อธิบายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นการทำ Google My Business เข้าสู่ระบบฟรีไม่เสียเงิน ตอบทุกคำถาม เช่น ใช้งานยังไง มีค่าใช้จ่ายไหม ปักหมุดเสียเงินไหม พร้อมการกรอกข้อมูลเพื่อเพิ่มคะแนนSEO ส่งเสริมการดันอันดับแรงก์บนกูเกิ้ล เทคนิคต่างๆในการเชิญชวนลูกค้ามารีวิวร้านให้ดาวเยอะๆ เพิ่มยอดการเข้าชมเว็บไซต์ คลิ๊กอ่านและโทรหาเรา ด้วย กูเกิ้ลมายบิซซิเนส ธุรกิจฉัน
วิธีนึงที่ทำให้คนเข้าเว็บเรามากขึ้นแบบไม่ต้องลงแรงเยอะมากมาย โดยเน้นคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวกับการบริการท้องถิ่น(Local)ของเรา แค่นี้ผู้ชมจากการใช้ Google Search หรือ Google Maps ก็จะเห็นเว็บเรามากขึ้น นั่นคือการทำ Google Business Profile ให้ธุรกิจสินค้าและบริการของเราเพิ่มลูกค้าจากช่องทางออนไลน์
ยุคนี้การค้นหาร้านอาหาร ร้านกาแฟ บนGoogle เรามักใช้คำว่า ร้านกาแฟใกล้ฉัน , ร้านทำเล็บเอกมัย ซึ่งการที่เราระบุสถานที่ เช่น เอกมัย ทำให้เพจเว็บไซต์เราสามารถติดอันดับการค้นหาที่ดีได้ หรือ การที่ระบุว่า “ใกล้ฉัน” กูเกิ้ลจะค้นเว็บไซต์ที่ปักหมุดร้านใกล้กับผู้ค้นหา ทำให้แสดงผลเพิ่มเติมได้มากขึ้นทั้งในหน้าค้นหาปกติ หรือ ทางGoogle maps
ถ้าอยากทำเทคนิคแบบนี้ เรามาทำความรู้จักกับ Google My Business กัน (สนใจกด >> รับทำ SEO)
Google My Business คืออะไร?
Google My Business คือ การที่กูเกิ้ลแสดงผลการค้นหาในรูปแบบ Google maps หรือ ช่องแสดงผลการค้นหาเพิ่มเติมเมื่อผู้สนใจตั้งใจหาสินค้าหรือบริการบน Google โดยระบุสถานที่ หรือ ตำแหน่งใกล้ฉัน ร้านค้ากิจการธุรกิจของเราจะแสดงผลเมื่อลงทะเบียน GMB หรือทำหน้าเพจเว็บไซต์ที่ระบุสถานที่ละเอียดบนบทความ
เมื่อธุรกิจร้านค้าของคุณอยู่ใกล้เคียงจุดพื้นที่ที่ลูกค้าค้นหา หรือคุณมีบทความที่เกี่ยวข้องระบุสถานที่ที่ผู้ค้นหาสนใจก็จะแสดงผลเช่นกัน
Google Business Profile คืออะไร?
Google Business Profile คือ ข้อมูลแสดงโปรไฟล์ร้านค้า กิจการ ธุรกิจ ของเรา เมื่อลูกค้าค้นหาจากหน้าแสดงผลการค้นหา (SERP) ของ Google Maps และ Google Search โดยจะแสดงข้อมูลธุรกิจ ข้อมูลรีวิว ตำแหน่งที่ตั้ง และอื่นๆ
หมายเหตุ : Google My Business และ Google Business Profile คืออย่างเดียวกันนั่นเอง
ทำไมคุณจึงควรสมัครใช้ Google My Business?
เพราะกูเกิ้ลไม่แบ่งแยกว่าธุรกิจคุณใหญ่หรือเล็ก ข้อมูลมากหรือน้อย ผู้คนสามารถเข้าถึงธุรกิจของคุณได้หมดแค่บริเวณที่ตั้งใช่ หน้าเพจเว็บไซต์ใช่ Google Business Profile มีพื้นที่ให้อัพเดทข้อมูลต่างๆให้กับกิจการคุณเพื่อโปรโมทอีกช่องทางนึง อย่างเช่น
- รูปภาพ
- ตำแหน่งร้านค้า
- เวลาเปิด-ปิดทำการ
- ข่าวสารโปรโมชั่น หรือกิจกรรมในช่วงเวลานั้นของธุรกิจของคุณ
ส่วนสำคัญที่สุดในยุคสมัยนี้ คือ การที่บริโภคแสดงความเห็นเกี่ยวกับความประทับใจในสินค้าและบริการของกิจการเราให้ผู้อื่นรับรู้ได้ อีกทั้งมีการรีวิวดาวให้เต็ม 5 คือ ดีที่สุด และ 1 ดาว คือ แย่ที่สุด โดยระบบจะประมวลผลคะแนนรวมของดาวเป็นค่าเฉลี่ยต่อคน ต่อไปนี้คุณจะรุ่งหรือร่วงก็ขึ้นกับตัวคุณเอง ซึ่งดีต่อผู้บริโภคที่ไม่เคยใช้บริการมากๆเลยนะ ตัดสินใจจะใช้บริการหรือไม่ใช้ก็ตรงนี้แหละ
GMB/GBP ให้ประโยชน์คุณและลูกค้าของคุณ ดังนี้
- ลูกค้าเข้าถึงธุรกิจคุณได้ง่ายมากขึ้น
- ลูกค้าเห็นสินค้าและบริการคร่าวๆ ช่วยให้เกิดการตัดสินใจใช้บริการหรือไม่ใช้
- ลูกค้าทราบข้อมูลร้านค้าคร่าวๆโดยไม่ต้องติดต่อเราโดยตรง เช่น เวลาเปิด-ปิด เบอร์โทร
- ลูกค้ารู้โปรโมชันและงานอีเวนท์ใหม่ๆของร้านคุณ
- คุณแสดงที่ตั้งของทุกสาขาที่คุณมีได้
- เพิ่มช่องทางการแสดงผลของธุรกิจคุณ เช่น Google Search, Google Maps และ Google+
- เพิ่มความน่าเชื่อถือของธุรกิจถ้าได้รับการยืนยันจาก Google เพราะกูเกิ้ลตรวจสอบฐานข้อมูลธุรกิจเราละเอียดระดับนึง
- คุณโต้ตอบกับลูกค้าได้โดยตรง ตอบดีรีวิวก็ดี อาจให้ลูกค้าแสดงความเห็นดีๆแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่เราจะให้ลูกค้าตอบแทน
- แสดงผลได้ดีในระดับท้องถิ่นที่ไม่เป็นที่รู้จักแต่ลูกค้าอยู่ใกล้
- สามารถนำข้อมูลต่างๆของลูกค้ามาวิเคราะห์ต่อยอดทางธุรกิจได้
นอกจากนี้ โปรไฟล์ Google Business Profile ยังมีความสำคัญอย่างมาก ในการ ช่วยอ้างอิงข้อมูลที่ถูกต้องของตำแหน่งที่ตั้งร้านหรือธุรกิจ (Business Address) แสดงให้เห็นว่าร้านหรือบริษัทของคุณมีอยู่จริง (สนใจกด >> รับสอน SEO)
ทำไมร้านของคุณควรมี Google Business Profile?
ในกรณีที่ไม่มีเว็บไซต์มีแค่ Social media ถือว่า Google My Business (GMB) เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจมาก จากการมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง
ในกรณีที่มีเว็บไซต์ เราก็สามารถทำหน้าเพจหน้าเฉพาะในการอธิบายร้านคุณโดยมีkeywordเป็นสถานที่ที่ร้านตั้งได้เลย ลูกค้าจะพบการแสดงผลการค้นหาบน Search Engine ของ Google ดังนั้นการสร้างโปรไฟล์บน Google Business Profile(GBP) จะยิ่งเพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะเจอร้านคุณได้มากขึ้น และช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าว่าร้านของคุณมีอยู่จริง
อ่านเพิ่มเติม : https://support.google.com/business/answer/6300665?hl=th
ธุรกิจใดที่ควรมี Google Business Profile
ถ้าธุรกิจของคุณมีสถานที่ตั้งหรือนร้านค้า นั่นคือคำตอบ คุณต้องเพิ่มร้านค้าคุณใน Google map เพื่อให้ลูกค้าเข้ามาดูสินค้า บริการ หรือติดต่อคุณได้ แม้ว่าคุณจะทำงานฟรีแลนซ์แต่มีที่อยู่ประจำบ่อยๆก็สามารถใช้สถานที่นั้นตั้งใน GBP/CMB ได้เช่นกัน
Google My Business มีประโยชน์อะไรบ้าง
ประโยชน์ที่คุณจะได้รับเพิ่มเติมจากการมี Google My Business หรือ Google Business Profile คือ
1. ใส่ข้อมูลธุรกิจที่อยากให้ลูกค้ารู้
คุณสามารถใส่รูป วีดีโอ คำอธิบาย เวลาทำการ เบอร์ติดต่อ แจ้งสถานที่ให้บริการและใส่ลิ้งค์ URL ไปยังเว็บไซต์คุณได้ ให้คุณอัพเดทข้อมูลผ่าน Google my business ได้จากทุกเครื่องมือสื่อสาร ที่สำคัญทำบริการจองได้ด้วย ทั้งหมดฟรีนะ
อัปเดตข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับธุรกิจของคุณ
เราใช้ Google My Business เป็น Social media ส่วนตัวได้ โดยการอัพเดทข่าวสารเรื่องราวเกี่ยวกับกิจการ และโต้ตอบกับลูกค้าที่สนใจสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจการคุณ
2. ร่วมโต้ตอบกับลูกค้าคุณ
เราโพสต์รูปภาพ ข้อความ ของบรรยากาศร้าน สินค้าบริการที่น่าสนใจ เหมือนกับเล่น Social media เลย เสนอข้อเสนอ งานกิจกรรม โปรโมชัน ได้ทุกอย่าง ที่สำคัญคือการโต้ตอบกับความคิดเห็นและเก็บไปพัฒนาธุรกิจของคุณ
แสดงรีวิวจากลูกค้าผู้ใช้งาน
Google My Business เพิ่มฟังก์ชันการแสดงความเห็นและการรีวิวความประทับใจสินค้าและบริการ ให้การบอกต่อทำงานดีกว่าการตลาดใดๆ
3. ได้ข้อมูลลูกค้าไปพัฒนา
ข้อมูลที่สำคัญของผู้เข้าชม GMB ทำให้เรารู้สถานภาพของลูกค้า อีกทั้งคำถามที่ลูกค้าใช้หากิจการของเราบน Google maps และ SERPs สามารถทำให้เราได้ keyword ไปเขียนบทความ และรู้ถึงรูปภาพที่ลูกค้าชอบและค้นหาเจอเรา
เรียนรู้ธุรกิจของตัวเอง
พัฒนากิจการของท่านได้จากข้อมูลของ Google My Business ทำให้เราพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์มากขึ้น เช่น
- โพสต์ ยอดวิว รูปภาพ โปรไฟล์
- ลูกค้าเจอเราจากคำค้นหาอะไร
- คอมเมนต์ของลูกค้า
- สถานภาพของลูกค้าที่เข้ามาชม profile กิจการคุณ เช่น อายุ เพศ ประเทศ
- จำนวนคนคลิกเว็บไซต์ โทรเข้า ถามเส้นทาง
4. ช่วยดันอันดับเว็บไซต์ กับ การทำ Local SEO
กูเกิ้ลใช้หลักการจัดอันดับ Google Business Listing แบบเดียวกับการใช้อัลกอริทึมในเลือกเว็บไซต์ให้ติดอันดับต่างๆ โดยดูจากคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง , profile ธุรกิจ และความละเอียดในการค้นหาของลูกค้าในพื้นที่ที่เราทำการค้า
สำหรับผลการค้นหาในท้องถิ่น หรือ local SEO กูเกิ้ลใช้เกณฑ์
- ความเกี่ยวข้องในการค้นหา (Relevance)
- ระยะทาง (Distance)
- ชื่อเสียงความน่าเชื่อถือของธุรกิจ (Prominence)
โดยผลจากการติด 3 อันดับแรกของการค้นหาด้วยคีย์เวิร์ดแบบเจาะจงพื้นที่ (Google’s Local SEO 3-Pack) จะส่งผลดีต่อกิจการท่าน ช่วยดันอันดับของเว็บไซต์ของธุรกิจ ให้แสดงผลสม่ำเสมอในการค้นหา มองเห็นง่าย (สนใจกด >> รับดูแลเว็บไซต์ wordpress)
เพิ่มความน่าเชื่อถือ
ปกติลูกค้าจะตัดสินใจใช้บริการและสินค้าของคุณจากความน่าเชื่อถือ เดี๋ยวนี้มิจฉาชีพเยอะมากๆ ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับทุกธุรกิจ โดย Google My Business มีฟีเจอร์ช่วยแสดงความน่าเชื่อถือของคุณโดย
- Review เรียนรู้จากลูกค้า ตอบกลับรีวิว คำติ คำชม ช่วยสร้างสัมพันธ์กันได้
- Business Profile ให้ลูกค้าได้รู้จักคุณในข้อมูลต่างๆ
- Website มีการสร้างเว็บที่ไม่ต้องยุ่งยากฟรีๆ
ข้อดีของการมีโปรไฟล์ใน Google My Business
โปรไฟล์ธุรกิจของคุณบน Google My Business จะช่วยให้ลูกค้าเห็นคุณง่ายๆโดยไม่ต้องเข้าไปส่งเว็บคุณ คุณควรโปรโมทร้านค้าผ่านช่องทางนี้เพราะมันฟรี ง่าย เพียงใช้ข้อมูลที่คุณมีจัดเรียงใน feature ของ GMB
- ฟีเจอร์ที่สำคัญ คือ ปักหมุดที่อยู่ร้านค้า โดยใส่ข้อมูลต่างๆเช่น เวลาทำการ เบอร์โทรติดต่อ ช่องทาง Social media ให้ติดตาม ใครมีอะไรดีๆใส่ไปเลย เช่น ได้รางวัล อร่อย ปลอดภัย เดินทางสะดวก
- ฟีเจอร์แสดงโลโก้ร้านและรูปภาพ ให้คนจำได้ง่าย น่าใช้บริการ
- ฟีเจอร์ไฮไลต์จุดเด่นและราคา ให้ลูกค้าตัดสินใจง่ายๆถ้าคุณมีดีให้เค้า
- ฟีเจอร์เพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับร้านของคุณ ในประเด็นที่โลกให้ความสำคัญ เช่น Pet Friendly หรือ LGBTQ+ Friendly บอกความพิเศษที่ร้านคุณทำเพื่อพวกเค้าเฉพาะกลุ่ม พิเศษๆ
- ฟีเจอร์สร้างโพสต์ ข้อเสนอ และกิจกรรม เพื่อให้ลูกค้าติดตามรอคอยโปรโมชันดีๆ และกิจกรรมที่น่าสนใจ สินค้ามาใหม่แบบเรียลไทม์
- ฟีเจอร์รีวิว อันนี้สำคัญสุดให้คุณรู้ความคิดจากลูกค้าพร้อมปรับปรุงแก้ไข สร้างความประทับใจ ความเชื่อมั่นให้ลูกค้ากลับมาร้านคุณอีกครั้ง
- ฟีเจอร์ข้อมูลเชิงลึก ได้คีย์เวิร์ดไปทำการตลาดออนไลน์ โปรไฟล์ธุรกิจ Google My Business สามารถสร้างคอนเทนต์ได้ยาวๆ
ฟีเจอร์อย่าง “ข้อมูล” ทำให้คนรู้จักเกี่ยวกับธุรกิจของคุณมากขึ้น รวมถึงรู้ว่าธุรกิจคุณเปิดปิดในวันหรือเวลาไหนบ้าง
ฟีเจอร์อย่าง “ข้อมูลเชิงลึก” ช่วยให้คุณเข้าใจมากยิ่งขึ้นว่าคนค้นเจอธุรกิจของคุณเจอด้วย Keyword คำไหน และคนเลือกที่จะเข้ามาทำความรู้จักหรือติดต่อกับธุรกิจของคุณบน Google ยังไง (เช่น ผ่านการโทร เข้าเว็บไซต์ หรือขอเส้นทาง เป็นต้น)
การพยายามพาธุรกิจของคุณไปให้คนเห็นในช่วงจังหวะที่เขามีปัญหาหรือมีความต้องการจะช่วยให้คุณเพิ่มยอดขายได้
หลักการใช้งาน Google My Business ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
1. ให้ Google My Business เป็นเสมือน Social Media Marketing
GMB/GBP เป็นเครื่องมือในการสื่อสารใกล้ชิดกับลูกค้า เหมือน Platform Social media ใช้ Google My Business ไปเป็นส่วนหนึ่งในแผนการทำ Social Media Marketing ของคุณ
สร้างแคมเปญหรือกิจกรรมเฉพาะสำหรับ Google My Business เช่นร้านอาหารออกแคมเปญ รับของทานเล่นจากการให้คะแนนรีวิวบน Google Business Profile
2. ใช้ Google Search Console มาช่วยทำคอนเทนต์
Google Search Console คือเครื่องมือที่ช่วยให้เข้าใจว่าคนใช้คีย์เวิร์ดหรือคำค้นหาคำไหนเพื่อให้เจอกับเว็บไซต์/คอนเทนต์ของคุณ
จากนั้นนำคำค้นหาที่คนใช้มาทำคอนเทนต์ (โพสต์) บน Google Business Profile เพื่อตอบคำถามสำคัญที่ลูกค้าสนใจรู้ แก้ปัญหาให้ลูกค้าโดยเค้าจะใช้ข้อมูลนี้เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ
โพสต์คอนเทนต์ผ่าน Google Business Profile ช่วยให้ลูกค้าเห็นคุณกันเถอะ
3. ตรวจรีวิวที่ Google Business Profile
รีวิวคือสิ่งที่มีค่าของ Google My Business รีวิวดีใช้เป็นกำลังใจและผลให้คนอื่นที่ผ่านมาเห็นแล้วตัดสินใจได้ดี รีวิวแย่ไว้ปรับปรุงตัวเอง พยายามเข้าไปตอบลูกค้ามากๆ (สนใจกด >> รับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)
โดย Google Business Profile จะส่งอีเมลมากระตุ้นให้เราเข้าไปอัปเดตข้อมูลอยู่แล้ว ควรใช้ให้บ่อยเหมือนเราเล่น Social media
วิธีสมัคร Google My Business Profile
เครื่องมือฟรีสำหรับธุรกิจอย่างGoogle My Business หรือ ที่เรียกสั้นๆว่า GMB ซึ่งเปรียบเสมือน “หน้าร้านออนไลน์” ที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการอำนวยความสะดวกให้กับร้านค้า ธุรกิจ สำหรับการค้นหาที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของธุรกิจ โดยจะแสดงผลของการค้นหาของ Google search และ Google maps นั้นเอง
การสมัครใช้งาน กูเกิล มาย บิซซิเนส และปรับแต่งโปรไฟล์เบื้องต้น (Desktop Version)
1. เข้าไปที่ กูเกิล มาย บิซซิเนส ประเทศไทย
กด >> https://www.google.co.th/intl/th/business/
2. ลงชื่อเข้าใช้ (Login) ด้วยบัญชีกูเกิลของคุณ (Gmail) หากยังไม่มีก็ให้สมัครก่อน
หากยังไม่มีสามารถสมัครได้ โดยไปที่เว็บไซต์ gmail.com
3. กรอกชื่อร้านหรือบริษัทของคุณ จากนั้น >> กด “ถัดไป”
- ตั้งชื่อธุรกิจหรือร้านค้า
การตั้งชื่อธุรกิจหรือร้านค้าของคุณ แต่นอกจากใส่เพียงแค่ชื่อร้าน หรือชื่อแบรนด์ สิ่งสำคัญที่จะทำให้ลูกค้ารู้จักคุณได้ง่ายขึ้น คือ “คีย์เวิร์ด – Keyword หรือ คำสำคัญในการค้นหา” เพื่อให้คนที่เสิร์ชหรือค้นหารู้ได้ทันทีว่าธุรกิจหรือร้านของคุณทำอะไร
- ไม่ใช่แค่ – markettium
- แต่เป็น – markettium รับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์ รับทำ SEO
4. กรอกข้อมูลที่อยู่ของหน้าร้านหรือที่อยู่บริษัทของคุณ ให้ถูกต้องครบถ้วน
- ช่องที่อยู่ : เลขที่, หมู่ (ถ้ามี), ถนน
- ตำบล/แขวง
- อำเภอ/เขต
- จังหวัด
- รหัสไปรษณีย์
หมายเหตุ : หากธุรกิจของคุณให้บริการแบบไปถึงที่ เช่น ช่างซ่อมแอร์ ช่างประปา บริการส่งของ ต่าง ๆ
ให้ทำการติ๊กที่ช่อง “ฉันจัดส่งสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า” ด้วยนะ สามารถกด ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ ถ้าใครไม่ได้ให้บริการประเภทนี้ >> กด “ถัดไป” (ไปขั้นตอนที่ 5 ได้เลย)
ส่วนคนที่ติ๊ก “ฉันจัดส่งสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า” จะมีช่อง “ซ่อนที่อยู่ของฉัน (ที่อยู่นี้ไม่ใช่หน้าร้าน)” เพิ่มขึ้นมา อันนี้ปล่อยไว้นะไม่ต้องติ๊ก จากนั้น >> กด “ถัดไป”
5. การปักหมุดตำแหน่งที่อยู่
ตรงนี้ต้องแม่นยำ ปักให้ตรงกับที่อยู่จริงแบบเป๊ะๆ เพื่อให้ลูกค้ามาร้านเราได้แบบไม่หลงทาง
- 5.1 ในกรณี Google Maps หาตำแหน่งตามที่อยู่ไม่เจอ (ถ้าเจอข้ามไปข้อ 6 ได้เลย) ตอนสมัครหากใครอยู่ที่ตำแหน่งหน้าร้านหรือตำแหน่งที่ตั้งของบริษัทจริง สามารถกดที่เครื่องหมาย ค้นหาตำแหน่งจาก GPS (รูปเป้า) แล้วกด Allow Location Access ได้เลย ระบบจะหาตำแหน่งตาม GPS ของเรา ที่สามารถปักหมุดได้อย่างเหมาะสมให้เอง (ถ้าหมุดไม่ค่อยตรงก็ขยับเอาเองได้)
ส่วนใครที่ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งจริงขณะสมัครคงต้องนั่งหาบนแผนที่เอง จากนั้น >> กด “ถัดไป” (สนใจกด >> รับทำเว็บไซต์ wordpress)
- 5.2 ในกรณีหาเจอ แต่มีชื่อร้านหรือบริษัท อื่น ๆ โผล่มา ให้เลือก “ไม่มีเลย” จากนั้น >> กด “ถัดไป”
เพิ่มพื้นที่ ที่ธุรกิจของคุณให้บริการ : หากเป็นร้านค้าออนไลน์ที่ส่งสินค้าทั่วประเทศ สามารถใส่ข้อมูลเป็นประเทศไทยลงไปได้เลย นอกจากนี้คุณยังสามารถเพิ่มประเทศอื่นๆ ที่ให้บริการได้อีกด้วย
6. เลือกหมวดหมู่ที่ตรงกับธุรกิจของคุณมากที่สุด จากนั้น >> กด “ถัดไป”
ช่วยให้ลูกค้าค้นพบคุณได้หากพวกเขามองหาธุรกิจที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับของคุณ
7. กรอกข้อมูลติดต่อสำหรับลูกค้า
- กรอกเบอร์โทรติดต่อที่ใช้งานได้จริง : เบอร์ร้าน เบอร์ออฟฟิศ หรือเบอร์มือถือ ก็ได้
- URL เว็บไซต์ร้านหรือบริษัทของคุณ หากไม่มีเว็บไซต์ให้ติ๊ก “ฉันไม่อยากมีเว็บไซต์” หรือถ้าอยากจะสร้างแบบง่ายๆ ติ๊ก “สร้างเว็บไซต์ฟรีตามข้อมูลของคุณ” จากบริการของ Google ก็ได้ จากนั้น >> กด “ถัดไป”
เพิ่มช่องทางการติดต่อ : ใส่เบอร์โทรศัพท์พร้อมกับเว็บไซต์ หากยังไม่มีเว็บไซต์ อาจใช้เป็นลิงก์จาก เฟซบุ๊ก แฟนเพจ – Facebook Fanpage หรือ ลิงก์สำหรับแอด ไลน์ ออฟฟิเชียล แอ็คเคานต์ – Line Official Account แทนได้
8. กดเสร็จสิ้น
9. เลือกวิธียืนยันตัวตนและตำแหน่ง (ยืนยันธุรกิจ) ของหน้าร้านหรือบริษัทของคุณ
แนะนำให้เลือกแบบ “ส่งไปรษณียบัตรทางไปรษณีย์” นะ (อีกอันจะเป็นยืนยันทีหลังไม่แนะนำครับ) จากนั้นกรอก ชื่อที่ติดต่อ เป็นชื่อคุณก็ได้นะ เพื่อให้ง่ายต่อการรับเมื่อไปรษณีย์มาส่ง (Google จะจ่าหน้าซองถึงคุณโดยตรง) จากนั้น >> กด “ส่งจดหมาย”
10. กด “ดำเนินการต่อ” และรอรับ PIN (รหัสยืนยันตัวตนธุรกิจ) ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ (14 วัน)
NOTE: ข้อมูลทั้งหมดที่เรากรอกไปข้างต้น สามารถแก้ไขได้ภายหลังนะ หลังจากยืนยันตัวตนด้วยการกรอก PIN แล้ว (เผื่อในกรณีย้ายที่อยู่ร้านหรือบริษัท)
11. หลังจากนั้นเราจะเด้งเข้ามาที่ หน้าจัดการโปรไฟล์ Google Business Profile ของเรา
1 บัญชี Google สามารถสร้างโปรไฟล์ ได้หลายโปรไฟล์ สำหรับธุรกิจที่มีสาขาเยอะ หรือบริษัทที่มีธุรกิจหลายอย่าง จัดการในบัญชีเดียวได้เลย
ในหน้าจัดการprofileเราสามารถแก้ไข เพิ่มข้อมูลต่าง ๆ ของแต่ละโปรไฟล์ได้ รวมทั้งดูข้อมูล สถิติผู้ใช้งาน พฤติกรรมผู้ใช้ รีวิว และอื่น ๆ ที่ กูเกิล มาย บิซซิเนส สรุปมาให้
ระหว่างรอรับ PIN ค่อนข้างใช้เวลาหลายวัน มาใส่ข้อมูลที่จำเป็น เพิ่มเติมให้โปรไฟล์ร้านหรือบริษัทของคุณกันเถอะ
12. ในหน้าจัดการโปรไฟล์ กดเข้าไปที่ > ข้อมูล
ทำการเพิ่มข้อมูลที่สำคัญ ๆ เช่น
- พื้นที่ให้บริการ (พื้นที่เพิ่มเติมจากที่ตั้ง)
- เวลาทำการ
- เวลาทำการพิเศษ (เช่น วันหยุดนักขัตฤกษ์)
- หมายเลขโทรศัพท์
- ชื่อย่อของข้อมูล (URL แบบสั้น)
- เว็บไซต์ (สามารถใส่ UTM Tracking ได้ เพื่อเก็บสถิติผู้ใช้งานที่เข้าชมเว็บไซต์ ผ่านการคลิกลิงก์เว็บบน กูเกิล มาย บิซซิเนส)
- ลิงก์การนัดหมาย (สำหรับคนที่มีหน้า Contact หรือ Booking บนเว็บไซต์โดยเฉพาะ)
- ผลิตภัณฑ์ (ข้อมูลสินค้าและผลิตภัณฑ์ สำหรับเว็บไซต์ขายสินค้า)
- บริการ (ข้อมูลบริการ สำหรับเว็บไซต์ที่ให้บริการต่าง ๆ)
- ไฮไลต์ (เช่น เจ้าของเป็นผู้หญิง, สินค้าเฉพาะผู้ชาย บลา ๆ อันที่จริงส่วนนี้ ไม่ต้องใส่ก็ได้)
- คำอธิบายธุรกิจ (จุดขายบรรยาย สรรพพคุณครับตรงนี้)
- วันที่เปิด (วันก่อตั้ง)
- รูปภาพ (จะอธิบายในขั้นตอนถัดไป)
13. เพิ่มมีเดียต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ได้แก่
- โลโก้
- ภาพปก + ข้อมูลระบุตัวตน (คือภาพเดียวกัน เลือกให้ดีให้เด่น ภาพนี้จะถูกโชว์เป็นภาพตัวอย่างของร้านหรือบริษัทเรา บนหน้าผลการค้นหาและแผนที่)
- วิดีโอ
- ภายใน (ภาพด้านในของร้านหรือบริษัท “ภาพทั่วไป + ภาพ 360 องศา + วิดีโอ” )
- ภายนอก (ภาพด้านนอกของร้านหรือบริษัท “ภาพทั่วไป + ภาพ 360 องศา + วิดีโอ” แนะนำว่าให้มีภาพที่เห็นป้ายหน้าร้านหรือป้ายบริษัทด้วยนะครับ)
- ที่ทำงาน (ภาพการทำงาน การให้บริการ หรือการจัดเตรียมสินค้า จำหน่ายสินค้า)
- ทีม (ภาพของพนักงาน)
14. เมื่อได้รับ PIN แล้ว ให้นำมากรอกเพื่อยืนยันตัวตนธุรกิจและตำแหน่งหน้าร้าน
- 14.1 กรอก PIN
- 14.2 กดยืนยัน
15. ธุรกิจของเราได้รับการยืนยันแล้ว แต่ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลอีกครั้ง ซึ่งอาจใช้เวลาสูงสุด 3 วันก่อนที่จะเผยแพร่ข้อมูลธุรกิจหรือตำแหน่งหน้าร้านบน Google Maps
ศูนย์ช่วยเหลือของ Google My Business
https://support.google.com/business/?hl=th#topic=4539639
คลิปวิดีโอ วิธีการสมัคร กูเกิล มาย บิซซิเนส ผ่านมือถือ จาก Google Thailand
Google My Business ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
ใช้งานได้ฟรี กูเกิล มาย บิซซิเนส ไม่เก็บมีค่าใช้จ่ายในการสมัครและระหว่างการใช้งาน
(สนใจกด >> รับทำเว็บไซต์ E-Commerce)
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Google Business Profile
ข้อสงสัยที่มักเจอเวลาทำ Google My Business
1. ธุรกิจต้องมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งหรือใส่ที่อยู่ไหม?
จำเป็นเพราะ Google ให้ความสำคัญในเรื่องความน่าเชื่อถือ ป้องกันมิจฉาชีพ คุ้มครองผู้บริโภค โดยกิจการที่ไม่มีหน้าร้านก็ต้องมีที่อยู่ เช่น ติวเตอร์ตามบ้าน แม่บ้านออนไลน์ รับเหมาก่อสร้าง
แต่ถึงจะใส่ก็เลือกได้ว่าไม่เปิดเป็นสาธารณะโดยทางระบบแค่สร้างเครือข่ายที่ยืนยันได้ว่าคุณมีตัวตนจริงก็พอ
2. ทำธุรกิจหลายอย่าง อยากระบุสถานที่หลายแห่ง จะทำได้ไหม?
ทำได้ โดยท่านต้อง download template รายชื่อสถานที่ตั้ง ซึ่งจะเป็นไฟล์ excel
จากนั้นพอสร้างตารางรายชื่อเสร็จเรียบร้อย ท่านต้องเข้าไปที่ location groups ตรง Add location ให้เลือก Import locations จากนั้นก็ upload file ที่ตั้งเข้าไปได้เลย
3. ถามตอบลูกค้าบน Google My Business คืออะไร?
ส่วนถามตอบลูกค้าใน Google My Business จะเป็นอัตโนมัติ ใครก็ตามสามารถโพสต์คำถามได้หมด อีกทั้งใครก็สามารถตอบคำถามที่มีคนถามได้ สำคัญมากที่ คุณที่เป็นเจ้าของธุรกิจจะต้องมาตอบโดยเร็วก่อนคนอื่นตอบ กันการโดนปั่นใส่ไฟและเพื่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างเรากับลูกค้า
4. ทำยังไงให้ลูกค้าเขียนรีวิวร้านค้าหรือบริษัทให้เรา?
เป็นการบอกปากต่อปากที่ดีที่สุดคือรีวิวลูกค้า ความน่าเชื่อถือเกิดตรงนี้ เพิ่มความน่าสนใจให้กับแบรนด์คุณอย่างดี
คุณอาจจะยื่นหมูยื่นแมว คือ มอบสินค้าหรือบริการที่ดีและน่าพึงพอใจให้กับลูกค้า หรือทำแคมเปญของแรกการรีวิวดีๆ
- ส่งอีเมลหาลูกค้าหลังจากใช้สินค้าและบริการเชิญชวนให้ลูกค้าเขียนรีวิว โดยแนบลิงค์ให้กดเข้าสู่หน้ารีวิว
- ขอความร่วมมือกับลูกค้าขาประจำไปตรงๆ หรือรีวิวแลกส่วนลดต่างๆ
5. เปลี่ยนที่อยู่ใน Google My Business ยังไง?
- เข้าไปที่บัญชี Google My Business
- จากแถบเมนู คลิกที่ “Info”
- คลิกที่ช่องแถบที่อยู่ ใส่ข้อมูลที่อยู่ลงไปแล้วกด “Apply”
- Google จะค้นหาที่อยู่ตามที่กรอก ถ้าระบบหาไม่เจอ ให้เราคลิกที่ “Set marker location” ที่จะอยู่เหนือแผนที่ทางด้านขวามือของคุณ
- แผนที่จะขึ้นมาพร้อมกับหมุดสีแดง คุณสามารถลากหมุดนี้มาอยู่ตรงกลางที่ตั้งธุรกิจของคุณได้เลย ถ้าเสร็จแล้วก็คลิก “Apply”
- การเปลี่ยนแปลงจะยังไม่แสดงในทันที เพราะ Google จะนำข้อมูลนี้ไปรีวิวความถูกต้อง ก่อนจะอนุมัติผลให้แสดงใน Google My Business
สรุป
Google My Business หรือ Google Business Profile ทำให้ธุรกิจมีตัวตนและเข้าถึงได้ง่ายขึ้นบนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนทำธุรกิจออฟไลน์และจำเป็น 100% เลยสำหรับคนที่ทำธุรกิจออนไลน์
- 1. ให้ชื่อแบรนด์เป็นที่รู้จัก
Google My Business จะรวมกลุ่มธุรกิจเดียวกัน ทำให้แบรนด์หน้าใหม่ของคุณเป็นที่รู้จักได้ในกลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่กำลังมองหาคุณอยู่
- 2. รวมรีวิวจากลูกค้าผู้ใช้งาน
Google Business Profile จะแสดงส่วนของความคิดเห็น ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว คนเห็นหมด
- 3. ปรับปรุงธุรกิจของตัวเอง
เจ้าของกิจการสามารถเรียนรู้ข้อมูลที่ได้จาก Google Business Profile เพื่อใช้ปรับปรุง และพัฒนาธุรกิจ เช่น
- ยอดวิวโปรไฟล์ รูปภาพ และโพสต์ต่างๆ
- คำค้นที่ลูกค้าค้นจนเจอธุรกิจของคุณ
- ความเห็นที่ลูกค้ามีต่อเรา
- ลักษณะลูกค้าหรือคนที่กดดูโปรไฟล์ธุรกิจของคุณ เช่น อายุ เพศ ประเทศ
- จำนวนคนคลิกเว็บไซต์ โทรเข้า ถามเส้นทาง