วิธีเขียนคอนเทนต์ปังๆการ สร้างคอนเทนต์ ให้น่าสนใจ พบว่าหลักการผลิตทำคอนเท้นและคิดตัวอย่างเนื้อหาออนไลน์ที่ดีจะช่วย SEO ให้กับเว็บของเรา ไม่ว่าตัวอย่างคอนเทนต์ขายของ ตัวอย่างการเขียนคอนเทนต์สินค้า คอนเทนต์สร้างยอดขาย ล้วนใช้หลักการเหมือนกัน ไม่ว่าเราจะใช้ช่องทางไหน เช่น การทำคอนเทนต์ Facebook , การเขียนคอนเทนต์ออนไลน์ , วิธีทำคอนเทนต์ Youtube ซึ่งบทความนี้เรารวมแนวคิดเทคนิคการทำ content marketing มาให้ท่านแล้ว ครบๆจุกๆ (สนใจกด >> รับทำ SEO)
คอนเทนต์ คืออะไร?
คอนเทนต์(Content) คือ เนื้อหาข้อมูลที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ถึงเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อ ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น เว็บไซต์ เว็บบล็อก โซเชียลมีเดีย ฯลฯ โดยทำออกมาได้ในหลายรูปแบบ เช่น วิดีโอ ภาพถ่าย ภาพประกอบ โปสเตอร์ การเขียนบทความ เขียนแคปชั่น ฯลฯ
ซึ่งการทำคอนเทนต์ในปัจจุบันมีหลายวัตถุประสงค์ เช่น การโพสต์คอนเทนต์เพื่อสร้างความบันเทิง เพื่อให้ความรู้ เพื่อทำให้คนจดจำ หรือ เพื่อการขายของก็มี คอนเทนต์จึงเป็นเหมือนอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญเพราะนี่คือสิ่งที่ช่วยให้เกิดความสนใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการ ไปจนถึงสร้างความรู้ ความเข้าใจ หรือการตัดสินใจที่ถูกต้องให้กับกลุ่มเป้าหมายได้เลยทีเดียว (สนใจกด >> รับสอน SEO)
คอนเทนต์ มีกี่ประเภท
แนวคิด การสร้างคอนเทนต์ โดยมากจะแบ่ง วิธีสร้างคอนเทนต์ ออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ
1. สร้างคอนเทนต์ ตามลักษณะด้านการผลิต
ถ้าแบ่งประเภทของ วิธีสร้างคอนเทนต์ ตามลักษณะด้านการผลิตคอนเทนต์อาจแบ่งคอนเทนต์ได้ออกเป็นหลายกลุ่ม ดังนี้
- คอนเทนต์ประเภทงานเขียน (Content Writing) : จะเป็นคอนเทนต์ที่ผลิตด้วยการเขียนในรูปแบบข้อความ เช่น E-book รีวิว รายงาน บทคาวมบนเว็บไซต์ เป็นต้น
- คอนเทนต์ประเภทภาพถ่าย (Photographic Content) : เป็นคอนเทนต์ที่ใช้ภาพถ่ายในการสื่อสาร สามารถใช้ในการแสดงผลงานศิลปะ ถ่ายภาพทางธรรมชาติ รูปสินค้า ภาพถ่ายสถานที่ ภาพอีเวนต์ และอื่นๆ และยังใช้ประกอบกับคอนเทนต์งานเขียนอื่นๆ ได้ด้วย
- คอนเทนต์ประเภทวิดีโอ (Video Content) : เป็นคอนเทนต์ที่ใช้ภาพเคลื่อนไหวและเสียงในการสื่อสาร เช่น วิดีโอบนโซเชียลมีเดีย คลิปวิดีโอบนเว็บไซต์ หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ
- คอนเทนต์ประเภทเสียง (Audio Content) : เป็นคอนเทนต์ที่ใช้เสียงเป็นสื่อสาร เช่น Postcast รายการวิทยุ บทสนทนาเสียง เพลง และอื่นๆ
- คอนเทนต์ประเภทภาพเคลื่อนไหวแบบกราฟิก (Motion Graphics) : เป็นคอนเทนต์ที่ใช้กราฟิกเคลื่อนไหว เพื่อสร้างเป็นวิดีโอ เช่น งานอนิเมชัน เป็นต้น
2. สร้างคอนเทนต์ ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
นอกจากนี้ วิธีสร้างคอนเทนต์ ยังสามารถแบ่งตามประเภทของวัตถุประสงค์ของการใช้งานได้เช่นเดียวกัน โดยประเภทคอนเทนต์ในรูปแบบนี้จะเรียกว่า Content Metrix ซึ่งจะแบ่งคอนเทนต์ออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่
- คอนเทนต์ให้ความบันเทิง (Entertain) : จะเป็นคอนเทนต์ที่เน้นให้ความสนุกสนานกับผู้อ่าน พบได้มากในโซเชียลมีเดีย เช่น คอนเทนต์เล่นเกมชิงรางวัล, คอนเทนต์มีม ฯลฯ หากทำคอนเทนต์เหล่านี้ให้กับแบรนด์มักจะได้ยอด Engagement ที่สูงจากการที่คนจะเข้ามาคอมเมนต์และแชร์ต่อๆ กัน
- คอนเทนต์สร้างแรงบันดาลใจ (Inspire) : จะเป็นคอนเทนต์ที่เน้นกระตุ้นให้เกิดไอเดีย หรือความรู้สึกบางอย่าง เช่น ความอยากได้ อยากทำตาม ฯลฯ อย่างการใช้อินฟลูเอนเซอร์รีวิวสินค้า คอนเทนต์แนวบอกเล่าไอเดียที่เอาไปทำตามได้
- คอนเทนต์ให้ความรู้ (Educate) : จะเป็นคอนเทนต์ที่เน้นเนื้อหาสาระและให้ความรู้กับผู้อ่าน เช่น คอนเทนต์แนว How-to, การทำ Infograhic, การทำรีพอร์ต เป็นต้น คอนเทนต์ประเภทนี้จะเหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์เป็นหลัก
- คอนเทนต์โน้มน้าวใจ (Conversion) : จะเป็นคอนเทนต์ที่ช่วยส่งเสริมด้านการขายได้ดี เช่น โฆษณา, ตารางสินค้า, คุณสมบัติสินค้า, กรณีศึกษา เป็นต้น
วิธีการสร้างคอนเทนต์ (Content) ให้ได้คุณภาพ
ตัวอย่างคอนเทนต์ปังๆ นั้นมีกี่แบบ ตัวอย่างการเขียนคอนเทนต์มาจากแนวไหนบ้าง หากต้องการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพนั้นต้องทำอะไรบ้าง เราลองมาดูกันดีกว่าว่า กว่าจะได้ทำบทความออกมาสักชิ้นนั้นมีขั้นตอนสำคัญที่ต้องโฟกัสในจุดไหน ดังนี้
เลือกว่าจะทำ Content แนวไหน
วิธีสร้างคอนเทนต์ การทำคอนเทนต์ให้น่าสนใจ เรื่องแรกที่จะทำให้คุณได้บทความที่มีคุณภาพ ไม่ใช่แค่ในด้านเนื้อหา แต่ตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของธุรกิจ และแพลตฟอร์มที่ใช้ในการทำการตลาด ก็คือการรู้ว่าจะต้องผลิตคอนเทนต์แนวไหนออกมานั่นเอง โดยรูปแบบคอนเทนต์ทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ
การทำคอนเทนต์จากกระแส (Topical Content)
Topical Content คือ คอนเทนต์ที่เน้นเขียนเพื่อเกาะกระแส ติดตามเทรนด์ และใช้สถานการณ์ช่วงใดช่วงหนึ่งทำให้มีคนสนใจเนื้อหาในคอนเทนต์ ยกตัวอย่างคอนเทนต์ประเภทนี้ได้แก่ คอนเทนต์ข่าว, คอนเทนต์อัปเดตเทรนด์, คอนเทนต์ไวรัล ฯลฯ คอนเทนต์ประเภทนี้เหมาะสำหรับทำลงบนโซเชียลมีเดีย เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้คนเน้นเสพคอนเทนต์ตามกระแสเป็นหลัก (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)
ข้อดีของการทำ Topical Content
- ทำได้เร็ว เพราะไม่จำเป็นต้องค้นคว้าหรือวิเคราะห์อะไร เน้นทำเร็ว ผลิตจำนวนมาก และทำให้ทันกระแสเป็นหลัก
- สร้าง Engagement ได้ดี เนื่องจากเป็นคอนเทนต์ที่มักเล่นกับกระแสที่คนสนใจ หากใส่ความครีเอทีฟลงไปก็จะช่วยทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในคอนเทนต์นั้นๆ มากขึ้น
ข้อจำกัดของการทำ Topical Content
- ต้องเน้นเกาะกระแส มีเทรนด์อะไรมาต้องสามารถนำมาผลิตเป็นคอนเทนต์ได้ หากช้าก็จะทำให้คอนเทนต์ไม่ได้สร้างผลลัพธ์ที่ดีเท่าที่ต้องการ
- มาไว ไปไว ถึงแม้จะทำได้เร็วและทำได้จำนวนมาก แต่ผลลัพธ์มักอยู่ได้ไม่นาน หากประเด็นนั้นผู้คนเลิกสนใจไป คอนเทนต์นั้นก็อาจจะไม่มีคนเข้าชมหรือแชร์อีกเลย
หากคุณต้องการสร้างคอนเทนต์แบบ Topical Content ก็จำเป็นต้องดูด้วยว่า กระแสไหนเหมาะที่จะหยิบมาเล่นบ้าง และถ้าทำแล้วจะส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ด้วยหรือไม่ โดยคุณสามารถติดตามเทรนด์ รวมถึงดูไอเดียของการทำคอนเทนต์ได้จากโซเชียลมีเดียต่างๆ หรือใช้ Tools เข้าช่วย เช่น trend.wisesight
การทำคอนเทนต์จากผลการค้นหา (Evergreen Content)
Evergreen Content คือ วิธีทำคอนเทนต์ที่เน้นผลลัพธ์แบบยั่งยืน อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ ทำคอนเทนต์ครั้งเดียวคนก็จะยังเข้ามาอ่านอยู่อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเนื้อหาไม่ล้าสมัยหรือตกยุค และเป็นเนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ซึ่งคอนเทนต์ที่จัดอยู่ในรูปแบบ Evergreen Content ที่เห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ บทความ SEO นั่นเอง
ข้อดีของการทำ Evergreen Content
- ช่วยในการทำ SEO โดยการทำ Keyword Research ที่ช่วยดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่ใช้งาน Google ให้เข้ามายังเว็บไซต์ของคุณจากการทำอันดับบน Search Engine
- ไม่ต้องผลิตถี่ ไม่เน้นตามกระแส จึงเหมาะสำหรับธุรกิจที่ไม่ได้มีทีมคอนเทนต์ที่สามารถปั่นบทความหรือคอนเทนต์จำนวนมากๆ ได้
- ถูกมองว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ เพราะคอนเทนต์ของคุณจะถูกหาเจอบน Google และถ้าคุณเขียนเนื้อหาได้ดีก็จะได้รับความน่าเชื่อจากทั้งผู้อ่านและ Google เองด้วย
ข้อจำกัดของการทำ Evergreen Content
- ใช้เวลาในการทำ เพราะส่วนใหญ่จะต้องเน้นการเขียนเนื้อหาในเชิงให้ความรู้เป็นหลัก จึงต้องใช้เวลาในการผลิต
- ทำได้ยากกว่า Topical Content จากการต้องสำรวจ รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลก่อนจะนำมาเขียน
- Engagement ไม่ได้หวือหวา เพราะไม่ได้เน้นเล่นกับกระแส แต่มักจะได้ Traffic มาแบบสม่ำเสมอแทน
สำหรับการวางแผนทำ Evergreen Content โดยเฉพาะการทำ SEO Content จะต้องพึ่งพาเครื่องมือที่ใช้ในการหาคีย์เวิร์ด เพื่อนำมาทำ On-Page SEO รวมถึงใช้สำหรับสร้างเนื้อหาเขียนคอนเทนต์ที่ตรงกับ Search Intent ของกลุ่มเป้าหมาย โดยเครื่องมือที่ว่านี้มีอยู่ด้วยการหลายตัว เช่น Google Keyword Planner, Ubersuggest เป็นต้น
ขั้นตอนการทำ Content Marketing Strategy ให้แบรนด์
ตัวอย่างคอนเทนต์ขายของ ตัวอย่างการเขียนคอนเทนต์สินค้า คอนเทนต์สร้างยอดขาย ทั้งหมดล้วนมาจาก หลักการเขียนคอนเทนต์ 7 ขั้นตอนที่เรารวบรวมไว้ เพื่อ เขียนคอนเทนต์ขายของออนไลน์ และอื่นๆ ถ้าจะเริ่มต้นทำ Content Marketing นั้น จะต้องทำอะไรบ้าง เราขอถอดประสบการณ์และสรุปออกมาให้คุณใช้เป็นแนวทางในการวางแผนคอนเทนต์กัน (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ E-Commerce)
1. ตั้งเป้าหมาย (Goal Setting)
วิธีการตั้งเป้าหมายของการทำ Content Marketing เขียนคอนเทนต์ให้ปัง ก็คือการตั้งเป้าหมายการตลาด เพียงแต่ว่า เราจะเขียนบทความในการผลักดันให้เป้าหมายเป็นจริง โดยเป้าหมายที่ดีก็ควรตั้งอยู่บนหลัก SMART ยกตัวอย่างเช่น
S – Specific หมายถึง เจาะจง เช่น มีคนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ (ไม่ใช่ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก)
M – Measurable หมายถึง สามารถวัดผลได้ เช่น จำนวนยอดวิว 10,000 ครั้ง (ระบุจำนวนที่สามารถวัดได้)
A – Attainable หมายถึง เป็นไปได้จริง เช่น มี Follower สะสม 3,000 คน (ไม่ใช่จำนวนที่มากเกินไป)
R – Relevant หมายถึง มีความเกี่ยวข้อง สอดคล้องกับเป้าหมายทางการตลาด/ธุรกิจ
T – Time-bound หมายถึง มีระยะเวลากำกับ เช่น มี Follower สะสม 3,000 คน ภายใน 3 เดือน เป็นต้น
ตัวอย่างตัวชี้วัด (Metrics) ที่น่าสนใจสำหรับการวางเป้าหมายทำ Content Marketing ก็ได้แก่
- Pageview / Page visit ยอดคนเยี่ยมชมเว็บไซต์
- Follower / Subscriber จำนวนผู้ติดตาม
- Social Engagement; like, share, comment, tweet etc.
- Mentions การพูดถึงแบรนด์
- Page Ranking อันดับบนหน้าเสิร์ช
- Leads จำนวนว่าที่ลูกค้า
- Return on Investment (ROI) รายได้ที่ได้ต่อการลงทุน
- Cost per Acquisition ค่าใช้จ่ายต่อ 1 Action ของกลุ่มลูกค้า
อย่างไรก็ตามจำไว้ว่า เป้าหมายควรสร้างผลลัพธ์กลับมาที่ธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการสร้างแบรนด์หรือสร้างยอดก็ตาม หากเป้าหมายการทำ Content Marketing ที่ตั้งไว้ ไม่กลับมาที่เป้าหมายธุรกิจก็เป็นต้นทุนและแรงที่เสียเปล่า
2.วิเคราะห์แบรนด์
จริงๆ แล้วในขั้นตอนที่สองนี้ เป็นสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันกับขั้นตอนแรก เป้าหมายกับแบรนด์ & ลูกค้า ต้องไปด้วยกัน และสำหรับขั้นตอนการวิเคราะห์แบรนด์ นั้นก็มีอยู่ 3 เรื่องสำคัญด้วยกัน (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress)
1) เราคือใคร
แบรนด์ต้องรู้จักตัวเองให้ดี ว่าเราขายอะไร คุณค่าของเราอยู่ที่ไหน จุดอ่อน-จุดแข็ง โอกาส-อุปสรรค และความแตกต่าง (Brand Position) อยู่ตรงไหน ซึ่ง Framework ยอดนิยมที่ใช้ทำความเข้าใจและกำหนดทิศทางธุรกิจก็คือ SWOT
2) ใครคือลูกค้าของเรา
แบรนด์หรือผู้ส่งสารต้องรู้ว่าใครคือกลุ่มเป้าหมายที่เราจะพูดคุยด้วย Brand Personality & Position และสินค้าเหมาะกับคนกลุ่มไหน เราต้องเข้าใจสิ่งนี้เพื่อที่จะได้ออกแบบวิธีการสื่อสาร เลือกใช้ช่องทาง และวางแผนทำ Content Strategy ได้เหมาะกับพวกเขา
3) ใครคือคู่แข่งของเรา
คู่แข่งในที่นี้หมายถึง แบรนด์/องค์กรอื่นที่เป็นทางเลือกของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเราควรทำความรู้จักไว้เพื่อที่จะได้ศึกษากลยุทธ์ที่เขาใช้เพื่อนำมาพัฒนากลยุทธ์ของเรา หรือหาทางดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้มาติดตามเราได้มากขึ้น
วิธีในการหาคู่แข่งนั้น เราอาจใช้วิธีการทำง่ายๆ อย่างสัมภาษณ์ ว่าเขาติดตามอะไรอยู่บ้าง? หาความรู้หรือเสพคอนเทนต์ในแนวทางเดียวกันนี้จากแหล่งไหน? เป็นต้น หรือลองเสิร์ชใน Google และ Social Media ถึงโปรดักต์หรือคอนเทนต์ในกลุ่มเดียวกันดู ว่ามีเจ้าไหนบ้าง
3. ตัวตนของแบรนด์
ในการสื่อสารของแบรนด์ ซึ่งนอกจากเรื่องของภาษาที่ใช้พูดและเขียนแล้ว องค์ประกอบอื่นๆ ที่บ่งบอกลักษณะหรือคาแรกเตอร์ของแบรนด์ เช่น สีที่ใช้ โลโก้ แนวทางการใช้รูปภาพ แนวคิดทางการตัดต่อเสียงและวิดีโอ ตลอดจนผู้พูด/ผู้เขียน ฯลฯ ล้วนคือตัวตนของแบนรด์ หรือ Brand Identity
ตัวตนแบรนด์ควรกำหนดให้ชัดเจนว่า เด็กหรือผู้ใหญ่ จริงจังหรือขี้เล่นมากน้อยเท่าไร เพื่อที่จะได้สร้าง Branding ให้แข็งแรงผ่านการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอจนผู้คนคุ้นเคยและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้
4. วิเคราะห์ลูกค้า
ระยะ/ขั้นตอนการตัดสินใจของลูกค้า เราต้องรู้ว่าเขากำลังมีปัญหาอะไร อยากเสพอะไร ต้องการอะไร เพื่อที่เราจะได้ทำอะไร(content) ออกไปได้ตรงกับความต้องการของเขาพอดี
Awareness : ขั้นตอนนี้ คนอาจจะยังไม่รู้หรือเพิ่งรับรู้ว่ามีปัญหา มีความต้องการ สร้างบทความควรจะเขียนบทความประเภทให้ความรู้ที่ช่วยให้เขาตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา ทำบทความที่กระตุ้นความต้องการ ทำให้เขาอยากได้ อยากเป็นเจ้าของ
Consideration : ขั้นตอนนี้ เป็นช่วงที่คนเข้าใจปัญหาแล้ว และกำลังพิจารณาทางเลือกต่างๆ เราควรทำบทความที่ช่วยให้เขาพิจารณา เลือกเรา) ได้ง่ายขึ้น เช่น ให้รายละเอียดสินค้า เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย แสดงความคุ้มค่า ให้ลองใช้ฟรี ฯลฯ
Decision : ขั้นตอนนี้ การที่คนตัดสินใจเลือกทางเลือก ซึ่งอาจเป็นตัวแบรนด์ สินค้า หรือบริการแล้ว สิ่งที่เราต้องทำก็คือการเขียนบทความที่ช่วยให้เขาซื้อ (Deal) ได้สำเร็จ เช่น บอกวิธีการซื้อ ช่องทางชำระ ให้โลเคชั่น เป็นต้น
5. Content Strategy
Content Strategy คือ กลยุทธ์ในการวางแผนบทความว่าเราจะทำอะไร รูปแบบไหน ทำปริมาณเท่าไร เพื่อให้ตอบโจทย์กับเป้าหมายทางการตลาดและธุรกิจ ดังนั้น Content Strategy ของแต่ละเจ้าแต่ละแบรนด์ก็แตกต่างกันไป
Entertain : คอนเทนต์เพื่อมอบความบันเทิง มอบความสุข สนุกสนาน
Inspire : คอนเทนต์แนวสร้างแรงบันดาลใจหรือกระตุ้นให้อยากซื้อ อยากลงมือทำ
Educate : คอนเทนต์ให้ความรู้ สร้างความน่าเชื่อถือ
Convince : คอนเทนต์เพื่อชักชวน เชิญชวนให้เข้ามาใช้ เข้ามาลอง
พิจารณาควบคู่ไปกับ การตัดสินใจของลูกค้าหรือ Audience ว่าใช้อารมณ์ (Emotional) หรือเหตุผล (Rational) มากกว่ากัน ร่วมกับผลลัพธ์ของคอนเทนต์ ว่าช่วยสร้างการรับรู้ (Awareness) หรือปิดการขาย (Purchase) มากกว่ากัน
6. Content Creation
สำหรับการวางแผนทำบทความง่ายๆ สิ่งที่ต้องมีก็ได้แก่
- Task หรือคอนเทนต์ที่จะทำ รวมทั้ง รวมทั้งหัวข้อ
- รายละเอียดงาน บรีฟ หรือไอเดีย
- วันที่งานต้องเสร็จ (Due Date)
- วันเผยแพร่ผลงาน (Publish Date)
- ผู้รับผิดชอบ เช่น Author, Designer, Video Creator
- แคมเปญและจุดประสงค์ของผลงาน
- ช่องทางที่เผยแพร่ เช่น เว็บไซต์, อีเมล, Social Media, YouTube
7. Content Promotion
วางแผนเสร็จ สร้างสรรค์บทความเสร็จ เราก็ต้องเผยแพร่ ซึ่งจริงๆ เรื่องแผนการเผยแพร่หรือโปรโมทคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็นบล็อก วิดีโอ หรือ Social Post เราควรวางแผนไปพร้อมกันกับแผนการผลิต ระบุบทความรูปแบบใดจะเผยแพร่ช่องทางไหน ช่วงเวลาไหน ต้อง Real-time หรือเปล่า เพราะไม่ใช่ว่าปล่อยได้ทุกเวลาหรือทุกช่องทางแล้วจะได้ผลลัพธ์ที่ดีเหมือนกัน
สำหรับการเลือกใช้สื่อนั้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงที่สุดก็คือผู้รับสารของเรา ว่าเขาเสพคอนเทนต์และติดตามเราที่ช่องทางไหน เราก็เสิร์ฟคอนเทนต์ให้เขาถึงที่
เขียนคอนเทนต์ ทำบทความให้ตรงใจ Google
วิธีสร้าง content หลักการสร้างบทความคุณภาพให้ติดอันดับการค้นหากูเกิ้ล หัวข้อนี้จะอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ของ Google ที่มีไว้สำหรับคัดเลือกคุณภาพของเนื้อหาบนหน้าเว็บต่างๆ
1. ความสัมพันธ์ของเนื้อหา กับ Keyword
Google คือ เครื่องมือสำหรับการค้นหาข้อมูล (Search engine) ดังนั้นสิ่งแรกที่เขาจะดูว่าเนื้อหาใดดีหรือไม่ดี เขาจะดูที่ความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เราใส่ลงไปบนหน้าเว็บ กับคำที่ user ค้นหา
ดังนั้น เป็นกฎพื้นฐานของการทำ SEO เลย ก็คือที่ title หรือ description ในแต่ละหน้าต้องมีคำ Keyword ที่ user ค้นหาใส่ลงไปด้วย เพราะ title คือจุดแรกที่ Googlebot ใช้ในการแสกนเพื่อแยกเนื้อหาออกไปตามหมวดหมู่ของกลุ่ม keyword ต่างๆ
2. ความสดใหม่ ไม่ซ้ำใคร (original content)
Googlebot ไม่ได้ดูแค่ว่าเว็บใครมี keyword ใส่ลงไปเปะๆ ตรงๆ อย่างเดียว เขายังดูบริบทของประโยคที่เราแต่งบน title กับ description ด้วย ดังนั้น บริบทของคำที่อยู่รอบๆ คำ Keyword ก็มีความสำคัญ
Googlebot มองหาข้อมูลที่มีชัดเจน ตรงกับสิ่งที่ user ค้นหา ดังนั้น การเขียน title ที่ดี คุณต้องเขียนให้มีประเด่นเดียว เรื่องเดียว อย่าให้มีกลุ่มของ keyword เรื่องอื่นๆ มารบกวนประเด่นของ keyword ที่เป็นคำหลัก
และสิ่งที่เป็นที่แน่ชัด Google จะไม่จัดอันดับให้กับหน้าเว็บ ที่มีการคัดลอกเนื้อหาคนอื่นมาใช้ซ้ำแบบเปะๆ การจะเขียน Title ให้ออกมาดี คุณต้องแต่งเอง ให้มีรูปประโยคที่สดใหม่ แตกต่างๆ จากเว็บที่ติดอันดับมาก่อนเราให้ได้
3. การวางโครงสร้างเนื้อหา(ปรับ on page)
ปัจจัยต่อมาที่ Googlebot จะสแกนดูต่อก็คือการวางโครงสร้างเนื้อหา หรือถ้าเป็นภาษา SEO เราจะเรียกว่าการปรับ on page หรือถ้าพูดให้เข้าใจแบบภาษาชาวบ้าน on page คือ การทำให้เนื้อหาดูง่าย อ่านง่าย
แต่ต้องทำให้เนื้อหามีความสัมพันธ์กับ Keyword ที่คนค้นหาด้วย คือเนื้อหาต้องไม่ออกนอกเรื่อง ต้องเขียนโดยยึด Keyword หลักอย่างชัดเจน ซึ่งจุดนี้เราจะเช็คยากมาก ว่าแบบไหนคือเหมาะสม พอดี หรือไม่ออกนอกเรื่อง
ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับว่าคุณต้องเขียนยาวกี่คำ เขียนยาว 2000 คำ บางที่อาจจะกลายเป็นออกนอกเรื่องก็ได้ แต่บางหน้าเว็บเขียนแค่ 500 คำ แต่มันมีข้อมูลที่ชัดเจน ตรงประเด็นกว่า ก็อาจจะติดอันดับดีกว่าก็ได้
4. ความคาดหวังของ User (Search Intent)
Search Intent คือ สิ่งที่คนอยากรู้ อยากเห็น หรือความคาดหวังของลูกค้า ต้องการอะไรในการค้นหาคำนั้นๆ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ
Navigational : ค้นหาเชื่อเว็บที่เฉพาะเจาะจง/หรือค้นหาชื่อ brand ตรงๆ
ตัวอย่าง keyword ที่แสดงถึงการมองหาทางเข้าสู่เว็บที่เฉพาะเจาะจง เช่น คำว่า “Google search Console” แปลว่า เขาต้องการเข้าไปดูสถิตเว็บตัวเองที่เชื่อมเอาไว้ หากคุณไปทำบทความ แล้วไปเลือกทำ Keyword นี้ คุณก็ต้องวางลิงก์ทางเข้า เอาไว้ช่วงบนๆ ของเนื้อหาได้เลย
Informational : ค้นหาข้อมูลทั่วไป เพื่อค้นหาคำตอบบางอย่าง
หากคุณกำลังทำบทความ เพื่อตอบคำถามทั่วไป เช่น การอธิบายนิยามคำศัพท์เฉพาะต่าง คุณก็ควรเปิดเนื้อหา ด้วยคำนิยามหรือความหมายของคำศัพท์นั้นไปได้เลย ไม่ต้องไปเขียนเกริ่นนำยืดยาว
Transactional : ผู้ใช้งานหาสิ่งของที่ต้องการจะซื้อ
โดยมาก Search Intent คือการค้นหาคำที่เป็น ชื่อสินค้า หรือประเภทของสินค้าตรงๆ เช่น คำว่า ”เครื่องกรองน้ำ” แปลว่า ในใจของ user เขาอยากเห็น เครื่องกรองน้ำรุ่นต่างๆ ไว้อยู่แล้ว ที่เนื้อหาหน้าเว็บของคุณ ก็ควรแสดงตัวสินค้าที่ลูกค้ากำลังมองหาขึ้นมาก่อนได้เลย ไม่ใช่มัวไปนั่งอธิบาย ว่าเครื่องกรองน้ำคืออะไร ใช้งานอย่างไร
Commercial : ค้นหาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบ ดูรีวิวสินค้าหรือบริการต่างๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ
ในบาง keyword ที่มักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “รีวิว” หรือ ลงท้ายด้วย “ไหนดี” เช่น ที่ไหนดี ,ยี่ห้อไหนดี, รุ่นไหนดี หากคุณกำลังจะทำ keyword พวกนี้ ให้ระลึกไว้เลย ลูกค้าต้องการข้อมูลแบบละเอียด พร้อมทั่งการเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย รวมถึงความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เขียน การทำ Keyword คำกลุ่มนี้ คุณต้องทำเนื้อหาขนาดยาว เขียนให้ละเอียด เปรียบเทียบให้ชัดเจนได้เลย
5. พฤติกรรมของ user (user experience)
พฤติกรรมของ user ที่กระทำบนหน้าเว็บของเรา ถือเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญมากที่สุด สำหรับการที่ Googlebot จะแยกระหว่างเนื้อหาทั่วไป กับเนื้อหาที่มีคุณภาพ
Googlebot รู้ได้อย่างไรว่าใครเขียนเนื้อหาดีกว่ากัน เขาไม่ได้อ่านข้อมูลแบบที่คนทั่วไปอ่าน แต่ Googlebot ใช้พฤติกรรมของ user เป็นตัวตัดสินนั้นเอง เขาไม่ได้สนใจว่าคุณจะเขียนสั้นหรือยาว หรือเขียนผิดหรือเขียนถูกหลักไวยากรณ์ภาษาหรือไม่
แต่เขาจะดูว่า หน้าเว็บนี้คนเข้ามาดูเยอะแค่ไหน เข้ามาแล้วอยู่นานมั้ย การเลื่อนของหน้าจอ หรือจังหวะ touch screen เลื่อนช้าหรือเร็ว มีการกดเปิดไปหน้าอื่นต่ออีกมั้ย แล้วมีการกลับเข้ามาดูซ้ำอีกรอบหรือไม่ มีการเก็บหน้านี้ไว้บน bookmark หรือไม่ มีการส่งต่อหน้านี้ไปให้คนอื่นอ่านต่ออีกหรือป่าว
ดังนั้นโจทย์ของพวกเราที่ต้องทำเกี่ยวกับ user experience มีดังนี้
- มี Traffic
เว็บเราจะมี Organic Traffic ได้ เว็บนั้นต้องติดอันดับหน้าแรก Google ก่อน แต่ถ้าหน้าเว็บเราพึ่งทำ มันจะมี traffic ได้อย่างไร ดังนั้น เมื่อทำเนื้อหาบนเว็บเสร็จ ช่วงแรกคุณต้องเรียกความสนใจของ Googlebot ด้วยการหา direct traffic ก่อน
direct traffic คือ การที่มีคนคลิกตรงๆ เข้ามายังหน้าเว็บของเราตรงๆ ดังนั้น วิธีการที่เป็นที่นิยมมากที่สุดของการหา direct traffic คือ การเอาเนื้อหาบนเว็บไปโปรโมทบน social media ช่องทางต่างๆ
- มี time on page (ระยะเวลาที่คนอยู่บนหน้าเว็บ)
ทำยังไงให้หน้าเว็บเรามี time on page นานๆ
การจะให้คนอยู่บนหน้าเว็บนานๆ แบบทางตรงเลย คือ การเขียนเนื้อหาให้อ่านรู้เรื่อง น่าสนใจ ซึ่งจุดนี้ต้องใช้ทักษะการเขียนอย่างมาก
นักเขียนที่ดี มักจะเป็นนักอ่านตัวยง เมื่อเขาเป็นนักอ่าน เขาก็จะสามารถเช็คสิ่งที่เขียนลงไปได้ ว่าสิ่งที่เขียนนั้น น่าอ่านหรือหรือไม่ จุดไหนอ่านแล้วไม่ลื่นไหล ก็ปรับใหม่ จนกว่าจะรู้สึกว่าลื่นไหล อ่านตั้งแต่ต้นจนจบแล้วดูไม่รู้สึกเหนื่อย
คนไม่ได้แอนตี้เนื้อหายาวๆ ถ้าคุณเขียนได้ลื่นไหล อ่านง่าย แต่ที่คนไม่ชอบเนื้อหายาวๆ เพราะส่วนใหญ่ เขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่องนั้นเอง ถ้าคุณเขียนดี ยาวแค่ไหนคนก็อ่านเนื้อหาจนจบได้
- มีการเลื่อนหน้าจอขึ้นลง
สิ่งที่คุณต้องทำคือ หาสิ่งที่มันหยุดสายตา มาใส่เพิ่มลงไปในเนื้อหา ก็คือ รูปภาพประกอบเนื้อหาสวยๆ หรือภาพ infographic สรุปเนื้อหาสำคัญของสิ่งที่เขียนอีกที หรือคลิป YouTube ที่สอดรับกับเนื้อหาของเรา ต้องเพิ่มสิ่งเหล่านี้เข้าไป เพื่อแก้จุดอ่อนเรื่องของงานเขียนที่เราเขียนไม่เก่งนั้นเอง
ให้เลือกรูปภาพที่มันหยุดสายตาได้ เทคนิคที่นิยมใช้เกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ การเพิ่มรูปภาพที่เป็นหน้าคนลงไป ยังไงก็ตามคนส่วนใหญ่ ย่อมชอบหยุดมองของสวยๆ งามๆ อยู่เสมออยู่แล้ว
- มีการคลิกไปหน้าอื่น และมีการคลิกกลับมา
คนจะคลิกไปหน้าอื่นต่อได้ บนหน้าเนื้อหาหลักของคุณ ต้องมี internal link เชื่อโยงเนื้อหาภายในเว็บนั้นเอง ดังนั้น เอาเป็นกฎง่ายๆ เลย ทุกหน้าบนเว็บเรา ต้องมีลิงก์เชื่อมโยงกดไปหน้าอื่นๆ เสมอ อย่างน้อยๆ สัก 2 ลิงก์ขึ้นไป
Google ไม่ได้สนใจว่าใน 1 หน้า จะมีลิงก์กี่ลิงก์ แต่เขาดูว่า มีคนกดลิงก์ออกไปยังหน้าอื่นๆ ต่อหรือไม่ ดังนั้น ลิงก์ที่เราทำมันจะมีคนกดดูต่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการออกแบบของเราเอง ดังนั้น ทุกจุดที่เป็นลิงก์คุณต้องทำให้มันเห็นเด่นชัด คือ ใส่สี หรือทำเป็นปุ่ม เอาไว้ และข้อความบนลิงก์ กับหน้าปลายต้องมีความสัมพันธ์กันด้วย
- มีการกลับมาดูซ้ำ
ถ้าเนื้อหาไม่น่าสนใจ ไม่มีอะไรที่เป็นประโยชน์ คนก็ไม่กลับมาดูหน้าเว็บเราซ้ำ ดังนั้น ในหน้าเว็บของเรา นอกจากข้อมูลสินค้าที่คุณขาย หรือบริการที่คุณทำ
ควรมีเนื้อหาที่เป็นความรู้เกี่ยวกับการใช้สินค้านั้นๆ หรือบริการนั้นๆ แบบละเอียด เตรียมเอาไว้ด้วย แบบว่า ถ้าเขานึกถึงการใช้งานสินค้าตัวนี้ ต้องนึกถึงเว็บของเรา
ด้วยเหตุผลนี้ การทำ SEO แต่ละเว็บจึงต้องทำเนื้อหาเพิ่มอีกหลายหน้า เพื่อให้มันครอบคลุมสิ่งที่ลูกค้าอยากรู้ทั้งหมด รวมไว้ในเว็บเดียวกัน
- มีการส่งต่อหน้าเว็บไปให้คนอื่น
การทำเนื้อหาบนเว็บ มันจึงไม่ใช่ว่าจะเขียนอะไรไปเรื่อยเปื่อยๆ หรือเขียนแต่เน้นจำนวนตัวอักษรยาวๆ อย่างเดียว เราต้องเอาลูกค้า หรือ user เป็นตัวตั้งต้นในการคิดคอนเทนต์ก่อน วิเคราะห์ว่า เขาอยากรู้อะไร ชอบอะไร อยากเห็นอะไรบ้าง แล้วเราค่อยไปทำคอนเทนต์ซับพอต สิ่งที่เขาต้องการเป็นหลัก
คนจะแชร์สิ่งใดต่อ เขาต้องชอบเนื้อหาที่เราทำก่อน เขาถึงจะบอกต่อให้เรา แต่ถ้าคุณจะใช้วิธีการซิกแซก เพื่อหลอก Google ในจุดนี้ก็ทำได้ แต่ต้องใช้เงินเล็กน้อย คือ การลงทุนไปจ้างคนที่มีซื้อเสียง หรือเพจดังๆ ช่วยโปรโมทหน้าเว็บของเราให้นั้นเอง
6. ความน่าเชื่อถือ (Domain Authority)
ความน่าเชื่อถือในที่มี ความหมายจะเน้นไปที่ ความน่าเชื่อถือของโดเมนเป็นหลัก (Domain Authority) ซึ่งเจ้า Domain Authority ไม่ได้เป็นเรื่องของคะแนน DA PA ที่พวกเรารู้จัก เพราะคะแนนพวกนี้ไม่ใช่คะแนนจาก Google เป็นคะแนนที่ทาง MOZ คิดคำนวณขึ้นมาเอง
แต่โดเมนที่จะมีความเชื่อถือในสายตา Google จะมีองก์ประกอบต่างๆ ดังนั้น
อายุของโดเมน : แน่นอนโดเมนที่มีอายุเยอะกว่า ได้เปรียบโดเมนที่อายุน้อย
ประเภทของโดเมน : โดเมนที่เป็น Local domain หรือภาษาทั่วไปแบบเข้าใจง่ายๆ คือ โดเมนที่ลงท้ายด้วยนามสกุล co.th หรือนามสกุลที่เป็นหน่วยงานในประเทศนั้นๆ เช่น .ac.th, .go.th เป็นต้น โดเมนพวกนี้ในสายตา Google ถือว่ามีความน่าเชื่อถือสูง เพราะเราจะจดโดเมนที่นามสกุลลงท้ายด้วย .th ได้ ต้องมีการส่งเอกสารยืนยันตัวตนก่อนนั้นเอง
มีคนพูดถึงชื่อโดเมน : มีคนจำนวนมากค้นหาชื่อโดเมน หรือชื่อบริษัทเราบนหน้า Google เป็นจำนวนมาก การเช็คจุดนี้ คือการเช็ค search volume หรือปริมาณการค้นหาชื่อเว็บของเราลงไป ชื่อเว็บใครมีปริมาณการค้นหามาก ยิ่งมีแต้มต่อในการทำบทความ เราอาจจะเคยสังเกตเห็นว่า ทำไมบางเว็บเขียนเนื้อหาสั้นนิดเดียว แต่ติดอันดับหน้าแรกได้ เพราะอาจจะมีปัจจัยจุดนี้เยอะได้นั้นเอง
จำนวน Backlink คุณภาพ : ได้รับลิงก์ส่งกลับมาจากเว็บอื่นๆ ที่อยู่ในหมวดหมู่เดียวกับธุรกิจของเรา หรือได้รับ Backlink ส่งกลับมาจากเว็บต้นทางที่มีความน่าเชื่อถือในปริมาณที่มากพอ
มี keyword ปรากฏที่ชื่อโดเมน : การมีคำ Keyword ปรากฏที่ชื่อโดเมน ทำให้ Google เข้าใจเนื้อหา และจัดหมวดหมู่ของธุรกิจเราได้ง่ายขึ้น ดังนั้นชื่อโดเมนใครมีคำ Keyword ประกอบในชื่อ ก็จะได้เปรียบเพิ่มขึ้นสำหรับการทำ Keyword นั้นๆ
จากปัจจัยต่างๆ ข้างต้นทั้งหมด เราจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบการเป็นเนื้อหาที่มีคุณภาพมีหลายเงื่อนไข ที่เว็บเราต้องทำให้ได้ แต่หลักๆ หัวใจคือ การเอาลูกค้า หรือ user เป็นตัวตั้งต้นในการเริ่มทำคอนเทนต์ ทำให้คนชอบสิ่งที่เรานำเสนอคือแก่นสำคัญ
สิ่งที่ไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญในการคัดเลือกเนื้อหาของ Google
- จำนวนคำ ความสั้นยาวของข้อมูลไม่ได้มีผลอะไรมากนัก
- ไฟเขียวไฟแดง จากพวกโปรแกรม SEO ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น yoast หรือ rankmath
- คะแนน page speed เต็ม 100 คะแนน
- เกณฑ์ core web vital
- จำนวนหน้าเนื้อหาบนเว็บ
- ความถี่ในการลงบทความ
- จำนวน Backlink ที่มีแต่ปริมาณแต่ขาดคุณภาพ
สรุป
สร้างคอนเทนต์ หรือ เขียนคอนเทนต์ ถือเป็นสิ่งสำคัญของการทำ SEO ทำ content ถือเป็น On page SEO ที่มีหลักการสร้างคอนเทนต์เฉพาะไม่ใช่จะทำบทความอย่างไรก็ได้ซึ่งมีความสำคัญมากกว่า 80% ของการทำ SEO ทำคอนเท้นที่ดีน่าสนใจเป็นสิ่งที่เราใส่ลงไปในเว็บล้วนๆ ไม่ใช่เรื่องทางเทคนิค แต่เป็นการทำคอนเทนต์ให้คนชอบ ถ้าคนชอบเว็บเรา Googlebot ก็จะชอบเนื้อหาเราไปด้วย การสร้างคอนเทนต์ให้น่าสนใจ จะช่วยให้คะแนนอันดับดีขึ้น แต่หน้าไหนยังไม่ติดอันดับก็เพราะเนื้อหาที่เราเขียนลงไปยังไม่ดีพอนั้นเอง สร้าง content นั้นถ้าไม่ได้ผลส่วนใหญ่ คือ ซ้ำ เขียนยังไม่สดใหม่ มีแต่ข้อมูลเดิมๆ และ หัวข้อ Keyword กับเนื้อหาไม่สัมพันธ์กัน
วิธีสร้างคอนเทนต์ให้ถูกต้องจึงต้องใช้เทคนิคการสร้างคอนเทนต์ให้มีคุณภาพ พวกเราจึงควรเปลี่ยนแนวคิดใหม่ให้ถูกต้อง ใช้เทคนิคการเขียนคอนเทนต์ที่ได้กล่าวด้านบนของบทความ แนวคิดการสร้างคอนเทนต์ คิดคอนเทนต์ เราอ่านแล้วให้เป็นธรรมชาติ อะไรที่มันผิดธรรมชาติ อะไรที่มันดูแล้วจงใจเกินไป ดูแล้วไม่สวย ดูแล้วเป็นขยะ ดูแล้วเป็นสแปม คือการผลิตคอนเทนต์ที่ไม่ดีทั้งหมด
- YouTube เขาก็อยากได้คลิปเจ๋งๆ ดูสนุกๆ
- Facebook เขาก็อยากได้คอนเทนต์สดใหม่ มียอดแชร์ ไลค์ คอมเม้น
- TikTok เขาก็อยากได้คลิปสั้นๆ ตลกๆ สนุกๆ
- Google เขาเป็น information ดังนั้น เขาก็อยากได้เนื้อหาข้อมูลสดใหม่ ถูกต้อง และเป็นธรรมชาติ
พวกทางเทคนิค เช่น เว็บโหลดช้าโหลดเร็ว (แค่ทำให้เว็บไม่โหลดช้าเกิน 3 วิ ก็เพียงพอแล้ว) core web vital ไม่ได้มีผลต่อ SEO ส่วน backlink เป็นแค่ปัจจัยเสริมแค่นั้น สำคัญแค่ 5% เท่านั้น