เพิ่มความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ด้วยการสร้าง Google Sitelinks เป็นปัจจัยช่วยเรื่อง CTR(Click-Through Rate) หรือ เพิ่ม traffic เข้าเพจ ส่งผลให้คะแนน SEO ดีขึ้นไต่อันดับแรงค์กูเกิ้ลติดหน้าแรกของการค้นหา
เชื่อว่าหลายคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ น่าจะเคยเสิร์ชหาข้อมูลบน Google แล้วเห็นว่าเว็บไซต์ที่ขึ้นมาแสดงบางครั้งมีเมนูต่างๆ (Sitelinks) เพิ่มขึ้นมาให้คลิกด้วย ดูโดดเด่นและมีความน่าสนใจ อยากจะมีบ้าง บทความนี้มีคำตอบสำหรับคุณ (สนใจกด >> รับทำ SEO)
Sitelinks คืออะไร
Sitelinks คือ ลิงก์ หรือเมนูต่างๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์ภายใต้ Domain เดียวกับเรา ซึ่งจะแสดงอยู่ภายใต้ Title และ Meta Description เวลาเราเสิร์ชหาข้อมูลบน Google โดยส่วนใหญ่แล้ว Sitelink จะแสดงเมื่อเราค้นหาด้วย Keyword ที่เป็น ชื่อแบรนด์ หรือชื่อเว็บไซต์
ซึ่งเมนูที่จะถูกนำมาแสดงบนผลการค้นหา อัลกอริทึมของ Google จะเป็นคนเลือกเอง เจ้าของเว็บไม่สามารถเลือกได้ แต่เราสามารถกำหนดได้ว่าไม่อยากให้ลิงก์ไหนถูกนำไปแสดงเป็น Sitelink
หน้าตาของ Sitelinks จะเป็นลิงก์ที่มีหัวข้อและคำอธิบายสั้นๆ แยกออกมาเหมือนกับสารบัญเว็บไซต์ที่จะพาผู้ใช้งานไปยังหน้าต่างๆ ของเว็บไซต์ได้โดยไม่ต้องเข้าใช้งานผ่านหน้า Home เหมือนปกติ
ไม่ใช่ทุกเว็บจะถูกเลือกให้มีการแสดงผลแบบเป็น Sitelink ส่วนใหญ่เราจะเห็นเว็บไซต์ที่มี Google Sitelinks ได้จากบริเวณเว็บไซต์ที่อยู่ในอันดับต้นๆ ของผลการค้นหา โดยจะปรากฏลิ้งก์ให้คลิกประมาณ 2-6 ลิ้งค์ (สนใจกด >> รับสอน SEO)
ประเภทของ Google Sitelinks
Google Sitelinks มีทั้งหมดกี่ประเภท? ในที่นี้เราขอแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ดังนี้
1. Organic Sitelink(Homepage general sitelink)
Organic Sitelinks คือ การแสดงผลของลิ้งค์ที่มีลักษณะเหมือนเป็นสารบัญหรือเมนูย่อยๆ ของเว็บไซต์ โดยจะมีสูงสุด 6 ลิงก์ให้คลิกเข้าไปยังหน้าสำคัญอื่นๆ ได้โดยตรง มักจะปรากฏอยู่บนผลการค้นหาเว็บไซต์ที่ติดอันดับ 1 บนหน้า Google Search และมักจะรองรับในกลุ่มของการค้นหาที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ เช่น หาชื่อแบรนด์ ชื่อเว็บไซต์ ฯลฯ ซึ่งช่วยเพิ่ม Organic Traffic ให้กับเว็บไซต์ได้มากยิ่งขึ้น
2. One-Line Sitelink
One-Line Sitelinks คือ เป็นรูปแบบ ไซต์ลิ้งค์ เมนูที่สามารถคลิกไปยังหน้าเพจในเว็บไซต์ของเราได้เหมือนกับ Organic Sitelink แต่จะแสดงผลแบบบรรทัดเดียวจบ (แสดงอยู่ใต้ Title และ Description) โดยจะแสดงสูงสุด 4 ลิ้งก์ ส่วนการแสดงผลไม่จำเป็นต้องเป็นอันดับ 1 ของ Keyword นั้นๆ หรือต้องค้นหาชื่อแบรนด์เหมือนกับ Organic Sitelink ก็สามารถมี One-Line Sitelink ขึ้นได้ (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)
3. Search Box Sitelink
Search Box Sitelinks คือ ไซต์ลิ้งก์ที่จะแสดงช่องสำหรับค้นหาข้อมูลขึ้นมาด้วยหลังจากที่ทำการเสิร์ชสิ่งที่ต้องการ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ได้ตั้งแต่หน้าผลการค้นหาบน Google โดยจะเห็นได้ในเว็บไซต์ที่เป็นคำค้นหาจำพวกชื่อแบรนด์ หรือเว็บไซต์ประเภท E-Commerce ที่มีสินค้าบนเว็บไซต์ให้ค้นหาได้
4. Google mobile sitelink
สำหรับ Google Sitelink ที่แสดงผลบนมือถือ จะมีการแสดงผลเป็น 2 แบบ คือ แสดงไซต์ลิงค์ที่ละบรรทัด ซึ่งหน้านี้เราจะได้มาเฉพาะหน้าที่เป็น homepage
ส่วนแบบที่ 2 จะเป็น sitelink ที่เป็น Slide tab คือเอานิ้วปัดเลื่อนหัวข้อไซต์ลิงค์ ซ้าย-ขวา ได้ ซึ่งจะแสดงที่หน้าอื่นๆ ที่ไม่ใช้ Homepage
5. Paid Sitelink
Paid Sitelinks คือ ผลลัพธ์ของ ไซต์ลิงก์ รูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะต่างจาก ไซต์ลิงค์ ในรูปแบบอื่นๆ เพราะเป็นไซต์ลิงก์ที่ปรากฏในส่วนของการยิง Search Ads หรือที่หลายคนเรียกว่า Sitelink Extensions มีข้อดีคือ เราสามารถทำการกำหนดข้อความที่ต้องการแสดงได้เอง แถมยังกำหนด URL ที่ต้องการได้อีกด้วย (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ E-Commerce)
วิธีทำ Google Sitelinks
มาถึงหัวข้อที่ทุกคนรอคอยนั่นคือ การทำ Google Sitelinks ว่าจะมีเทคนิคอะไรบ้างที่ช่วยเพิ่มโอกาสทำให้ Google มอบ ไซต์ลิ้งค์ ให้กับคุณได้ โดยเราจะขอแบ่งออกเป็นหัวข้อสำคัญๆ ดังต่อไปนี้
- ใช้ชื่อโดเมนและชื่อของเว็บไซต์ที่ไม่ซ้ำใคร
การใช้ชื่อแบรนด์บนเว็บไซต์ที่ไม่ซ้ำกับใครจะช่วยทำให้ผลลัพธ์การแสดงเว็บไซต์ขึ้นอันดับ 1 ในคีย์เวิร์ดที่เป็น Branding Keyword ได้ง่ายมากขึ้น และมีโอกาสที่ Google จะเพิ่ม Sitelink ให้ด้วย
สมมตว่าคุณทำบริษัทชื่อว่า บริษัทประดับยนต์ แน่นอนว่า ชื่อก็บ่งบอกแล้วว่าคุณทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร ในแง่ของการจดจำอาจจะง่ายหากเป็นการพูดกันแบบปากต่อปากของคนที่อยู่ใกล้กับร้านคุณ แต่ในแง่ของการค้นหาบน Google ชื่อรูปแบบนี้อาจจะทำอันดับหรือค้นหาเจอได้ยาก รวมถึงทำให้ติด Google Sitelink ได้ยากเช่นกัน เพราะคำค้นหาเช่นนี้จะแสดงแบรนด์ทุกแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประดับยนต์ขึ้นมาให้มากมาย
ยกเว้นในกรณีที่คุณเป็นแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Tesla คุณอาจจะใช้ชื่อที่มีความหมายอยู่แล้วอย่างเทสล่าที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ แต่เมื่อกดค้นหา คนทำการค้นหาชื่อแบรนด์ที่เป็นบริษัท Teala มากกว่า ผลลัพธ์ของการค้นหาก็จะขึ้นชื่อแบรนด์ของคุณพร้อมกับ กูเกิ้ลไซต์ลิ้งค์ มาให้เลย (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress)
- ทำให้เว็บไซต์ติดอันดับ 1 ในคีย์เวิร์ดที่เป็นชื่อแบรนด์
อย่างที่บอกไปแล้วว่า Organic Sitelink เป็นไซต์ลิงก์ที่พบได้บ่อย และมักจะเป็นไซต์ลิ้งก์ที่ขึ้นเมื่อเราทำการค้นหาชื่อแบรนด์ หากอยากเพิ่มโอกาสในการที่ Google จะทำ Sitelink ประเภทนี้ให้ก็ควรที่จะทำให้เว็บไซต์ติดอันดับในคีย์เวิร์ดที่เป็นชื่อแบรนด์ของคุณ ยก
ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ Apple ที่เป็นเว็บไซต์ขายอุปกรณ์เทคโนโลยี ที่ทำให้ชื่อของแบรนด์ติดหน้า SEO ในอันดับ 1 ทำให้มีโอกาสได้ Sitelinks จาก Google แต่ถ้าหากทำไม่ติดอันดับ คำว่า Apple ในผลลัพธ์อันดับ 1 ก็อาจจะเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับข้อมูลผลไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้เสียโอกาสในการได้ไซต์ลิงก์ของเว็บไซต์ได้
- วาง Sitemap ให้ง่ายต่อการค้นหา
Sitemap คือ แผนผังของเว็บไซต์ที่ช่วยให้ Bot ของ Google เข้าใจโครงสร้างของเว็บไซต์ได้มากขึ้น หากคุณวาง Sitemap ดี ก็จะช่วยทำให้ Google Bot เข้ามาเก็บข้อมูลได้ง่าย รวมถึงตัวผู้ใช้งานเว็บไซต์เองก็สามารถค้นหาข้อมูลเจอได้อย่างรวดเร็วด้วยเช่นเดียวกัน ส่งผลให้อันดับของ SEO ดีขึ้น
และเมื่อส่งผลต่อการจัดอันดับ รวมถึงทำให้ Bot เข้ามาเก็บข้อมูลได้ง่าย ก็จะช่วยทำให้มีโอกาสที่จะเกิดการแสดงผลเป็น Sitelinks ได้มากขึ้น
นอกจากการวาง Sitemap ให้ดีแล้ว ต้องอย่าลืมที่จะทำการส่ง Sitemap ให้กับทาง Google ด้วย โดยวิธีการส่ง Sitemap ทำได้ง่ายๆ ดังนี้
- เข้าไปที่ Google Search Console
- เลือก Property ที่ต้องการ
- ดูแถบเมนูซ้ายมือ คลิกที่คำว่า Sitemap
- ใส่ Sitemap URL ที่ต้องการลงไป
- กด Submit
- สร้าง Internal Links ที่มีคุณภาพ
Internal Links คือ ลิงก์เชื่อมโยงหน้าภายในเว็บไซต์ ซึ่งปกติเราต้องทำกันอยู่แล้ว เพราะนี่คือสิ่งที่ทำให้ Google เห็นถึงความเชื่อมโยงเนื้อหาภายในเว็บไซต์ และยังช่วยทำให้ Google เห็นด้วยว่า หน้าไหนในเว็บไซต์สำคัญ
ช่วยในการจัดอันดับ SEO ด้วย จากการที่ Google รู้ว่าหน้าไหนถูกยกให้เป็นหน้าที่สำคัญมากที่สุด โดยดูว่าหน้าไหนได้รับการทำ Internal Links มาเป็นจำนวนมากนั่นเอง
หากคุณทำการเชื่อมโยง Internal Links ไปยังหน้าสินค้าใดมากๆ Google ก็จะมีแนวโน้มที่จะหยิบเอาหน้านั้นมาทำเป็น Google Sitelinks มากขึ้น
- ระวังการตั้ง Title หรือ Heading ซ้ำกัน
สำหรับใครที่ทำหน้าเว็บไซต์ที่เป็น E-Commerce อาจจะใช้วิธีการตั้งชื่อ Title หรือ Heading แบบสั้นๆ จนบางครั้งก็เขียนให้ซ้ำกัน การทำเช่นนี้อาจส่งผลต่อการทำ SEO ในด้านการ Duplicate Content หรือการจัดอันดับผิดหน้า รวมถึงทำให้ Google สับสน และอาจจะนำหน้าทั้ง 2 หน้าจัดขึ้นไปบน Sitelink ซึ่งจะทำให้เสีย User Experience ไปได้
ทางที่ดีควรตั้งให้แตกต่าง มี Keyword เฉพาะของแต่ละหน้า รวมถึงเขียนให้ดึงดูกมากขึ้น
- ทำ Structure Data
ไม่ว่าจะเป็นการทำ Rich Snippets หรือ Schema ล้วนเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้างช่วยให้ Google และเครื่องมือค้นหาอื่นๆ เข้าใจเว็บไซต์ของคุณได้ดีขึ้น
โดยการระบุว่าส่วนไหนของในแต่ละหน้าเว็บไซต์ควรที่จะนำขึ้นไปทำเป็น Sitelinks (แม้ว่าการใช้ Schema จะไม่รับประกันว่า Google จะแสดงไซต์ลิงก์หรือหยิบเอา Sitelinks ที่คุณระบุเอาไว้มาแนะนำเสมอไป แต่เป็นวิธีที่ดีในการระบุให้ Google เห็นความสำคัญของหน้าต่างๆ อย่างถูกต้อง)
- ชื่อ Anchor text ของ internal link ก็สำคัญ
ตรวจสอบว่า Anchor Text หรือคำที่ใช้ทำ Internal Links เพื่อให้ผู้ใช้งานคลิกที่คำนั้น ๆ แล้วลิงก์ไปยังหน้าต่าง ๆ บนเว็บไซต์ สั้นกระชับ และสื่อความหมายดีพอหรือไม่ ที่สำคัญคำที่เลือกใช้ เกี่ยวข้องกับหน้าเว็บไซต์ที่จะลิงก์ไปมากน้อยแค่ไหน
วิธีสร้าง Homepage sitelinks
- เพื่อให้ Google เข้าใจโครงสร้างและเนื้อหาบนเว็บของเรา สิ่งแรกสุดที่ทุกเว็บไซต์ต้องทำคือ การเชื่อมต่อเว็บเข้ากับ Google search console
- ส่ง Site map เข้าไปที่ Google search console แม้ว่าในระยะหลัง Google ไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับ Site map บนเว็บมากนักก็ตาม
- ปรับแต่งในส่วนของ Home page title ต้องมีคำที่เป็นชื่อเว็บ หรือชื่อ Brand ของเราปรากฏอยู่ด้วย
- อายุของเว็บไซต์ขั้นต่ำ คือ 3-6 เดือนขึ้นไป
- เมนูของเว็บ เขียนด้วยคำที่สั้นๆ เข้าใจง่ายๆ
- เนื้อหาที่เว็บของเราต้องมี มีจำนวนหน้า page/post มากกว่า 10 หน้าขึ้นไป
- หน้าเว็บเพจเหล่านั้น ต้องมีโครงสร้างเนื้อหา on page ที่เป็น SEO ด้วย
- เว็บต้องมีคนเข้ามาชม มาคลิก มาเห็นพอสมควร ช่วงแรกเขียนบทความเสร็จต้องหาที่แสดง เช่น Social media ทุกช่องทางที่เขาให้วางลิงค์เว็บของเรา หรือใช้การยิงโฆษณาผ่าน Facebook เข้ามาช่วย
วิธีสร้าง One-line Sitelinks
Sitelinks ประเภทนี้จะเกิดขึ้นได้กับทั้งหน้าที่เป็น page และ post
- หน้าที่จะเกิด One-line Sitelinks ต้องมีเนื้อหาขนาดยาว คือมีจำนวนข้อความ 1000 คำขึ้นไป
- ปรับโครงสร้างเนื้อหาให้ถูกหลัก On page SEO
- แบ่งเนื้อหาขนาดยาวออกเป็นหัวข้อให้ชัดเจน เพื่อให้คนอ่านเข้าใจเนื้อหาของเราง่ายที่สุด
- ตัวที่เป็นหัวข้อหลัก ในบทความให้ใช้ฟอนต์ขนาด H2 เท่านั้น
- ด้านล่างของย่อหน้าแรกของบทความ จงสร้างสารบัญเนื้อหา (table cotent) แต่ให้ทำเป็นลิงค์เชื่อมโยงเมื่อคลิกแต่ละหัวข้อ แล้วจะวิ่งไปหา เนื้อหาตามหัวข้อหลักที่เราตั้งเอาไว้ ตรงจุดนี้เราจะใช้ปลั๊กอิน Easy Table of Contents (แต่หาก page builder ที่เราใช้มีฟังชั่น Page scroll to อยู่แล้ว ก็ให้ใช้ตัวที่มากับ builder ได้เลย
ประโยชน์ของการทำ Sitelinks เว็บไซต์
Google Sitelink สร้างประโยชน์ให้กับผู้ที่ทำเว็บไซต์ในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น
1. ในด้านของผู้ใช้งาน Google และเว็บไซต์
ในฝั่งของ User ที่ใช้งาน Google เพื่อทำการค้นหาสิ่งที่ต้องการแล้วเจอกับเว็บไซต์ที่มี Google Sitelinks ก็จะช่วยทำให้เห็นว่าเว็บไซต์นี้เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร มีหน้าเว็บไซต์ไหนที่ตรงกับสิ่งที่พวกเขาหาเพิ่มเติมอยู่หรือเปล่า และสามารถทำการกดค้นหาหรือเลือกคลิกลิงก์ที่สนใจโดยไม่จำเป็นที่จะต้องเข้าไปเริ่มต้นที่หน้า Home หรือหน้าอื่นๆ ที่ไม่ต้องการได้เลย
ยกตัวอย่างเช่น เราทำการกดค้นหาแบรนด์ Tesla เพราะสนใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เมื่อกดค้นหาก็จะเจอกับเว็บไซต์ของ Tesla และยังเห็นด้วยว่า Tesla มี Sitelink ในส่วนของการรุ่น Model รถต่างๆให้เลือกเป็นลิงก์ย่อยไปยังหน้าต่างๆ ที่คนนิยมเข้าบ่อยๆ ของเว็บไซต์ปรากฎขึ้นมาด้านล่าง เราก็สามารถคลิกเข้าหน้าสินค้าที่ต้องการได้เลย โดยไม่ต้องไปเริ่มเข้าตั้งแต่หน้า Home นั่นเอง
2. ในด้านเจ้าของเว็บไซต์
ด้านเจ้าของเว็บไซต์ก็ได้ประโยชน์จากการมี Google Sitelinks ด้วยเหมือนกันนะ โดยประโยชน์นั้นมีหลายด้านด้วยกันเลย คือ
- เพิ่มยอด Click-Through Rate (CTR)
จากสถิติต่างๆจะเห็นว่าเมื่อเว็บไซต์มีการทำ Google Sitelinks แล้วจะช่วยทำให้ยอด Click-Through Rate (CTR) เพิ่มสูงมากขึ้นได้ เนื่องจากการทำไซต์ลิงก์ช่วยทำให้ผู้ใช้งานสะดวกในการเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องเข้าใช้งานเว็บไซต์ผ่านหน้าหลักเพียงอย่างเดียว
ส่งผลให้เกิดอัตราการคลิกที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในฝั่งของการทำ Google Ads เองก็สามารถใช้ประโยชน์ในการทำ Sitelink เพื่อช่วยให้ยอด Traffic จากการยิงแอดดีขึ้นได้
- สร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์
การที่เว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งจะได้ Sitelink มาครอบครอง (ยกเว้นการยิงแอดที่เราสามารถควบคุมการขึ้นของ Sitelink) แสดงว่า Google จะต้องรู้สึกว่าเว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพมากพอที่ผู้ใช้งาน Google จะสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องได้จากไซต์ลิงก์ที่มอบให้
ดังนั้น เว็บไซต์ไหนที่ไม่มีคุณภาพก็ยากที่จะมี Sitelink เกิดขึ้น เว็บไซต์ที่มีไซต์ลิงก์ปรากฏจึงดูมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
- เพิ่มการรับรู้ให้กับแบรนด์และสินค้าของแบรนด์
Google Sitelink มักจะเป็นการลิงก์ไปยังหน้าสำคัญๆ ของเว็บไซต์ เช่น หน้าสินค้า หน้าบทความ หน้าเกี่ยวกับบริษัท หน้าราคาสินค้าและบริการ ฯลฯ ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ให้กับลูกค้าได้อีกวิธี และทำให้ลูกค้ามุ่งเข้าสู่หน้าต่างๆ ได้ทันทีหลังจากที่รู้สึกว่าเว็บไซต์นี้มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากพอ
- ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการได้รวดเร็วขึ้น
สำหรับบางเว็บไซต์ที่มีจำนวนหน้ามากๆ การค้นหาหน้าเพจที่ต้องการอาจจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ E-Commerce อย่าง Shoppee, Lazada ที่มีจำนวนหน้าสินค้าค่อนข้างมาก กว่าที่ผู้ใช้งานจะเข้าไปยังหน้าสินค้าที่ต้องการอาจจะต้องทำการค้นหาหรือคลิกเข้าสู่หน้าเว็บไซต์หลาย Step กว่าจะเข้าไปถึงหน้านั้นๆ ได้
การใช้ Google Sitelinks เพื่อช่วยในการค้นหาต้องแต่หน้าแรกก็จะช่วยทำให้ผู้ใช้งานค้นหาหน้าเพจที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น รวมถึงทำให้รู้ด้วยว่า หน้าไหนคือสินค้ายอดนิยม เพราะหน้าสินค้าที่นิยมจะโผล่ขึ้นมาบน Sitelink ให้เห็นด้วย
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้าน User Experience
Google ให้ความสำคัญสำหรับเรื่องประสบการณ์การใช้งาน (User Experience) เป็นอย่างมาก และ Sitelinks เองก็มีส่วนช่วยทำให้การใช้งานดีขึ้นได้ จากการเป็นเหมือนลิงก์นำทางให้กับผู้ใช้งาน Google ค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ที่มี Sitelink เป็นหน้าแสดงเป็นหน้าที่คนนิยมใช้บนเว็บไซต์สามารถเห็นและกดคลิ๊กเข้าไปดูได้ทันที แต่ถ้าเข้าใช้งานจากหน้าเว็บไซต์โดยตรงจะไม่ได้เห็นเหมือนแท็บเมนูที่ปรากฎที่ sitelink แต่จะต้องกดเข้าไปยังเมนูหลายชั้น ซึ่งทำให้ประสบการณ์ใช้งานดูยุ่งยาก การมี Google Sitelinks ก็ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าสู่หน้าที่ต้องการได้เร็วขึ้น
สรุป
สรุปแล้ว Google Sitelinks คือฟีเจอร์หนึ่งของ Google ที่ช่วยทำให้เว็บไซต์มีโอกาสเพิ่มยอดคลิก ยอด CTR เพิ่มการรับรู้แบรนด์ไปจนถึงปรับปรุงประสบการณ์ใช้งานเว็บไซต์ของ User ได้ดีขึ้นจากผลลัพธ์การค้นหาที่ดึงเอาลิงก์สำคัญของหน้าเว็บไซต์ขึ้นมาแสดงตั้งแต่ Search Result
นอกจากนี้ ในด้านการทำ SEO เอง Google Sitelinks ก็ยังมีประโยชน์ในการเพิ่มยอดการมองเห็นให้กับเว็บไซต์ในหน้าอื่นๆ ที่นอกเหนือจากหน้าหลักได้ พร้อมช่วยระบุให้ Google รู้ได้ว่าเว็บไซต์นี้เป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ จึงช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลและยอดคลิกที่มากขึ้นได้
แต่ก็อย่างที่รู้กันว่า Google Sitelinks อาจจะไม่ใช่สิ่งที่เราสามารถควบคุมได้เนื่องจาก Google จะเป็นคนคัดเลือกเว็บไซต์ขึ้นมาแสดงผลเอง (ยกเว้นในฝั่งของการทำ Google Ads ที่สามารถเขียน Google Sitelinks Extensions ได้ด้วยตัวเองเลย) ก็อาจจะโฟกัสไปที่การทำเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และทำให้ติดอันดับดีๆ ก็จะช่วยทำให้มี Google Sitelinks แบบ Organic เพิ่มขึ้นได้อย่างที่ต้องการ