Sitemap คืออะไร พลาดไม่ได้สำหรับคนทำเว็บไซต์SEOติดอันดับGoogle

websiteปัจจุบันควรส่ง sitemap หรือ แผนผังไซต์ เพื่อให้กูเกิ้ลค้นหาเว็บของคุณได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งบทความนี้เราจะอธิบายประเภทของไซต์แมพทั้งหมดว่ามีอะไรบ้าง กี่แบบ พร้อมวิธีขั้นตอนการส่ง XML sitemap สำหรับ wordpress และอื่นๆ

XML Sitemap หรือ แผนผังไซต์ ทำหน้าที่เป็นตัวนำทางบนเว็บไซต์ ซึ่งจะนำ Google ไปสู่หน้าเว็บที่สำคัญทั้งหมดของคุณ แผนผังไซต์ จึงมีความสำคัญกับ SEO เพราะช่วยให้ กูเกิล ค้นหาหน้าเว็บที่สำคัญของคุณได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายมากยิ่งขึ้น เราจะอธิบายให้คุณเข้าถึงสิ่งที่ แผนผังไซต์ เป็น และประโยชน์ของมันที่มีต่อเว็บไซต์ของเรา (สนใจกด >> รับทำ SEO)

Sitemap คืออะไร

Sitemap คือ แผนที่หรือแผนผังของเว็บไซต์ที่แสดงให้ User และ Bot ของ Search Engine ต่าง ๆ เช่น Google, Yahoo, Bing ฯลฯ เข้าใจภาพรวมของเว็บไซต์ของเราว่าเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร มีหน้าเพจ หน้าโพสต์อะไรบ้าง

ถ้าเปรียบเทียบว่าเว็บไซต์ของเราเป็น ‘หนังสือ’ เจ้าตัว ไซต์แมพ เอง ก็จะเป็นเหมือน ‘สารบัญ’ นั่นเอง (สนใจกด >> รับสอน SEO)

Sitemap มีความสำคัญอย่างไร ทำไมต้องทำไซต์แมพ

ไซต์แมพ นอกจากจะมีความสำคัญในการเป็นเหมือนแผนผังให้กับเว็บไซต์ของเรา ให้ผู้ใช้งานได้รู้ว่าหน้าเว็บไซต์ไหนเชื่อมถึงหน้าเพจใดบ้าง เพื่อให้ User เหล่านั้นเกิดประสบการณ์ที่ดีในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณแล้วนั้น ไซต์แมพ ยังมีความสำคัญกับการทำ SEO เป็นอย่างมาก

เพราะการที่เว็บไซต์ของคุณมีการวาง Sitemap ที่ดีและครบถ้วนนั้นจะทำให้ Search Engine Bot (หุ่นยนต์ออนไลน์ที่ทำหน้าที่สำรวจเว็บไซต์บน Search Engine เพื่อการจัดอันดับ SEO) เช่น Google Bot สามารถเข้ามาสำรวจเว็บไซต์ของเราได้แบบทั่วถึงอย่างรวดเร็วและง่ายที่สุด ทำให้ Google Bot ได้ทราบว่าเว็บไซต์คุณอยู่ในประเภทไหน มีข้อมูลในเรื่องอะไรบ้าง ได้ในเวลาไม่นาน ซึ่งหลังจากนั้นเจ้า Google Bot ก็จะเข้ามามีส่วนในการจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณ ในคำค้นหาต่าง ๆ ด้วยนั่นเอง

ดังนั้นก้าวแรกของการเริ่มสร้างเว็บไซต์ของธุรกิจหรือเริ่มต้นการทำ SEO นั้น Sitemap ถือเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรต้องโฟกัสก่อนเสมอเลย ท่องไว้ว่าถ้า ไซต์แมพ เว็บไซต์เราดี ครบถ้วน โอกาสที่เว็บเราจะติดอันดับต้นๆ ของหน้าค้นหา (SEO) ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

หน้าเว็บแบบไหนควรอยู่ใน XML ไซต์แมพ?

  1. หน้าเว็บที่ต้องการให้ผู้ใช้งานเข้าชม
  2. หน้าเว็บที่ต้องการจัดทำอันดับ

เช่น

  • หน้าบริการ (Service Page, Landing Page)
  • หน้าสินค้า (Product Page)
  • บล็อกโพสต์ (Blog Post)

Sitemap มีกี่ประเภท

การแบ่งประเภทของ ไซต์แมพ สามารถแบ่งได้ด้วยหลายปัจจัย ทั้งแง่การใช้งาน ชนิดของไฟล์ที่อยู่ใน ไซต์แมพ ไปจนถึงความเข้าใจของแต่ละบุคคล ซึ่งในบทความนี้เราจะแบ่งประเภทของ Sitemap เป็นสองประเภทใหญ่ๆ ตามการใช้งาน ดังนี้

1. HTML Sitemap

HTML Sitemap เป็น Sitemap ที่ทำงานเหมือนสารบัญเว็บไซต์ ที่เน้นให้ฝั่ง User รู้ว่าในเว็บไซต์ของเรามีหน้าเพจอะไรบ้าง ซึ่งจะไม่ค่อยมีความยิบย่อยมากนัก มีชื่อเรียกของหน้าเพจต่างๆ ให้ฝั่ง User เข้าใจ ไม่ใช่แค่เป็น URL (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)

2. XML Sitemap

XML Sitemap คือ Sitemap ที่ทำหน้าที่เป็นสารบัญเช่นกัน แต่มีความแตกต่างคือจะเน้นให้ฝั่ง Bot ของ Search Engine เข้ามาสำรวจมากกว่า เพื่อการทำ SEO ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่ง ไซต์แมพ ประเภทนี้จะมีความละเอียด ลงลึก รวมถึงเน้นเป็น URL ในแต่ละหน้าหรือแต่ละรูปโดยไม่มีชื่อ​ ไซต์แมพ กำกับ

นอกจาก XML Sitemap สำหรับรวบรวม URL ธรรมดาในหน้าเว็บไซต์ของเราแล้ว ยังมี XML รูปแบบอื่นๆ ที่ถูกปรับใช้เพิ่มเติมอีก 4 ประเภท เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานของ Google และ Search Engine อื่นๆ ดังนี้

Image Sitemap : คือ Sitemap ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อระบุ URL ของรูปต่างๆ ในเว็บไซต์ของเรา โดยสามารถระบุข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับรูปนั้นเพิ่มได้ การมี Image Sitemap จะช่วยให้สถิติการค้นหาเว็บของเราจาก Google Image Search ดีขึ้น

Video Sitemap : คือ Sitemap สำหรับวิดีโอโดยเฉพาะ โดย ไซต์แมพ ชนิดนี้จะมีหลักการทำงานคล้ายกับ Image Sitemap คือเราสามารถระบุชื่อ ชนิด และรายละเอียดอื่นๆ ของวิดีโอเข้าไปได้ และจะช่วยให้ Google Video Search สามารถมองเห็นเราได้ง่ายขึ้นด้วย

News Sitemap : ไซต์แมพ ชนิดนี้คือ Sitemap สำหรับข่าวต่างๆ ที่ขึ้นอยู่ในเว็บไซต์ของเรา ซึ่งจะทำให้ข่าว หรือบทความ สามารถขึ้นไปอยู่ในหน้าฟีดข่าวของ Google และทาง Google จะส่ง Bot มาสำรวจหน้าเพจของเราเพื่อหาข้อมูลข่าวต่างๆ เพิ่มขึ้นเช่นกัน

Mobile Sitemap : Sitemap รูปแบบนี้มีเพื่อโทรศัพท์ระบบ Feature Phone หรือโทรศัพท์แบบเดิมๆโดยเฉพาะ ซึ่ง ไซต์แมพ แบบนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมแล้ว เนื่องจากการมาของ Smart Phone (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ E-Commerce)

จะสังเกตได้ว่า แม้ในปัจจุบัน ทาง Google Bot จะมีการพัฒนา Algorithm ให้มีการสำรวจได้หลากหลาย ละเอียด และครอบคลุมมากขึ้นแล้วก็จริง แต่การทำ Sitemap ให้มีระเบียบแบบแผนดังนี้ นอกจากจะช่วยให้การค้นหาของ Google มีคุณภาพขึ้นแล้ว ยังทำให้การเสิร์ชส่วนอื่นๆ เช่น รูปภาพ วิดีโอ สามารถเจอเว็บไซต์เราได้ง่ายขึ้นด้วย

วิธีสร้าง Sitemap (เครื่องมือ Sitemap Generator)

เครื่องมือ Sitemap Generator หลักๆแล้วคนทำเว็บและSEOทั่วไปจะใช้เครื่องมือสำหรับสร้าง ไซต์แมพ อยู่ 2 ตัวด้วยกัน ดังนี้

1. www.xml-sitemaps.com

เครื่องมือสร้าง Sitemap สำเร็จรูปเว็บ www.xml-sitemaps.com ถือว่าเป็นเว็บที่ช่วยให้คุณสามารถสร้าง Sitemap ได้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ต้องใช้ความรู้เรื่อง Coding แม้แต่น้อย เพียงแค่กรอก URL เว็บไซต์ของคุณ > คลิก Start > จากนั้นก็ดาวน์โหลด XML Sitemap มาใช้ได้เลย

2. WordPress Sitemap Yoast

ขอบอกเลยว่าใครที่เลือกทำเว็บไซต์ด้วยระบบ CMS อย่าง WordPress ก็ขอแสดงความยินดีด้วย เพราะคุณจะสามารถสร้าง XML Sitemap ได้ด้วยตัวเองแบบง่าย ๆ แค่ภายในไม่กี่คลิกเท่านั้น

สำหรับวิธีการสร้าง Sitemap ผ่าน Yoast SEO ก็จะมีดังนี้

  1. ติดตั้ง Plugin “ Yoast SEO ”
  2. คลิกเข้าไปที่ Feature ของ Yoast SEO
  3. ส่วนที่เป็น XML Sitemaps กดเปลี่ยนให้เป็น “ On ”
  4. กด Save Change
  5. หลังจากกดเปลี่ยนเป็น On แล้ว ก็สามารถคลิกดู Sitemap ของเว็บไซต์เราได้ทันที โดยการกดดูที่ “ See the XML sitemap ”

วิธีส่ง Sitemap ผ่าน Google Search Console

เมื่อเราสร้าง XML Sitemap เรียบร้อยแล้ว จะไม่มีประโยชน์เลยถ้าเราไม่ส่ง Sitemap ผ่านทาง Google Search Console (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress)

สาเหตุที่เราต้องส่ง Sitemap ผ่าน Google Search Console ก็เป็นเพราะว่าจะช่วยให้ Google Bot เข้ามา Crawl หรือไต่เก็บข้อมูลภายในเว็บไซต์เราได้ง่ายขึ้น

สำหรับวิธีการส่ง Sitemap ผ่าน Google Search Console จะมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

  1. เข้าไปที่ Google Search Console
  2. กดเข้าไปที่ “ Sitemaps ”
  3. ส่ง Sitemap ผ่าน Google Search Console
  4. ใส่ Link Sitemap ลงไปหลังชื่อโดเมน เช่น https://markettium.com/sitemap_index.xml
  5. จากนั้นคลิก Submit เพื่อส่ง Sitemap

Sitemap ส่งผลอย่างไรต่อการทำ SEO?

ไซต์แมพ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญ ที่ส่งผลต่อการทำ SEO ของเว็บไซต์คุณมาก ต้องอธิบายก่อนว่าเพราะ ปัจจุบัน Serach Engine อย่าง Google จะเริ่มมีการพัฒนาทั้ง Google Bot ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์บน Serach Engine และ Algorithm ให้มีความสามารถในการสำรวจเว็บไซต์ได้อย่างละเอียดและครอบคลุมมากขึ้น

ซึ่งการที่เว็บไซต์ของคุณมีการทำไซต์แมพ ที่ครบถ้วนและมีระเบียบ โดยเฉพาะ XML Sitemap ก็จะช่วยให้ Google Bot ที่ทำการค้นหาหรือสำรวจเว็บไซต์นั้น ๆ ทำได้ดีมากขึ้นรวมถึงการค้นหา รูปภาพ วิดีโอ คอนเทนต์ด้วย คิดภาพตามง่าย ๆ เหมือนเรามีแผนที่ให้ Google Bot พวกนั้นดูได้เลยว่า เว็บไซต์ของเรา มีทางเดินไปตรงไหนได้บ้าง

ทำให้ Google Bot เข้าใจโครงสร้าง เข้ามาเก็บข้อมูลตาม Link ที่เราจัดเอาไว้ พวกมันก็จะมองว่าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ สร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับผู้ใช้งานได้ ตรงตามสเป็กเว็บไซต์ที่พวกมันต้องการ และ Bot เหล่านั้นก็จะช่วยจัดอันดับให้เว็บไซต์คุณไปแสดงผลในอันดับต้นๆ ของหน้าการแสดงผลการค้นหาในที่สุด ส่งผลให้การทำ SEO ของคุณเห็นผลลัพธ์มากขึ้น

XML ไซต์แมพ เหมาะกับเว็บไซต์แบบไหน?

Google กล่าวว่า แผนผังไซต์นั้น มีประโยชน์กับ เว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่มีหน้าเว็บจำนวนมาก เว็บไซต์ที่มีหมวดหมู่ย่อยเยอะๆ เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาแบบมีเดียจำนวนมาก เว็บไซต์ใหม่ที่ยังไม่ค่อยมีแบล็คลิงก์

เว็บไซต์เหล่านี้จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการทำ แผนผังไซต์ อย่างแน่นอน ในความคิดเห็นของเรา แผนผังไซต์ นั้นมีประโยชน์สำหรับทุกเว็บไซต์ เนื่องจากเราต้องการให้ บอท สามารถค้นหาหน้าเว็บที่สำคัญของเราได้อย่างง่ายดาย เมื่อเราทำการเผยแพร่เนื้อหาใหม่หรืออัพเดทเนื้อหา กูเกิล บอท จะตอบรับและอัพเดทข้อมูลไปยังดัชนีการค้นหาได้อย่างรวดเร็ว

 

สรุป

Sitemap หรือ แผนผังไซต์ “มีความสำคัญสำหรับทุกเว็บไซต์” อย่างแน่นอน เนื่องจากมันช่วยให้ บอทของกูเกิล ที่เข้ามายังเว็บไซต์ของเราสามารถค้นหาหน้าสำคัญ ๆ ที่เราต้องการให้ กูเกิล นำไปจัดทำอันดับได้อย่างรวมดเร็ว ช่วยให้ กูเกิล เข้าใจโครงสร้างภายในเว็บไซต์ของเราได้ดีขึ้นอีกด้วย การทำแผนผังไซต์เป็นหนึ่งในเบสิคขั้นพื้นฐานของการทำเอสอีโอ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!