic ประมาณไหนบ้าง
- วิเคราะห์ Keyword ด้วย SEO tools
ขั้นต่อมาจะเป็นการนำ Keyword ที่เราได้เป็นไอเดียมาวิเคราะห์ต่อด้วยการใช้ SEO tools ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ โดย SEO tools จะช่วยในเรื่องของการวิเคราะห์ตัวเลขว่า Keyword ไหนที่ที่มีปริมาณการค้นหาบ้าง มีการค้นหาในรูปแบบไหน และมีคู่แข่งเยอะหรือไม่ โดย Metrics พื้นฐานที่มักจะต้องใช้ในการวิเคราะห์เลยก็คือ
- Search Volume คือ ปริมาณการค้นหาคีย์เวิร์ดนั้นๆ ในแต่ละเดือน
- Search Trend คือ การเฉลี่ยว่าคีย์เวิร์ดนั้นๆ ในแต่ละเดือนคนเสิร์ชเป็นอย่างไร ช่วงไหนเยอะหรือน้อย เทรนด์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไรบ้าง
- Keyword Difficualty (KD) คือ ค่าความยากง่ายของ Keyword โดยเทียบจากจำนวนคู่แข่งและความยากง่ายในการทำอันดับ
- Cost per click หรือ CPC คือ ค่าเฉลี่ยที่แสดงถึงราคาที่ต้องจ่ายต่อ 1 คลิกโฆษณา ใช้ดูว่า Keyword ไหนที่คนเล็งไว้ว่าเป็นคีย์เวิร์ดทำเงิน ถ้ามีคนซื้อ Ads เยอะแสดงว่าคีย์เวิร์ดนั้นสร้าง Conversion ได้
- หา Keyword ทองคำให้เจอ
Keyword ทองคำในที่นี้เราขอนิยามเอาไว้ว่าเป็นคีย์เวิร์ดที่มีปริมาณการค้นหาระดับหนึ่ง (ไม่ได้เยอะล้นหลามแต่ก็ไม่น้อยมากจนเกินไป) มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ และเว็บไซต์ของคุณสามารถทำการแข่งขันได้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคำที่เป็น Longtail Keyword
คำสั้นๆ ที่เป็น Seed Keyword นั้นมักมีปริมาณการค้นหาที่เยอะมาก แต่ก็มีคู่แข่งที่ทำ Keyword เหล่านี้เยอะมากด้วยเช่นกัน แต่ถ้าเลือกคีย์เวิร์ดที่เป็น Longtail Keyword ที่มีปริมาณค้นหาน้อยลงมาสักหน่อย คู่แข่งก็จะน้อยลง และยังมีโอกาสสร้าง Conversion เพิ่มได้มากขึ้นด้วย แต่ก็ไม่ใช่ว่า Longtail Keyword ทุกตัวจะทำติดได้ง่ายหรือคู่แข่งน้อยนะ จะต้องดู Keyword Difficualty (KD) จาก SEO tools ร่วมด้วย
- Keyword Research allintitle
ใช้วิธีเข้า Google แล้วพิมพ์ว่า allintitle: คำค้นหา วิธีนี้จะทำให้เห็นว่ามีคนทำเว็บไซต์เกี่ยวกับคำนั้นๆ เยอะแค่ไหน เช่น คำว่า Software house มีผลการค้นหาอยู่ที่ 133,000 Results เลยทีเดียว แต่ปริมาณการค้นหาต่อเดือนมีแค่ 350 ครั้ง การลงทุนแข่งขันในคำนี้ก็อาจจะต้องใช้แรงและเวลาสูงกว่าจะทำติดอันดับ
- ทำ Topic Cluster หรือ Content hub
เมื่อเลือก Keyword ที่ต้องการจะทำได้จำนวนหนึ่งให้ทำสิ่งที่เรียกว่า Topic Cluster หรือ Content hub ซึ่งเป็นการจัดกลุ่มคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาเชื่อมโยงหรือใกล้เคียงกันเข้ามาไว้ด้วยกัน และนำมาโยงเข้ากับคอนเทนต์หลัก (Pillar Content) เพื่อให้การทำ SEO มีประสิทธิภาพมากขึ้น (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress)
โดยใน 1 เว็บไซต์สามารถมี Topic Cluster ได้มากมาย แต่ควรจัดกลุ่มและทำการเชื่อมโยงไปยังคอนเทนต์หลักอย่างมีการวางแผน ก็จะช่วยทำให้การทำ Research Keyword มีคุณภาพมากขึ้นจากการที่คนทำคอนเทนต์รู้ว่าจะต้องเขียนเนื้อหาอย่างไร แบบไหนให้เชื่อมโยงถึงกันได้มากที่สุด
ชนิดของ Keywords
ความหมายของคีย์เวิร์ด ระหว่างคำที่มีความหมายกว้างๆ อย่างเช่น “Keyword” และ ความหมายที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นอย่าง “Keyword คืออะไร” นักทำ SEO หลายคนมักจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ 1 คำ, 2 คำ และมากกว่า 3 คำ บ้างท่านก็เรียกว่า Seed Keyword (1 คำ), Niche Keyword (2 คำ) และ Long tail Keyword (มากกว่า 3 คำ) หรืออาจจะแบ่งเป็น Head Terms, Body Keywords และ Long tail Keywords
Seed Keyword
Seed Keyword เป็นคำที่มีความหมายกว้างๆ มีเพียง 1 คำ มักจะมีปริมาณการค้นหา และการแข่งขันสูง ถึงแม้จะเป็นชนิดของคำที่น่าสนใจ เนื่องจากมีปริมาณการค้นหาที่สูง แต่คีย์เวิร์ดลักษณะนี้กลับไม่สามารถบอกความต้องการจริงๆ ของผู้ที่ค้นหาได้
ยกตัวอย่างเช่นคำว่า “Keyword” ซึ่งสามารถตีความหมายออกมาได้หลากหลายมาก ผู้ที่ค้นหาด้วยคำนี้อาจจะกำลังมองหาคีย์เวิร์ด เช่น “Keyword คืออะไร” หรือ “วิธีการหา Keyword” เรามักพบว่าคำหลักประเภทนี้ให้ ค่า conversions rate ที่น้อยกว่าคีย์เวิร์ดชนิด Niche Keyword และ Long tail Keyword แต่ด้วยที่มี Volume สูงจึงทำให้มีโอกาสน้อยมากที่จะเกิด conv. ได้พอสมควรครับหากสินค้าหรือบริการ เกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดคำนั้น
Niche Keyword
Niche Keyword มักมีจำนวนคำ 2-3 คำ ถึงแม้จะมี Search Volume น้อยกว่าคีย์เวิร์ดชนิด Seed Keyword แต่ก็เป็นคำที่ทำให้เรารู้ความต้องการของผู้ค้นหาได้มากกว่า และมีการแข่งขันที่น้อยกว่าด้วยนะ
กลุ่มคำชนิดนี้ เรามักพบว่าสามารถสร้าง conversions rate ได้มากกว่า ยกตัวอย่างเช่นคำว่า SEO กับคำว่า รับทำ SEO คำที่สองจะเป็นชนิดคำที่เรารู้ความต้องการของคนที่ค้นหาได้มากกว่าคำแรก ดังนั้นเมื่อเราทำหน้า landing page หรือ content ที่ตรงกับคำนั้นโอกาสที่จะเปลี่ยนมาเป็น conv. จึงค่อนข้างสูง
Long tail Keyword
Long tail Keyword เป็นคำที่มีมากกว่า 3 คำขึ้นไป มักเป็นคำที่มี Seach Volume น้อยกว่าชนิดของคีย์เวิร์ดอื่นๆ แต่ก็เป็นกลุ่มคำที่ทำให้เรารู้ความต้องการของผู้ค้นหาได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น และมีการแข่งขันที่น้อยกว่า
ถึง long tail keyword จะมีปริมาณการค้นหาน้อย แต่รู้ไหมว่าการค้นหาส่วนใหญ่ มักเป็นชนิด Long Tail Keywords เมื่อรวมเข้าด้วยกันหลายๆ คำก็จะทำให้มี Search Volume ที่สูงมากกว่าเดิมได้เช่นกันนะ
แล้ว 3 ชนิดนี้เราควรให้ความสำคัญกับชนิดไหนเป็นพิเศษ สำหรับเอเจนซี่รับทำSEOของเรา เราให้ความสำคัญกับทั้ง 3 ชนิด เพราะแต่ละชนิด มีข้อดีแตกต่างกันไป
Keyword ที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
การทำ Keyword Research มีหลักสำคัญ คือ การเลือก Keyword ที่นำมาใช้กับการทำ SEO ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ต้องมี Search Volume ในปริมาณที่มากพอ ยิ่ง Keyword ที่เลือกมามียอดการค้นหามากเท่าไรถือว่าคำนั้นเป็นคำที่มีคุณภาพ แต่ถ้ายอดการค้นหาน้อยนั้นย่อมเกิดผลเสียอย่างแน่นอน
- Keyword ที่เลือกมาใช้งานนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาที่ถูกหลักเสมอไปหรือไม่จำเป็นต้องบ่งบอกถึงสินค้าหรือบริการของเราแบบตรงๆ สิ่งที่สำคัญ คือ Search Volume ต้องสูงถึงจะแสดงว่าคำนี้เป็นคำค้นหาที่ดี
- Keyword ที่ดีต้องสามารถแข่งขันได้ เพราะเมื่อเราเลือกคำๆ นี้มาใช้แล้วย่อมต้องหวังถึงการติดอันดับการค้นหาบน google ซึ่งการแข่งขันอาจต้องมีการใช้ Keyword Research Tools มาช่วยวิเคราะห์
- Keyword ที่ดีต้องมีการค้นหาอยู่เสมอ ไม่ใช่คำที่ติดอันดับตามกระแสและเมื่อจบลงการค้นหาก็หายไปด้วย
- Keyword ที่เลือกมาใช้งานนั้นหากเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการมากเท่าไรจะช่วยเพิ่มโอกาสและจบการขายได้ง่ายขึ้น
ค่าเมตริก(metric)ที่ใช้ดูเพื่อคัดเลือก Keyword มาใช้งาน
Keywords Value บอกอะไรกับเรา ในขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อกรองคำที่เราจะเลือกใช้ดึงดูดผู้คนมายังเว็บไซต์ สิ่งแรกที่ต้องรู้คือ Keywords Value ของแต่ละคำเพื่อใช้ในการทำ Keywords Targeting เลือกคำเหล่านั้นมาทำ SEO ต่อไปนั่นเอง ซึ่งประกอบไปด้วย
ตัวเลขเหล่านี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจว่าจะคัดเอา Keyword คำนั้นมาใช้ต่อหรือไม่ หรือควรต้องวางแผนเลือกคำที่ใกล้เคียงกัน หรือ Keyword แบบ Long-Tail มาใช้แทน (Keyword ที่ยาวขึ้น) ที่อาจมีคู่แข่งที่น้อยกว่า
Search Volume
ค่านี้คือจำนวนการค้นหาของ Keyword คำนั้น โดยยิ่งมีค่ามาก ก็ยิ่งมีโอกาสที่คนจะค้นเจอเว็บไซต์ของคุณจากคำค้นนี้มากขึ้น แต่การดูจำนวนมากหรือน้อย ก็ต้องขึ้นอยู่กับความเฉพาะเจาะจงของคำค้นและธุรกิจด้วย เพราะถ้าเปรียบเทียบแล้วคำค้นที่เกี่ยวกับ “รองเท้าออกกำลังกาย” ก็จะมีจำนวน Search Volume มากกว่าคำว่า “เครื่องพิมพ์โรงงาน” อยู่แล้ว จึงต้องเลือกหาค่าที่เหมาะสมที่สุด ตามความเฉพาะของธุรกิจ
Click Through Rate (CTR)
ค่านี้จะบอกจำนวนที่ Keyword คำนั้นๆ ได้รับการคลิกเข้าไปดูเนื้อหาจากหน้าค้นหาของ Google ซึ่งในปัจจุบัน ค่านี้มีการลดลงอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากการแสดงข้อมูลของ Feature Snippet ของ Google ที่ดึงเอาส่วนสำคัญของบทความขึ้นมาแสดงเลยบนหน้าค้นหา ทำให้คนได้คำตอบและไม่คลิกเข้าไปต่อ
แต่ค่านี้ก็ยังถือว่ามีความสำคัญต่อการทำ Keyword Research อยู่ เพราะถึงจำนวน CTR จะมีน้อยลง แต่การหยิบบางคำค้นมาใช้ก็ยังทำให้เว็บไซต์มีโอกาสถูกคลิกเข้ามาชมได้
Keyword Difficulty (KD)
ค่านี้คือค่าที่บอกว่า Keyword คำนั้นๆ มีความยาก-ง่ายต่อการแข่งขันในการจัดอันดับมากแค่ไหน ซึ่งถ้ามีตัวเลขเยอะก็หมายถึงมีความยาก ถ้าตัวเลขน้อยก็หมายถึงมีความง่ายกว่าในการแข่งขัน
Intent
หมายถึง เจตนาที่ผู้ใช้เสิร์ชหาคำเหล่านี้ หากวิเคราะห์เหตุผลว่าทำไมเสิร์ชหาคำต่างๆ ได้ดีจะยิ่งช่วยเราผลิตเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายได้เจาะจงขึ้น
Relevance
หมายถึง ความเชื่อมโยงระหว่างคำกับคอนเทนต์ แม้ยอดเสิร์ชจะสูงแต่หากคำที่เลือกมาไม่ตรงกับเนื้อหาข้างใน การทำ SEO ก็คงเปล่าประโยชน์
CPC
คือ ราคาต่อคลิก (Cost-Per-Click) ที่ต้องจ่ายในกรณีที่เรามีการยิงแอดให้หน้าเว็บของเราขึ้นไปอยู่บนหน้าแรก Google เพื่อให้เราเลือกใช้คำที่คุ้มค่าต่อการลงทุน
Paid Difficulty (PD/PPD)
คือ ค่าที่แสดงความยากง่ายในการแข่งขัน Keyword ประเภท Search Ad (ซื้อ Ad ก็ต้องแข่งขันกับ Ad ตัวอื่นๆ เช่นเดียวกัน)
Estimated Visits per Month (EV)
คือ จำนวนครั้งที่มีการเข้าชมเว็บเพจที่ใช้คีย์เวิร์ดนั้นๆ ซึ่งเราสามารถเข้าไปดูเว็บเพจที่มีคนเข้าเยอะๆ เพื่อวิเคราะห์ดูว่าทำไมคนถึงเข้ามาเยี่ยมชมเยอะ และเราจะสู้ได้อย่างไรบ้าง
Keyword Research Tools เครื่องมือวิจัยคีย์เวิร์ด
Keyword research tools คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับวิเคราะห์ปริมาณการค้นหา การแข่งขัน คุณภาพของคีย์เวิร์ด และต้นทุนค่าเฉลี่ยในการโฆษณา (Cost Per Click) ของคีย์เวิร์ดที่ผู้ค้นหาใช้ เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ ในการเลือกคีย์เวิร์ดสำหรับทำการตลาดผ่านเสิร์ชเอนจิ้นมาร์เก็ตติ้ง
Keyword research tools ในประเทศไทย เราอาจจะคุ้นในชื่อของโปรแกรมค้นหา Keyword ซึ่งมีหลากหลายเจ้าให้เลือกใช้ แต่ของประเทศไทย เราจะต้องหาโปรแกรมค้นหา Keyword ที่รองรับกับภาษาไทย เพราะบ้างเครื่องมือก็ไม่มีข้อมูลคีย์เวิร์ดของภาษาไทยอยู่ จึงไม่สามารถใช้ได้หรือใช้ได้แต่ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งโปรแกรมค้นหา Keyword ที่เอเจนซี่รับทำSEOเราจะใช้ประจำจะมีดังนี้ คือ
- Google Keyword Planner
- Ubersuggest
- Keywordtool.io
- Kwfinder.com
ตามปกติแล้วทุกเครื่องมือวิเคราะห์คีย์เวิร์ดมักจะมี Metrics ที่ใช้วิเคราะห์ใกล้เคียงกัน คือ
- Search Volume ปริมาณที่ผู้ใช้ค้นหาคีย์เวิร์ดในแต่ละเดือน ส่วนนี้ไม่ได้หมายถึงว่าเราจะได้จำนวนผู้เข้าใช้ตามจำนวนนี้ทั้งหมดนะ เนื่องจากไม่ได้แสดงถึงว่ามีคนคลิ๊กมายังเว็บไซต์เราเท่าไหร่ สมมติ คีย์เวิร์ด 1 คำ มีคำค้นหา 100 เมื่อเราอยู่ที่ 1 แล้วได้ CTR (Click-through rate) เท่ากับ 30% แล้วเราก็จะได้ยอดผู้เข้าใช้ 30 ไม่ใช่ 100 และก็จะลดลงมาเรื่อยๆ ตามตำแหน่ง
(***Position มีผลต่อ CTR เยอะมาก อันดับ 1 กับ 2 จะให้ CTR ที่แตกต่างกันเกือบเท่าตัวได้เลย) - Cost Per Click คือ ราคาที่ต้องจ่ายสำหรีบคีย์เวิร์ดเพื่อให้แสดงผลในหน้า SERP (search engine result pages) ที่แสดงผลในรูปแบบของ Ads ยิ่งมีค่าสูงยิ่งจ่ายแพง ยิ่งค่าน้อยยิ่งจ่ายถูก
- Keyword Difficulty ค่าที่แสดงความยากง่ายของคีย์เวิร์ดแบบ Organic Keyword ที่ไม่ใช่ Ads ซึ่งแต่ละสำนักก็มีการคำนวณแตกต่างกัน สำหรับเอเจนซี่รับทำSEOของเราเอง ค่านี้เอามาดูจริงจังไม่ได้เท่าไร วิเคราะห์คู่แข่งในหน้าผลการค้นหาเองจะละเอียดมากกว่า
- Search Result แสดงเว็บไซต์ที่ติดอันดับของคีย์เวิร์ดคำนั้น
สำหรับเราตัวที่ใช้จริงๆ จะมีแค่ค่าเดียวนั้นคือ Search Volume กับดู Related Keyword ที่เกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดคำนั้น สำหรับส่วนที่โฟกัสเป็นพิเศษก็คือ บริบทของคีย์เวิร์ด ตามในหัวข้อ วิธีเลือกคีย์เวิร์ดคุณภาพ เราอาจจะใช้เครื่องมืออื่นๆ ประกอบตามไปด้วย เช่น
- Answerthepublic.com
- Ahref.com
- Related keywords
- Google Search Console
- Youtube Suggestions
เพื่อนำมาเป็นไอเดียในการคิดหัวข้อของคอนเทนต์ การหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องมาเสริมประสิทธิภาพในการทำ SEO Content แตกออกมาจากคีย์เวิร์ดที่รีเสิร์ชเพิ่มเติม
Ahrefs
Ahrefs คือ เครื่องมือสำหรับทำ SEO ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน มีชื่อเสียงในการวิเคราะห์คำค้นหาและวิจัยเว็บไซต์ของคู่แข่ง ได้แม่นยำสูง มีฟีเจอร์ที่มีประโยชน์มากมายเช่น Keyword Research, Backlink, Traffic และ Ranking และอื่นๆ
ถือเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมตลอดกาลสำหรับ SEO Specialists เพราะสามารถใช้งานได้หลากหลาย นอกจากจะช่วยดู Keywords Idea ยังดูข้อมูล On-Page และ Off-Page ได้อีกด้วย
ในส่วนราคาค่อนข้างสูงอยู่ในระดับต้นๆ ของเครื่องมือ SEO ที่มีอยู่ สำหรับมือใหม่ Ahrefs ได้มีทดลองใช้แบบฟรีๆ ไม่เสียเงิน
จุดเด่นของ Ahrefs
- ใช้งานได้ฟรี แต่จะมีฟีเจอร์ไม่เยอะมาก
- ดูคีย์เวิร์ดที่มีคนค้นหาเยอะๆ ถ้าแบบเสียตังค์ สามารถดูข้อมูลสถิติได้ละเอียดกว่า
- หา Keyword จากเว็บคู่แข่ง
- เช็ค traffic ที่ละหน้าได้
- ตรวจสอบ backlink
Keywordtool
เครื่องมือการวิเคราะห์หา Keywords นี้ ทำงานคล้ายกับ Google Keywords Planner เรียกได้ว่าแทบจะใช้ทดแทนกันได้เลย หาก Google Ads เกิดข้อขัดข้องเครื่องมือนี้ถือเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดตัวหนึ่ง
SimilarWeb
SimilarWeb เป็นเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของเว็บไซต์ที่ทำงานใกล้เคียงกับ Google Analytics เหมาะกับสาย Marketing เพราะอัดแน่นข้อมูลการตลาดโดยเฉพาะ อย่าง Visitor, Traffic Acquisition, Organic Visitor และอื่น ๆ อีกมากมาย แถมยังมี UI ที่เข้าใจ ใช้งานสะดวกไม่ยุ่ง ถึงแม้ว่าราคาจะแรงไปนิดแต่ก็ถือว่าเป็น tool ที่น่าสนใจเลยทีเดียว
SEMrush
SEMrush เป็นเครื่องมือลูกผสมระหว่าง Similarweb และ Ahrefs ที่มีทุกอย่างให้เลือกสรร ความโดดเด่นพิเศษคือมีฟีเจอร์หา Idea สำหรับสายคอนเทนต์ ตอบโจทย์ Content Writer ที่กำลังคิดเรื่องจะเขียนไม่ออกให้ทำงานง่ายขึ้น ทั้งยังสามารถดูข้อมูล Traffic ของเว็ปไซต์เราและคู่แข่งได้อีกด้วย
แนะนำเครื่องมือช่วยทำ Keyword Research ฟรี
จะจ่ายแพงไปทำไมในเมื่อเราเป็นแค่มือสมัครเล่น ท่านที่ไม่ได้รับทำSEOเป็นอาชีพ อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนคงอยากจะลองทำ Keyword Research แล้วใช่มั้ยล่ะ? แต่ก่อนจะไปลงทุนซื้อเครื่องมือทำ SEO แนะนำให้เริ่มต้นจับทางวิธีการทำจากเครื่องมือฟรีของ Google ที่มีอยู่เสียก่อน ไม่ว่าจะเป็น
-
Google Search Console
Google Search Console คือ เครื่องมือฟรีจาก Google ที่ใช้ในการตรวจสอบ Performance ของเว็บไซต์ไปจนถึงคุณภาพของการติดอันดับของเว็บไซต์ได้
โดยปกติเราจะใช้ Google Search Console เช็กว่าเว็บไซต์ของเรานั้นมี User เข้ามาผ่านคีย์เวิร์ดอะไรบ้าง ส่วนในแง่ของการวางแผน Keyword Research ก็สามารถใช้เครื่องมือนี้ในการวิเคราะห์ Keyword ได้ เช่น นำคีย์เวิร์ดที่คนเข้ามาหน้าเว็บเรามาปรับเพิ่มคีย์เวิร์ดในหัวข้อและคอนเทนต์ของหน้า On-Page ใหม่ หรือทำ Keyword ในหน้าอื่นๆเพิ่มเพื่อเสริมให้ติดอันดับที่ดีขึ้น
-
Google Keyword Planner
Google Keyword Planner คือ เครื่องมือฟรีจาก Google ที่ปกติมักใช้สำหรับทำ Google Ads แต่เราก็สามารถเข้าไปใช้เพื่อวางแผน Keyword Research ได้ โดยทำการกรอกคีย์เวิร์ดที่ต้องการรู้ลงไป ก็จะมีการบอกรายละเอียดที่เกี่ยวกับคำค้นหานั้นๆ ทั้งปริมาณการค้นหา เทรนด์การเสิร์ช คู่แข่งเยอะหรือน้อย ไปจนถึงเงินที่ใช้ในการ Bidding ก็มีบอกรายละเอียดให้ทั้งหมด
-
Google Trend
Google Trend คือ อีกหนึ่งเครื่องมือฟรีจาก Google ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับตรวจสอบเทรนด์ของ Keyword แต่เราจะหยิบมาใช้เพื่อทำ SEO ก็ได้ เช่น เราสงสัยว่า คำๆ นี้ยังเป็นที่นิยมมากน้อยแค่ไหน
อย่างคำว่าหน้ากากอนามัย เราสงสัยว่าเดี๋ยวนี้คนยังค้นหาสิ่งนี้หรือไม่ ผลปรากฏว่ามีแนวโน้มน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับช่วงโควิด ถ้าต้องทำ SEO เพื่อขายสินค้านี้ก็อาจจะต้องคิดเยอะหน่อยเนื่องจากเป็นเทรนด์ช่วงขาลง เป็นต้น
-
Ubersuggest
เป็นเครื่องมือที่เปิดให้ทดลองใช้ได้ฟรี โดยสามารถเข้าดู Keywords ที่เป็นข้อมูลในระดับพื้นฐานได้ เหมาะกับ SEO Specialists มือใหม่ที่ยังไม่เคยทดลองใช้เครื่อมืออื่นๆ และต้องการฝึกฝีมือในการทำ SEO
แนะนำการใช้ Ubersuggest หาคีย์เวิร์ด
- อันดับแรก ให้เข้าเว็บไซต์โดยกดคลิ๊กที่ลิงค์ >> https://neilpatel.com/ubersuggest/ เพื่อใช้งานโปรแกรมค้นหาคีย์เวิร์ด
- เปลี่ยนภาษา จาก English / United States เป็น Thai / Thailand แล้วใส่คีย์เวิร์ดที่ต้องการลงไป แล้วกดปุ่มคำว่า search
- เราก็จะได้ ข้อมูลของคีย์เวิร์ดคำที่ใส่ลงไป เช่น จำนวน Search volumn ของ keywords นั้นๆ
- เพื่อให้เราดูข้อมูลคีย์เวิร์ดได้มากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับคีย์เวิร์ดที่เราใส่ลงไป เราสามารถใช้ตัวเลือก keyword ideas ทางด้านซ้ายมือได้ ให้กดคลิ๊กไปได้เลย
- โปรแกรมก็จะแสดงคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดหลักที่เราใส่ลงไป มาให้เราวิเคราะห์ต่อว่าส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ค้นหาบนกูเกิ้ลเขาค้นหาอะไรบ้าง ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา ถ้าจำนวนคีย์เวิร์ดยังน้อยไปให้เรากดคลิ๊กที่เมนู Related เพิ่มเติม ระบบก็จะแสดงคีย์เวิร์ดเพิ่มเติมขึ้นมา
วิธีหา Keyword คุณภาพมาทำ SEO
การคัดเลือกคีย์เวิร์ด ที่จะมาทำ SEO นั้นมีความสำคัญมาก เพราะรายละเอียดงาน SEO ที่ต้องทำนั้น จะอยู่กับคีย์เวิร์ดที่เรากำหนดในตอนแรก ซึ่งการทำ SEO ตัวตัดสินว่าเว็บไซต์จะสามารถเพิ่มยอดผู้เข้าชมได้ไหม หรือเพิ่มยอดขายได้ไหม ก็อยู่ที่คีย์เวิร์ดที่เลือก
แล้วเราควรเลือก คีย์เวิร์ดแบบไหนมาทำ SEO กันก่อนดี เรามีแนวทางมาให้ดังนี้
- เลือกกลุ่มคำคีย์เวิร์ดที่ตรงกับสินค้าหรือบริการของเราก่อนเป็นอันดับแรก เช่น คุณมีบริการรับสร้างเว็บไซต์ คีย์เวิร์ดแรกที่ควรเริ่มต้นทำก็คือ “รับสร้างเว็บไซต์”
- ปริมาณของ Search Volume ต้องไม่น้อยเกินไป อย่างน้อยควรเลือกคีย์เวิร์ดที่มี Search Volume ประมาณ 1,000 ขึ้นไปก่อน
- เลือกคีย์เวิร์ดที่รู้ความต้องการของผู้ค้นหาอย่างชัดเจน เช่น รถยนต์ไฟฟ้า, สร้างเว็บไซต์, บ้านน็อคดาวน์, โต๊ะทำงาน ไม่เลือกคีย์เวิร์ดที่มีความหมายกว้างจนเกินไป เช่น โต๊ะ, เก้าอี้, รถ, เว็บ, บ้าน จะสังเกตเห็นว่าเราไม่รู้ความต้องการของผู้ค้นหาเลย มันกว้างมากไป
- ตรวจสอบ Search Intent ให้เหมาะสมกับคอนเทนต์ ดูว่าคีย์เวิร์ดที่ต้องการทำอันดับ อันดับในหน้าแรกของผลการค้นหาเป็นแบบไหน สามารถใช้คอนเทนต์เพื่อไปอยู่อันดับต้นๆได้ไหม ในกรณีหน้าแรกของผลการค้นหาเป็น VDO จาก Youtube ทั้งหมด การสร้างคอนเทนต์บนเว็บไซต์เพื่อให้ติด ก็จะไม่เหมาะสมเท่ากับการสร้าง VDO Content
- เน้นทำอันดับคีย์เวิร์ดที่เป็น Buyer’s Keywords ก่อน เพื่อเพิ่มโอกาสที่จะแปลงผู้เข้าชมเว็บไซต์เป็นลูกค้า มาเพิ่มยอดขาย เช่น กลุ่มคีย์เวิร์ดที่มีคำว่า ราคา, ที่ไหนดี, รับทำ, รับสอน, ชื่อแบรนด์, รีวิว ที่เป็นกลุ่มคำที่ผู้ใช้รู้จัก สินค้า บริการ มาในระดับนึงแล้ว เราจะเรียกกลุ่มคำประเภทนี้อีกอย่างว่า Commercial Keyword
- ความยากง่ายของ Keyword ในการทำ SEO ให้ดูว่าคีย์เวิร์ดที่เราเลือก มีการแข่งขันที่สูงไหม ถ้าดู Top 10 ในหน้าแรกของกูเกิล แล้วพบว่าคู่แข่งแต่ละคนโหดๆ ทั้งนั้น เราอาจเลือกโฟกัสคีย์เวิร์ดตัวอื่นก่อน ค่อยกลับมาลุยตัวที่การแข่งขันสูงๆ ที่หลัง เช่น คอนโด, ซื้อบ้าน, ประกันรถยนต์ คีย์เวิร์ดกลุ่มนี้คู่แข่งแต่ละเจ้านี้ระดับประเทศทั้งนั้น
เทคนิคการคัดเลือก keyword เบื้องต้น
อันดับแรกให้เราเลือกคีย์เวิร์ดที่เราสนใจจะทำ SEO มาสัก 1 คีย์เวิร์ด เอาที่เป็นคีย์เวิร์ดหลักที่จะนำไปทำ SEO Content นะ สมมติเราจะทำ SEO ให้กับคำว่า “รับสร้างบ้าน” ที่มี volume อยู่ที่ 6,600 (จากการไปค้นใน google keyword planner วันที่8/14/2023)
เราก็จะนำคีย์เวิร์ดนี้ไปค้นหาในกูเกิ้ลแต่ให้ใช้คำสั่งนี้บนหน้าค้นหาของกูเกิ้ล
allintitle=คีย์เวิร์ด --> allintitle=รับสร้างบ้าน
แล้วให้สังเกตตัวเลขถัดจากคำว่า about และก่อนคำว่า results ตัวคือตัวจำนวนหน้าเพจทั้งหมดที่ title โฟกัสคำว่า “รับสร้างบ้าน” หรือเราจะประมาณได้ว่ามีจำนวนคู่แข่งทั้งหมด 132,000 กว่าหน้าเพจก็ได้(search วันที่ 8/14/2023)
ถือว่าเป็นจำนวนตัวเลขที่ไม่น้อยเลยที่เดียว ถ้าเราทำคีย์เวิร์ดนี้ ในช่วงแรก การแข่งขันคงเป็นไปได้ยาก จากคีย์เวิร์ดชุดเดิม เราลองเปลี่ยนใหม่เป็นคีย์เวิร์ดที่ยาวมากกว่านั้น และมี search intent ที่แตกต่างกับคีย์เวิร์ดตัวแรกที่เลือกไว้ เพื่อไม่ให้เกิดคีย์เวิร์ดที่ใช้คอนเทนต์เดียวกันได้
โดยใช้เป็นคีย์เวิร์ด “รับสร้างบ้านชั้นเดียว” ที่มี volume 480 เราจะเห็นได้ว่ามีจำนวนคู่แข่งทั้งหมด 1,570 กว่าหน้าเพจ(search วันที่ 8/14/2023)
แล้วเราก็พบว่า มีจำนวนคู่แข่งลดน้อยลงมากว่านั้นมากเลย แถมจำนวน volume ก็ยังพอไปได้
ดังนั้นในการทำ SEO ชุดคีย์เวิร์ดที่เราจะนำไปสร้างคอนเทนต์ก่อนอันดับแรกก็คือ รับสร้างบ้านชั้นเดียว เพราะ เป็น keyword ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า มี search volume และมีโอกาสที่จะเข้าหน้าแรกได้มากกว่า
สำหรับเทคนิคนี้เรามองว่าตรวจสอบได้ดีระดับนึงเลย แต่ถ้าเป็นมุมของเราในการวิเคราะห์คีย์เวิร์ดต่อจะตรวจสอบเว็บไซต์ของคู่แข่งที่อยู่บนหน้า SERP (Search Engine Result Pages) หรือหน้าผลลัพธ์การค้นหาใน 10 ตำแหน่งแรกด้วยนะ
อย่างคีย์เวิร์ด “ประกันรถยนต์” allintitle แล้วประมาณ 38k ไปดูคู่แข่งแต่ละเจ้าระดับประเทศแบบนี้ก็ต้องขอลาก่อน แนะนำให้ทำคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ก่อนดีกว่า(สำหรับมือใหม่)
ขั้นตอนการหา Keyword
ขั้นตอนการหา Keyword เพื่อให้สามารถสร้างกลยุทธ์ SEO ให้ประสบความสำเร็จและเพิ่มการติดอันดับการค้นหาให้อยู่อันดับแรกๆ สามารถทำตามขั้นตอนได้ดังนี้
1. กำหนดเป้าหมาย : การกำหนดเป้าหมายถือเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญ แต่เหนือสิ่งอื่นใดคุณควรทบทวนคำถามสำคัญเหล่านี้ เพื่อที่จะสามารถตอบคำถามและระบุตัวตนของแบรนด์ รวมไปถึง Keyword ที่ต้องการเลือกมาใช้งาน เช่น
- ตัวเราคือใคร
- สินค้าและบริการของเราเกี่ยวกับอะไร
- ความพิเศษที่เหนือกว่าคู่แข่งคืออะไร
- เว็บไซต์ของคุณเกี่ยวข้องกับอะไร
2. รวบรวมและจัดหมวดหมู่คำที่เกี่ยวข้อง : การรวบรวมและจัดหมวดหมู่คำจะช่วยให้คุณสามารถหยิบ Keyword ที่ต้องการเลือกใช้ให้สอดคล้องกับแบรนด์มากที่สุด เช่น สินค้าของคุณเกี่ยวข้องกับการบำรุงผิวของผู้หญิง คำที่เกี่ยวข้องอาจเป็น
- บำรุงผิวกระจ่างใส
- ลดรอยสิว จุดด่างดำ
- เจลล้างหน้าผู้หญิง
3. สร้าง Keyword หลัก : เมื่อรวบรวมคำและจัดหมวดหมู่เรียบร้อยแล้ว คุณสามารถนำคำที่มีมากำหนด Keyword หลักที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของคุณได้ ซึ่งสิ่งที่สำคัญ คือ คำที่เลือกใช้ต้องตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่อาจค้นหาใน google
4. กำหนด Long-Tail Keywords : คำหลักมักเป็นคำค้นหาที่สั้นซึ่งเกี่ยวกับหมวดหมู่สินค้าหรือบริการของคุณ แต่ Long-Tail Keywords จะให้ความหมายที่เจาะจงและตรงกับความต้องการที่สุด
5. ค้นหาเกี่ยวกับคู่แข่ง : การทำ Keyword Research อาจไม่เพียงพอ คุณควรเพิ่มการสำรวจสิ่งที่คู่แข่งกำลังดำเนินการ การทำความเข้าใจถึงคำที่สามารถแข่งขันได้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณหา Keyword จากช่องว่างเหล่านั้นเพื่อเพิ่มโอกาสการทำ SEO ให้ประสบความสำเร็จเหนือคู่แข่งมากขึ้น
- เว็บไซต์คู่แข่งทำคอนเทนต์ประเภทไหนลงบนเว็บไซต์บ้าง
- มีการใช้หัวข้อทำบทความแบบไหนบ้าง
- Keyword ที่อยู่ในบทความนั้นเป็นคำว่าอะไร
- บทความหรือหน้าเว็บเพจไหนที่ติดอันดับการค้นหาได้ดี
การจัดลำดับความสำคัญคีย์เวิร์ดในการทำ SEO
ไอเดียการเริ่มต้นเลือกคีย์เวิร์ดมาทำ SEO ในแบบฉบับของเรา เรามักจะทำคอนเทนต์ หรือ Optimize คอนเทนต์ ให้รองรับกลุ่มคำที่ตรงกับสินค้าหรือบริการของเรา ที่มี Volume สูงและเรารู้ความต้องการของผู้ค้นหาชัดเจนก่อน เช่น รับสอน SEO, รับทำ SEO, เรียนสร้างเว็บไซต์ และ รับทำเว็บไซต์ แต่จะไม่ได้โฟกัสในการทำอันดับในกลุ่มคำนี้ในช่วงแรกๆ ของการทำ SEO เพราะการแข่งขันจะค่อนข้างสูง
แต่จะไปเน้นคีย์เวิร์ดที่มีปริมาณการค้นหาจำนวนนึงและการแข่งขันไม่สูงมาก ซึ่งจะเป็นคีย์เวิร์ดให้ความรู้ เช่น คีย์เวิร์ด คืออะไร, SEO คืออะไร, โปรแกรมหาคีย์เวิร์ด เพื่อสร้างยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ก่อน เนื่องจาก Traffic เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ Google รู้จักเว็บไซต์ของเราได้มากยิ่งขึ้น และมีผลต่อการทำ SEO
สรุป
การทำ Keyword Research คือ ขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้เราหา Keyword ที่ทั้งเกี่ยวข้องกับธุรกิจ มีคนใช้อยู่จริง มีปริมาณการค้นหา และสามารถทำการแข่งขันได้เจอ ซึ่งจะช่วยทำให้การทำ SEO หรือ Search Engine Optimization มีประสิทธิภาพที่ดี นำพาไปสู่อันดับบนหน้า Search Engine สูงๆ ตามที่ต้องการ
การทำ คีย์เวิร์ดรีเสิร์ช จึงมีความสำคัญมาก เพราะจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของเว็บไซต์ที่ User และ Search Engine มอง ไปจนถึงส่งเสริมการขายจากการที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย Keyword ที่พวกเขาใช้ค้นหาอย่างแท้จริง
ดังนั้น แนะนำให้คุณใช้เวลากับการทำ Keyword Research สักหน่อยเพื่อที่จะได้ค้นหา Keyword ที่เหมาะสมกับธุรกิจที่สุด และจะได้ไม่ต้องเสียเวลามาวางแผนแก้ไข Keyword ใหม่ในภายหลังด้วยนะ