ความสำคัญในการทำ site structure เพื่อผลดีต่อ SEO เป็นเรื่องที่ควรวางแผนก่อนสร้างเว็บ การส่งsitemapให้อัลกอริทึมกูเกิ้ลเข้าใจดีต่อการแสดงผล เรียกได้ว่าเป็นการจัดระเบียบเว็บไซต์ให้รู้ว่าเว็บนั้นๆมีเนื้อหาหลักอะไรบ้าง ยิ่งบอตของ Google เข้าใจโครงสร้างเว็บไซต์ของเราได้รวดเร็วเท่าไหร่ ยิ่งแสดงว่าผู้ใช้งานใช้งานง่ายขึ้นเท่านั้น วิธีการออกแบบ site structure ที่เข้าใจง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน จะวัดได้ว่าเว็บไซต์เราสามารถอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานได้มากน้อยแค่ไหน click เข้ามาหน้าหนึ่งๆแล้วจะคลิกสู่หน้าอื่นๆ ได้อย่างไรบ้าง ซึ่งบทความนี้รวบรวมรูปแบบ site structure และวิธีออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ มาให้ท่านครบ จบที่เดียว (สนใจกด >> รับทำ SEO)
Site structure คืออะไร
site structure หรือ โครงสร้างเว็บไซต์ คือ โครงสร้างเว็บไซต์ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยทำให้เว็บไซต์ของคุณมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น สามารถมองเห็นเป็นแผนผังของลิงก์ต่างๆ ภายในเว็บไซต์ เพื่อให้อัลกอริทึมของ Google สามารถเข้าใจได้มากยิ่งขึ้นและส่งให้ต่อการจัดอันดับ SEO
โครงสร้างเว็บไซต์ คือ แผนผังหรือแผนที่ของเว็บไซต์ซึ่งแสดงข้อมูล 2 เรื่อง ดังนี้
- เรื่องอะไร : บอกว่า แต่ละเว็บเพจเสนอ เนื้อหา หัวข้อ หรือประเด็นอะไร ส่วนที่แสดงเนื้อหาของแต่ละหัวข้อและประเด็นต่างๆ บนเว็บไซต์
- เชื่อมโยงอย่างไร : ส่วนที่แสดงถึงการเชื่อมโยงของเว็บไซต์ว่ามีระบบอย่างไร(Link) เพื่อให้เห็นภาพว่าเมื่อผู้ชมเว็บไซต์ดูข้อมูลอยู่ที่เว็บเพจหนึ่ง แล้วจะเดินทางไปสู่หน้าเพจหน้าไหนต่อได้บ้าง
Sitemap เป็น โครงสร้างข้อมูลของเว็บไซต์ของคุณ ที่บอกว่าหน้าไหน อยู่ในส่วนไหน และมีหน้าไหน เชื่อมต่อกันออกไปอีกบ้าง โดยการออกแบบ sitemap นี้ไม่ควรมีความลึกที่มากเกินไป เกินกว่า 3 ชั้น ถ้าลึกเกินกว่านั้น ขอให้ลองพิจารณาว่าข้อมูลที่มีนำมาแบ่งเป็นหัวข้อย่อย ๆ อีกได้ไหม และเชื่อมต่อกันในส่วนไหนบ้าง ที่คนอ่านจะสามารถเข้าใจได้อย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยสำคัญซึ่งส่งผลให้การทำเว็บไซต์ประสบความสำเร็จ หากคุณอยากมีเว็บไซต์เพื่อบรรลุเป้าหมายบางอย่าง เช่น ขายของ สื่อสารข้อมูลถึงผู้คน หรือ ต้องการปรากฎบนอันดับต้นๆ ของ Search Engine โครงสร้างเว็บ คือ เรื่องที่ต้องเข้าใจและออกแบบให้ถูกต้อง (สนใจกด >> รับสอน SEO)
Site structure สำคัญยังไง
1. สร้างประสบการณ์ที่ดี
โครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี จะทำให้ผู้เข้าเว็บไซต์หาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างครบถ้วน สะดวกรวดเร็ว พวกเขาย่อมรู้สึกพอใจและได้ประสบการณ์ที่ดีจากการใช้เว็บไซต์
ในต่างประเทศ มีผลวิจัยว่า เว็บไซต์ที่สร้างประสบการณ์ที่ดี จะเพิ่มค่า Conversion Rate 400% เมื่อผู้ใช้เว็บไซต์รู้สึกดี พวกเขาย่อมอยากแนะนำเว็บนี้ให้กับเพื่อน หรืออาจสนใจซื้อสินค้าสักชิ้น ดังนั้น โครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่เพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จของเว็บไซต์
2. บริหารข้อมูลง่าย
โครงสร้างเว็บไซต์ จะช่วยให้ผู้สร้างเว็บทำงานได้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีประโยชน์ดังนี้
- ช่วยให้เห็นภาพว่า ผู้ชมเว็บไซต์จะเดินทางไปเว็บเพจต่างๆอย่างไร จึงจินตนาการได้ว่า พวกเขาจะได้ข้อมูลที่ต้องการอย่างสะดวกหรือไม่
- ทราบว่าแต่ละเว็บเพจมีหัวข้อหลัก หัวข้อย่อยอะไร จึงจัดกลุ่มเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง
- เมื่อขยายเว็บไซต์ ก็ทำง่ายและเป็นระบบ เพราะรู้แล้วเนื้อหาเดิมมีอะไร ควรเชื่อมโยงเนื้อหาใหม่ที่เว็บเพจไหน
3. ดีต่อ SEO
โครงสร้างเว็บไซต์ คือ สิ่งที่ผลต่อผลลัพธ์การทำ SEO เพราะ กระบวนการทำงานของ Search Engine ขั้นตอนแรก คือ การที่ Bot (โปรแกรมเก็บข้อมูล) จะเข้ามา Crawl เว็บไซต์เพื่อสำรวจว่าเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร มีอะไรบ้าง โดยโครงสร้างเว็บไซต์ ก็ทำหน้าที่เหมือนไกด์นำทางให้ Bot เข้าไปชมสิ่งต่างๆ ภายในเว็บไซต์
หากมีโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี Bot เดินสำรวจได้สะดวก เก็บข้อมูลง่าย ก็มีแนวโน้มที่จะได้รับอับดับดีๆ เพราะ Search Engine จะเข้าใจง่ายว่า เว็บไซต์เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร
4. เว็บไซต์มีโอกาสได้รับ Google Sitelinks มากขึ้น
โครงสร้างเว็บไซต์ที่ดีช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับ Google Sitelinks ซึ่งเป็นลิงก์ที่แสดงผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องกับคำที่ค้นหา จะแสดงอยู่ด้านล่าง Title และ Meta Description ของหน้าเว็บไซต์หลักได้มากขึ้น (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)
โดย Sitelink นี้จะช่วยเพิ่มจำนวนการคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ (CTR) ช่วยให้ผู้ใช้งานประหยัดเวลา และค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เป็นการบอกเป็นนัยๆ ว่า เว็บไซต์นี้ได้รับความน่าเชื่อถือจาก Google รวมถึงช่วยสร้าง Brand Awareness ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
5. ช่วยในการวางแผนด้านเนื้อหาบนเว็บไซต์
โครงสร้างเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยทำให้คนทำเว็บไซต์เห็นว่า ในแต่ละหน้าควรที่จะทำเนื้อหาเป็นแบบไหน ควรมีหัวข้ออะไร เพื่อทำการจัดกลุ่มเนื้อหาให้ผู้ใช้งานสามารถได้รับข้อมูลที่ต้องการอย่างสะดวกรวดเร็วที่สุด รวมถึงยังช่วยให้ทำการขยายเว็บไซต์ได้ง่าย เพราะทุกอย่างได้วางเอาไว้เป็นระบบที่สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ง่ายจึงไม่ต้องทำการรื้อเว็บไซต์หรือรื้อเนื้อหาเพื่อทำใหม่ทุกครั้งที่ต้องการขยายเว็บ
โครงสร้างเว็บไซต์(Site structure)มีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง
ทำความรู้จักโครงสร้างเว็บไซต์ 6 รูปแบบ ดังนี้
- Linear Structure โครงสร้างเว็บแบบเส้นตรง
- Hierarchical Structure โครงสร้างเว็บแบบต้นไม้
- Web Linked Structure โครงสร้างเว็บแบบเชื่อมโยงอิสระ
- Hybrid Structure โครงสร้างเว็บแบบผสม
- Database Structure โครงสร้างเว็บไซต์แบบฐานข้อมูล
- Silo Structure โครงสร้างเว็บไซต์แบบไซโล
1. Linear Structure โครงสร้างเว็บแบบเส้นตรง
Linear Structure คือ โครงสร้างเว็บไซต์ที่จะนำเสนอเนื้อหาเป็นลำดับๆ ทีละหัวข้อๆ ซึ่งบ้างเรียกว่า Sequential Structure หรือโครงสร้างแบบตามลำดับ
วิธีการออกแบบจะเริ่มจาก Main Page หรือหน้า Home ซึ่งเป็นหน้าแรกที่เจ้าของเว็บไซต์อยากให้ผู้คนเข้ามาเจอก่อน จากนั้นเมนูหลักของเว็บไซต์ Navigator จะพาไปดูเว็บเพจต่างๆ ไปตามลำดับ (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ E-Commerce)
โครงสร้างเว็บไซต์ประเภทนี้ เหมาะกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอเป็นลำดับขั้น 1-2-3 ไปเรื่อยๆจนจบ เช่น Online Course ที่จะไล่เรียงจากเนื้อหาบทที่ 1, 2, 3 ต่อไปเรื่อยๆ หรือ e-book เป็นต้น
2. Hierarchical Structure โครงสร้างเว็บแบบต้นไม้
Hierarchical Structure คือ โครงสร้างเว็บไซต์ที่นิยมใช้โดยทั่วไป เช่น ถ้าเราสร้างเว็บไซต์โดยเครื่องมือ Web Builder อย่างเช่น สร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress ก็จะได้ Site structure แบบนี้ ทั้งนี้ จากรูปร่างแล้วจะดูเหมือนแผนผังต้นไม้ จึงอาจเรียกว่า Tree Structure ก็ได้
สาเหตุที่โครงสร้างเว็บลักษณะนี้เป็นที่นิยม เพราะมีข้อดี คือ เหมาะสำหรับเว็บไซต์ทั้งขนาดเล็กไม่ถึง 10 หน้า ไปจนเว็บยักษ์ใหญ่อย่าง E-commerce ที่มีหน้าสินค้ามากกว่า 100 หน้า และมักจะจัดการแบ่งหน้าเพจต่างๆ เป็นหมวดหมู่ (Category) ให้เข้าใจง่าย และสำหรับ Google Crawler เองก็มองว่าง่ายและเห็นความสัมพันธ์ของหน้าเพจแต่ละหน้าชัดเจนเช่นกัน
3. Web linked Structure โครงสร้างเว็บแบบเชื่อมโยงอิสระ
Web Linked Structure คือโครงสร้างเว็บไซต์ที่มีหลักการว่า “ทุกเว็บเพจต้องเข้าถึงทุกเว็บเพจได้” โดยเป้าหมายคือ ไม่ว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์จะเข้าเว็บเพจใดเป็นหน้าแรก ต้องสามารถเข้าถึงทุกเว็บเพจบนเว็บไซต์ได้ (สนใจ >> บริการรับทำเว็บไซต์ WordPress)
การออกแบบโครงสร้างเว็บแบบนี้ จึงไม่มีรูปแบบตายตัว เจ้าของเว็บไซต์จะทำเชื่อมต่อแต่ละเพจอย่างไรก็ได้ด้วย Internal link ขอให้เข้าถึงทุกเว็บเพจเป็นใช้ได้
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีขนาดเล็กไม่ถึง 10 เพจ และมุ่งเน้นให้คนเข้าออกกลับไปกลับมาภายในเว็บไซต์ แต่ถ้ามีหน้าเพจมากกว่านี้ก็จะทำให้เว็บไซต์เข้าใจยาก ทั้งในมุมผู้ใช้งานและ Google เองก็อาจจะไม่เข้าใจว่าเว็บไซต์จริงๆ แล้วเกี่ยวกับอะไร
4. Hybrid Structure โครงสร้างเว็บแบบผสม
โครงสร้างเว็บไซต์รูปแบบสุดท้าย คือ Hybrid Structure หรือรูปแบบผสม(จะเป็นการผสมระหว่างแบบ Hierarchical และ Linear) ซึ่งโดยมากจะยึดโครงสร้างแบบต้นไม้ (Hierarchical Structure) เป็นโครงสร้างหลัก และจะเชื่อมโยงเว็บเพจหน้าต่างๆ ด้วยรูปแบบโครงสร้างเว็บไซต์รูปแบบอื่นตามจุดประสงค์
ทั้งนี้จะออกแบบอย่างไร ต้องจำไว้ว่า หน้าเพจที่อยู่สูงกว่ามีโอกาสที่คนจะเข้าถึงได้มากกว่า และหน้าเพจที่ถูกลิงก์ถึงบ่อยๆ ก็มีแนวโน้มว่าจะได้ Traffic มากกว่าเช่นกัน
5. โครงสร้างเว็บไซต์แบบฐานข้อมูล (Database Structure)
โครงสร้างเว็บไซต์รูปแบบนี้จะตรงข้ามกับโครงสร้างแบบต้นไม้ที่เรียงจากบนลงล่าง เพราะโครงสร้างเว็บไซต์แบบฐานข้อมูลจะเรียงจากล่างขึ้นบน เพื่อระบุว่าหัวข้อย่อยแต่ละอันควรจัดอยู่ในหมวดหมู่ใด เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นฐานข้อมูลขององค์กรต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ฐานข้อมูลของธนาคาร เป็นต้น
โดยข้อดีของ Site Structure ประเภทนี้ คือ ผู้ใช้งานและบอตสามารถดึงข้อมูลที่ตนเองต้องการออกมาใช้งานได้ง่าย เพราะมีการจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ
6. โครงสร้างเว็บไซต์แบบไซโล (Silo Structure)
โครงสร้างเว็บไซต์แบบไซโล (Silo SEO Structure) คือ โครงสร้างเว็บไซต์ที่จัดกลุ่ม
เนื้อหาผ่านการทำ Internal Link ไปมาในกลุ่มที่มีเนื้อหาประเภทเดียวกันเท่านั้น เพื่อให้ครอบคลุมเฉพาะกลุ่ม Keywords ที่ต้องการและตรงต่อจุดประสงค์ของการค้นหาในแต่ละหมวดหมู่ได้มากที่สุด
เช่น คุณทำเว็บไซต์ขายของออนไลน์ คุณมีสินค้าหลายรายการ โดยแบ่งเป็นรองเท้า กางเกง และเสื้อ หากคุณทำหน้ารองเท้าสิ่งที่จะเชื่อมโยงไปยังหน้านี้ก็คือ รองเท้าแต่ละรุ่นเท่านั้น จะไม่มีการนำกางเกงยี่ห้ออื่นๆ มาเชื่อมโยงเข้ากับหน้ารองเท้าเด็ดขาด เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้ใช้งานง่าย และประโยชน์สำหรับการทำอันดับเฉพาะคีย์เวิร์ดใดคีย์เวิร์ดหนึ่งด้วย
การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์
การออกแบบโครงสร้างเว็บไชต์ คือ การกำหนดหัวข้อและเนื้อหาที่จะนำเสนอบนเว็บเพจ จากนั้นจึงร่างแผนผังการเชื่อมโยงแต่ละเว็บเพจเข้าด้วยกัน
โดยเป้าหมายของการออกแบบ คือ สร้างโครงสร้างเว็บที่ช่วยให้ผู้ชมหาข้อมูลที่ต้องการง่าย จัดกลุ่มเนื้อหาอย่างเป็นระเบียบ ทำให้ผู้ชมเว็บไซต์ได้รับประสบการ์ณเชิงบวก และส่งผลดีต่อ SEO ด้วย
ขั้นตอนการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์
ขั้นตอนออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์(เบื้องต้น) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
1. ระบุเป้าหมาย
ขั้นตอนแรกคือ คุณต้อง ระบุเป้าหมาย อะไรคือสิ่งที่คุณต้องการจากการทำเว็บไซต์
โดยทั่วไป เป้าหมายเว็บไซต์ มักเป็นหนึ่งในสามสิ่ง ดังนี้
- ขายสินค้า/บริการ
- สื่อสาร “บางสิ่ง” แก่กลุ่มเป้าหมาย
- เล่าเรื่องราว/ประสบการณ์ (blog)
เป้าหมายช่วยให้ระบุ “หัวข้อ/ประเด็น” เนื้อหาเว็บไซต์ได้ถูกต้อง รู้ “ขอบเขตข้อมูลที่ต้องค้นหา” เช่น สินค้าอะไร จุดเด่นจุดด้อยอย่างไร เรื่องราวแบบไหนที่ต้องการเล่า โดยไม่หลงทางไปกับสิ่งซึ่งไม่สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้
2. รู้จักผู้เข้าเว็บไซต์
ขั้นตอนสอง คือ รู้จักผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยข้อมูลพื้นฐานที่เราต้องทราบคือ
- ผู้เข้าชมหรือกลุ่มเป้าหมายคือใคร
- ปัญหาหรือความต้องการของพวกเขาคืออะไร
- ทำไมเขาถึงต้องการสินค้าหรือข้อมูลบางอย่างจากเว็บไซต์เรา
- สินค้าหรือบริการอื่นที่พวกเขาใช้อยู่ มีอะไรบ้าง
ข้อมูลทั้งหมดข้างต้น จะทำให้เรากำหนด “รายละเอียดเนื้อหา” ของแต่ละเว็บเพจได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น เมื่อเรารู้ว่า ปัญหาของกลุ่มเป้าหมายคืออะไร เราก็นำเสนอข้อมูลว่า สินค้าเราแก้ปัญหาพวกเขาได้อย่างไร ดีกว่าผู้ให้บริการรายอื่นยังไงบ้าง
เมื่อคุณรู้จักผู้เข้าชม และ ระบุเป้าหมายของเว็บไชต์แล้ว คุณจะกำหนดได้ว่า แต่ละเว็บเพจ มีหัวข้ออะไร มีเนื้อหาอย่างไรบ้าง
3. ค้นหาข้อมูลจากคู่แข่ง
การออกแบบ Site Structure อีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การศึกษาข้อมูลจากคู่แข่งหรือเว็บไซต์อื่น ๆ เพื่อมาเป็นแนวทางและปรับพัฒนาเว็บไซต์ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
หากไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์อย่างไร ให้ลองดูว่าคู่แข่งของคุณทำการจัดระเบียบข้อมูลบนเว็บไซต์อย่างไร มีกี่ส่วน และเชื่อมโยงกันอย่างไร โดยเน้นไปยังเว็บไซต์คู่แข่งสัก 4-5 เจ้าที่ทำอันดับบนหน้า Google ได้ดี ก็จะช่วยให้ได้ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่ Google ชอบมาไว้เป็นต้นแบบในการออกแบบด้วย หลังจากนั้นก็อาจจะหยิบเอาส่วนที่ใช้ได้มาลองปรับปรุงเป็น Site Structure ของคุณเอง
4. หาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง
การหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องมีส่วนช่วยในการทำให้เว็บไซต์ติดอันดับบนหน้า Google โดยเริ่มแรกอาจจะต้องทำการหาคีย์เวิร์ดโดยรวม ก่อนจะแยกประเภท แบ่งกลุ่ม และวางแผนสำหรับการใส่คีย์เวิร์ดในแต่ละหน้าเว็บไซต์
สำหรับหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการทำให้ติดอันดับด้วย SEO ให้ทำการรวบรวม Keyword ที่เกี่ยวข้องและแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ดูว่าคีย์เวิร์ดไหนเหมาะที่จะนำมาใช้งานได้บ้าง โดยการทำ Keyword Research หลังจากนั้น จึงค่อยนำมาวางแผนว่า หน้าแต่ละหน้าของเว็บไซต์จะใช้คีย์เวิร์ดอะไรบ้าง
5. จัดหมวดหมู่ทุกหน้า
ทำการจัดหมวดหมู่ (Category) ของหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้าว่าอะไรคือหน้าหลัก อะไรคือหน้าย่อย แต่ละหน้าจะมีหัวข้อและเนื้อหาอย่างไรบ้าง และมีการเชื่อมโยงกันอย่างไร รวมถึงจะมีทั้งหมดกี่หน้าด้วย โดยมีหลักการในการจัดหมวดหมู่ ดังนี้
- ไม่ว่าโครงสร้างของคุณจะซับซ้อนแค่ไหน ก็ควรที่จะตรวจสอบให้แน่ใจว่าแต่ละหน้าสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยไม่เกิน 3 คลิกจากที่ใดก็ได้บนเว็บไซต์
- อย่าวางแผนหมวดหมู่ของ Site Structure ตาม Search Volume ของคีย์เวิร์ดเท่านั้น เพราะคำที่มี Search Volume มากก็มีคู่แข่งสูง แต่อาจจะเลือกใช้ Long-Tail Keyword เพื่อทำให้หน้านั้นๆ มีโอกาสในการติดอันดับมากขึ้น
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเว็บไซต์จะสามารถเพิ่มหมวดหมู่หลักและหมวดหมู่ย่อยใหม่ได้โดยไม่ต้องทำโครงสร้างใหม่ทั้งหมด
6. ทำให้ URL มีโครงสร้างที่ชัดเจน
หลังจากที่คุณสร้าง Wireframe ของเว็บไซต์ทั้งหมดแล้ว ให้ทำการวางโครงสร้าง URL ที่เรียบง่ายและเป็นมิตรตามลำดับของหน้าแต่ละหน้าให้ชัดเจน ดังนี้
- ใช้คำที่อ่านง่ายและทำให้ URL สั้นที่สุด
- ใช้คำ Keyword ที่เกี่ยวข้องใน URL แต่หลีกเลี่ยงการยัดเยียดที่มากจนเกินไป
- ใช้ยัติภังค์ (-) แทนเครื่องหมายขีดล่าง (_)
- สำหรับไซต์หลายภาษา ให้เพิ่มแอตทริบิวต์ hreflang พร้อมตัวบ่งชี้ภาษาในแต่ละ URL
7. เชื่อมโยงเว็บเพจ
ขั้นตอนต่อไป คือ ร่างแผนผังการเชื่อมโยงแต่ละเว็บเพจ หรือที่เรียกว่า Internal link
แผนผังการเชื่อมโยง จะทำให้เห็นภาพว่า ผู้เข้าชมเว็บไซต์จะเดินทางไปดูข้อมูลภายในเว็บไซต์ได้อย่างไร เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้รวดเร็วหรือไม่
โดยหลักการออกแบบ Internal link เบื้องต้น มีดังนี้
a. เข้าถึงง่าย
หลักการออกแบบเว็บไซต์ที่สำคัญ คือ ควรออกแบบให้ผู้เข้าเว็บไซต์ เข้าเว็บเพจสำคัญได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
โดย เว็บเพจสำคัญ คือ เว็บเพจที่ทำให้คุณบรรลุเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น หากเป็นเว็บไซต์ e-commerce เว็บเพจสำคัญ คือ หน้าสินค้าขายดี หรือ สินค้าเรือธงรุ่นใหม่ ที่อยากนำเสนอเป็นพิเศษ
เมื่อเข้าถึงสะดวก ปริมาณผู้เข้าเว็บเพจสำคัญจะเพิ่มขึ้น โอกาสที่คุณจะบรรลุเป้าหมายย่อมสูงขึ้นตาม
แล้วทำยังไง ?? คำตอบคือ จากหน้าแรกของเว็บไซต์ (Homepage) ให้เชื่อมโยงตรงไปยังเว็บเพจสำคัญ โดยผ่านเว็บเพจอื่นๆให้น้อยที่สุด เพราะจากสถิติ Homepage มักเป็นหนึ่งในหน้าที่มีปริมาณคนเข้าชมมากที่สุด การเชื่อมโยงตรงจาก Homepage จึงทำให้ผู้ชมเว็บไซต์ส่วนใหญ่เข้าถึงเว็บเพจสำคัญได้อย่างรวดเร็ว
b. จัดกลุ่มเนื้อหา
ควรแบ่งกลุ่มเนื้อหาเป็นหมวดหมู่ แล้วเชื่อมโยงเนื้อหาในหมวดหมู่เดียวกันเข้าด้วยกัน หรือที่เรียกว่า การจัดทำ “Category”
Category จะช่วยให้ผู้เข้าเว็บไซต์ทราบว่า เว็บไซต์มีเนื้อหาอะไรและเข้าถึงข้อมูลในหมวดหมู่นั้นได้ง่าย
ลองคิดดูสิว่า ถ้าเว็บไซต์ขายสินค้าอย่าง E-commerce ที่มีสินค้ามากกว่า 1,000 ชิ้น ไม่มีการจัดหมวดหมู่ ผุ้เข้าเว็บไซต์จะท้อใจแค่ไหนเวลาค้นหาสิ่งที่ต้องการ
นอกจากนั้น การสร้าง Category ยังดีต่อการทำ SEO ด้วย เพราะมันเปรียบเหมือน “เส้นทางหลัก” ที่ช่วยให้ Search Engine เข้าไปเก็บข้อมูลตามเว็บเพจต่างๆได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ทำให้ Search Engine เข้าใจได้ง่ายว่า เว็บไซต์เราเกี่ยวข้องกับอะไร
8. สร้าง Navigation บนเว็บไซต์ที่เข้าใจง่าย
Navigation บนเว็บไซต์นั้นเป็นได้ทั้ง Menu Bar, Footer, Breadcrumbs, Header, ฟิลเตอร์ที่ใช้สำหรับการค้นหา ไปจนถึง Tag ต่างๆ ซึ่งเว็บไซต์ควรออกแบบมาให้ใช้งานง่าย เรียงลำดับหัวข้อจากใหญ่ไปเล็กให้เห็นอย่างชัดเจน
9. สร้าง Sitemap
Sitemap คือ แผนผังเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เหมือนเป็นสารบัญของเว็บไซต์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ HTML Sitemap และ XML Sitemap ซึ่งประโยชน์และวิธีการทำ Sitemap
10. ทดสอบเว็บไซต์
ทำการประเมินโครงสร้างเว็บไซต์ด้วยการมองจากมุมมองของผู้ใช้ก่อนที่จะทำการเผยแพร่จริง เพื่อดูว่า โครงสร้างและเนื้อหาต่างๆ ที่วางเอาไว้ทำงานตามจุดประสงค์ในการค้นหา และนำทางไปยังหน้าต่างๆ ตามที่ต้องการหรือเปล่า
หรือมีจุดไหนที่ทำให้สับสนและต้องแก้ไขเพิ่มเติมบ้าง และถ้าหากเผยแพร่เว็บไซต์ไปแล้วก็ยังสามารถทำการ Tracking เพื่อดูว่า เว็บไซต์ใช้งานได้ดีหรือไม่ด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น Hotjar ที่จะช่วยดูว่า รูปแบบการใช้งานของ User เป็นอย่างไร เขาคลิกตรงไหนบ้าง เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้หาจุดที่จะต้องปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ต่อไปในอนาคต
สรุป
โครงสร้างเว็บไซต์ หรือ Site Structure คือ ปัจจัยสำคัญสำหรับการทำเว็บไซต์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานและ Search Engine แต่ก็มักจะเป็นขั้นตอนที่หลายคนมองข้าม เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องยุ่งยากที่จะต้องมานั่งวางแผนเอาไว้ล่วงหน้าก่อน แต่ว่า นี่เป็นกระบวนการที่ลงแรงทีเดียวแต่จะได้ผลลัพธ์ที่ดีตามมาในภายหลังอย่างแน่นอน เพราะการรื้อเว็บไซต์เพื่อปรับปรุงโครงสร้างใหม่ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายเลย
ดังนั้น ทางที่ดีที่สุด คุณควรที่จะไล่เรียง Site Structure ให้ครบและถูกหลักก็จะเป็นตัวช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับของกูเกิลได้ง่ายขึ้นอีกเยอะเลย
การวางโครงสร้างเว็บไซต์ส่งผลต่อการทำ SEO อย่างไรบ้าง
- โครงสร้างการสร้างเว็บไซต์ที่ดี ทำให้เว็บไซต์เป็นมิตรกับ Search Engine
- การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ที่ดี ช่วยเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ของคุณติดหน้าแรก Google ได้ง่ายขึ้น
- การวางโครงสร้างเว็บไซต์ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจภาพรวมของเว็บไซต์ และทำให้เว็บไซต์เป็นมิตรกับผู้ใช้งานมากขึ้น
- การวางโครงสร้างหน้าเว็บไซต์ในแต่ละเพจให้ดีช่วยให้ Google Bot เข้ามาเก็บข้อมูลได้ง่ายขึ้น
การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ก่อนลงมือสร้างเว็บไซต์จริง ๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม การวางโครงสร้างเว็บไซต์ก็เป็นเหมือนการวางแผนผังให้กับเว็บไซต์นั่นเอง หากทำไม่ดีแต่แรกจะทำให้ User ไม่เข้าใจในตัวของเว็บไซต์ ยิ่งถ้าเป็นเว็บไซต์ที่ทำ SEO ด้วยแล้วก็จะส่งผลกระทบกับการทำอันดับด้วยเช่นกัน เพราะ Google Bot จะไม่เข้าใจ Sitemap ของเว็บไซต์นั่นเอง