ประโยชน์ที่ควรรู้ของ Google search console (GSC) สำหรับนักการตลาดSEO ผู้ดูแลเว็บไซต์ ผู้พัฒนาเว็บไซต์ GSCใช้เพื่อพัฒนาปรับปรุงkeywordในแต่ละpageกับpost วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เช่น ผู้ชมเข้าหน้าไหนมากเท่าไหร่ clickเข้ามาดูกี่คน แสดงผลกี่ครั้งในแต่ละวัน แสดงผลในอุปกรณ์ใด เวลาใด ประเทศไหน แก้ไขปัญหาความผิดพลาดในแต่ละหน้าของwebsiteพร้อมเหตุผล อีกทั้งช่วยINDEXเก็บข้อมูลยืนยันpageและpostต่างๆ
Google search console คืออะไร
Google Search Console คือ เครื่องมือที่ใช้ในการดูแล และสังเกตการณ์ประสิทธิภาพ การทำงานของเว็บไซต์ ซึ่งเราสามารถวิเคราะห์และปรับใช้ เพื่อคุณภาพของเว็บไซต์ที่ดีมากขึ้น (สนใจกด >> รับทำเว็บไซต์ รับออกแบบเว็บไซต์)
นักการตลาดSEOมักใช้ Google Search Console (GSC) เพื่อการวางกลยุทธ์ Search Engine Optimization ดันให้เว็บไซต์ของเรามี Traffic(จำนวนการเข้าชม)ที่สูงขึ้น โดยตัวอย่างของข้อมูลที่เราสามารถวิเคราะห์ได้ด้วย Search Console เช่น การรองรับโทรศัพท์มือถือ คีย์เวิร์ดที่ใช้ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์และอื่นๆ
ทำไมต้องใช้ Google Search Console
- เหตุผลแรกเลย คือ เราสามารถใช้เครื่องมือ Google Search Console ได้แบบฟรีๆ ซึ่งข้อจำกัดของมัน ก็เพียงแค่เราต้องมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองเท่านั้น
- เหตุผที่สองคือเครื่องมือ Google Search Console สามารถใช้งานได้ง่าย ด้วยรูปแบบการทำงานที่ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งอะไร ก็สามารถใช้ได้โดยไม่ต้องศึกษามากนัก
- เหตุผลสุดท้ายคือ ฟีเจอร์ของ Google Search เองที่สามารถทำได้หลากหลาย อย่าง ซึ่งสำหรับใครที่มีเว็บไซต์ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะพลาดการใช้เครื่องมือตัวนี้
ประโยชน์ของ Google search console
ประโยชน์ของ Google Search Console ก็มีทั้งสิ้น 6 ข้อหลัก ๆ ด้วยกัน
- ดูว่ากูเกิ้ลมาเก็บข้อมูลเว็บไซต์ของเราหรือยัง คะแนนคุณภาพ core vital web เป็นอย่างไรบ้าง
- ใช้ในการแก้ไขปัญหาการให้คะแนน และการค้นหาเว็บไซต์โดยGoogle ซึ่งในบางครั้งคอนเทนต์ใหม่ของเราGoogleอาจจะหาไม่เจอ แต่เราสามารถใช้เครื่องมือนี้เรียกให้ Google เข้ามาค้นหาใหม่ได้
- สามารถดูข้อมูลการแสดงผลบนหน้าการค้นหาของเว็บไซต์ของเรา เช่น แสดงขึ้นมาบนหน้าการค้นหาบ่อยแค่ไหน คนกดเข้ามาดูด้วยคีย์เวิร์ดอะไรกี่ครั้ง อันดับของแต่ละkeywordเป็นอย่างไรบ้าง
- รู้ว่าเกิดปัญหาอะไรกับเว็บไซต์(ปัญหาของ Google ในเชิงเทคนิค)
- แสดง internal link , External link , Backlinks ว่าแต่ละหน้าของwebsiteกี่ลิ้งค์ที่เข้ามาเชื่อมต่อ
- แจ้งข้อผิดพลาดอื่นๆของเว็บไซต์ที่เราควรแก้ไข เช่น ข้อผิดพลาดในการรองรับสมาร์ทโฟน ความเร็วของwebsite โดยคะแนนต่างๆมีผลกับการทำ Search Engine Optimization ทั้งสิ้น
Google Search Console เหมาะกับใคร
Google ได้ทำการระบุไว้ บุคคลที่เหมาะสมจะนำ Search Console ไปใช้ ซึ่งมีทั้งหมด 4 กลุ่มด้วยกันได้แก่ (สนใจกด >> รับทำเว็บไซต์ wordpress)
เจ้าของธุรกิจ : ถึงแม้อาจจะไม่ได้ใช้โดยตรง แต่เจ้าของธุรกิจทุกคนที่มีเว็บไซต์ ก็จำเป็นที่จะต้องรู้จัก และ มีการบอกลูกทีมให้ใช้เครื่องมือ Google Search ตัวนี้ และควรเข้าใจฟีเจอร์พื้นฐานเพื่อทำให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
นักการตลาด หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO : เครื่องมือ Google Search Console จะทำให้นักการตลาด และ ผู้ทำ SEO รู้ว่าปัจจุบันเว็บไซต์มีคุณภาพแค่ไหน และต้องแก้ไขอะไรบ้าง ซึ่งนอกจากนี้ยังรวมทั้งข้อมูลต่างๆ ที่เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และ ใช้เป็นแนวทางในการทำการตลาดทั้งคอนเทนต์ หรือ ยิงโฆษณาได้
ผู้ดูแล ผู้จัดการเว็บไซต์ : หนึ่งในข้อมูลที่ Search Console สามารถแสดงผลออกมาให้เราเห็น คือ การทำงานของเว็บไซต์ ว่ามีคุณภาพมากแค่ไหน และ มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นหรือเปล่า เพื่อทำให้เราสามารถเข้าไปแก้ไขได้ทัน
ผู้พัฒนาเว็บไซต์ : คล้ายกันกับผู้ดูแล ที่ Google Search จะช่วยบอกข้อผิดพลาดต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงสร้างของเว็บไซต์ ทำให้ผู้พัฒนาสามารถรู้ได้ และเข้าไปแก้ไขทัน
ชุดข้อมูลที่ Google Search Console แสดงผล
ข้อมูลด้าน Performance
Performance คือ รายงานประสิทธิภาพในการเข้าชมเว็บไซต์แบบ Organic Search ซึ่งรายงานนี้จะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์วางแผนการทำ SEO ในคีย์เวิร์ดต่างๆ ได้ดีมากขึ้น และยังช่วยให้เราสามารถเช็กอันดับคีย์เวิร์ดที่ยังไม่ติดในหน้าแรก เพื่อให้เราสามารถปรับปรุงแก้ไขการทำ SEO ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Google Search จะแสดงชุดข้อมูล Performance ทั้งหมดที่มาจาก Organic Search หรือจากช่องทาง SEO เราจะสามารถดูได้หลากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการ Click, Impression, CTR, หรือ Average Position เป็นต้น
ข้อมูลด้าน Coverage
Coverage คือ ส่วนที่ใช้ในการตรวจปัญหาภายในเว็บไซต์ ในเรื่องของ URL ซึ่งหากเราต้องการดูว่า URL ไหนในเว็บไซต์ของเรามีปัญหา โดยปัญหาที่พบบ่อยๆจะมีดังนี้
- Server Error = เป็นปัญหามาจากฝั่งของผู้ให้บริการเซิร์ฟเวอร์เว็บไซต์ หากเรามีการเช่าโฮสต์หรือ เซิร์ฟเวอร์จากที่อื่น ก็ให้แจ้งปัญหานี้กับทางผู้ให้บริการ
- Page Not Found = ปัญหาที่เกิดจากหน้าเว็บบางหน้าหายไป ซึ่งอาจจะมาจากการลบหน้าเพจ การเปลี่ยน URL เว็บไซต์ จึงทำให้ Googlebot ที่เข้าไปเก็บข้อมูลนั้นหาหน้าดังกล่าวไม่เจอ จึงประมวลผลออกมาเป็น Error
ในส่วน Coverage Report นั้นจะรวมไปด้วยหน้าเว็บไซต์ที่ Google ได้ทำการ Crawl หรือทางเราได้ Submit ให้ Google ได้ทำการ Index พร้อมกับหน้าที่เรา Block ด้วย Robot.txt, Redirect, Noindex tag, 404 not found, ปัญหา Canonical, หน้าที่ไม่มีปัญหา และ หน้าที่เกิดการ Duplicate ของเนื้อหาบนเว็บไซต์เรา (สนใจกด >> รับทำเว็บไซต์ E-Commerce)
ข้อมูลด้าน Experience
Core Web Vitals
โดย Core Vital Web เป็นเมตริกที่ทางกูเกิ้ลนำมาใช้วัดPage Experience ว่าwebsiteนี้เป็นมิตรกับผู้ใช้งานหรือไม่ มี 3 หัวข้อ คือ
1. Largest Contentful Paint (LCP)
Largest Contentful Paint (LCP) คือ คะแนนวัดค่าความเร็วในการดาวน์โหลดหน้าเว็บไซต์ โดยวัดจากการดาวน์โหลดคอนเทนต์ที่ใหญ่ที่สุดในหน้าเพจนั้น เช่น รูปภาพ วิดีโอ Pop-up หรือแบนเนอร์ ว่าใช้เวลาในการแสดงผลนานแค่ไหน ซึ่งค่า LCP จะนับจากองค์ประกอบแต่ละส่วน ไม่ใช่ทั้งเว็บไซต์ เนื่องจากองค์ประกอบต่างๆ ในหน้านั้นจะถูกแบ่งการโหลดออกเป็นช่วงๆ
2. First Input Delay (FID)
First Input Delay (FID) คือ การวัดผลความหน่วง ระยะความเร็วในการตอบสนองของเว็บไซต์ เช่น เมื่อทำการคลิกแล้ว เว็บไซต์ตอบสนองเร็วแค่ไหน กระตุกหรือไม่ เวลาเลื่อน Scroll เมาส์แล้วกำลังจะกดปุ่ม แต่ดันกดไปโดนอย่างอื่นแทน รวมถึงการซูมเข้า-ออกมีอาการแปลกๆ หรือเปล่า หากเกิดเหตุการณ์นี้แสดงว่าเว็บไซต์กำลัง Delay ซึ่งมีผลทำให้ประสบการณ์การใช้งานของ User แย่ลงตามไปด้วย ดังนั้น ควรมีค่า FID ในการโหลดโดยใช้ระยะเวลาน้อยกว่า 100 มิลลิวินาที
3. Cumulative Layout Shift (CLS)
Cumulative Layout Shift (CLS) คือ คะแนนที่ใช้ในการประเมินความเสถียรของหน้าเว็บไซต์ เช่น การจัดวาง Layout ข้อความเบี้ยวหรือตัวเล็กอ่านยากเกินไปไม่ ปุ่มเลื่อนอยู่ไปติดกับปุ่มอื่นๆ จนกดพลาดหรือเปล่า หรือเว็บมีการกระตุก ภาพและฟีเจอร์ต่างๆ สั่นหรือไม่ เพราะถ้าหากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นในเว็บไซต์จะทำให้ User ได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ไม่ดี
สามารถตรวจสอบได้ที่ https://pagespeed.web.dev/
Mobile Usability
เป็นเมนูที่ใช้การทดสอบว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นสามารถรองรับการใช้งานบนโทรศัพท์มือถือหรือไม่? หากมีข้อผิดพลาดระบบจะทำการแจ้งเตือนและให้คำแนะนำในการแก้ไข หรือจะใช้เครื่องมือ mobile usability test (https://search.google.com/test/mobile-friendly) ก็ได้เช่นกัน
Core Web Vitals และ Mobile Usability
Core Web Vitals และ Mobile Usability เป็นตัววัดผลประสิทธิภาพในด้านความเร็วของเว็บไซต์ และการใช้งานบนมือถือ (สนใจกด >> สอน woocommerce)
ซึ่งทาง Google ให้ความสำคัญกับสองส่วนนี้มากในการจัดอันดับเว็บไซต์ ดังนั้นหากต้องการให้เว็บไซต์ติดอันดับในหน้าแรกของ Google ก็ควรที่จะทำสองส่วนนี้ให้ดีที่สุด
ข้อมูลอื่นที่ GSC สามารถแสดงได้
นอกจากข้อมูล 3 ชุดหลักๆแล้วนั้นเราสามารถเข้าไปดูสถานการณ์ crawl ในทุกๆวันได้, การยืนข้อมูล sitemap, การถอน URL ออก หรือ URL Removals, ปัญหาด้าน Security Issue, manual actions และ links ต่างๆ
URL Inspection
URL Inspection คือ ส่วนที่ไว้ตรวจสอบสถานะการเก็บข้อมูล (Indexing) ของแต่ละหน้าภายในเว็บไซต์ โดยเมื่อเราจะใส่ URL ของหน้าที่เราต้องการจะตรวจสอบสถานะ แล้วกดที่ “Test Live URL” ที่มุมขวา แล้ว GSC จะทำการตรวจสอบสถานะการใช้งานของ URL ในช่วงเวลานั้นๆให้ ถ้าแสดงผลว่ายังไม่เก็บข้อมูล เราสามารถกดให้กูเกิ้ล บอท มาเก็บข้อมูลได้ทันที
ซึ่งนอกจากจะดูสถานะได้แล้ว ยังสามารถดูได้ด้วยว่า Googlebot ที่เข้ามาเก็บข้อมูลนั้นเห็นหน้าเว็บไซต์เราเป็นอย่างไรได้ โดยการคลิกที่ “View Tested Page” และมีการแจ้งปัญหาไหนที่ควรจะแก้ไขเพิ่ม เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Sitemap
Sitemap เป็นไฟล์ที่เปรียบเสมือนแผงผังของเว็บเพื่อจะบอกให้ Google ทราบว่า URL ทั้งหมดของเว็บไซต์ของเรานั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งเราสามารถส่ง sitemap กับ GSC ได้
สำหรับการทำSEO แล้ว Sitemap ก็เหมือนกับแผนที่แผ่นหนึ่งที่จะเป็นตัวนำทางให้ Bots เข้ามาเก็บข้อมูลที่จะช่วยบ่งบอกว่าเว็บของเรานั้นเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร? อยู่หมวดไหน? มีข้อมูลอะไรบ้าง? และมีจำนวนหน้ากี่หน้า?
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ทั้งหมดจะเป็นตัวชี้วัดว่า Bots จะสามารถเก็บได้เร็วแค่ไหน และยังช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาใช้งานได้อย่างราบรื่น ซึ่งตรงกันข้าม ถ้าคุณทำ Sitemap ไม่ดี ทำให้ Bots ไม่สามารถเข้าใจเว็บของคุณได้ ก็ยิ่งจะทำให้เว็บไซต์ติดอันดับช้า และทำให้การทำ SEO ล้มเหลวนั่นเอง
Security & Manual Actions
เป็นเมนูการรายงานความปลอดภัยและการดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. Manual Actions (การดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่)
เป็นการรายงานที่มาจาก Google โดยตรงรายงานการแจ้งเตือนปัญหาจากเจ้าหน้าที่ของกูเกิล ส่วนใหญ่หากเว็บไซต์ของคุณมีโครงสร้างและการปรับแต่งที่ถูกต้องตามกฎกติกาของ Google ก็จะไม่มีการแจ้งเตือนรายงานนี้
2. Security Issues (ปัญหาด้านความปลอดภัย)
ส่วนนี้จะเป็นการแจ้งเตือนจากระบบในกรณีที่เว็บไซต์ของคุณกำลังโดนปัญหาเช่น ถูกแฮ็ก หรือติด Malware (ไวรัส) ระบบจะแจ้งเตือนในส่วนนี้เพื่อให้คุณเข้ามาแก้ไข และยังช่วยแนะนวิธีการแก้ไขให้อีกด้วย
Links
เมนูส่วนนี้จะใช้สำหรับการรายงานลิงก์ เช่น External Links, Internal Links และ Backlinks ซึ่งทั้ง 3 ลิงก์นี้เป็นส่วนที่สำคัญมากในการทำ SEO การวางแผนการทำ External Links, Internal Links และ Backlinks ที่ดีจะช่วยให้อันดับของเว็บไซต์คุณดีและมีความมั่นคงมากขึ้น
แต่ว่าในบางครั้งก็อาจจะมีลิงก์แปลกปลอมที่ไม่เกี่ยวข้องและอาจส่งผลเสียต่อคุณภาพเว็บไซต์ของคุณได้ในสายตา Goolge ซึ่งหากคุณไม่แก้ไข และปล่อยทิ้งไว้ก็จะทำให้อันดับตก และอาจจะโดย Goolge มองว่าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ไม่มีคุณภาพอีกด้วย
วิธีการติดตั้ง Google Search Console สำหรับแต่ละเว็บไซต์
ในการใช้งาน GSC สำหรับเว็บไซต์ของเรานั้น เราจำเป็นที่จะต้องเพิ่มเว็บไซต์ลงใน Search Console ก่อน โดยขั้นตอนมีทั้งหมดดังนี้ (สนใจกด >> สอนทำเว็บไซต์ wordpress)
- ลงชื่อเข้าใช้บัญชี “Google Account” ซึ่งถ้าหากเป็นเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ เราต้องมั่นใจว่าบัญชีของ Google ที่เราใช้เป็นบัญชีธุรกิจ ไม่ใช่บัญชีส่วนตัว
- ไปที่ “Google Search Console” หรือ กด >> Google Searh Console
- คลิกที่เมนูตรงมุมซ้าย แล้วเลือก “Add Property”
- เลือกตัวเลือก “Website” แล้วใส่ URL ของเราลงไป พร้อมคลิก “Continue”
- เลือกตัวเลือกในการยืนยันตน ซึ่งจะมีให้เลือก 6 วิธีด้วยกัน ได้แก่ การอัปโหลดไฟล์ HTML, การยืนยันตนด้วย Domain name Provider, การใส่ HTML Tag, การใช้ GA tracking Code, และ GTM Container Snippet
- ถ้าหากเว็บไซต์ของเรา รองรับทั้ง http:// และ https:// เราจำเป็นที่จะต้องใส่ทั้งคู่ ซึ่งรวมทั้งโดเมนอื่นๆ ที่มีด้วยเช่นกัน เช่น xxx.co กับ blog.xxx.co เป็นต้น
วิธีการยืนยันตัวตนของ Google Search Console
อันเนื่องมาจากเครื่องมือ Search Console เป็นเครื่องมือที่ทำให้เราสามารถเข้าถึง ข้อมูลเชิงลึกของเว็บไซต์ ซึ่งบางส่วนก็จะเป็นข้อมูลลับ ดังนั้นการยืนยันตนกับ Google Search จึงเป็นเรื่องจำเป็น และอย่างที่ได้พูดถึงไปก่อนหน้านี้ว่าวิธีการยืนยันตนสำหรับ Google Search Console มีทั้งหมด 5 วิธีด้วยกัน ซึ่งจะลงรายละเอียดได้ดังนี้
- การอัปโหลดไฟล์ HTML คือ การนำไฟล์ HTML สำหรับยืนยันตนที่ได้จาก GSC ไปอัปโหลดในส่วนใดส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ เพื่อยืนยันตนว่าเราเป็นผู้มีสิทธิ์ในการจัดการเว็บไซต์นั้นๆ
- การใช้ Domain Name Provider คือ การลงชื่อเข้าใช้ในไปยังผู้ให้บริการด้านโดเมนของเรา แล้วเลือกสองช่องทางระหว่างการเข้าไปยืนยันตนโดยตรงจาก GSC กับการเพิ่ม “DNS TXT” หรือ “CNAME record” เข้าไป
- การใส่ HTML Tag คือ การใส่ tag เข้าไปยัง ของ HTML Code ในหน้าเว็บไซต์
- การใช้ Google Analytic Tracking Code คือ การใช้ Tracking Code ของ Google Analytic ที่ใช้กับเว็บไซต์ของเราเพื่อยืนยันตน
- Google Tag Manager Container Snippet Code โดยเราสามารถนำ Code ดังกล่าวที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเราเพื่อทำการยืนยันตน
การใช้งาน Google Search Console ในการวิเคราะห์ด้าน SEO
หลังจากที่เราสามารถเข้าใช้ Search Console ได้แล้วเราจะมาดูกันว่าเจ้า Google Search นี้สามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับ SEO ได้อย่างไรบ้าง ซึ่งในบทความนี้เราจะเจาะไปที่ตัวเลือก “Search Result” ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับคอนเทนต์ และ SEO ได้
เมื่อเราทำการเลือกตัวเลือก “Search Result” แล้ว เราจะเจอหน้าแสดงผลสถิติด้านการถูกค้นหาของเว็บไซต์ใน Google ซึ่งเราสามารถใส่คำต่างๆเพื่อเช็คได้ว่าในคำนั้นๆ เว็บไซต์ของเราติดอันดับเท่าไหร่? ซึ่งแต่ละตัวชี้วัด หรือ ตัวเลือกที่สำคัญๆ มีความหมายดังต่อไปนี้
- Search Type คือ ตัวเลือกประเภทของการค้นหาที่เราอยากดูข้อมูลจาก Google Search เพื่อวิเคราะห์ โดยสามารถเลือกได้ทั้งรูปแบบการค้นหาเว็บไซต์ รูปภาพ วิดีโอ และ ข่าว นอกจากนี้เรายังสามารถเลือกให้มีการเปรียบเทียบกันได้ระหว่าง 2 รูปแบบอีกด้วย
- Date คือ ช่วงเวลาของข้อมูลที่เราต้องการให้ Google Search แสดงผลออกมา ซึ่งสามารถกำหนดได้หลากหลายช่วงเวลา เช่น วันที่ล่าสุด 7วันล่าสุด 28 วันล่าสุด 3/6/12/16 เดือนล่าสุด หรือแบบกำหนดเอง
- Query คือ คำที่ผู้ใช้ใช้ในการค้นหาใน Search Engine ซึ่งเราสามารถกดที่ New เพื่อเพิ่ม Filter เป็นคำดังกล่าวได้ เช่น หากเราต้องการวิเคราะห์ว่าเว็บไซต์ของเราติดอันดับคำว่า “รับดูแลเว็บไซต์ wordpress” หรือไม่? ให้เรากดเพิ่มแล้วเลือก Query เพื่อเติมคำว่า รับดูแลเว็บไซต์ wordpress เข้าไป
- Page คือ การกำหนดหน้าเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลสถิติเกี่ยวกับคำค้นหาหน้าpageใดๆที่ผู้ชมกดเข้ามาชมpageนั้นๆ ซึ่งเราสามารถกำหนดได้เลยว่าอยากดูเฉพาะหน้าไหนโดยการกรอก URL ของหน้าเว็บที่เราต้องการดูข้อมูล
- Click คือ จำนวนการคลิกเข้ามาชมเว็บไซต์ของเราผ่านหน้าการค้นหา ซึ่ง GSC จะแสดงผลส่วนนี้แค่สำหรับการคลิกที่เป็น Organic หรือ ที่ไม่ใช่การโฆษณาเท่านั้น
- Impression คือ ค่าการถูกแสดงผล ซึ่งเป็นจำนวนที่เว็บไซต์เราถูกแสดงขึ้นในหน้าการค้นหา ซึ่งก็เช่นกันที่ GSC จะไม่นับการแสดงผลที่มาจากโฆษณา โดยจะนับแค่ที่เป็น Organic เท่านั้น
- AVG. CTR คือ ค่าเฉลี่ยของ “Click Through Rate” ซึ่งเป็นค่าการคลิกต่อจำนวนการมองเห็น ซึ่งจะช่วยแสดงให้เรารู้ว่าคอนเทนต์ หรือ โฆษณาของเราน่าคลิกแค่ไหน
- AVG. Position คือ ค่าเฉลี่ยของตำแหน่งที่เว็บไซต์ของเราถูกแสดงผล ตัวอย่างเช่น เมื่อคนค้นหาคำว่า “รับทำ Google Ads” เว็บไซต์ของเราจะถูกแสดงขึ้นมาในหน้าผลการค้นหา อันดับที่ X ในช่วงวันและเวลาที่กำหนด
วิเคราะห์ค่า metric บางค่าใน search console
หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักตัวชี้วัดต่าง ๆ ไปแล้ว เรามาดูที่ตัวอย่างการวิเคราะห์กันบ้าง โดยหากเราต้องการให้เว็บไซต์ของเราติด SEO ในอันดับสูงๆ ตัวชี้วัดพวกนี้จะเป็นประโยชน์ในการวางกลยุทธ์ เช่น
ค่า CTR น้อย
แปลว่าเราจำเป็นที่จะต้องปรับคอนเทนต์ของเราให้ดูน่าสนใจขึ้น เมื่ออถูกแสดงผลในหน้าการค้นหา เพื่อให้เกิดการคลิกเข้ามายังเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้ Traffic มากขึ้น และส่งผลต่อดับ SEO โดยวิธีการอาจทำได้ โดยการปรับ Headline หรือ Meta Description ซึ่งอาจจะปรับการใช้คำที่ทำให้เกิดความรู้สึกน่าคลิกขึ้นได้
ค่า Average Position สูง (ไม่ได้อยู่อันดับต้น ๆ)
แสดงว่าในเนื้อหา หรือองค์ประกอบต่าง ๆ ของคอนเทนต์ รวมทั้งองค์ประกอบของเว็บไซต์ที่เป็นผลต่ออันดับ SEO อาจจะไม่ดีพอ ซึ่งเรามีหน้าที่ต้องวิเคราะห์ต่อว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร ซึ่งอาจเป็นได้ทั้ง ความหนาแน่นของคีย์เวิร์ดที่มีน้อยไป หรือ คุณภาพเว็บไซต์ที่ทำให้โหลดช้า
นอกจากนี้เรายังสามารถดูได้ด้วยนะว่าเว็บไซต์ของเราหน้าpageนึงติดอันดับใน Keyword ใดบ้างๆ อีกทั้งยังสามารถดูได้อีกว่า Keyword ที่ผู้ชมเห็นหรือclickเข้าwebsiteของเรา มาจากหน้าเพจใด (เช่น เพิ่มคำว่า รับทำ Google Ads เข้าไปใน Query แล้วกดดู Page ที่ตัวเลือกด้านล่าง)
สรุป
เครื่องมือ Google Search Console เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับทุกคนที่มีเว็บไซต์ แล้วอยากลองวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ปรับคุณภาพของ SEO ซึ่งเครื่องมือตัวนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้ง่าย และมีประโยชน์ที่หลากหลาย ทั้งนี้สำหรับการวิเคราะห์ด้าน SEO ไม่ได้มีเพียงเครื่องมือนี้เท่านั้น แต่ยังมีเครื่องมืออื่นๆ เช่น การนำไปใช้ร่วมกันกับ Ubersuggest หรือ Google Trend เพื่อนำข้อมูลไปอ่านและวิเคราะห์เพื่อวางกลยุทธ์อย่างมีประสิทธิภาพ