สอนอธิบายเทคนิคในการทำ Technical SEO แบบละเอียดอัพเดทล่าสุดจากGoogle พร้อมเครื่องมือที่จำเป็นช่วยให้เว็บไซต์มีอันดับดีขึ้นใน keyword(คีย์เวิร์ด) ที่เลือก
โดยปกติการทำ SEO จะแบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก ได้แก่
- On-page SEO คือ การปรับหน้าเว็บเพจให้ตรงตามเกณฑ์
- Off-page SEO คือ การทำ SEO ที่เกิดจากลิ้งภายนอกเว็บส่ง traffic มาให้หน้าเว็บเรา
- Technical SEO คือ การปรับองค์ประกอบต่างๆของเว็บให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น เช่น ความเร็ว , mobile friendly เป็นต้น
- Local SEO คือ การทำเว็บให้ติดการค้นหาที่มีการค้นหามาจากคีย์เวิร์ดสถานที่นั้นๆ หรือ คนที่ค้นหาเลือกร้านจากเว็บที่ปักหมุดในบริเวณนั้นๆ
ซึ่งหลักๆ แล้วส่วนที่ Web Developer จะเข้าไปจัดการจะเป็นในส่วนของตัว Technical SEO (สนใจกด >> รับทำ SEO)
TECHNICAL SEO จะเป็นการใช้เทคนิคต่างๆในการปรับปรุงเว็บไซต์โดยไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในแต่ละหน้าเพจของเว็บ(ไม่ได้ปรับแต่งKeyword) เพื่อให้ Google Bot เข้าใจโครงสร้างของแต่ละหน้าของเว็บ ส่งผลให้การจัดอันดับได้เร็วและตำแหน่งดี
Technical SEO คืออะไร?
Technical SEO คือ การปรับปรุงคุณภาพของเว็บไซต์ในเชิญเทคนิคที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในแต่ละหน้าของเว็บ เช่น การเพิ่มความเร็วการโหลดของเว็บ , การบีบอัดรูปให้กินพื้นที่น้อยลง , การติดตั้ง HTTPS/SSL , การส่ง site map เป็นต้น
ทำให้ Google Bot มารวบรวมข้อมูล(Crawling) จัดทำดัชนีเว็บไซต์(Indexing) ได้อย่างง่ายดายรวดเร็วและดีต่อการทำอันดับของหน้าเว็บนั้นๆ
โดยการทำ Technical SEO จุดประสงค์หลัก ๆ มี 2 ส่วน คือ
- ให้ Google Bot ให้มา เก็บข้อมูลเว็บเราได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ส่งผลให้ Google จัดทำดัชนีของเว็บเราได้เร็วขึ้น
- สร้างความประทับใจให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์และอยู่ในเว็บเรานานขึ้น ส่งผลให้อันดับดีขึ้น โดย เว็บที่โหลดเร็ว อ่านง่าย ปุ่มกดใหญ่พอ ลิ้งที่ให้กดสัมพันธ์กับความสนใจจริงๆ อีกทั้งมีความปลอดภัย แค่นี้ก็ทำให้ผู้ชมชอบเว็บเราแล้วตามเกณฑ์กูเกิ้ล
ตัวอย่างของการทำ Technical SEO
- การส่ง site map หรือ โครงสร้างของเว็บไซต์ ให้ Google Bot เพื่อเข้ามาอ่านและจัดเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์
- การทำให้โครงสร้างเว็บเป็น Mobile-Friendly หรือ การแสดงผลที่แตกต่างกันในแต่ละเครื่องมือที่เปิด เพื่อให้ผู้ชมไม่ต้องขยายหรือย่อดูเนื้อหาในแต่ละหน้าเว็บ
- การเพิ่มความเร็วของเว็บไซต์ให้โหลดเร็วขึ้น
(สนใจกด >> รับสอน SEO)
หลักการทำงานของ Google Bot
- 1. Crawling หรือการเก็บข้อมูล
โดย Google Bot จะเข้ามาสำรวจเนื้อหาของแต่ละหน้าเว็บและเก็บข้อมูล เมื่อเว็บไซต์มีการสร้างบทความหรือหน้าใหม่โดยการอัพเดทเนื้อหาจากคนทำเว็บ จากน้ันข้อมูลต่างๆจะถูกบันทึกลงในฐานข้อมูล
ส่งผลให้เกิดการแสดงผลเมื่อผู้ใช้งานค้นหาด้วยคำค้นหาที่ตรงกับแต่ละหน้าเว็บนั้น โดยกูเกิ้ลจะเลือกมาแสดงผลให้เลือกตามอันดับ ยิ่งเว็บเรามี Technical SEO ที่ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดก็จะมีโอกาสแสดงผลมากกว่าเว็บที่ไม่มี
- 2. Indexing หรือการบันทึกข้อมูลลง database
ข้อมูลที่กูเกิ้ลเก็บไว้จะรวมอยู่ในคลังข้อมูลขนาดใหญ่ โดยจะเรียกมาแสดงผลเมื่อมีการค้นหา
วิธีเช็คว่าหน้าเว็บหน้าใดของเรามีการเก็บข้อมูลแล้วให้ พิมพ์ดังนี้ site:(โดเมนของเว็บไซต์)
เช่น “site:markettium.com” แล้วกดค้นหา จากนั้น Google จะแสดงจำนวนให้ดูว่ามีหน้าเพจจำนวนเท่าไหร่ที่ถูกนำไป index เพื่อรอให้ถูกค้นหาบ้าง
นอกจากนี้ยังสามารถดูแบบแยกตามหน้าเพื่อเช็คว่าหน้าที่พึ่งสร้างได้ index ไปหรือยังโดย พิมพ์ “site:(ลิงก์ของเว็บเพจหน้าที่ต้องการ)” (สนใจกด >> รับดูแลเว็บไซต์ wordpress)
Google จะปล่อย Bot มาไต่บนเว็บไซต์ตอนไหน?
จะเกิดขึ้นเมื่อมีการอัพเดทหน้าใหม่ๆลงไปในเว็บ ยิ่งมีการอัพเดทบ่อย Bot ก็จะมาบ่อยตาม ซึ่งถ้านานๆทีเราลงข้อมูล ให้ไปที่ Google Search Console แล้วส่งทีละหน้าเพื่อให้บอทมา index โดยถ้าโครงสร้างเว็บดี มีการปรับ technical seo ถูกหลัก บอทจะมาเก็บข้อมูลได้เร็วค้น หน้าค้นหาถูกนำไปแสดงผลบนหน้าค้นหาก็มีมากขึ้น
ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อ Technical SEO
Google ได้เพิ่มfunctionใหม่ขึ้นมา คือ Ranking Signals มีดังนี้
- Mobile First Indexing คือ การเก็บข้อมูลบนมือถือก่อนอุปกรณ์แสดงผลอื่น
- Safe Browing คือ ความปลอดภัยของเว็บไซต์ ระบบความเป็นส่วนตัวไม่มีไวรัส
- Intrusive interstitials คือ ประสบการณ์ใช้เว็บที่ดี ไม่มี banner Pop-up มาแสดงผลเยอะเกินไป
- Core Web Vitals คือ เกณฑ์การให้คะแนนใหม่ประกอบด้วย
- ความเร็วในการโหลดเว็บไซต์
- การตอบสนองของเว็บ
- ความเสถียรของเว็บไซต์ในเรื่องของดีไซน์
ท่านควรจะทำการติดตั้ง Google Analytics และ Google Search Console เพราะเป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์website ให้ท่านอย่างละเอียด Google Analytics และ Google Search Console ช่วยตรวจสอบการทำงานของเว็บไซต์ของท่านและส่งแจ้งเตือนข้อผิดพลาดที่ต้องแก้ไข
มาลองดูองค์ประกอบต่างๆปัจจัยที่ส่งผลต่อ Technical SEO ที่เรารวบรวมมาให้พร้อมขั้นตอนการทำและแก้ไข
1. การวางโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี
การวางแผนผังการเชื่อมโยงด้วยlinkของแต่ละหน้าเพจ เป็นการทำโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure) โดยถ้าแสดงความเชื่อมโยงที่ดีจะส่งผลให้ Google bot เก็บข้อมูลได้เร็ว แสดงผลอันดับที่ดี
เคล็ดลับในการวางโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี
ไม่สร้างหน้าย่อยของเมนูเยอะเกินไปโดยหน้าทั้งหมดไม่อยู่ห่างจากหน้า Homepage มากเกินไป ทำให้กูเกิ้ลบอทเข้าใจเว็บได้ง่ายและผู้ใช้งานก็ไม่สับสน เว็บเป็นระเบียบมากขึ้น
2. การส่งโครงสร้างของเว็บไซต์ (Sitemap)
XML sitemap เป็นการส่งข้อมูลให้ bot เข้ามารวบรวมข้อมูลตามความเชื่อมโยงของหน้าเว็บต่างๆ
XML sitemap จะมีประโยชน์มากที่สุดเมื่อเว็บของคุณ :
- ข้อมูลมาก
- รูปภาพและวิดีโอมาก
- ไม่มี internal link ที่สัมพันธ์กันมาก
- เว็บใหม่ยังไม่มี backlink
โครงสร้างของเว็บไซต์ หรือ Sitemap จะเป็นไฟล์รูปแบบ XML ที่ประกอบไปด้วยข้อมูลสำคัญของหน้าเพจต่างๆ บนเว็บไซต์ของคุณ โดยส่วนใหญ่แล้วจะแสดงเป็น URLs เช่น
- markettium.com/sitemap.xml
- markettium.com/sitemap_index.xml
หากคุณไม่แน่ใจว่าจะสร้างแผนผังเว็บไซต์อย่างไรและเว็บไซต์ของคุณใช้ WordPress คุณสามารถสร้างแผนผังเว็บไซต์ง่ายๆ ด้วยปลั๊กอิน เช่น Google XML Sitemap Generator ที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างแผนผังเว็บไซต์ XML โดยเฉพาะ
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในเว็บ เช่น สร้างหน้าเพจใหม่ เป็นต้น ควรแจ้งให้ Google รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ด้วยการส่ง XML Sitemap ใน Google Search Console (GSC)
และเมื่อเจอกับไฟล์นี้แล้ว เราจะสามารถนำไปส่งให้กับ Google ผ่าน Google Search Console ด้วยวิธีการดังนี้
- ไปที่ Google Search Console
- เลือกเมนู Indexing > Sitemap
- คัดลอก URL ของ Sitemap ไปวางในช่อง จากนั้นกด Submit
- รอการประมวลผล และเมื่อขึ้นสถานะ Success นั่นคือกระบวนการส่งไปตรวจสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว
3. เพิ่มความเร็วการโหลดหน้าเพจ (Page Speed)
ทุกอุปกรณ์ไอทีที่ใช้เปิดหน้าเพจความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญมากๆ โดยจะมีเวลาที่กูเกิ้ลกำหนดไว้ เพราะเว็บที่โลหดช้าผู้ชมจะรู้สึกแย่และกดออกจากเพจ
โดยเว็บไซต์ที่โหลดได้ช้าจะส่งผลต่อประสบการณ์ที่ไม่ดีต่อผู้ใช้งานที่เข้าชมเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นการรอนานเกินไป หรือ อัปโหลดไฟล์นาน จะทำให้ต้องกดออกจากเว็บและอาจจะไม่ไม่กลับเข้ามาชมเว็บไซต์อีก
วิธีการเช็ดความเร็วในการโหลดของเว็บไซต์ สามารถเช็คได้ที่ PageSpeed Insights โดยเมื่อกรอก URL ของเว็บไซต์ลงไปแล้ว ระบบจะทำการวิเคราะห์และให้คะแนนความเร็วในการโหลดตั้งแต่ 0-100 ซึ่งได้ตัวเลขมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีต่อเว็บไซต์มากท่านั้น
คำแนะนำที่ PageSpeed Insight ให้ไว้นั้นค่อนข้างละเอียดทั้งในอุปกรณ์เคลื่อนที่และเดสก์ท็อป แนะนำว่าแก้ให้ได้มากเท่าที่จะทำได้ โดยถ้าคุณอยากได้มุมมองทางเทคนิคอื่นๆ ขอแนะนำอีก 2 เครื่องมือที่นิยมใช้กัน คือ GTMetrix , และ webpagetest.org
เคล็ดลับในการเพิ่มความเร็วเว็บไซต์
1. บีบอัดไฟล์ภาพให้เล็กลง
ยิ่งไฟล์ภาพยิ่งใหญ่ยิ่งโหลดนาน ทำให้หลายภาพก็ยิ่งนานเข้าไปอีก ดังนั้น การบีบอัดภาพก่อน upload ลงเว็บจะช่วยลดปัญหานี้ได้ โดยเราแนะนำ Plug-in ที่บีบอัดภาพอัตโนมัติ Plugin Imagify มีทั้งแบบทำมือฟรีทีละภาพ หรือ เสียเงินทำอัตโนมัติ (สนใจกด >> รับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)
2. ลดขนาดไฟล์ HTML, CSS และ JavaScript
ทำให้ code ต่างๆจัดระเบียบ ลบช่องว่าง ไม่เว้นวรรค ไม่เว้นบรรทัด ทำให้ใช้ข้อมูลความจำน้อย โหลดได้ไวขึ้น
3. ใช้งาน CND
สำหรับเว็บไซต์ที่จะมีผู้เข้าชมในต่างประเทศด้วย ถ้าหากไม่มีการติดตั้ง CDN ก่อน จะทำให้ผู้ใช้งานที่อยู่ไกลรอโหลดข้อมูลจาก Hosting นานขึ้น โดยการติดตั้ง CND จะทำให้มีการเก็บแคชของเนื้อหา กระจายไปตามเซิฟเวอร์ในพื้นที่ต่างๆ รอบโลก จึงช่วยให้ผู้ใช้งานในต่างประเทศไม่ต้องรอโหลดเว็บไซต์นาน
4. ติดตั้ง SSL หรือ HTTPS
ปัจจัยที่ใช้ในการจัดอันดับเว็บไซต์ของ Google คือ การติดตั้ง SSL/HTTPS ทำให้เว็บปลอดภัยมากขึ้น ช่วยให้มีการปกป้องข้อมูลของผู้เข้าชมเว็บ เช่น password , หมายเลขบัตรเครดิต มีความปลอดภัยมากขึ้น
สำหรับการเช็คว่าเว็บไซต์ของคุณมีการใช้งาน https แล้วหรือไม่ สามารถดูได้จากช่อง address bar
- ถ้าด้านหน้าของลิงก์มีเครื่องล็อคกุญแจ นั่นหมายถึงเว็บไซต์มีการทำ https แล้ว
- ถ้าหน้าลิงก์ของเว็บไซต์ขึ้นคำว่า “Not Secure” นั่นหมายถึงเว็บไซต์ยังไม่ได้ทำ https
ในกรณีที่ยังไม่ได้ทำ ให้ทำการติดตั้ง SSL Certificate ลงไป ซึ่งจะเป็นใบรับรองความปลอดภัยอิเล็คทรอนิกส์ จากนั้นเว็บไซต์จะขึ้น https
5. การทำ Mobile-Friendly
เว็บไซต์ที่เป็น responsive website สำหรับแต่ละอุปกรณ์ไอที หรือ ยิ่งเป็น mobile responsive การตอบสนองต่อการแสดงผลบนมือถือที่ดีนั้นมีผลต่อการจัดอันดับของเว็บไซต์บนหน้าค้นหา เนื่องจาก Google ให้ความสำคัญกับการแสดงผลบนมือถือมากที่สุด ให้ความสำคัญกับ Mobile First ก่อน
ดังนั้น เราสามารถตรวจสอบการตอบสนองต่อการใช้งานบนมือถือด้วยการเช็คข้อมูลผ่าน Google Search Console > Mobile Usability โดยระบบจะแสดงจำนวนหน้าเพจที่ไม่ตอบและตอบสนองต่อการใช้งานบนมือถือ อีกทั้งมีการวิเคราะห์ปัญหาที่พบและการแก้ไขต่างๆ เพื่อให้คุณนำกลับไปปรับปรุงประสิทธิภาพของแต่ละหน้าเพจบนเว็บไซต์ ให้เพจของคุณได้สร้างประสบการณ์ที่ดีต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้มากที่สุด
6. ตรวจสอบเนื้อหาที่ซ้ำกัน (Duplicate Content)
เนื้อหาที่ซ้ำกัน (Duplicate Content) คือ บทความคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาซ้ำกันทั้งหมดของแต่ละย่อหน้า ทั้งการซ้ำกันในหน้าเดียวของบทความซ้ำๆ หรือหน้าอื่น หรือ เพราะเรา copy มาจากเว็บอื่นโดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย (สนใจกด >> รับทำเว็บไซต์ wordpress)
ถ้าไม่อยากเสียเวลาทำใหม่ทั้งหมดเพราะโดน Google ลงโทษโดยการไม่แสดงผลการค้นหาจากคีย์เวิร์ดในหน้านั้นๆ หรือ ลดอันดัน ลดการแสดงผล หรือ จะเป็นการไม่มาเก็บข้อมูลเว็บเราเพราะเหมือนเว็บสแปม ขอให้หลีกเลี่ยงการ copy ข้อความ
7. แก้ไขตามคำแนะนำของ Core Web Vitals
สำหรับ Core Web Vitals เป็นหนึ่งในมาตรวัดประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (User Experience) ที่เข้าชมเว็บไซต์ของเรา ประกอบไปด้วย 3 หัวข้อ คือ
- Loading ความเร็วในการโหลดเว็บไซต์
- Interactivity การตอบสนองของเว็บ
- Visual Stability ความเสถียรของเว็บไซต์ในเรื่องของดีไซน์
โดยการตรวจสอบ Core Web Vitals สามารถเช็คได้ผ่าน Google Search Console > Experience > Core Web Vitals > View Details
จากนั้นระบบจะแสดงผลของ Core Web Vitals ว่าประสิทธิภาพของประสบการณ์ที่มีต่อผู้ใช้งานเว็บไซต์เป็นอย่างไรบ้าง พร้อมรายงานปัญหา และวิธีแก้ไข เพื่อให้เว็บไซต์ของคุณตอบโจทย์ผู้เข้าชมได้มากยิ่งขึ้น
8. Robots.txt , Meta NoIndex, & Meta NoFollow
เราเลือกได้ว่าจะให้ google bot เก็บข้อมูลหน้าไหนไปแสดงผล หรือ ไม่ให้ข้อมูลหน้าใดไปแสดงผล จากการทำ robots.txt ให้ search engine รับรู้ คุณสามารถใช้ไฟล์ robots.txt เพื่อระบุความต้องการให้เสิร์ชเอนจิ้นรู้
ความสำคัญของ robots.txt มีไว้กำหนดคีย์เวิร์ดคอนเทนต์ต่างๆในเว็บไซต์ถูกรวบรวมไว้ในcode เมื่อกูเกิ้ลมาเก็บข้อมูลสำคัญได้ครบถ้วน หรือไม่ต้องการให้มาเก็บข้อมูลส่วนใดไปแสดงผล โดยเรา test การทำงานของ robots.txt โดยเครื่องมือนี้ >> Robots.txt testing tool
นอกจากไฟล์ robots แล้ว คุณยังสามารถใช้เมตาแท็ก robots (robot meta tags) ในการบล็อกเนื้อหาเป็นหน้าๆออกจากดัชนีเครื่องมือค้นหาได้
9. โครงสร้างข้อมูลที่เป็นระบบ
Structured data หรือ โครงสร้างของข้อมูลที่จัดเก็บไว้เป็นระบบ ส่งผลให้ search engine bot เข้าใจเว็บและจัดเก็บข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งการแสดงผลยังเป็นในรูปแบบที่ทำให้ผู้ชมเห็นเว็บไซต์ได้มากในอันดับที่ดีอีกด้วย เช่น การแสดงราคาสินค้าแบบ e-commerce การแสดงตารางสูตรอาหาร ได้พื้นที่ไปเยอะเลยใน google
search engine เข้าใจหน้าเว็บและแสดงผลการค้นหาแบบไหนทดสอบที่ schema.org ในรูปแบบของ JSON-LD โดยถ้าเว็บไซต์ของคุณมีโครงสร้างของข้อมูลที่เป็นระบบอาจจะพบโอกาสได้ตำแหน่งที่ 0 หรือ บนสุดของการแสดงผลเหนืออันดับ1 หรือ feature snippets
10. ลิงก์มีปัญหา
ถ้า internal link ที่เชื่อมข้อมูลจากแต่ละหน้า landing page เกิดการกดแล้วไม่ไปหน้านั้น หรือหน้านั้นหายไปเพราะลบหน้าไปแล้ว หรือ ลืมใส่หน้าปลายทางว่าลิ้งไปที่ไหน ส่งผลให้ผู้ใช้ไม่พอใจเพราะไม่สามารถเข้าและออกจากบางหน้าได้ โดยปัญหาลิ้งก์เสียที่พบได้บ่อยก็มีดังนี้
- ลิ้งค์เสียแบบerror 404 เกิดจากหน้าปลายทางถูกลบทิ้งไปเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุด สามารถตรวจสอบlinkที่ไม่ทำงานได้จาก >> dead link checker
- Nofollow internal link โดย link ที่มีคุณลักษณะ nofollow จะไม่ส่งคะแนน PageRank ไปให้หน้าปลายทาง ดังนั้นถ้ามี nofollow หลายๆinternal link หน้าเว็บไซต์ของคุณก็อาจสูญเสียอันดับการค้นหาได้ ตรวจสอบด้วย >> dead link checker
11. URL Design & Structure
- URL ควรสั้นกระชับและมี keyword หลักอยู่ด้วย
- ใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็ก และใช้ขีดกลาง(hyphen) หลีกเลี่ยงขีดล่าง(underscore)
- ออกแบบและใช้โครงสร้าง URL ที่คงเส้นคงวา เช่น หากคุณมี URL ของหมวดหมู่กาแฟ เช่น website.com/coffee ก็ควรที่จะใส่หน้าที่เกี่ยวกับกาแฟทั้งหมดภายใต้หมวดหมู่นี้ แต่ถ้านำเพจเกี่ยวกับข้าวผัดกระเพรามาใส่คงไม่เหมาะ
- ใส่คีย์เวิร์ดหลักลงไปเป็นส่วนหนึ่งของ URL ด้วย แต่ควรระวังอย่าใส่มากไป จนเข้าข่าย keyword stuffing ล่ะ
- URL สั้น มักทำอันดับได้ดีกว่ายาวๆ
(สนใจกด >> รับทำเว็บไซต์ E-Commerce)
12. Domain
ให้เราตรวจสอบว่าเว็บไซต์ของเราไม่มีการสร้างโดเมนซ้ำซ้อน มีแค่ Domain เดียว เพื่อให้google bot ไม่สับสนเวลาเก็บข้อมูล และการแสดงผลบน search engine ผู้ชมจะไม่เข้าใจผิด ถ้าเรามี Domain แตกแยกย่อยเป็น sub-domains ซ้ำซ้อน เช่น
- https://sample.co.th
- https://www.sample.co.th
- http://sample.co.th
- http://www.sample.co.th
ให้เราทำการ redirect Domain อื่นๆที่ไม่ต้องการ ไปยัง Domain ที่เราเลือกใช้เพียงหนึ่งเดียว หากต้องการจะทำให้เว็บไซต์ของเรามีส่วนต่างๆเพิ่มขึ้นหรือ section เพิ่มขึ้นมาควรใช้ subfolders แทน sub-domains
13. Internal Link
จำเป็นมากที่เราต้องเชื่อมโยงเพจแต่ละเพจด้วยลิ้งค์ภายในเพื่อกระตุ้นการอยู่ในเว็บของผู้ชมให้นานขึ้น เปิดหน้าต่างๆบ่อยขึ้น จะทำให้เพจเราติดอันดับ โดยลิงก์ภายในเว็บไซต์ต้องใช้ anchor text ที่เป็นคีย์เวิร์ดของแต่ละหน้า อีกทั้งช่วยให้ Google bot เข้าใจความเกี่ยวเนื่องของเนื้อหาในหน้าต่างๆนั้นด้วย
14. Call to Action ที่ชัดเจน
CTA หรือ Call to Action คือ การใช้คำเชิญชวนให้ Users มากระทำบางอย่างที่เกี่ยวกับจุดประสงค์ที่เกี่ยวข้องของเว็บเพจนั้นๆ เช่น กดสั่งซื้อสินค้า กดสมัครเป็นสมาชิก คลิกที่ปุ่มเพื่อสามารถติดต่อได้
โดยปุ่มเหล่านี้ควรจะอยู่ตำแหน่งที่เหมาะสม มีขนาดใหญ่กดได้ และหาได้ง่ายไม่ซับซ้อนจนเกินไป เพราะถ้าหากซับซ้อนหรือยากเกินไปผู้ใช้งานอาจหันไปใช้เว็บอื่นก็เป็นได้ เพราะในปัจจุบันการแข่งขันนั้นสูงมากผู้คนมีหลากหลายทางเลือก ดังนั้นไม่ว่าจะฟังก์ชันอะไรเราควรใส่ใจให้มากๆ
15. Multimedia
การที่เราเลือกใช้ วีดีโอ รูปภาพ แบนเนอร์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหามาใส่ในเพจของเว็บไซต์ ช่วยให้ผมชมสนใจอยู่ในแต่ละหน้านานยิ่งขึ้น ช่วยให้ผู้ชมสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น เพิ่มอันดับคะแนนSEOได้
บาง keyword ที่ userใช้เสิร์ชมีการแสดงผลผ่าน Media ที่แตกต่างกันบน SERP (Search Engine Result Page) หรือ search intent ทำให้การแสดงผลไม่เหมือนกัน บางคีย์เวิร์ดแสดงเป็นบทความมากกว่า บางทีแสดงเป็นวีดีโอมากกว่า หรือบางทีเป็นรูปภาพขึ้นอันดับดีกว่า ดังนั้นการใช้ Media จึงเป็นสิ่งสำคัญควรใช้ให้เหมาะสม
16. Social Media (สื่อสังคม)
เป็นส่วนสำคัญในยุคนี้เลยกว่าได้ เพราะมีหลายเว็บไซต์ที่ไม่ได้เพิ่มปุ่มแชร์เพื่อให้ผู้คนแชร์เนื้อหาต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ไปยัง Social Media ต่างๆ ของพวกเขาเหล่านั้นได้
ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีถ้ามีผู้คนเข้ามาแชร์เนื้อหาของเราทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จัก ซึ่งในส่วนนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญของการทำ SEO เช่นกัน
การทำให้ Users สามารถกดแชร์เนื้อหาไปยังช่องทาง Social Media ของตัวเองได้ เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการเป็นที่รู้จัก และสร้างยอด Traffic ที่สูงขึ้น
17. Status Code
search engine bot จะเข้าใจแต่ละหน้าของเว็บจากการที่เราระบุ Status Code โดยกูเกิ้ลบอทจะเข้าไปเก็บข้อมูลได้รวดเร็วและแสดงผลได้ถูกต้อง อีกทั้งผู้ชมก็เข้าใจได้ด้วย โดย Code หลัก ๆ ที่นิยมใช้ สำหรับหน้าเว็บต่าง ได้แก่
- 301 เมื่อมีการย้าย URL ไปอยู่ตำแหน่งใหม่อย่างถาวร
- 404 เมื่อลบทิ้งไปแล้ว
- 503 เมื่อไม่สามารถตอบสนองตามคำขอได้ชั่วคราว
- 200 เมื่อใช้งานได้ปกติ
สรุป
Technical SEO ทำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์เชิงเทคนิคต่างๆให้ กูเกิ้ลบอทสามารถเข้ามารวบรวมข้อมูลและแสดงผลในตำแหน่งการค้นหาของ search engine ได้ดี เว็บที่ทำจะดันแรงก์ได้ดีกว่าที่ไม่ได้ทำ
เว็บไซต์ที่ดีที่ทำ Technical SEO จะมีลักษณะแบบใด?
- มีเครื่องหมาย https แสดงความปลอดภัย
- โหลดง่ายแสดงผลอย่างรวดเร็ว
- รองรับการแสดงผลบนมือถือ
- ได้ส่งแผนผังเว็บไซต์ (XML Sitemap) ไปแล้ว
- Google bot สามารถมารวบรวมข้อมูลได้เร็วแสดงผลได้ถูกต้อง